แฟแรแวแฮร์
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f9/Faravahar-Gold.svg/220px-Faravahar-Gold.svg.png)
แฟแรแวแฮร์ (เปอร์เซีย: فَرَوَهَر) มีอีกชื่อว่า โฟโรว์แฮร์ (فُروهَر) หรือ แฟร์เรคียอนี (فَرِّ کیانی) เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาอิหร่านที่กลุ่มชนอิหร่านส่วนใหญ่เคยนับถือก่อนที่มุสลิมพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิซาเซเนียนและการอพยพของชาวโซโรอัสเตอร์จำนวนมากไปที่อินเดียทันที เพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางศาสนาและหลบหนีจากการเบียดเบียนของมุสลิม[1][2] มีการตีความหลายแบบว่าแฟแรแวแฮร์มีความหมายว่าอะไร และยังไม่มีฉันทามติสากลที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับความหมายของมัน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่เชื่อว่าแฟแรแวแฮร์เป็นรูปสัญลักษณ์ของ ฟราวาชี หรือจิตวิญญาณของแต่ละบุคคลตามความเชื่อในศาสนาโซโรอัสเตอร์[3][4]
แฟแรแวแฮร์เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์สมัยก่อนการเข้ามาของศาสนาอิสลามที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของประเทศอิหร่าน และชาวอิหร่านในเอเชียตะวันตกและใต้มักใส่เป็นจี้ แม้จะมีต้นกำเนิดจากความเชื่อทางศาสนา แต่แฟแรแวแฮร์ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ทางฆราวาสและวัฒนธรรม ส่วนใหญ่มักใช้เป็นการรวมอัตลักษณ์ชาตินิยมอิหร่าน[5][6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "What Does the Winged Symbol of Zoroastrianism Mean?". About.com Religion & Spirituality. สืบค้นเมื่อ 2017-01-26.
- ↑ "Sacred Symbols". Zoroastrianism for beginners. สืบค้นเมื่อ 2017-01-26.
- ↑ Boyce 2000, pp. 195–199.
- ↑ "FRAVAŠI – Encyclopaedia Iranica". www.iranicaonline.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-04.
- ↑ "Europe | The Identity Necklace: Being Iranian in Britain". FRONTLINE - Tehran Bureau (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-04.
- ↑ staff, T. O. I.; Agencies. "Iran official: If US attacks, Israel will be destroyed in half an hour". www.timesofisrael.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-04-04.
- ↑ Szanto, Edith (2018-05-15). ""Zoroaster was a Kurd!": Neo-Zoroastrianism among the Iraqi Kurds". Iran and the Caucasus (ภาษาอังกฤษ). 22 (1): 96–110. doi:10.1163/1573384X-20180108. ISSN 1573-384X.
ข้อมูล
[แก้]- Boyce, M. (2000). "Fravaši". Encyclopaedia Iranica, Vol. X, Fasc. 2. pp. 195–199.
- Curtis, Vesta Sarkhosh (2007). "Religious iconography on ancient Iranian coins". Journal of Late Antiquity. London: 413–434.
- Olbrycht, Marek Jan (2016). "The Sacral Kingship of the early Arsacids. I. Fire Cult and Kingly Glory": 91–106.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Faravahar