ข้ามไปเนื้อหา

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ เป็นการถดถอยทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชัดเจนซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 และทรุดหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกกระทบต่อเศรษฐกิจของทั้งโลก โดยบางประเทศเสียหายกว่าประเทศอื่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอยดังกล่าวมีลักษณะของความไม่สมดุลในระบบต่าง ๆ และเกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์การเงิน พ.ศ. 2550–2551 ผลกระทบข้างเคียงทางเศรษฐกิจของวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป[1] ร่วมกับการเติบโตที่ช้าลงของสหรัฐอเมริกา[2]และจีน[3] ยังเป็นอุปสรรคขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก

การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความเสี่ยงที่ยากจะประเมิน ถูกวางขายทั่วโลก เครดิตเฟื่องฟูซึ่งมีหลากหลายกว่ายิ่งป้อนฟองสบู่เก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์และหุ้นของบริษัทจำกัด ซึ่งเสริมวิธีปฏิบัติสินเชื่อที่เสี่ยง[4][5] สถานการณ์ทางการเงินที่ไม่ปลอดภัยยิ่งยุ่งยากขึ้นไปอีกจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและราคาอาหาร การเกิดความเสียหายจากสินเชื่อซับไพรม์ใน พ.ศ. 2550 เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์ และเผยให้เห็นสินเชื่อที่เสี่ยงอื่น ๆ และราคาสินทรัพย์ที่เฟ้อเกิน ความเสียหายจากสินเชื่อเพิ่มขึ้นและการล้มละลายของเลห์แมนบราเธอร์ส (Lehman Brothers) เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551 ทำให้เกิดความตื่นตระหนกใหญ่ในตลาดสินเชื่อระหว่างธนาคาร วาณิชธนกิจและธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และมีฐานมั่นคงจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาและยุโรปประสบการขาดทุนใหญ่หลวงและกระทั่งล้มละลาย ทำให้ต้องมีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินสาธารณะอย่างใหญ่หลวง

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกนี้ได้ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศลดลงอย่างสาหัส อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นและราคาโภคภัณฑ์ถีบตัวสูงขึ้น ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 สำนักวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ (NBER) ประกาศว่า สหรัฐอเมริกาอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2551[6] นักเศรษฐศาสตร์หลายคนทำนายว่า การฟื้นฟูอาจเกิดขึ้นหลัง พ.ศ. 2554 และภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้อาจเป็นครั้งร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930[7][8] สภาพที่นำสู่วิกฤตการณ์ ซึ่งแสดงลักษณะการเพิ่มขึ้นในราคาสินทรัพย์สูงเกินไป และการเฟื่องฟูที่สัมพันธ์กันในความต้องการทางเศรษฐกิจ ถูกมองว่าเป็นผลของการขยายเวลาของเครดิตที่หาได้ง่าย[9] และข้อบังคับและการควบคุมดูแลที่ไม่เพียงพอ[10]

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ได้นำแนวคิดเศรษฐกิจแบบเคนส์ว่าด้วยการรับมือกับสภาพเศรษฐกิจถดถอยกลับมาอีกครั้ง นโยบายการเงินและการคลังถูกทำให้ผ่อนคลายลงอย่างมากเพื่อสกัดภาวะเศรษฐกิจถดถอยและความเสี่ยงทางการเงิน นักเศรษฐศาสตร์แนะว่า ควรถอนการกระตุ้นทันทีที่เศรษฐกิจฟื้นตัวเพื่อ "ขีดเส้นทางสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน"[11][12][13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Countries throughout the world will experience an economic slowdown this year as the sovereign debt crisis in Europe continues to unfold"
  2. "Retail sales fell in June for the third straight month, knocking down economic growth projections"
  3. Story by Reuters "China's growth rate slowed for a sixth successive quarter to its slackest pace in more than three years"
  4. Foldvary, Fred E. (September 18, 2007). The Depression of 2008 (PDF). The Gutenberg Press. ISBN 0-9603872-0-X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-14. สืบค้นเมื่อ 2009-01-04.
  5. Nouriel Roubini (January 15, 2009). "A Global Breakdown Of The Recession In 2009". Forbes.
  6. Isidore, Chris (2008-12-01). "It's official: Recession since Dec '07". CNN Money. สืบค้นเมื่อ 2009-04-10.
  7. Congressional Budget Office compares downturn to Great Depression เก็บถาวร 2009-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. By David Lightman. McClatchy Washington Bureau. January 27, 2009.
  8. Finch, Julia (2009-01-26). "Twenty-five people at the heart of the meltdown ..." London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2009-04-10.
  9. Wearden, Graeme (2008-06-03). "Oil prices: George Soros warns that speculators could trigger stock market crash". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2009-04-10.
  10. Andrews, Edmund L. (2008-10-24). "Greenspan Concedes Error on Regulation". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18.
  11. "IMF World Economic Outlook, April 2009: "Exit strategies will be needed to transition fiscal and monetary policies from extraordinary short-term support to sustainable medium-term frameworks." (p.38)" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2010-01-21.
  12. "Olivier Blanchard, the chief economist of the International Monetary Fund, "is advising officials around the world to keep economic stimulus programs in place no longer than necessary to chart a path to sustainable growth."". Bloomberg.com. 2005-05-30. สืบค้นเมื่อ 2010-01-21.
  13. Cooke, Kristin (2009-08-21). "U.S deficit poses potential systemic risk: Taylor". Reuters.com. สืบค้นเมื่อ 2010-01-21.