ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 นัดชิงชนะเลิศ
![]() สนามกีฬาเอลลิสปาร์ก ในโจฮันเนสเบิร์ก สนามแข่งขันในนัดดังกล่าวนี้ | |||||||
รายการ | ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||
วันที่ | 28 มิถุนายน 2009 | ||||||
สนาม | สนามกีฬาเอลลิสปาร์ก, โจฮันเนสเบิร์ก | ||||||
ผู้เล่นยอดเยี่ยม ประจำนัด | กาก้า (บราซิล)[1] | ||||||
ผู้ตัดสิน | มาร์ติน แฮนเอสตอน (สวีเดน)[2] | ||||||
ผู้ชม | 52,291 | ||||||
สภาพอากาศ | กลางคืนฟ้าสดใส 10 องศาเซลเซียส (50 องศาฟาเรนไฮต์) 26% ความชื้น | ||||||
ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 นัดชิงชนะเลิศ เป็นการแข่งขันฟุตบอลเพื่อตัดสินหาทีมผู้ชนะของการแข่งขัน ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 ระหว่างทีมชาติสหรัฐอเมริกา ทีมชนะเลิศคอนคาแคฟโกลด์คัพ 2007 พบกับทีมชาติบราซิล ทีมชนะเลิศโกปาอาเมริกา 2007 จัดขึ้นในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 2009 ณ สนามกีฬาเอลลิสปาร์ก โยฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ โดยในครึ่งเวลาแรก สหรัฐอเมริกา ขึ้นนำไปก่อนด้วยคะแนน 2–0 ก่อนที่ในครึ่งเวลาหลัง บราซิล จะทำสามประตูแซงเอาชนะไปด้วยคะแนน 2–3 นับเป็นการชนะเลิศฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพครั้งที่ 3 ของพวกเขา
เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ
[แก้]ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ เป็นการแข่งขันฟุตบอลที่จัดขึ้นทุกสี่ระหว่างทีมชาติชาย 8 ทีมที่ชนะการแข่งขันชิงแชมป์ทวีปจากทั้งหกทวีป ประเทศเจ้าภาพ และทีมชนะเลิศฟุตบอลโลก[3][4] โดยทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศประจำปีนี้ได้สำเร็จ ได้แก่ สหรัฐ และบราซิล โดยทั้งคู่เคยพบกันมาแล้ว 13 ครั้ง รวมทั้งในรอบแบ่งกลุ่มของฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 1999 และ 2003 และในรอบแพ้คัดออกของฟุตบอลโลก 1994[5][6] โดยบราซิลชนะสิบสองนัดในขณะที่ สหรัฐชนะบราซิลได้เพียงนัดเดียวในรอบรองชนะเลิศของคอนคาเคฟโกลด์คัพ 1998 ด้วยคะแนน 1–0[7][8]
โดย สหรัฐ ได้เข้ามาเล่นในการแข่งขันนี้จากการชนะเลิศ คอนคาแคฟโกลด์คัพ 2007 ที่ประเทศของเขาเป็นเจ้าภาพ โดยผ่านเข้ามาแข่งขันเป็นลำดับที่ 4 ส่วนบราซิลได้จากการชนะเลิศ โกปาอาเมริกา 2007 ที่เวเนซุเอลา เข้ามาแข่งขันเป็นลำดับที่ 6[9] ก่อนหน้านี้บราซิลเคยคว้าแชมป์ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชั่นส์คัพสองครั้งในปี 1997 และ 2005 ในขณะที่ สหรัฐอเมริกา ได้ลงเล่นในรอบชิงชนะเลิศครั้งแรกในการแข่งขันระดับทีมชุดใหญ่นอกภูมิภาคอเมริกาเหนือ[10][11] ทั้งสองทีมได้ลงเล่นในกลุ่มบี ในรอบแบ่งกลุ่ม เช่นกันกับ อียิปต์ แชมป์แอฟริกันคัพออฟเนชันส์ และอิตาลี แชมป์ฟุตบอลโลก[12]
รอบแบ่งกลุ่ม
[แก้]ในนัดแรกของสหรัฐอเมริกา ที่ฟรีสเตต พวกเขาต้องพบกับแชมป์โลกอย่าง ทีมชาติอิตาลี ถึงแม้ว่าพวกเขาจะขึ้นนำก่อนจาก แลนดอน โดโนแวน จากลูกโทษ ในนาทีที่ 41[13] แต่พวกเขาก็เสียประตูในครึ่งเวลาหลังถึงสามประตู จากดานีเอเล เด รอสซี และจูเซปเป รอสซี ทำให้พวกเขาแพ้ไปด้วยคะแนน 1–3 ขณะที่ บราซิล ลงเล่นพบกับอียิปต์ โดยพวกเขาขึ้นนำเร็วตั้งแต่ 5 นาทีแรกจากกากา และถูกตีเสมอจากโมฮาเหม็ด ซีดาน ก่อนที่ลูอีส ฟาเบียนู และฮวน จะทำคนละหนึ่งประตูทำให้บราซิลขึ้นนำอีกครั้ง ก่อนที่จะถูกตีเสมอจาก ซีดาน และ ชอว์กี ในนาทีที่ 54 และ 55 แต่สุดท้าย กากา ก็สามารถทำประตูให้บราซิลเอาชนะด้วยคะแนน 4–3 ได้จากลูกโทษ หลังจากผู้ตัดสินมองว่า อะห์มัด อัลมุฮัมมะดี เจตนาใช้แขนปัดสกัดลูกยิงของลูซียู[14][15]
ในนัดที่สองทั้ง สหรัฐ และบราซิล ต้องพบกันที่ลอฟตัสเวอร์สเฟลด์ โดยเป็นบราซิลที่เอาชนะไปได้ด้วยคะแนน 0–3 จากไมกง ที่เปิดฟรีคิกด้วยระยะ 35 หลาให้กับเฟลิเป เมโล ทำประตูในนาทีที่ 7 ก่อนที่จะถูกขึ้นนำห่างไปอีกครั้งในนาทีที่ 20 หลังจาก ดามาคัส บีสลี่ย์ เสียการครอบครองบอลจากลูกเตะมุมของสหรัฐ ให้กับ รามีริส เลี้ยงบอลและส่งต่อให้ โรบินยู ยิงผ่านทิม ฮาวเวิร์ดเข้าประตู ในนาทีที่ 57 ซาช่า เคลสตาน ได้นับใบแดงและทำให้ทีมเสียโมเมนตัมที่พวกเขาได้รับในครึ่งหลัง ก่อนที่จะเสียประตูสุดท้ายให้กับบราซิลในอีกห้านาทีต่อมาจากไมกง[16] แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะแพ้สองนัดแรก แต่พวกเขาก็ยังมีสิทธิ์ที่จะผ่านเข้ารอบหลังจาก อียิปต์ แพ้ให้กับอิตาลี[17]
ในนัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่ม สหรัฐ สามารถเอาชนะ อียิปต์ ได้ด้วยคะแนน 3–0 จากการทำประตูของ ชาร์ลี เดวีส์ ไมเคิล แบรดลีย์ และคลินต์ เดมป์ซีย์ คนละหนึ่งลูประตู ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถเก็บสามคะแนนได้และมีประตูได้เสียเพิ่มขึ้นมาเป็นติดลบ 2 และทีมชาติอียิปต์มีประตูได้เสียลดลงเป็นติดลบ 3 ขณะที่ บราซิล ก็สามารถเอาชนะอีตาลี ได้ด้วยคะแนน 3–0 เช่นกัน จากการทำประตูของลูอีส ฟาเบียนู สองประตูและการทำเข้าประตูตัวเองของอันเดรีย ดอสเซนา กองหลังของอิตาลีอีกหนึ่งประตู ทำให้อิตาลีมีเพียงสามคะแนน เช่นกันกับ อียิปต์ และสหรัฐ และอิตาลีมีประตูได้เสียติดลบ 2 เช่นกันกับสหรัฐ ทำให้ต้องไปวัดกันที่ประตูได้ ซึ่งสหรัฐยิงได้สี่ประตู ขณะที่ อิตาลีทำได้เพียงสามประตู ทำให้สหรัฐผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกต่อไป
รอบรองชนะเลิศ
[แก้]สหรัฐอเมริกา เผชิญหน้ากับผู้ชนะกลุ่มเออย่าง สเปน แชมป์ทวีปยุโรปในปี ค.ศ. 2008 และเป็นทีมเต็งที่จะคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2010[18][19] สหรัฐ ชนะการแข่งขันด้วยคะแนน 2–0 ทำลายสถิติการไม่แพ้ใครของสเปนที่เริ่มในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2006[20] และผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศเป็นครั้งแรกในการแข่งขันทีมชุดใหญ่ระหว่างทวีป เดอะนิวยอร์กไทม์ส ขนานนามว่า "ปาฎิหารย์บนพื้นหญ้า" หรือ "miracle on grass"[11][21] ในนัดนี้ สหรัฐ เริ่มต้นการแข่งขันด้วยแรงกดดันในช่วงต้นและทำให้สไตล์การครอบครองกองกลางของสเปนหยุดชะงัก โจซี อัลติดอร์ ทำประตูแรกของเกมในนาทีที่ 27[20] สหรัฐ สามารถที่จะป้องกันการทำประตูของสเปนที่สร้างโอกาสการทำประตูถึง 18–9 ครั้ง และทำประตูที่สองได้ในนาทีที่ 74 ด้วยการผ่านบอลของ แลนดอน โดโนแวน ที่ทำให้ ฌาราร์ต ปิเก และเซร์ฆิโอ ราโมส หักเหไปด้านหน้า ทำให้ คลินต์ เดมป์ซีย์ ไปแย่งบอลจากปีเกที่ไม่สารถครองครองบอลได้แล้วยิงผ่านมือของ อิเกร์ กาซิยัส จากระยะสั้นไปเป็น 2–0[11][22]
ขณะที่ บราซิล ต้องพบกับเจ้าภาพอย่าง แอฟริกาใต้ รองแชมป์กลุ่ม A โดยชนะไปได้วยคะแนน 1–0 การแข่งขันยังคงไร้การทำประตูเป็นเวลา 88 นาทีแม้บราซิลพยายามที่จะทำประตูหลายครั้ง ก่อนที่ ดาเนียล อัลวีส ตัวสำรองจะเตะฟรีคิกจากมุมไกลผ่านมือของ อีตูเมเลง คูเน เข้าไปเป็นประตูเดียวในนัดนี้
สหรัฐอเมริกา | รอบ | บราซิล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คู่แข่งขัน | สกอร์ | รอบแบ่งกลุ่ม | คู่แข่งขัน | สกอร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
1–3 | แมตซ์ 1 | ![]() |
4–3 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
0–3 | แมตซ์ 2 | ![]() |
3–0 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
3–0 | แมตซ์ 3 | ![]() |
3–0 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กลุ่ม บี รองแชมป์กลุ่ม
|
ตารางคะแนนรอบแบ่งกลุ่ม | กลุ่ม บี แชมป์กลุ่ม
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คู่แข่ง | สกอร์ | รอบแพ้คัดออก | คู่แข่ง | สกอร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
2–0 | รอบรองชนะเลิศ | ![]() |
1–0 |
การแข่งขัน
[แก้]สรุป
[แก้]ดุงกา ผู้จัดการทีมของบราซิล เลือกที่จะใช้รูปแบบ 4–2–3–1 ที่ทีมเคยใช้ในการแข่งขันครั้งก่อน ขณะที่ บ็อบ แบรดลีย์ ผู้จัดการทีมของสหรัฐอเมริกา เลือกใช้แผน 4–4–2[23] โดยเปลี่ยนผู้เล่นหนึ่งคนคือ ไมเคิล แบรดลีย์ เนื่องจากถูกลงโทษแบนหลังจากโดนใบแดงในรอบรองชนะเลิศและถูกแทนที่โดย เบนนี เฟลฮาเบอร์ ในรายการเริ่มต้น[24][25] ในพิธีก่อนการแข่งขันฟีฟ่าให้นักเตะทั้งสองทีมยืนให้เกียรติ มาร์ค วิเวียนโฟเอ กองกลางชาวแคเมอรูน ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในการแข่งขันรอบรองชนะเลิศฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชั่นส์คัพ 2003[26] โดยมีมาร์ค สก็อตต์โฟเอ ลูกชายอ่านข้อความเพื่อรำลึกถึงพ่อของเขา[41]
สหรัฐอเมริกาขึ้นนำก่อนในนาทีที่ 10 จาก โจนาธาน สเปคเตอร์ ด้วยเท้าขวาจากลูกเปิดบอลนอกกรอบเขตโทษของ คลินท์ เดมป์ซีย์ จากนั้น ทิม ฮาวเวิร์ด ผู้รักษาประตู ได้ทำการเซฟสำคัญหลายครั้งเพื่อรักษคะแนนการนำของพวกเขา ท่ามกลางการโจมตีของบราซิลอย่างหนัก สหรัฐ ใช้ประโยชน์จากการโต้กลับของ ริคาร์โด คลาร์ก วิ่งผ่านเส้นครึ่งสนามและผ่านไปยัง แลนดอน โดโนแวน ยิงจากนอกเขตโทษทำประตูได้สำเร็จในนาทีที่ 27[27] เกมจบครึ่งแรกโดยสหรัฐขึ้นนำ 2-0 โดยเป็นที่ตกตลึงของนักวิจารณ์ฟุตบอลเป็นอย่างมาก[28][29]
บราซิล ไล่ขึ้นมาเป็น 2–1 ในนาทีแรกของครึ่งเวลาหลังจาก ลูอีส ฟาเบียนู ตะหวัดบอลทำทำประตูในกรอบเขตโทษ, ในนาทีที่ 60 กาก้า โหม่งบอลผ่านเส้นประตู แต่ทิม ฮาวเวิร์ด สามารถปัดออกไปได้ โดยทีมงานผู้ตัดสินตัดสินไม่ให้ประตูดังกล่าว โดยภาพช้าแสดงให้เห็นว่าบอลข้ามเส้นไปแล้วทั้งใบ[24][27] ก่อนที่ บราซิล จะได้ประตูตีเสมอได้ในนาทีที่ 74 จากฟาเบียนู ที่ยิงซ้ำลูกบอลที่ชนคานออกมาจากลูกโกม่งของกาก้า ในนาทีที่ 84 เอลาโน เปิดเตะมุมให้กับ ลูซิอู ยิงเข้าประตูทำให้บราซิลแซงเอาชนะไปได้ด้วยคะแนน 2–3[24]
รายละเอียด
[แก้]![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() สหรัฐอเมริกา
|
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บราซิล
|
|
![]() |
|
แมนออฟเดอะแมตซ์:
ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
|
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Budweiser Man of the Match: Kaka (BRA)". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 28 June 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-01. สืบค้นเมื่อ 29 June 2009.
- ↑ "USA-Brazil preview". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-29. สืบค้นเมื่อ 27 June 2009.
- ↑ Montague, James (19 June 2013). "A Soccer Win for Tahiti? A Goal Would Be Terrific". The New York Times. p. B15. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ Stevenson, Jonathan (12 June 2009). "What is the Confederations Cup?". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ "USA national football team: record v Brazil". 11v11.com. Association of Football Statisticians. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ Jones, Grahame L. (21 June 2009). "Road to South Africa may be hopeless cause for this U.S. team". Los Angeles Times. p. C4. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019 – โดยทาง Newspapers.com.
- ↑ Condie, Stuart (26 June 2009). "Brazil prevails, plays U.S. for championship". The Seattle Times. Associated Press. p. C2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-22. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ "Old foes meet again". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 28 June 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-23. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ "FIFA Confederations Cup South Africa 2009 Qualifiers". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2008. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ "Soccer: Tired Brazil does just enough". The New York Times. 27 June 2005. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Goff, Steven (25 June 2009). "U.S. Shocks No. 1 Spain in Confederations Cup". The Washington Post. p. C1. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ Jones, Grahame L. (23 November 2008). "U.S. men's team faces tough tests". Los Angeles Times. p. D4. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019 – โดยทาง Newspapers.com.
- ↑ Ashenden, Mark (15 June 2009). "USA 1–3 Italy". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ Ashenden, Mark (15 June 2009). "Brazil 4–3 Egypt". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ Ashdown, John (15 June 2009). "Egypt to protest as Webb awards Brazil winning penalty after TV replay". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ Longman, Jeré (18 June 2009). "A Brazilian Buzzsaw Consumes the U.S." The New York Times. p. B11. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ Jones, Grahame L. (19 June 2009). "U.S. simply outclassed by Brazil". Los Angeles Times. p. C4. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019 – โดยทาง Newspapers.com.
- ↑ Longman, Jeré (22 June 2009). "After Fighting Out of Corner, U.S. Back in Ring at Confederations Cup". The New York Times. p. B11. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ Hawkey, Ian (14 June 2009). "Spain favourites for World Cup rehearsal". The Times. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ 20.0 20.1 Longman, Jeré (24 June 2009). "Americans Stun Spain and the Soccer World". The New York Times. p. B11. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ Vecesy, George (24 June 2009). "U.S. Victory Was a Miracle on Grass". The New York Times. p. A1. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ Jones, Grahame L. (25 June 2009). "Americans ace big Spanish test". Los Angeles Times. p. C1. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ Jones, Grahame L. (28 June 2009). "Brazil, in name only". Los Angeles Times. p. C6. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019 – โดยทาง Newspapers.com.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 Smyth, Rob (28 June 2009). "USA 2-3 Brazil - as it happened". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ Dampf, Andrew (28 June 2009). "Upstart U.S. challenges mighty Brazil". The Tennessean. Associated Press. p. C2. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019 – โดยทาง Newspapers.com.
- ↑ "Fifa will stage memorial for Foe". BBC Sport. 22 June 2009. สืบค้นเมื่อ 24 June 2009.
- ↑ 27.0 27.1 Bell, Jack (28 June 2009). "Match Tracking Confederations Cup Final: Brazil 3, U.S. 2". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
- ↑ Dawkins, Phil (28 June 2009). "USA 2–3 Brazil". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 19 August 2010.
- ↑ Longman, Jeré (28 June 2009). "U.S. Lets Confederations Cup Slip Away". The New York Times. p. D1. สืบค้นเมื่อ 23 June 2019.