ภาวะน้ำเป็นพิษ
ภาวะน้ำเป็นพิษ | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | E87.7 |
ICD-9 | 276.69 |
ภาวะน้ำเป็นพิษ (อังกฤษ: water intoxication, water poisoning) หรือ ภาวะมีโซเดียมในเลือดน้อยเกินแบบเจือจาง (dilutional hyponatremia) เป็นภาวะอันตรายที่เกิดจากการดื่มน้ำมากเกินไป โดยทั่วไป น้ำเป็นสารที่มีความเป็นพิษน้อยมาก คือมีค่า LD50 มากกว่า 90 มิลลิลิตร/กิโลกรัม[1]
ปัจจัยเสี่ยง
[แก้]- มวลกายต่ำในทารก[2]
- การดื่มน้ำปริมาณมากขณะออกกำลังกาย โดยเฉพาะในการวิ่งมาราธอน[3]
- การหักโหมและภาวะเครียดจากความร้อน
- การแข่งขันดื่มน้ำ[4]
- ความผิดปกติทางจิตเวชศาสตร์[5]
- ความผิดพลาดของแพทย์
พยาธิสรีรวิทยา
[แก้]เมื่อดื่มน้ำมากเกินไป จะทำให้เกิดความไม่สมดุลของสารอิเล็กโทรไลต์ต่าง ๆ เพื่อทำให้ทั้งภายในและภายนอกเซลล์มีความเข้มข้นเท่ากัน เซลล์จึงต้องขยายตัวขึ้น ซึ่งหากเกิดกับสมองจะทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มสูงขึ้น ผลที่ตามมาจะทำให้ปวดหัว สับสน และง่วงซึม และอาจหายใจลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง กระตุกหรือเป็นตะคริว สัญญาณชีพที่ผิดปกติจะเริ่มเด่นชัด เช่น หัวใจและชีพจรเต้นช้าลง หากเซลล์สมองขยายตัวมากเกินไปจะทำให้หลอดเลือดถูกบีบ ทำให้สมองบวม และนำไปสู่การเสียชีวิตได้
การรักษาและวิธีการป้องกัน
[แก้]- รักษาได้โดยการให้สารอิเล็กโทรไลต์ทางหลอดเลือด
- ติดตามตรวจวัดระดับอิเล็กโทรไลต์ในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
วิธีการป้องกันคือ ควรดื่มน้ำเมื่อรู้สึกกระหายเท่านั้น เพราะร่างกายมีกลไกทางสรีรวิทยาที่รู้ว่าเมื่อไรร่างกายต้องการน้ำ สำหรับผู้ที่เล่นกีฬาหนัก ๆ ควรดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ในปริมาณพอสมควร และไม่ควรดื่มน้ำเปล่าในปริมาณมาก[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Water -- Material Safety Data Sheet -- Science Lab". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-02. สืบค้นเมื่อ 2015-06-01.
- ↑ Water Intoxication in Infants
- ↑ Just What Does Running a Marathon Do to Your Body? -- Marathon and Beyond
- ↑ Competitive Eating: How Safe Is It?
- ↑ "การดื่มน้ำมากผิดปกติในผู้ป่วยโรคจิต -- วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-06-01.
- ↑ ภาวะสารน้ำในร่างกายมากผิดปกติจนเกิดเป็นพิษ[ลิงก์เสีย]