ข้ามไปเนื้อหา

จิตรกรรมภูมิทัศน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาพภูมิทัศน์)
“เดินเล่นในฤดูใบไม้ผลิ” (Strolling About in Spring) ราว ค.ศ. 600
คนเกี่ยวข้าว” (The Harvesters) โดย ปิเอเตอร์ บรูเกล ค.ศ. 1565
“ร้อนผิดฤดูที่เวอร์มอนท์” (Indian Summer) โดยวิลลาร์ด ลีรอย เมทคาลฟ ซึ่งเป็นภาพเขียนนอกสถานที่

จิตรกรรมภูมิทัศน์ (ภาษาอังกฤษ: Landscape art) เป็นจิตรกรรม ที่แสดงทิวทัศน์เช่นภูเขา, หุบเขา, ต้นไม้, แม่น้ำ, และป่า และมักจะรวมท้องฟ้า นอกจากนั้นสภาวะอากาศก็อาจจะมีส่วนสำคัญในการวางองค์ประกอบของภาพด้วย

ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ชาวโรมันตกแต่งห้องด้วยจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นภาพภูมิทัศน์ซึ่งพบที่ปอมเปอีและเฮอร์คิวเลเนียม

คำว่า “landscape” มาจากภาษาดัทช์ landscape “landschap” ซึ่งหมายถึงบริเวณที่เก็บเกี่ยวแล้ว และนำเข้ามาใช้ในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อต้น คริสต์ศตวรรษที่ 15 การเขียนภาพภูมิทัศน์เป็นศิลปะการเขียนแบบหนึ่งในยุโรป ซึ่งใช้เป็นฉากหลังของกิจการต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะคริสต์ศาสนา เช่น ภาพในหัวเรื่อง “พระเยซูหนีไปอียิปต์”, หรือฉากการเดินทางของแมไจเพื่อนำของขวัญมาให้พระเยซู หรือ ภาพเขียนเกี่ยวกับนักบุญเจอโรมเมื่อไปจำศีลอยู่ในทะเลทราย

การเขียนภาพภูมิทัศน์ของจีนจะเป็นภูมิทัศน์ล้วน ๆ ถ้ามีคนอยู่ในรูปก็จะเป็นส่วนประกอบที่ไม่สำคัญหรือเพียงเป็นสิ่งเทียบถึงขนาดของธรรมชาติ และเป็นการเชิญชวนให้ผู้ชมภาพมีความรู้สึกว่ามีส่วนร่วมในภาพเขียน การเขียนภาพลักษณะนี้มีลักษณะสมบูรณ์แบบมาตั้งแต่การเขียนภาพด้วยหมึก

ในยุโรปจอห์น รัสคิน[1] และ เซอร์เค็นเน็ธ คลาคกล่าวว่าการเขียนภาพภูมิทัศน์เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนเกิดความซาบซึ้งในความสวยงามของธรรมชาติ[2] คลาคกล่าวว่าในการเขียนภาพภูมิทัศน์ตั้งอยู่บนพื้นฐานสี่อย่าง: การยอมรับในสัญลักษณ์ที่เห็น, ความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับธรรมชาติ, การสร้างจินตนิยมที่มึพี้นฐานมาจากความกลัวธรรมชาติ และ ความเชื่อที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะลงเอยด้วยดีที่เป็นสิ่งที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้

ในสหรัฐอเมริกาช่างเขียนภาพสกุลศิลปะลุ่มแม่น้ำฮัดสันที่รุ่งเรื่องราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีชื่อเสียงในการวิวัฒนาการเขียนภาพภูมิทัศน์ นักเขียนภาพกลุ่มนี้สร้างภาพเขียนขนาดยักษ์เพื่อจะสามารถพยายามแสดงความยิ่งใหญ่ของภูมิทัศน์ตามที่เห็น ปรัชญาของงานของทอมัส โคลซึ่งถือกันว่าเป็นผู้ก่อตั้งตระกูลการเขียนนี้ก็เช่นเดียวกับปรัชญาการเขียนภาพภูมิทัศน์ในยุโรป — เป็นความศรัทธาของมนุษย์ที่ทำให้มีความรู้สึกดีขึ้นจากการซาบซึ้งในคุณค่าของความสวยงามและความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ งานของศิลปินตระกูลแม่น้ำฮัดสันรุ่นหลังเช่นงานของ แอลเบิร์ต เบียร์สตัดท์จะสร้างงานที่สร้างความน่ากลัวขึ้นโดยการเน้นอำนาจของธรรมชาติ

นักสำรวจ, นักธรรมชาติวิทยา, ชาวทะเล, พ่อค้า, หรือผู้ตั้งถิ่นฐานที่มาถึงแผ่นดินแคนาดาเมื่อสมัยแรก ๆ ในการสำรวจต้องเผชิญกับธรรมชาติที่ค่อนข้างจะอันตรายจากทะเล นักสำรวจเหล่านี้พยายามปรับปรุงสถานการณ์โดยการทำแผนที่, บันทึก, และตั้งหลักแหล่ง ความเข้าใจธรรมชาติจากการสังเกตของแต่ละคนก็ต่างกันไป บันทึกจากความรู้สึกเหล่านี้มีตั้งแต่ถูกต้องตามความเป็นจริงไปจนการจินตนาการที่เกินความจริงเอามาก ๆ และการสังเกตเหล่านี้ก็ถูกบันทึกในรูปของภาพภูมิทัศน์ ภาพเขียนที่เป็นตัวอย่างที่ดีของการเขียนภาพภูมิทัศน์คานาดาคือภาพจากจิตรกรใน “กลุ่มเจ็ดคน” (Group of Seven) ที่มีชื่อเสียงในคริสต์ทศศตวรรษ[3]

ภาพภูมิทัศน์แบบต่าง ๆ

[แก้]
  • “Vedute” เป็นภาษาอิตาลีที่แปลว่า “ทิวทัศน์” ใช้ในการเขียนภาพภูมิทัศน์ซึ่งนิยมกันในคริสต์ศตวรรษที่ 18
  • “ภูมิทัศน์ฟ้า” หรือ “ภูมิทัศน์เมฆ” (Skyscape หรือ Cloudscape) คือการเขียนภาพเมฆ, สภาวะอากาศ หรือบรรยากาศ
  • “ภูมิทัศน์ผิวพระจันทร์” (Moonscape) คือการเขียนภาพภูมิทัศน์ของพระจันทร์
  • “ภูมิทัศน์ทะเล” (Seascape) คือการเขียนภาพภูมิทัศน์ทะเล มหาสมุทร และหาด
  • “ภูมิทัศน์แม่น้ำ” (Riverscape) คือการเขียนภาพภูมิทัศน์ของแม่น้ำหรือลำธาร
  • “ภูมิทัศน์เมือง” (Cityscape หรือ townscape) คือการเขียนภาพภูมิทัศน์ของเมือง
  • “ภูมิทัศน์สิ่งสร้าง” หรือ “ภูมิทัศน์สถาปัตยกรรม” (Hardscape) คือการเขียนภาพภูมิทัศน์ของบริเวณที่ลาดด้วยยางหรือคอนกรีต เช่นถนน หรือทางเดินเท้า หมู่บ้านที่เป็นคอนกรีต หรือบริเวณอุตสาหกรรม
  • “ภูมิทัศน์เหินฟ้า” (Aerial landscape) คือการเขียนภาพภูมิทัศน์ผิวโลกเหมือนกับมองจากอากาศ โดยเฉพาะที่เห็นจากเรือบินหรือยานอวกาศ การเขียนเช่นนี้จะไม่มีขอบฟ้า และอาจจะรวมกับ “ภูมิทัศน์ฟ้า” เช่นงานของจอร์เจีย โอคีฟ หรือ งาน “ภูมิทัศน์ผิวพระจันทร์” ของ แนนซี เกรฟส์ (Nancy Graves) หรืองาน “ภูมิทัศน์สิ่งสร้าง” โดย อีวอน จาเค็ท (Yvonne Jacquette)
  • “ภูมิทัศน์เหนือจริง” (Inscape) คือการเขียนภาพภูมิทัศน์ที่มักจะเป็นแบบลัทธิเหนือจริง หรือ แบบนามธรรม

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Modern Painters, volume three, contains the relevant section, "Of the novelty of landscape".
  2. Clark, Landscape into Art, preface.
  3. "Landscapes" in Virtual Vault เก็บถาวร 2016-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, an online exhibition of Canadian historical art at Library and Archives Canada

ดูเพิ่ม

[แก้]