ข้ามไปเนื้อหา

ฟรองซัวส์ ดูบัวส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟรองซัวส์ ดูบัวส์ (François Du Bois เกิดที่ la Charite-sur-Loire เขต Burgundy ประเทศฝรั่งเศส) มีความสามารถหลายด้าน เช่น เป็นทั้งนักแต่งเพลง นักดนตรีมะริมบะ (marimba) ขณะเดียวกันเป็นทั้งอาจารย์ และนักเขียนหนังสือ

ประวัติ

[แก้]

เปิดตัวในวงการดนตรี

[แก้]

ฟรองซัวส์เริ่มเรียนดนตรีเมื่ออายุ 8 ปี เริ่มเป็นนักดนตรีมืออาชีพเมื่ออายุ 17 ปี และตั้งแต่อายุ16ปีถึง26ปีมีประวัติการทำงานด้านดนตรีโดยเป็นนักดนตรีประเภทตีของวงดนตรีออเคส ตร้า และนักตีกลองของวงดนตรีแจ๊ส ส่วนในวงการดนตรีคลาสสิคนั้น เคยมีประสบการณ์เล่นดนตรีร่วมกับ Lorin Maazel, Olivier Messiaen และ Mstislav Rostropovich และในวงการดนตรีแจ๊สนั้น เคยเล่นดนตรีร่วมกับ Richard Galliano, Trilok Gurtu, Dominique Di Piazza และ Abbey Lincoln

มุมมองจากด้านข้าง

[แก้]

เมื่อฟรองซัวส์อายุได้20ปี  เขาเกิดความรู้สึกขัดแย้งในจิตใจและไม่พึงพอใจกับทักษะการ เล่นดนตรีของตัวเอง เขารู้สึกว่าการเล่นดนตรีของตัวเองขาดความลุ่มลึก จึงได้ตัดสินใจเดินทางไปที่เบอกิน่าฟาโซ่ (Burkina Faso) ประเทศแอฟฟริกา เพื่อค้นหาใน“สิ่ง”ที่ตัวเองต้องการ แม้ว่าเขาจะต้องผ่านความทรมานจากการติดโรคมาลา เรีย แต่เขาก็ยังคงยืนหยัดต่อสู้ จนในที่สุดก็ได้ค้นพบสิ่งที่เขาค้นหามาโดยตลอด นั่นก็คือลัทธิ“shamanism”นั่นเอง จากการที่เขาได้เรียนรู้ถึงความถ่องแท้ของดนตรีแอฟฟริกาทำให้ความรู้สึกที่มีต่อดนตรี ของเขายิ่งลึกชึ้งไปกว่าเดิม หลังจากที่เขาได้กลับไปประเทศฝรั่งเศสแล้วก็ได้มีโอกาสพบปะและร่ำเรียนกับอาจารย์ RayLemaนักแต่งเพลงและนักร้องชาวแอฟฟริกาที่มีชื่อเสียงพร้อมกับเป็นผู้ก่อตั้งคณะ บัลเล่ห์แห่งชาติซาอีล(ปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาชนคองโก้) จากประสบการณ์ดังกล่าวทำให้ฟรองซัวส์ก้าวเข้าไปสู่ความสมบูรณ์แบบในด้านดนตรียิ่ง ขึ้น

ประสบการณ์อาชีพนักดนตรีมะริมบะ (marimba)

[แก้]

ฟรองซัวส์ได้เล่นดนตรีร่วมกับนักไวโอลินชาวแคนาดาชื่อ Helene Collerette (ปัจจุบันเป็น 1st soloist of the Philharmonic Orchestra of Radio France) หลังจากนั้นเขาได้ร่วมเล่นดนตรีกับนักไวโอลินชาวออสเตรเลียชื่อ Jane Peters (ซึ่งเป็นผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 3 ของการแข่งขันรางวัลไชคอฟสกี้นานาชาติ) พร้อมกับได้ออกทัวร์คอนเสริทภายในประเทศเยอรมันด้วย และในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1990 ฟรองซัวส์ได้รับการยกย่องถึงกับลงพาดหัวคอลัมน์บทความในนิตยสาร “Mainzer Rhein-Zeitung” อันมีชื่อเสียงด้านการวิพากษ์วิจารณ์ดนตรีที่เข้มงวด ว่าเป็น “นักสุดยอดแห่งไวโอลินและมะริมบะ” หลังจากนั้นเขาก็ได้ร่วมแสดงดนตรีกับนักเปียโนชื่อ Ludovic Selmi โดยได้ออกทัวร์คอนเสริทไปทั่วทุกประเทศในยุโรปรวมทั้งญี่ปุ่นด้วย ซึ่งการเยือนญี่ปุ่นในครั้งนี้เป็นการเยือนครั้งแรกของฟรองซัวส์ ในการแสดงดนตรีร่วมนี้ทำให้ฟรองซัวส์ได้มีโอกาสได้ร่วมทำงานกับวงดนตรีที่มีชื่อเสียง โด่งดัง “Les Tambours du Bronx” และหลังจากจบกิจกรรมด้านการแสดงร่วมกัน ฟรองซัวส์ก็หันมาจดจ่อที่การแต่งเพลงและอัดเพลงลงแผ่นซีดี

กิจกรรมการแสดงดนตรีร่วมอื่นๆ

[แก้]
  • Marimba/Oboe – แสดงดนตรีร่วมกับ François Leleux อดีตนักดนตรีโซโลผู้เชี่ยวชาญของวงซิมโฟนี่ออเคสตร้าแห่งสถานีวิทยุบาวาเรียน (วาทยกรโดย Dir. Lorin Maazel)
  • Marimba/Clarinette – แสดงดนตรีร่วมกับ Patrick Messina นักดนตรีโซโลผู้เชี่ยวชาญของวงออเคสตร้าแห่งประเทศฝรั่งเศส (วาทยกรโดย Dir. Kurt Mazur) 
  • Marimba/Cello – แสดงดนตรีร่วมกับ Henri Demarquette
  • Marimba/Shakuhachi (ฟลุ๊ทแบบญี่ปุ่น) – แสดงดนตรีร่วมกับ Yamamoto Hozan นักดนตรีผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยศิลปกรรมและการดนตรีแห่งกรุง

โตเกียว (Tokyou Geijutsu Daigaku)

  • Marimba/Violine – แสดงร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี Jean-Marc Philipps-Varjabédian และอื่นๆ

เพื่อแสวงหาความหลากใหม่ทางดนตรี ฟรองซัวส์ได้เดินทางมาประเทศญี่ปุ่นอย่างจริงจัง

[แก้]

เมื่อปีค.ศ.1998 แหล่งข้อมูลจากนิตยสารญี่ปุ่น (อ้างอิงจากนิตยสาร  “CREATE” และ“SAY”)ลงว่าสาเหตุจูงใจสำคัญที่ทำให้เขาตัดสินใจย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในประเทศ ญี่ปุ่นนั้นเนื่องจากความสัมพันธ์ของเขาและภรรยาไม่ได้ดำเนินไปด้วยดี หลังจากย้ายถิ่นฐานมาอาศัยที่ญี่ปุ่นแล้วเขาก็ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยเคโอซึ่งเป็น มหาวิทยาลัยการศึกษาชั้นแนวหน้าที่รู้จักกันดีในญี่ปุ่นให้เปิดคอร์สพิเศษสอนทางด้าน การแต่งทำนองเพลงในคณะ Policy Management สังกัดมหาวิทยาลัยดังกล่าว และในปีเดียวกันเขาได้ตั้งคณะดนตรี “Orchestre d’autre part” ประกอบไปด้วยนักมะริมบะ 14 คน และนักตีกลองญี่ปุ่น (taiko) พร้อมกับได้แสดงดนตรีต่อสาธารณชนอีกด้วย หลังจากที่ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับลูกศิษย์สองคนของคุณ เคโกะ อาเบะ (Ms Keiko Abe) ซึ่งเป็นบุคคลสุดยอดคนหนึ่งในวงการมะริมบะแล้ว พวกเขาก็ได้ร่วมกันผลิตดนตรี “Origine” ซึ่งเป็นชิ้นงานซีดีมีสุ้มเสียงทางดนตรีที่พิเศษ หลังจากที่ออกอัลบั้มดังกล่าว ฟรองซัวส์ก็ได้รับเชิญให้ไปออกรายการทีวีของเอ็นเอชเค (NHK) ชื่อรายการ “Studio Park : Francois Du Bois Special” โดยเขาได้แสดงดนตรีสดให้ผู้ชมทางบ้านถึงสิบล้านคนได้ชมกัน

ประวัติการได้รับรางวัล

[แก้]
  • ได้รับการตัดสินอย่างเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้ชนะเลิศอันดับหนึ่งของการแข่งขันเครื่อง

ดนตรีประเภทตีแห่งกรุงปารีส

  • ได้รับรางวัลเกียรติยศของมูลนิธิฝรั่งเศส
  • ได้รับรางวัลเหรียญทองด้านการดนตรีแห่ง Senate Palace ในปีค.ศ.1993

โดยมีพิธีรับมอบรางวัลท่ามกลางคณะวุฒิสภาของรัฐสภาฝรั่งเศส (ซึ่งอยู่ภายใต้การสนับสนุนของประธานาธิบดีฝรั่งเศส)

  • และอื่นๆ อีกมากมาย

คู่มือการเล่นเครื่องดนตรีมะริมบะ (marimba)

[แก้]

ฟรองซัวส์ ดูบัวส์เขียนหนังสือคู่มือเล่นมะริมบะได้อย่างสมบูรณ์แบบนับเป็นฉบับแรก ในวงการเครื่องดนตรีมะริมบะ ได้แก่หนังสือ “4本マレットのマリンバ” (“4 Sticks Marimba”) ซึ่งมีเนื้อหา 3 บท จากสำนักพิมพ์ IMD โดยคุณ เคโกะ อาเบะ (Keiko Abe) ได้เขียนแนะไว้ในบทนำของหนังสือเล่มนี้ว่า “เป็นคู่มือที่น่าสนใจมาก เนื่องจากเนื้อหาที่นำเข้าสู่มะริมบะมีความเป็นเอกลักษณ์ดี”

รายการบันทึกผลงานดนตรี (Discography)

[แก้]
  • TBMT: เปียโน 2 ตัว และเครื่องดนตรีประเภทตี (percussion) 2 ตัว
  • Entre deux mondes: เล่นดนตรีร่วมกับ Ray Lema, Richard Galliano, François Leleux และอื่นๆ
  • L’heure nuptiale: ดนตรีสำหรับเครื่องออแกนใหญ่ (pipe organ) ของโบสถ์มัดด์เลน (Madeleine) ในกรุงปารีส
  • DP4: เล่นดนตรีร่วมกับ Hozan Yamamoto นักดนตรี Shakuhachi (ฟลุ๊ตแบบญี่ปุ่น)
  • Marimba Night: บันทึกการแสดงสดร่วมกับวงออเคสตร้า (Orchestre d’autre part)
  • Origine: ร่วมแสดงทริโอโดยมะริมบะ 2 ตัว กับกลองไทโคะ (Taiko)
  • ได้รับเชิญให้เล่นดนตรีร่วมกับ Trilok Gurtu และ Louis Sclavis ในอัลบั้ม “Lueurs bleue” และ “IL ya de l’Orange dans le bleu” ของ Daniel Goyone

ร่วมแสดงภาพยนตร์

[แก้]

ฟรองซัวส์ได้ร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่อง “Lost in Translation” (ภาพยนตร์เรื่องนี้ชนะการประกวดรางวัลออสก้าในหมวดบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ซึ่งกำกับการแสดงโดย Sofia Coppola)

หลักการแบบดูบัวส์ (Dubois Method)

[แก้]

ฟรองซัวส์ ดูบัวส์ได้คิดค้นวิธีการจัดการบริหารอาชีพงาน (career management method) ที่ให้ชื่อว่า “หลักการแบบดูบัวส์ (Dubois Method)” โดยอาศัยประสบการณ์จากการเป็นครูและนักดนตรีตลอดหลายปีที่ผ่านมา รวมทั้งประสบการณ์จากการเป็นนักแสดงรำมวยไท๊เก๊กในระยะหลังนี้ด้วย วิธีการหรือหลักการนี้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในหลักสูตรวิชา “Personal Career Management” ที่เขารับผิดชอบสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเคโอในประเทศญี่ปุ่น และได้มีการเชิญแขกผู้มีเกียรติมาบรรยายมากมายรวมทั้ง Carlos Ghosn ผู้จัดการบริษัทรถยนต์นิสสันด้วย

ปีค.ศ.2003 ฟรองซัวส์ได้ตั้งชื่อหลักสูตร (คอร์สเรียน) ว่า “Personal Career Design” หลังจากนั้นในปีค.ศ.2004 ได้เริ่มเปิดหลักสูตรนี้สำหรับบุคคลทั่วไปที่แผนก Academyhills ในตึก Roppongi Hills ในกรุงโตเกียว และในปีถัดมาเริ่มตั้งแต่ปีค.ศ. 2005 เป็นต้นไป ห้างหุ้นส่วนจำกัด D-Project ก็ได้เริ่มดำเนินการบริหารหลักสูตร Dubois Method ส่งผลให้เขาได้มีโอกาสเปิดหลักสูตรสัมมนาให้กับสถานที่ราชการและบริษัทต่างๆตลอดจนสถานศึกษาทั่วไป และตั้งแต่ปีค.ศ. 2012 เป็นต้นไป เขาได้เริ่มสอน “หลักสูตร Entrepreneurship” ซึ่งประยุกษ์ใช้หลักการดูบัวส์ ที่ “Attackers Business School” ของนายโอมะเอะ เคนอิชิ (Omae Kenichi)

“หลักการดูบัวส์”(Dubois Method) มุ่งเน้นพัฒนาความสามารถในการดึงความคิดสร้างสรรค์และดึงพลังงานของผู้ก่อตั้งกิจการหรือผู้บริหารงานต่างๆ หัวใจสำคัญของหลักการคือความสมดุลขององค์ประกอบ 4 ส่วนที่มีอยู่ในตัวคน คือ “พลังใจ” “พลังกาย” “ความรู้สึกและสำนึก” และ “ปัญญาความฉลาด” (การปรับวิชาความรู้ที่มีอยู่ให้เป็นระบบและนำออกมาใช้ )

เนื้อหาการสอนของหลักการดูบัวส์ดังกล่าวมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่ ① เกม ② ออกกำลังกายภาพร่ายรำมวบไท๊เก๊กซึ่งมีรากฐานมาจากศิลปะการต่อสู้กังฟูของจีน และทฤษฏีทางการแพทย์จีน  ③ การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (มีรากฐานจากทฤษฏีการควบคุมทางจิตวิทยา)④ ด้านดนตรี (มีรากฐานจากทฤษฏีดนตรีของแอฟฟริกา)

การออกกำลังกายศิลปะมวยไท๊เก๊ก(ศิลปะการต่อสู้แบบจีน)

[แก้]

นอกจากที่กล่าวมาแล้วฟรองซัวส์ยังดำเนินกิจกรรมเป็นนักออกกำลังกายศิลปะมวยไท๊เก๊ก(ศิลปะการต่อสู้กังฟูแบบจีน)อีกด้วย เขามีประสบการณ์ฝึกฝนที่เขาวูดัง (Wudang mountains) ตั้งแต่ปีค.ศ.2008 ถึงปีค.ศ.2009 จนกระทั่งเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สีบทอดการออกกำลังกายศิลปะการต่อสู้กังฟู(ไท๊เก๊ก) ระหว่างประเทศเป็นคนแรก เขาได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนการออกกำลังกายศิลปะการต่อสู้กังฟู(ไท๊เก๊ก)ซึ่งได้รับการอนุมัติจากแหล่งกังฟูแห่งเขาวูดังเป็นโรงเรียนแรกในประเทศญี่ปุ่น โดยในปัจจุบันเขาก็ยังดำเนินการสอนอยู่ที่โรงเรียนแห่งนี้ นอกจากนั้นในการแข่งขันการแสดงศิลปะการต่อสู้พื้นเมืองระดับโลกปีค.ศ.2010 (World Wushu Championships) ลูกศิษย์ของฟรองซัวส์ได้รับรางวัลหนึ่งเหรียญทอง หนึ่งเหรียญเงิน และสองเหรียญทองแดง ในการแข่งขันการแสดงศิลปะการต่อสู้พื้นเมืองระดับโลกปีค.ศ. 2012 เขาได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมนักแข่งขันตัวแทนประเทศญี่ปุ่น (94 คน) โดยในทีม WIMA ที่เขาเป็นผู้นำสามารถกวาดรางวัลเหรียญทองแดงถึง 7 เหรียญ


บทความตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หรือวารสาร

[แก้]
  • หนังสือพิมพ์โยมิอุริ ปีค.ศ.2003 -- ค.ศ.2004 เป็นนักเขียนประจำคอลัมน์ของ “Yomiuri Weekly” เขียนบทความด้านดนตรีวัฒนธรรมเอเซีย
  • หนังสือพิมพ์อะซะฮิ ปีค.ศ.2005 – ค.ศ.2006 เป็นนักเขียนประจำคอลัมน์ของ “AERA Eng” เขียนบทความเกี่ยวกับการวางแผนการทำงาน Career Planning
  • แจแปน ไทม์ส (Japan Times) ปีค.ศ.2007 เป็นนักเขียนคอลัมน์ “Japan Times Jr” เขียนเกี่ยวกับการวางแผนการทำงาน Career Planning
  • หนังสือพิมพ์นิคเค ปีค.ศ.2008 – ค.ศ.2009 เป็นนักเขียนคอลัมน์ “Ecolomy” เขียนเกี่ยวกับการวางแผนการทำงาน Career Planning

หนังสือพิมพ์อาซาฮิ ปีค.ศ.2010-2011 เขียนประจำคอลัมน์ “Job Labo” เขียนเกี่ยวกับการวางแผนการทำงาน Career Planning สมาคมอิเอะโนะฮิคาริ (Ie no hikari) ปีค.ศ. 2011-2012 เขียนประจำคอลัมน์ “อิเอะโนะฮิคาริ” ซึ่งเป็นคอลัมน์เกี่ยวกับสุขภาพกายและจิตใจ

งานเขียน

[แก้]
  • “anata wa motto sugoi ikikata ga dekiru” (“คุณสามารถมีชีวิตที่วิเศษยิ่งขึ้น”) (สำนักพิมพ์ Mikasashobo, Japan) ISBN 4837956688
  • “koibito no tsukurikata” (“วิธีหาแฟน”) (สำนักพิมพ์ Graph-sha, Japan) ISBN 4766209788
  • “dame na jibun ga kawaru hon” (“หนังสือที่สามารถเปลี่ยนส่วนบกพร่องในตัวคุณเอง”) ได้รับการแนะนำจากนายMogi Kenichiro นักจิตวิทยาและนักวิจัยทางสมอง (สำนักพิมพ์ WAVE, Japan) ISBN 4872902769
  • “nihonjin ni wa oshienakatta gaikokujin toppu no sugoi shigoto jutsu” (“กลยุทธการทำงานอันวิเศษของยอดชาวต่างชาติ ที่ชาวญี่ปุ่นไม่เคยรู้มาก่อน”) พร้อมเนื้อหาของแขกผู้รับเชิญหลัก Carlos Ghosn (สำนักพิมพ์ Kodansha Biz) ISBN 4062820498
  • “Dubois shikou hou” (“แนวทางดูบัวส์”) (สำนักพิมพ์ Diamond-sha) ISBN 4478005958
  • “itsumo ii houkou ni jinnsei ga ugoku 1% no hitotachi” (“คนเพียง1% ที่สามารถนำชีวิตมุ่งหน้าไปในทางที่ดีเสมอ”) (สำนักพิมพ์ Seishunshuppan) ISBN 4413036905
  • “unmei o kaeru sainou no mitsukekata Dubois Method” (“หลักการดูบัวส์ ช่วยทำให้ค้นพบพรสวรรค์ในการเปลี่ยนชะตาชีวิต”) (สำนักพิมพ์ Magazine House) ISBN 4838721676
  • “jinsei o yutaka ni ayumu tameni taisetsu na koto doudemo ii koto” (“สิ่งที่สำคัญ และสิ่งที่ไม่สำคัญ เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างสมบูรณ์”) (สำนักพิมพ์ Diamond-sha) ISBN 4478014213
  • “karada o ugokaseba kokoro wa hontou no kotae o dasu!” (“การเคลื่อนไหวทางกายภาพส่งผลให้จิตใจพบคำตอบที่แท้จริง”) (สำนักพิมพ์ Seishunshuppan) ISBN 4413037952
  • ”taikyokuken ga oshietekureta jinsei no takaramono – chuugoku, butou zan 90 nichikan shuugyou no ki” (“สมบัติแห่งชีวิตจากการเรียนการออกกำลังกายศิลปะมวยไท๊เก๊ก – บันทึกการฝึกฝน 90 วันบนเขาวูดัง(Wudang mountains) ประเทศจีน”) (สำนักพิมพ์ Koudansha bunko) ISBN 4062770644
  • “fransujin mentaa ga oshiete kureru , 49 no majikku pointo:jibun no kansei de ikiyou!” (“49 จุดมหัศจรรย์จากนักจิตแนะแนวชาวฝรั่งเศส:ดำรงชีวิตโดยแรงบันดาลจากความรู้สึกของตนเอง”) (สำนักพิมพ์ Keimeisha ภาษาเกาหลี) ISBN 978-89-7256-105-7, 03320
  • “hassou-hou to ikiru houhou :Dubois sensei to, sekai teki CEO tachi to no taiwa” (วิธีคิดค้น และวิธีการดำรงชีวิต :การสนทนาระหว่างอาจารย์ดูบัวส์ และผู้นำระดับบริหารกิจการหรือหน่วยงานต่างๆ ระดับโลก”) (สำนักงาน Shin sekai shuppansha) ISBN 978-7-5104-2549-3

อ้างอิง

[แก้]

Yomiuri Weekly 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 เล่มที่ 3010 หน้า 48 Aera English 12 ธันวาคม ค.ศ. 2005 เล่มที่ 1 หน้า 47-48

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

http://st.japantimes.co.jp/st_contributor_profile.htm?f=017

  • Asahi Job labo

http://joblabo.asahi.com/category/exercise?page=2 เก็บถาวร 2012-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

  • วารสารประจำเดือน ออกโดยสมาคมอิเอะโนะฮิคาริ ชื่อ “Ie no hikari”

http://www.ienohikari.net/press/hikari/hikari.php

  • Dubois Method “Academy Hills” HP

http://www.academyhills.com/artelli/personal/tqe2it0000018lf5.html เก็บถาวร 2013-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน