ฟรันซิสโก เด ซูร์บารัน
ฟรันซิสโก เด ซูร์บารัน (สเปน: Francisco de Zurbarán) หรือ ฟรันซิสโก ซูร์บารัน (Francisco Zurbarán; 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1598 - 27 สิงหาคม ค.ศ. 1664) เป็นจิตรกรสมัยจิตรกรรมยุคบาโรกคนสำค้ญของประเทศสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพทางศาสนา เช่น นักพรต นักพรตหญิง มรณสักขีในศาสนาคริสต์ และภาพนิ่ง ซูร์บารันเป็นที่รู้จักกันในนาม "คาราวัจโจของสเปน" เพราะวิธีการวาดภาพอย่างเหมือนจริงและการใช้แสงเงาที่ตัดกันอย่างชัดเจนเช่นเดียวกับงานของคาราวัจโจ
ชีวิตเบื้องต้น
[แก้]ฟรันซิสโก ซูร์บารันเกิดที่ฟูเอนเตเดกันโตส (Fuente de Cantos) ที่แคว้นเอซเตรมาดูรา เป็นลูกของลุยส์ ซูร์บารัน คนขายเครื่องเย็บปักถักร้อยและอิซาเบล มาร์เกซ (Isabel Márquez) เมื่อยังเป็นเด็ก ซูร์บารันชอบวาดรูปสิ่งของต่างด้วยถ่าน เมื่อปี ค.ศ. 1614 ซูร์บารันก็ถูกพ่อส่งไปเซวิลล์เป็นเวลาราวสามปีเพื่อไปฝึกงานกับเปโดร ดิอัซ เด บิยานูเอบา (Pedro Díaz de Villanueva) ผู้เป็นศิลปินที่ไม่มีหลักฐานอะไรที่กล่าวถึง[2]
ลักษณะงาน
[แก้]ไม่เป็นที่ทราบว่าซูร์บารันมีโอกาสได้เลียนงานของการาวัจโจหรือไม่ แต่ซูร์บารันใช้ลักษณะการวาดภาพเหมือนและใช้แสงเงาที่ตัดกัน (chiaroscuro) จิตรกรผู้มีอิทธิพลต่อการของการวางองค์ประกอบของภาพของซูร์บารันคือฆวน ซันเชซ โกตัน (Juan Sánchez Cotán)[3] งานรูปปั้นโพลีโครมของซูร์บารันก็มีลักษณะดีกว่าจิตรกรท้องถิ่นตั้งแต่ยังฝึกงาน ศิลปินอีกผู้หนึ่งที่มีอิทธพลต่อซูร์บารันก็คือฆวน มาร์ติเนซ มอนตัญเญส (Juan Martínez Montañés)[4]
ซูร์บารันเขียนภาพจากธรรมชาติโดยตรงและมักจะชอบวาดแบบที่ใช้ผ้าทบทาบตัวโดยเฉพาะผ้าขาว ฉะนั้นซูร์บารันจึงชอบเขียนภาพระห่มขาวของคณะคาร์ทูเซียน งานของซูร์บารันเป็นงานที่ทำเฉพาะในประเทศสเปนและไม่มีอะไรที่ต่างไปจากชีวิตประจำวันมากนัก สิ่งที่วาดจะเป็นแบบเอาจริงเอาจัง เรียบ ขึงขัง และจะจำกัดตัวแบบลงเหลือเพียงตัวเดียว ลักษณะจะเรียบกว่าคาราวัจโจ และสีจะออกไปทางน้ำเงิน ผลของรูปเกิดจากการเขียนด้านหน้าอย่างชัดเจนสาดด้วยแสงและเงา
ชีวิตบั้นปลาย
[แก้]เมื่ออยู่ที่เซวิลล์ซูร์บารันแต่งงานกับเลโอนอร์ เด ฆอร์เดรา (Leonor de Jordera) มึลูกด้วยกันหลายคน เมื่อปี ค.ศ. 1630 ซูร์บารันได้รับแต่งตั้งให้เป็นจิตรกรประจำราชสำนักของพระเจ้าเฟลีเปที่ 4 แห่งสเปน มีเรื่องเล่ากันว่าครั้งหนึ่งพระเจ้าฟิลิปทรงวางพระหัตถ์บนไหล่ของซูร์บารันและทรงเปรยว่า “จิตรกรของกษัตริย์ กษัตริย์ของจิตรกร” หลังจากปี ค.ศ. 1640 แบบที่ขึงขังของซูร์บารันก็เริ่มมีความนิยมน้อยลงเมื่อเทียบกับแบบที่อ่อนหวานและมีสีสันมากกว่าของบาร์โตโลเม เอสเตบัน มูริโย เมื่อซูร์บารันมีอายุมากขึ้นก็ย้ายไปมาดริดเมื่อปี ค.ศ. 1658 เพื่อไปหางานทำและรื้อฟื้นการติดต่อกับเดียโก เบลัซเกซ ซูร์บารันตายอย่างไม่มีใครรู้จักและอย่างยากจน
งานของซูร์บารัน
[แก้]เมื่อปี ค.ศ. 1627 ซูร์บารันเขียนฉากประดับแท่นบูชาใหญ่ที่วัดเซนต์โทมัส อควีนาสซึ่งเป็นงานชิ้นใหญ่ที่สุดของซูร์บารัน ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เซวิลล์ บนฉากเป็นรูปพระเยซูและพระแม่มารีย์ นักบุญต่างๆ จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และอัศวิน และอาร์ชบิชอปเดซาผู้เป็นผู้ก่อตั้งวิทยาลัย กับนักพรตและผู้เกี่ยวข้อง ตัวแบบเอก ๆ มีขนาดใหญ่กว่าคนจริง
นอกจากนั้นซูร์บารันยังเขียนภาพขนาดใหญ่หลายภาพให้กับโบสถ์ซานตามาริอาเดกัวดาลูเป (Santa Maria de Guadalupe) 8 ภาพเป็นภาพเกี่ยวกับนักบุญเจอโรม, ที่โบสถ์ซันเปาโลที่เซบิยา ซูร์บารันสร้างรูป “การตรึงพระเยซูที่กางเขน” สองสีแบบเอกรงค์เทา ที่ทำให้ดูเหมือนทำจากหินอ่อน เมื่อปี ค.ศ. 1633 ซูร์บารันเขียนภาพสำหรับฉากประดับแท่นบูชาสำหรับอารามคาร์ทูเซียนที่เจเรซ ที่วังบวยนเรติโร ที่มาดริดซูร์บารันเขียนภาพที่เป็นแรงงานสิบสองเดือน (The Twelve Labours) ของเฮอร์คิวลีส ซึ่งเป็นงานที่ไม่ใช่งานศาสนา งานชิ้นสำคัญอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่ลอนดอนเป็นขนาดคนจริงของไฟรอาร์คณะฟรันซิสกันถือกะโหลก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Saint Luke as a Painter before Christ on the Cross. เก็บถาวร 2016-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Humanities Web. Retrieved 30 September, 2007.
- ↑ Gállego and Gudiol, 1987, p. 13.
- ↑ Gállego and Gudiol, 1987, p. 15.
- ↑ Gállego and Gudiol, 1987, p. 15.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]สมุดภาพ
[แก้]-
นักบุญลูกาผู้เป็นจิตรกรต่อพระพักตร์พระเยซูบนกางเขน
-
นักบุญคาซิลดาแห่งเบอร์โกส
-
“นักบุญฟรานซิสแห่งอัสซีซี”
-
แม่พระปฏิสนธินิรมล
(Inmaculada Concepcion) -
ภาพนิ่ง
-
“มรณกรรมของนักบุญโบนาเวนตูรา” ศพท่านอยู่ต่อหน้าสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 10 และพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอารากอน
-
พระแม่มารีย์เมื่อยังทรงพระเยาว์
-
นักบุญฟรานซิสแห่งอาซิซิสวดมนต์
-
ภราดาเปโดร มาชาโด ไฟร์อาร์คณะพระนางมารีย์พรหมจารีแห่งเมตตาธรรม
-
นักบุญเปโตรปรากฏตัวต่อหน้านักบุญเปโดร โนลัสโก