พูดคุย:โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
เพิ่มหัวข้อ
|
|
|
ข้อความต่อไปนี้ย้ายมาจากหน้าบทความหลักเนื่องจากไม่เป็นสารานุกรม --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 09:19, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)
บันทึกอื่นๆ
[แก้]หนังสือรุ่นโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
[แก้]ในรุ่นหลังๆของโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จะมีการจัดทำหนังสือรุ่นขึ้น โดยมากแล้วจะเป็นการทำง่ายๆ และอาศัยการตัดแปะรูปซึ่งเป็นที่นิยมมาก
- หนังสือรุ่นของรุ่นที่ 90 เป็นหนังสือรุ่นที่มีปัญหามากที่สุดรุ่นนึง เนื่องจากมีผู้รับผิดชอบหลายคน โดยขาดการประสานงานกัน ทำให้หนังสือรุ่นล่าช้ามาก จนในที่สุดหนังสือรุ่นก็เสร็จสมบูรณ์ประมาณเดือนพฤศจิกายน 2548 หลังจากจบการศึกษาไปแล้วเกือบ 1 ปีเต็ม
หนังสือรุ่น 90 ถูกวิจารณ์อย่างหนักในเรื่องความล่าช้า ราคาที่สูงกว่าที่ผ่านมาแม้จะเป็นเพียงปกอ่อน อย่างไรก็ตามหนังสือรุ่น 90 เป็นรุ่นเดียวที่มีการรันเลข Limited และมีซีดีอนุสรณ์ติดไปกับหนังสือรุ่นด้วย
- หนังสือรุ่นของรุ่นที่ 91 เป็นอีกรุ่นที่มีปัญหาหนังสือรุ่น เนื่องจากขาดการประสานงานที่ดีระหว่างผู้รับผิดชอบต้นฉบับ และผู้รับผิดชอบเงิน ด้วยความล่าช้ามาก ทำให้เกิดข้อครหาเรื่องทุจริตในด้านการเงิน
- แต่สุดท้ายหนังสือรุ่น 91 ก็พิมพ์เสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม 2550 หนังจากจบการศึกษาไปแล้วถึง 2 ปี ทำลายสถิติหนังสือรุ่นล่าช้าที่สุดของรุ่น 90 ไป หนังสือรุ่น 91 เป็นปกแข็ง และไม่มีซีดีรอม
- หนังสือรุ่นของรุ่นที่ 92 พยายามจะแก้ไขปัญหาหนังสือรุ่นที่เกิดกับ 2 รุ่นที่ผ่านมาด้วยการสร้างแบบฟอร์มที่ตายตัว ไม่ได้ให้แต่ละห้องออกแบบเองเหมือนรุ่น 90, 91 ส่งผลให้หนังสือรุ่น 92 เสร็จเรียบร้อยอย่างรวดเร็ว นั่นคือก่อนที่รุ่น 92 จะจบการศึกษาเสียอีก ประมาณเดือนมกราคม 2550 ก่อนหนังสือรุ่น 91 จะได้พิมพ์ถึง 8 เดือน
ซีดีอนุสรณ์ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
[แก้]ซีดีอนุสรณ์ เป็น Video CD ที่ทำขึ้นเพื่อแจกให้กับนักเรียนชั้น ม.6 ที่กำลังจะจบการศึกษาออกไป แต่ละรุ่นก็มีเนื้อหาภายในที่แตกต่างกัน แต่ที่เป็นธรรมเนียมคือเพลง "รักเบ็ญ" ที่แต่งโดยดนุเชษ วิสัยจร ซึ่งปรากฏในซีดีอนุสรณ์ทุกรุ่นที่เคยทำมา
ซีดีอนุสรณ์นั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากนักเรียนรุ่น 89 ที่ต้องการทำแจกพี่ๆ รุ่น 88 ที่กำลังจะจบการศึกษาไป จึงได้ขอความร่วมมือกับศูนย์ข่าวเยาวชนไทยของโรงเรียนเพื่อสร้างซีดีขึ้น พอดีกับดนุเชษได้แต่งเพลงรักเบ็ญ ในช่วงนั้นพอดี จึงเป็นที่มาของการนำเพลงรักเบ็ญมาใช้ในซีดีอนุสรณ์
- ซีดีอนุสรณ์รุ่น 88 เป็น Video CD ความยาวเพียง 3 นาทีเท่านั้น โดยมีมิวสิกวิดีโอเพลงรักเบ็ญ เพียงเพลงเดียว โดนในมิวสิกวิดีโอเวอร์ชันนี้ดนุเชษ วิสัยจรผู้แต่งเพลง ได้ร่วมแสดงด้วย ซีดีรุ่นนี้ รุ่น 89 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยใช้การไรท์แผ่น cd-r และทำซองกระดาษเขียวแดงหุ้มอีกชั้น
- ซีดีอนุสรณ์รุ่น 89 มีจำนวนถึง 2 แผ่น คือแผ่นที่มีเพลงรักเบ็ญ แจกในงานปัจฉิมนิเทศ และอีกแผ่นที่เป็นแผ่นบันทึกงานปัจฉิมนิเทศไว้ โดยรุ่น 90 ผลิตออกค่าใช้จ่ายในการทำแผ่นแรก และ รุ่น 89 ออกค่าใช้จ่ายในการทำแผ่นที่สอง ซีดีของรุ่นนี้มีการทำเมนูเพิ่มขึ้นมา และเป็นแผ่นปั้มและสกรีนจากโรงงาน
- ซีดีอนุสรณ์รุ่น 90 รุ่นนี้มีการเปลี่ยนแปลง คือการรวมการบันทึกภาพของงานปัจฉิมนิเทศลงไปด้วย และเปลี่ยนวันแจกจากปกติที่จะแจกในวันปัจฉิม ไปแจกในวันรับใบประกาศฯ แทน ซีดีรุ่นนี้ได้รับการชื่นชมมากในเรื่องการควบคุมเนื้อหา รุ่น 91 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและผลิต
- แผ่นจารึกความทรงจำรุ่น 91 รุ่นนี้เลิกใช้ชื่อ "ซีดีอนุสรณ์" เพราะโดยธรรมเนียมแล้ว รุ่นน้องจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและผลิตแผ่นให้ แต่แผ่นนี้ รุ่น 91 เป็นผู้ผลิตเอง ส่วนค่าใช้จ่ายนั้น รุ่น 91 และ 92 ช่วยกันออกค่าใช้จ่าย แผ่นจารึกความทรงจำแผ่นนี้ มีเพลงที่แต่งโดยรุ่น 91 เองอย่าง "คำสัญญาจากเพื่อน" ซึ่งสร้างความแตกต่างจากรุ่นอื่นๆ มีเมนูเป็นแอนิเมชัน ได้รับคำชมสร้างความประทับใจให้อย่างมาก รวมถึง End Credits ในตอนท้ายที่เปลี่ยนจากการขึ้นตัวหนังสือเฉยๆ าเป็นการพาทัวร์โรงเรียนก็ได้รับคำชื่นชมมากเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ภาพการบันทึกงานปัจฉิมนิเทศนั้นถูกวิจารณ์อย่างรุนแรง เนื่องจากการเคลื่อนกล้องที่รวดเร็ว รุนแรง ชวนเวียนหัวเป็นอย่างมาก
- ซีดีอนุสรณ์รุ่น 92 แม้ว่ารุ่นนี้จะยังคงผลิตโดยรุ่นพี่ 91 แต่รุ่น 93 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย จึงใช้ชื่อซีดีอนุสรณ์เหมือนเดิม ซีดีแผ่นนี้ในตอนแรก มีความพยายามจะสร้างออกมาเป็นภาพยนตร์สั้น แต่สุดท้ายก็ถูกลดขนาดลงเหลือเพียงซีเควนซ์เปิดตัวเท่านั้น ซีดีแผ่นนี้ได้รับการชื่นชมในการเลือกใช้คำตอน End Credits ที่แม้จะขึ้นรูปและตัวหนังสือธรรมดาก็ตาม
หลังจากรุ่น 92 ก็ไม่ได้มีการทำซีดีอนุสรณ์ขึ้นอีกเลยจนถึงปัจจุบัน
ศูนย์ข่าวเยาวชนไทยโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
[แก้]ศูนย์ข่าวเยาวชนไทยเป็นโครงการระหว่างกรมสามัญศึกษา(ในขณะนั้น) องค์การ UNICEF มีจุดประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำสื่อด้วยตนเอง ซึ่งโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชก็เป็นหนึ่งในโรงเรียนนำร่องของโครงการนี้
ผลงาน
[แก้]- The b Channel เป็นรายการโทรทัศน์ในโรงเรียน ที่เริ่มออกอากาศเมื่อพ.ศ. 2545 โดยเป็นรายการง่ายๆก่อน ในช่วงแรกยังมีปัญหาทางเทคนิคมาก และออกอากาศบ้างไม่ออกอากาศบ้าง จนปี 2546 โรงอาหารได้ติดตั้งโทรทัศน์ทั่วโรงอาหาร และ b Channel ก็ออกอากาศวันเว้นวันอย่างต่อเนื่อง และได้รับความนิยมมาก จนเคเบิลทีวีท้องถิ่นมาติดต่อขอรายการไปออกอากาศ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ สุทธิพงษ์ พื้นแสน (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 09:46, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)
จนมาถึงปี 2547 b Channel ก็กลับมาออกอากาศบ้าง ไม่ออกบ้างอีกครั้ง เพราะมีการเปลี่ยนทีมงานผู้ผลิต จนทุกวันนี้ก็ไม่มีการออกอากาศอีกต่อไปแล้ว
- รางวัลศูนย์ข่าวเยาวชนไทยยอดเยี่ยมปี 2546 เป็นรางวัลที่ตั้งใจจะมอบให้แก่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช แต่ก็ไม่ได้มีการมอบเกิดขึ้น เพราะเกิดข้อสงสัยในเกณฑ์การให้รางวัล
- ปิยณัฐ สร้อยคำ เป็นผู้แทนเยาวชนไทย เข้าร่วมการประชุมเยาวชนโลก Children international workshop 2002 ณ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น
- ศิระ ประภาษานนท์ และธีรกิต นาสารีย์ แฮร์ ตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมโครงการ d'CATCH 2006 --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ สุทธิพงษ์ พื้นแสน (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 09:46, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)