ฟิกซ์เอต
ฟิกซ์เอต | |
---|---|
ผู้พัฒนา | โทแพลน |
ผู้จัดจำหน่าย | โทแพลน |
ออกแบบ | นัมเป คาเนโกะ |
แต่งเพลง | โทชิอากิ โทมิซาวะ |
เครื่องเล่น | อาร์เคด |
วางจำหน่าย |
|
แนว | รันแอนด์กัน |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว, ร่วมมือกัน, หลายผู้เล่น (ผู้เล่นพร้อมกันสูงสุดสามคน) |
ฟิกซ์เอต (อังกฤษ: FixEight)[a] เป็นวิดีโอเกมอาร์เคดแนวรันแอนด์กันที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทโทแพลนเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1992[1] โดยเป็นเกมผู้สืบทอดจิตวิญญาณของเอาต์ โซน ค.ศ. 1990 ซึ่งโดดเด่นเพราะเป็นหนึ่งในไม่กี่เกมโดยโทแพลนที่ไม่ได้รับพอร์ตอย่างเป็นทางการไปยังคอนโซลภายในบ้านสมัยนั้น[2][3][4][5] เกมนี้มีฉากอยู่ในอนาคตที่เผ่าพันธุ์เอเลียนซึ่งรู้จักกันในชื่อกอซซูจากดาวเคราะห์สมมติชื่อฟอร์ทูนาบุกเข้ามาในเอกภพ และผู้เล่นได้รับมอบหมายจากรัฐบาลสหพันธ์กาแล็กติกในภารกิจกำจัดผู้รุกรานโดยสวมบทบาทเป็นทหารรับจ้างหนึ่งในแปดคน
ทั้งนี้ ใน ค.ศ. 2019 สิทธิ์ในฟิกซ์เอตได้เป็นของทัตสึจิง ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้งใน ค.ศ. 2017 โดยมาซาฮิโระ ยูเงะ อดีตสมาชิกโทแพลน และปัจจุบันเป็นบริษัทในเครือของผู้ผลิตเกมอาร์เคดญี่ปุ่นอย่างเอกซา-อาร์เคเดีย ควบคู่ไปกับทรัพย์สินทางปัญญาของโทแพลนอื่น ๆ อีกมาก
รูปแบบการเล่น
[แก้]ฟิกซ์เอตเป็นเกมแนวรันแอนด์กันเลื่อนแนวตั้งธีมบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ที่คล้ายกับเกมเอาต์ โซน ซึ่งผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นหนึ่งในแปดทหารรับจ้างที่เล่นได้ผ่านด่านที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ เจ็ดด่าน โดยแต่ละด่านจะมีบอสซึ่งต้องต่อสู้ก่อนที่จะผ่านด่านใด ๆ ต่อไป ในความพยายามที่จะกำจัดเผ่าพันธุ์เอเลียนกอซซูที่บุกรุกบนดาวเคราะห์ฟอร์ทูนาเป็นวัตถุประสงค์หลัก[6][7][8][9][10] เหล่าผู้เล่นต่อสู้กับศัตรูด้วยการเดินเท้า และเคลื่อนที่ขึ้นไปข้างบนตลอดเลเวล ผู้เล่นยังได้รับระเบิด "เอกซ์" จำนวนหนึ่ง ณ จุดเริ่มต้น ซึ่งสามารถโจมตีศัตรูที่อยู่ในรัศมีระเบิด ทำให้ผู้เล่นอยู่ยงคงกระพันในช่วงเวลาสั้น ๆ หลังจากใช้ระเบิด และจะเติมในสต็อกของผู้เล่นได้อีกจากการเก็บไอคอน "บี"[4][11][12][13]
ส่วนที่กลับมาจากเกมเอาต์ โซน คือระบบอาวุธ แม้ว่าจะมีการดัดแปลง ผู้เล่นจะติดตั้งอาวุธหลักสองชิ้นในตอนเริ่ม ซึ่งสามารถอัปเกรดได้โดยเก็บไอคอน "พี" และสลับระหว่างอาวุธทั้งสองได้ตามต้องการโดยยืนอยู่บนแผงเปลี่ยน แต่ตัวละครแต่ละตัวมีชุดอาวุธของตัวเอง เช่นเดียวกับชุดอาวุธของพวกเขา เป็นเจ้าของอาวุธพิเศษที่ได้มาจากไอคอน "?"[4][11][13] การไขว่คว้าไอคอน "?" หลังจากได้รับอาวุธพิเศษจะมอบคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น การเพิ่มความเร็วโดยรวมของตัวละครหรือเกราะป้องกัน[13] ส่วนไอเทมอื่น ๆ เช่น ทองคำแท่งและรูปปั้นทองคำยังสามารถรับคะแนนได้[11][13] ทั้งนี้ สิ่งที่ขาดหายไปจากเกมก่อนหน้าคือระบบแถบพลังงานที่ผู้เล่นต้องตระหนักถึงระดับพลังงานที่หมดลง[4]
หากผู้เล่นเดี่ยวล้มลง ตัวละครของพวกเขาจะเกิดใหม่ทันทีในตำแหน่งที่พวกเขาตาย ซึ่งแตกต่างจากระบบเช็กพอยต์ของเกมก่อนหน้า[4] การโดนศัตรูยิง, การชนกับสิ่งกีดขวางที่แข็งในต่าน หรือการตกจากด่านจะส่งผลให้สูญเสียชีวิต เช่นเดียวกับบทลงโทษของการลดอำนาจการยิงรวมทั้งความเร็วของตัวละครให้กลับสู่สภาพเดิม และเมื่อทุกชีวิตสูญเสียไป เกมจะโอเวอร์ เว้นแต่ผู้เล่นจะใส่เครดิตเพิ่มในเครื่องอาร์เคดเพื่อเล่นต่อ ซึ่งแม้ว่าจะมีฉากจบ แต่เกมจะวนกลับไปที่ด่านแรกหลังจากจบด่านสุดท้ายเช่นเดียวกับเกมก่อนหน้าจากบริษัทโทแพลน โดยลูปที่สองจะเพิ่มความยากและศัตรูจะยิงรูปแบบกระสุนที่หนาแน่นขึ้น นอกเหนือจากการเกิดของกระสุนพิเศษเมื่อถูกทำลาย (บางครั้งเรียกว่า 'กระสุนฆ่าตัวตาย' หรือ 'เอฟเฟกต์กระสุนที่กระดอน') และการเอาชนะลูปที่สองส่งผลให้ถูกส่งกลับไปยังด่านแรก โดยเริ่มลูปที่สาม
สรุปความ
[แก้]โครงเรื่อง
[แก้]ฟิกซ์เอตเกิดขึ้นในอนาคตที่เผ่าพันธุ์เอเลียนที่รู้จักกันในชื่อกอซซูจากดาวฟอร์ทูนาได้รุกรานจักรวาล ทำให้รัฐบาลของสหพันธ์กาแล็กติกปล่อยกลุ่มทหารรับจ้างแปดนายจากการจำคุกในเรือนจำดาวเคราะห์น้อย และส่งพวกเขาไปยังดาวฟอร์ทูนาด้วยภารกิจในการทำลายล้างผู้รุกรานข้าง ๆ ดาวเคราะห์ของพวกเขา[4][11][12][13]
ตัวละคร
[แก้]- ฮาเวิร์ด ยัง: ทหารผ่านศึกชาวอเมริกาเหนือที่ถูกคุมขังในคุกและติดโรค
- จีเอกซ์-026: แอนดรอยด์ที่ทำลายล้างดาวเคราะห์ 26 ดวงทั่วกาแล็กซีด้วยตัวคนเดียวในหนึ่งปี
- วิสตาริโอ: โจรสลัดอวกาศรูปร่างคล้ายกิ้งก่าจากดาวฤกษ์โอลิโก
- อกาธา บอร์โด: อดีตนักรบซูเปอร์โมเดลชาวอิตาลีที่ถูกจำคุกในข้อหากบฏ ภาพเหมือนของเธอที่หน้าจอเลือกตัวละครมีความคล้ายคลึงกับนักแสดงหญิง ชารอน สโตน[14]
- ลูซี พาเมลา: เจ้าหญิงแห่งราชอาณาจักรที่ถูกคุมขังหลังจากปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ พระสาทิสลักษณ์ของพระนางที่หน้าจอเลือกตัวละครมีความคล้ายคลึงกับนักแสดงหญิง แวเนสซา แพแรดี[14]
- คัล ฮอร์น: ผู้นำกองทัพบกแอฟริกันที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาทรยศ ภาพเหมือนของเขาที่หน้าจอเลือกตัวละครมีความคล้ายคลึงกับนักมวยสากลอาชีพ ไมก์ ไทสัน[14]
- ฮายาเตะ ซิกรากิ: นินจาที่ไม่ทราบที่มาและตัวตนซึ่งถูกส่งตัวเข้าคุกฐานความพยายามลอบสังหารประธานาธิบดีของรัฐบาลสหพันธ์กาแล็กติก
- เรมลีอัส เอลเลอันเจโล: สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายแร่คริสโต ที่ถูกจับกุมหลังจากสั่งการกบฏให้ต่อสู้กับกองทหารศัตรูในสงครามเพื่อปกป้องธรรมชาติ
การพัฒนาและการตลาด
[แก้]ฟิกซ์เอตได้รับการวางจำหน่ายในอาร์เคดในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1992[1] แม้จะแชร์กลไกรูปแบบการเล่นแบบเดียวกัน แต่ทัตสึยะ อูเอมูระ ผู้แต่งดนตรีเอาต์ โซน ได้ระบุในพอดแคสต์เมื่อ ค.ศ. 2017 ว่าฟิกซ์เอต ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเกมอันก่อน แม้ว่าเขาและสมาชิกในทีมดั้งเดิมจะไม่มีส่วนร่วมระหว่างการพัฒนาก็ตาม[15][16] ตามที่จุงยะ อิโนอูเอะ อดีตนักออกแบบของบริษัทโทแพลนกล่าวไว้ ฟิกซ์เอตได้รับการออกแบบโดยนัมเป คาเนโกะ ผู้เป็นสมาชิกที่ต่อมาได้ทำงานในนักเคิลแบช ก่อนที่จะลาออกจากบริษัทและทำงานเป็นนักวาดภาพประกอบให้แก่นิตยสารของญี่ปุ่น[17][18] ส่วนซาวด์แทร็กแต่งโดยโทชิอากิ โทมิซาวะ[19] ซึ่งเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1992 มีอัลบัมที่ได้รับการเผยแพร่ร่วมกันในญี่ปุ่นโดยเฉพาะโดยไซทรอนและโพนีแคนยอน โดยมีเพลงเรียบเรียงที่แต่งโดยโทมิซาวะ[19] นอกจากนี้ สื่อบันทึกเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่บริษัทโทแพลนส่งไปยังผู้ให้บริการอาร์เคดยังมีเพลงที่เรียบเรียงซึ่งไม่มีอยู่ในอัลบัม ค.ศ. 1992[20]
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Akagi, Masumi (13 October 2006). タイトー (Taito); 東亜プラン (Toa Plan); Taito America; F. アーケードTVゲームリスト 国内•海外編 (1971-2005) (ภาษาญี่ปุ่น) (1st ed.). Amusement News Agency. pp. 44, 50, 137, 152. ISBN 978-4990251215.
- ↑ Yanma (August 1992). "Super Soft Hot Information - Video Game: フィグゼイド". Micom BASIC Magazine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 122. The Dempa Shimbunsha Corporation. p. 239.
- ↑ S.E.A. (March 1993). "Arcade Machine: Fixeight - Armamento infalible". Micromanía (ภาษาสเปน). Vol. 2 no. 58. HobbyPress. p. 70.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Zverloff, Nick (5 กุมภาพันธ์ 2011). "Toaplan Shooters (Page 5) - Fixeight". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2019.
- ↑ "The Unconverted: FixEight". Retro Gamer. No. 127. Future Publishing. March 2014. p. 67.
- ↑ "フィグゼイト". Gamest (ภาษาญี่ปุ่น). No. 75. Shinseisha. August 1992. p. 70.
- ↑ "フィグゼイト". Gamest (ภาษาญี่ปุ่น). No. 76. Shinseisha. September 1992.
- ↑ "フィグゼイト". Gamest (ภาษาญี่ปุ่น). No. 80. Shinseisha. November 1992.
- ↑ "フィグゼイト". Gamest (ภาษาญี่ปุ่น). No. 84. Shinseisha. February 1993.
- ↑ "フィグゼイト". Gamest (ภาษาญี่ปุ่น). No. 107. Shinseisha. February 1994.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 FixEight arcade flyer (Toaplan, JP)
- ↑ 12.0 12.1 FixEight manual (Toaplan, EU)
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 "FIXEIGHT" (ภาษาญี่ปุ่น). Shooting Star. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-11-15.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 derboo (October 2012). "Tracing the Influence: Stolen Images in Games - Part 5: Other: In-game graphics". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-11-15.
- ↑ "東亜プラン シューティングクロニクル". SweepRecord (ภาษาญี่ปุ่น). SuperSweep. 14 November 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-21. สืบค้นเมื่อ 2020-02-15. (Translation by Shmuplations. เก็บถาวร 2018-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน).
- ↑ Brian Mosley; James Brunner (มีนาคม 2017). "Out Zone with guest Tatsuya Uemura – PA76" (Podcast). Pixelated Audio. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2019.
- ↑ "井上淳哉 - 「エスプレイド」「ぐわんげ」を創った男". Continue (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 6. Ohta Publishing. September 2002. ISBN 978-4872337006. (Translation by Gamengai. เก็บถาวร 2019-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Transcription by Gaijin Punch. เก็บถาวร 2006-07-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน).
- ↑ "イラストレーターのわ第16回/金子ナンペイ". ワコムタブレットサイト (ภาษาญี่ปุ่น). Wacom. 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-10. สืบค้นเมื่อ 2020-08-13.
- ↑ 19.0 19.1 "PCCB-00100 | FIXEIGHT". vgmdb.net. VGMdb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-11-15. (Translation by Shmuplations. เก็บถาวร 2019-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน).
- ↑ Tatsuya Uemura (July 27, 2019). 『Fixeight』1992年JAMMAショー用PV. YouTube. สืบค้นเมื่อ 2019-12-12.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- FixEight at GameFAQs
- FixEight at Killer List of Videogames
- FixEight at MobyGames
- FixEight เก็บถาวร 2019-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at The Toaplan Museum