ฟุตบอลทีมชาติเวเนซุเอลา
ฉายา | La Tricolor (ไตรรงค์), แดนนางงาม | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สหพันธ์ฟุตบอลเวเนซุเอลา (เอเฟอูเบเอเฟ) | ||
สมาพันธ์ | คอนเมบอล (อเมริกาใต้) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | José Pékerman | ||
กัปตัน | โตมัส ริงกอน | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | ฮวน อารังโก (129) | ||
ทำประตูสูงสุด | ซาโลมอน รอนดอน (38) | ||
สนามเหย้า | สนามกีฬาโอลิมปิก (การากัส) เอสตาดิโอเมโตรโปลิตาโนเดเมริดา โปลิเดปอร์ติโบกาชาไม | ||
รหัสฟีฟ่า | VEN | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 54 (20 มิถุนายน 2024)[1] | ||
อันดับสูงสุด | 25 (พฤศจิกายน 2019) | ||
อันดับต่ำสุด | 129 (พฤศจิกายน 1998) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
ปานามา 3–1 เวเนซุเอลา (ปานามาซิตี ปานามา; 12 กุมภาพันธ์ 1938) | |||
ชนะสูงสุด | |||
เวเนซุเอลา 7–0 ปวยร์โตรีโก (การากัส เวเนซุเอลา; 16 มกราคม 1959) | |||
แพ้สูงสุด | |||
[[Image:{{{flag alias-1815}}}|22x20px|border |ธงชาติอาร์เจนตินา]] อาร์เจนตินา 11–0 เวเนซุเอลา (โรซาริโอ อาร์เจนตินา; 10 สิงหาคม 1975) | |||
โกปาอาเมริกา | |||
เข้าร่วม | 19 (ครั้งแรกใน 1967) | ||
ผลงานดีที่สุด | อันดับที่ 4 (2011) |
ฟุตบอลทีมชาติเวเนซุเอลา (สเปน: Selección de fútbol de Venezuela) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศเวเนซุเอลา อยู่ภายใต้การควบคุมของสหพันธ์ฟุตบอลเวเนซุเอลา (Federación Venezolana de Fútbol, FVF) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลฟุตบอลในประเทศเวเนซุเอลา พวกเขามีฉายาว่า ลาบิโนตินโต ("ไวน์แดง") เนื่องจากพวกเขาใช้ชุดแข่งขันสีเบอร์กันดี พวกเขามักใช้สนามเหย้า 3 แห่งหมุนเวียนกันไป ได้แก่ โปลิเดปอร์ติโบกาชาไมที่ปูเอร์โตออร์ดัซ, สนามกีฬาโฮเซ อันโตนิโอ อันโซอาเตกิ ที่ปูเอร์โตลากรุซ และสนามกีฬาปูเอโบลนูเอโบที่ซานกริสโตบัล นอกจากนี้ พวกเขายังใช้สนามแห่งอื่น ๆ ในประเทศในการแข่งขันนัดกระชับมิตร
เวเนซุเอลามีความแตกต่างจากชาติอื่นในอเมริกาใต้และแถบแคริบเบียนตรงที่เบสบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมาก ทำให้ฟุตบอลทีมชาติขาดความสำเร็จในการแข่งขันระดับทวีป เวเนซุเอลาเป็นเพียงชาติเดียวจากคอนเมบอลที่ไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเลย อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 2011 เวเนซุเอลาทำผลงานที่ดีที่สุดในการแข่งขันโกปาอาเมริกาด้วยการจบที่อันดับที่ 4 ทำให้มีการพัฒนานักฟุตบอลและสนับสนุนทีมชาติมากขึ้น ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 เวเนซุเอลาเป็นชาติที่มีอันดับโลกฟีฟ่าดีที่สุดที่ไม่เคยเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย โดยในตอนนั้น พวกเขาอยู่อันดับที่ 25[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA.com. FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-02. สืบค้นเมื่อ 28 November 2018.