ข้ามไปเนื้อหา

ภาพนาซีในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้าร้านแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ มีหน้าฮิตเลอร์บนหุ่นโรนัลด์ แมคโดนัลด์

สัญลักษณ์นาซีกำลังเป็นที่สนใจในประเทศไทยโดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น ความหลงใหลนี้เกิดจากความไม่รู้ประวัติศาสตร์มากกว่าความเอนเอียงทางการเมือง[1][2][3][4][5][6][7] อย่างไรก็ดี กลุ่มคนบางคนที่ศึกษาประวัติศาสตร์สงครามโลกมองในฐานะ "จงจดจำ" มากกว่า

ใน พ.ศ. 2556 กระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่า อาจปรับเปลี่ยนหลักสูตรของโรงเรียนให้มีข้อมูลเกี่ยวกับฮอโลคอสต์[1] อย่างไรก็ดี ประวัติศาสตร์ประเทศไทยได้รับผลกระทบกับลัทธินาซีค่อนข้างน้อยหรือแทบไม่มีเลย (เพราะในสภาวะสงคราม ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับอักษะใต้การบัญชาการของจอมพล ป.พิบูลสงคราม)

เหตุการณ์ต่าง ๆ

[แก้]
  • "ฮิตเลอร์" เป็นชื่อร้านขายไก่ทอดในจังหวัดอุบลราชธานีและเชียงใหม่ที่ใช้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นแนวรูปแบบ[8][9] ภายหลังเปลี่ยนชื่อร้านเป็น "เอช-เลอร์" และปิดตัวลง ระหว่างที่เปิดนั้น เคเอฟซีใคร่ครวญว่า จะดำเนินการทางกฎหมายต่อร้านนี้ เพราะใช้ตราสัญลักษณ์เป็นรูปหัวฮิตเลอร์บนตัวของผู้พันแซนเดอส์[10][11]
  • ชาระบายสมุนไพรไทยยี่ห้อหนึ่งมีกล่องเป็นรูปหัวฮิตเลอร์พ่นไฟจากปากและปล่อยลำแสงจากตา และมีคำบรรยายว่า "ปล่อยผี"[12]
  • มีการขายเสื้อทีเชิร์ตหลายแบบซึ่งมีภาพนาซี แบบหนึ่งแสดงภาพฮิตเลอร์เป็นเทเลทับบี อีกแบบหนึ่งแสดงภาพฮิตเลอร์เป็นแพนด้า[1]
  • ใน พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติผลิตวิดีโอชวนเชื่อเรื่องค่านิยมหลักของสังคมไทย[2] วีดิโอมีเด็กระบายรูปฮิตเลอร์โดยมีสวัสติกะเป็นฉากหลัง
  • นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวาดจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ แสดงภาพฮิตเลอร์เคียงคู่กับเหล่ายอดมนุษย์ ทำให้มหาวิทยาลัยต้องขออภัย[1]
  • ใน พ.ศ. 2554 นักเรียนโรงเรียนคาทอลิกแห่งหนึ่งเดินขบวนกีฬาสีโดยใส่ชุดทหารชุทซ์ชตัฟเฟิล ทำให้ชาวตะวันตกโกรธเคือง และโรงเรียนต้องขออภัย[2]
  • พิชญาภา นาถา หรือน้ำใส สมาชิก BNK48 ใส่เสื้อเชิ้ตแนวนาซีที่มีรูปสวัสติกะทั้งตัว ขึ้นเวทีแสดงซึ่งถ่ายทอดทางโทรทัศน์เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562 สองวันก่อนถึงวันสากลรำลึกฮอโลคอสต์ ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก[13] อย่างไรก็ดี รูปของเสื้อนั้นเป็นเครื่องหมายของครีกมารีนเนอร์ (ทัพเรือศึก) อันเป็นธงของกองทัพเรือ
  • สถานทูตอิสราเอลเรียกร้องคำขอโทษจากเยาวชนคนหนึ่งที่แต่งกายด้วยเครื่องแบบชุทซ์ซตัฟเฟิลไปถ่ายภาพวันคริสตมาสที่เซนทรัลเวิลล์ แต่กระแสตีกลับค่อนข้างรุนแรงเพราะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยรัฐบาลต่างชาติ อย่างไรก็ดี เยาวชนคนนั้นได้กล่าวคำขอโทษต่อสถานทูต เหตุการณ์จึงยุติลง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Shuo, Han; Wang, Zhoakun (21 August 2013). "Why Hitler is hip in Thailand". Global Times. China. สืบค้นเมื่อ 4 June 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Hitler imagery in Thai junta propaganda film sparks outrage". Mail & Guardian. 10 December 2014. สืบค้นเมื่อ 4 June 2015.
  3. "Thai junta propaganda film stuns with Hitler scene". The Japan Times. 10 May 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-10. สืบค้นเมื่อ 2019-10-09.
  4. Locker, Melissa. "KFC Is Not Amused by 'Hitler' Fried Chicken" – โดยทาง newsfeed.time.com.
  5. Tuohy, Tom. "Thai educators grapple with Nazi imagery". www.aljazeera.com.
  6. Ramasoota, Pirongrong (18 July 2013). "Ignorance, hypocrisy and Chula's Hitler billboard". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 18 July 2018.
  7. "Hitler appears in Thai propaganda video". Fox News World. AP. 10 December 2014.
  8. DeHart, Jonathon (10 July 2013). "'Hitler' Fried Chicken: KFC Logo Gets Troubling Nazi Chic Makeover". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 2013-07-23.
  9. "Thailand's "Hitler Fried Chicken" is a Little Out Of Mein Kampfort Zone". Policymic. สืบค้นเมื่อ 2013-07-23.[ลิงก์เสีย]แม่แบบ:DL
  10. DeNinno, Nadine (2013-07-08). "'Hitler' Fried Chicken: KFC May Sue Restaurant In Thailand For Replacing Colonel Sanders With Adolf Hitler". International Business Times. สืบค้นเมื่อ 2013-07-23.
  11. "KFC Threatens Legal Action Against 'Hitler' Chicken". NASDAQ. สืบค้นเมื่อ 2013-07-23.[ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]
  12. "Tri Siam Adverts & Commercials Archive". Coloribus. Lixil Graphics Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-08. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
  13. Ruiz, Todd, บ.ก. (2019-01-26). "Thai idol group BNK48 member wears Nazi flag on stage". Khaosod English. Bangkok: Khaosod. สืบค้นเมื่อ 2019-01-26.