ภาษากริซตัง
ภาษากริซตัง | |
---|---|
ภาษาโปรตุเกสลูกผสมมะละกา | |
Kristang | |
ประเทศที่มีการพูด | มาเลเซีย สิงคโปร์ |
จำนวนผู้พูด | 1,000 คน (2014) |
ตระกูลภาษา | โปรตุเกสครีโอล
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | mcm |
Linguasphere | 51-AAC-aha |
ภาษากริซตัง (Kristang language) หรือ ภาษาโปรตุเกสลูกผสมมะละกา (Malaccan Creole Portuguese) หรือภาษามะละกา หรือภาษาเกอราเกา พูดโดยชาวกริซตังซึ่งเป็นลูกหลานระหว่างชาวโปรตุเกสกับชาวเอเชียที่อยู่ในมะละกาและสิงคโปร์ มีผู้พูดภาษานี้ราว 1,000 คน ในมะละกา มีความเกี่ยวข้องกับสำเนียงที่พบในกัวลาลัมเปอร์และสิงคโปร์ เป็นภาษาทางการค้า ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ ผู้พูดภาษานี้จะพูดภาษามลายูซาบา ผู้หญิงบางคนพูดภาษาอังกฤษได้ บางครั้งเรียกว่าภาษาคริสเตาหรืออย่างง่ายๆว่าภาษาปาปีอา ประมาณ 80% ของผู้พูดภาษานี้ที่เป็นผู้สูงอายุจะพูดภาษานี้ในชีวิตประจำวัน มีผู้พูดจำนวนน้อยในกัวลาลัมเปอร์ซึ่งเกิดจากการอพยพ มีผู้พูดภาษาคริสตังที่ย้ายถิ่นไปยังอังกฤษ ออสเตรเลีย
ประวัติศาสตร์
[แก้]การเกิดขึ้นของภาษาคริสเตาเกิดขึ้นเมื่อชาวโปรตุเกสปกครองมะละกาเมื่อ พ.ศ. 2054 ชุมชนของผู้พูดภาษานี้คือลูกหลานที่เกิดจากการแต่งงานระหว่างชาวโปรตุเกสกับหญิงมลายู บางส่วนอพยพมาจากกัว ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างชาวโปรตุเกสกับชาวอินเดีย ภาษากริซตังได้รับอิทธิพลจากภาษามาเก๊าซึ่งเป็นภาษาลูกผสมที่ใช้พูดในมาเก๊า ซึ่งอาจจะเกิดจากการอพยพออกจากมะละกาเมื่อดินแดนนี้ถูกดัตช์ยึดครอง หลังจากที่โปรตุเกสหมดอำนาจจากมะละกาและไม่ได้มีการติดต่อใดๆอีกตั้งแต่ พ.ศ. 2184 ชาวกริซตังยังคงรักษาภาษาของพวกเขาไว้ ภาษานี้ไม่มีการสอนในโรงเรียน ภาษาที่ใช้ในโบสถ์เป็นภาษาโปรตุเกส
ลักษณะ
[แก้]ไวยากรณ์ของภาษาเป็นแบบเดียวกับภาษามลายู คำศัพท์ส่วนใหญ่มาจากภาษาโปรตุเกส และอาจจะเป็นเพราะผลจาการย้ายถิ่นและการติดต่อทางการค้า ภาษากริซตังจึงมีลักษณะคล้ายกับภาษาลูกผสมอื่น ๆ ที่ตายไปแล้วในอินโดนีเซียและติมอร์-เลสเต
ไวยากรณ์
[แก้]ในการแสดงกาลของกริยา จะมีการเติมคำ เช่น ja แสดงอดีต (มาจาก já ในภาษาโปรตุเกส “แล้ว”) ta สำหรับปัจจุบันกำลังกระทำ (มาจากภาษาโปรตุเกส está “เป็น/คือ”) logu สำหรับอนาคต โดยการใช้งานเป็นแบบเดียวกับคำที่มีความหมายเช่นเดียวกันนี้ในภาษามลายูคือ sudah, sedang, และ akan
คำศัพท์
[แก้]คำสรรพนาม yo (ฉัน) เป็นคำที่ใช้อยู่ในภาษาโปรตุเกสทางตอนเหนือ เช่นเดียวกับในภาษาสเปน ภาษาอิตาลีและภาษาซิซิลี รากศัพท์ในภาษากริซตังส่วนใหญ่มาจากภาษาโปรตุเกส แต่มีการเปลี่ยนรูปไปบ้าง เช่น padrinho (เจ้าพ่อ) madrinha (เจ้าแม่) ในภาษาโปรตุเกส กลายเป็น inyu และ inya gordo (อ้วน) ในภาษาโปรตุเกสเป็น godro เสียงสระประสม oi หรือ ou (ในสำเนียงโบราณ) ลดรูปเป็น o เช่น dois/dous "สอง" → dos à noite/à noute "คืนนี้" → anoti
คำภาษาโปรตุเกสจำนวนมากที่เริ่มต้นด้วย ch จะออกเสียงเป็น sh ในภาษาโปรตุเกสสมัยใหม่ ยังคงออกเสียงเป็น ch ในภาษากริซตัง chegar "มาถึง" และ chuva "ฝน" จากภาษาโปรตุเกสเป็น chegak และ chu ซึ่งอาจเป็นเพราะอิทธิพลของภาษามลายูหรือเพราะภาษากริซตังได้รักษาการออกเสียงของภาษาโปรตุเกสโบราณไว้ เพราะการออกเสียงเช่นนี้ พบในภาษาโปรตุเกสทางตอนเหนือด้วย
ระบบการเขียน
[แก้]ภาษากริซตังไม่เคยมีการเรียนการสอนในโรงเรียน ส่วนใหญ่ใช้เป็นภาษาพูด ข้อเสนอในการสร้างมาตรฐานการออกเสียงเริ่มขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2523 เมื่อ Alan B. Baxter ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับไวยากรณ์ภาษากริซตัง โดยใช้ระบบการออกเสียงแบบเดียวกับภาษามลายู โดย e ออกเสียงเป็นสระอีเมื่อพยางค์ต่อไปมีเสียงสระอี เช่น penitensia ออกเสียงว่า “ปีนีเตนเซีย”
อ้างอิง
[แก้]- Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version:Cristão
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Papia, Relijang e Tradisang, The Portuguese Eurasians in Malaysia
- Malacca Portuguese Eurasian Association
- Malacca Portuguese Settlement เก็บถาวร 2005-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Singapore Eurasian Association Kristang Page เก็บถาวร 2005-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Joan Marbeck's homepage เก็บถาวร 2009-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Jingkli Nona - a Kristang viewpoint
- The Theseira family
- The Shepherdson family
- The Peranakan Association Singapore เก็บถาวร 2005-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Eurasian Company of the Singapore Volunteer Corps
- Pasar Malam Besar festival in Holland เก็บถาวร 2005-08-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Malaysian Eurasian food
- All Portuguese Language Meetup Groups เก็บถาวร 2012-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Singapore Portuguese Language Meetup Group เก็บถาวร 2004-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Portuguese people speaking society
- Endangered Languages