ข้ามไปเนื้อหา

ภาวะหลอดเลือดแข็ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาวะหลอดเลือดแข็ง
ชื่ออื่นArteriosclerotic vascular disease (ASVD)
ระดับขั้นการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว
สาขาวิชาหทัยวิทยา, Angiology
อาการไม่มี[1]
ภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคหลอดเลือดสมองตีบ, ปัญหาเกี่ยวกับไต[1]
การตั้งต้นเยาวชน (จะแย่ลงตามอายุ)[2]
สาเหตุไม่ทราบ[1]
ปัจจัยเสี่ยงระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ, ความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, การสูบบุหรี่, โรคอ้วน, ประวัติของครอบครัว, อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ[3]
การป้องกันกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ, ออกกำลังกาย, ไม่สูบบุหรี่, ทำให้มีน้ำหนักปกติ[4]
ยาStatin, ยาความดันโลหิตสูง, แอสไพริน[5]
ความชุก~100% (>65 ปี)[6]

ภาวะหลอดเลือดแข็ง (อังกฤษ: Atherosclerosis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการที่ภายในของหลอดเลือดแดงแคบลงเนื่องจากมีการก่อตัวของคราบจุลินทรีย์ (อังกฤษ: plaque)[7] ในขั้นต้นมักจะไม่มีอาการ[1] เมื่อรุนแรงขึ้นอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือปัญหาเกี่ยวกับไต ขึ้นอยู่กับหลอดเลือดแดงที่ได้รับผลกระทบ อาการที่เกิดขึ้นนี้มักไม่ปรากฏจนกว่าจะถึงวัยกลางคน

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ ได้แก่ ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ, ความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, การสูบบุหรี่, โรคอ้วน, ประวัติของครอบครัว, และอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ[3] คราบจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นประกอบด้วยไขมัน, คอเลสเตอรอล, แคลเซียม, และสารอื่น ๆ ที่พบในเลือด การหดตัวของเส้นเลือดจะ จำกัดการไหลเวียนของเลือดที่ประกอบด้วยด้วยออกซิเจน ไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย[8]

การป้องกันโดยปกติจะทำโดยกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ, ออกกำลังกาย, ไม่สูบบุหรี่, รักษาน้ำหนักตัวให้ปกติ[4] การรักษาโรคอาจรวมถึงการใช้ยาสำหรับลดคอเลสเตอรอลเช่น statins ยาความดันโลหิตสูง หรือยาที่ลดการแข็งตัวเช่น แอสไพริน ในบางขั้นตอนอาจจะต้องดำเนินการเช่น การสวนสายเข้าหลอดเลือดหัวใจ, การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, หรือการผ่าตัดเปิดหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง[5]

ภาวะหลอดเลือดแข็งมักจะเริ่มต้นเมื่อเป็นหนุ่มสาวและกำเริบขึ้นตามอายุ[2] เกือบทุกคนจะได้รับผลกระทบเมื่ออายุ 65[6] ภาวะหลอดเลือดแข็งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและความพิการในประเทศพัฒนาแล้ว ภาวะหลอดเลือดแข็งมีการอธิบายเป็นครั้งแรกใน 1575 อย่างไรก็ตามมีหลักฐานว่าเกิดขึ้นกับคนมาแล้วมากกว่า 5,000 ปีก่อน[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "What Are the Signs and Symptoms of Atherosclerosis? - NHLBI, NIH". www.nhlbi.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). 22 June 2016. สืบค้นเมื่อ 5 November 2017.
  2. 2.0 2.1 "What Causes Atherosclerosis? - NHLBI, NIH". www.nhlbi.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). 22 June 2016. สืบค้นเมื่อ 6 November 2017.
  3. 3.0 3.1 "Who Is at Risk for Atherosclerosis?". www.nhlbi.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). 22 June 2016. สืบค้นเมื่อ 5 November 2017.
  4. 4.0 4.1 "How Can Atherosclerosis Be Prevented or Delayed? - NHLBI, NIH". www.nhlbi.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). 22 June 2016. สืบค้นเมื่อ 6 November 2017.
  5. 5.0 5.1 "How Is Atherosclerosis Treated? - NHLBI, NIH". www.nhlbi.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). 22 June 2016. สืบค้นเมื่อ 6 November 2017.
  6. 6.0 6.1 Aronow WS, Fleg JL, Rich MW (2013). Tresch and Aronow's Cardiovascular Disease in the Elderly, Fifth Edition (ภาษาอังกฤษ). CRC Press. p. 171. ISBN 9781842145449.
  7. "What Is Atherosclerosis? - NHLBI, NIH". www.nhlbi.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). 22 June 2016. สืบค้นเมื่อ 6 November 2017.
  8. "How Is Atherosclerosis Diagnosed? - NHLBI, NIH". www.nhlbi.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). 22 June 2016. สืบค้นเมื่อ 6 November 2017.
  9. Shor A (2008). Chlamydia Atherosclerosis Lesion: Discovery, Diagnosis and Treatment (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. p. 8. ISBN 9781846288104.

ข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้]