ข้ามไปเนื้อหา

พูดคุย:โรคอัลไซเมอร์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคอัลไซเมอร์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิแพทยศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการแพทย์ โรคและการรักษา รวมทั้งกายวิภาคศาสตร์และอวัยวะต่าง ๆ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ โรคอัลไซเมอร์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

เนื้อหาที่คัดลอกจากแหล่งอื่นที่สงวนลิขสิทธิ์

[แก้]
ข้อมูลสุขภาพและการแพทย์ ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ เหตุผลเป็นเพราะล้วนเป็นข้อมูลเพื่อสาธารณะ ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ และผู้เชี่ยวชาญส่วนมากไม่มีเวลามาเขียนบ่อยๆ ทำให้บทความกลุ่มขาดแคลน หรือแทบไม่มีเลย
หากท่านคิดว่าจะใช้นโยบายในลักษณะนี้ ผมคงหยุดงานไว้เพียงเท่านี้ เนื่องจากไม่สามารถเขียนบทความใหม่ขึ้นมาทั้งหมดได้ จริงๆแล้ว ตั้งใจไว้ว่าพยายามจะแทรกข้อมูลใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การรักษาใหม่ๆ ยาใหม่ๆซึ่งแน่นอนคงยังไม่มีใครเขียนและโพสต์ในเว็บใด แต่ข้อมูลพื้นฐานที่ดี ก็ควรปรากฏให้เกิดประโยชน์เช่นกัน
ต้องขออภัยเป็นอย่างสูง และขอยุติการเขียนบทความสุขภาพเพียงเท่านี้ ----ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ V13831 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 20 มกราคม 2549
การนำข้อมูล ที่เป็นข้อเท็จจริง/ทฤษฎี/หลักวิชา หรืออะไรทำนองนี้ มาใช้ ไม่มีปัญหาอยู่แล้วครับ ถ้าได้นำมาเรียบเรียงและเขียนขึ้นใหม่ แต่ถ้าเป็นการคัดลอกโดยตรง (เช่น ตัวอักษรต่อตัวอักษร ย่อหน้าต่อย่อหน้า) อันนั้นจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ครับ
-- bact' คุย 13:01, 20 มกราคม 2006 (UTC)
ขอบคุณครับ ที่กรุณาชี้แจง ผมมีความเห็นว่าการแก้ไขเพียงเล็กน้อย เป็นเรื่องไร้สาระ และการที่คัดลอกมาเนื่องจากข้อความนั้นมีความถูกต้อง จนน่าจะนำมาเผยแพร่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคข้อมูล การแก้ไขเพียงเล็กน้อยเหมือนการเลี่ยงบาลีนะครับ ในทางวิทยาศาสตร์ผมคิดว่าไร้สาระ
ที่เลือกคัดลอกมาก็เลือกอย่างคนมีความรู้ครับ ไม่ใช่สักแต่ละลอกเขามาทั้งดุ้น
มองต่างมุมครับ ขอบคุณ ----ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ V13831 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 21 มกราคม 2549

อัลซไฮเมอร์ / อัลไซเมอร์

[แก้]
ข้อความนี้ย้ายจาก วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (การใช้ภาษา)
  1. ชื่อโรค "Alzhiemer"
  • จำนงค์ ทองประเสริฐ. (๒๕๔๖). ภาษาไทย ๕ นาที. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน. ISBN 9743442839.
    1. —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๒.๐๒.๑๕, ๑๖:๓๙ นาฬิกา (ICT)
    2. ถ้ายืดตามหลักการตั้งชื่อ เอาของใหม่น่าจะดีกว่า แล้วของเก่า Redirect มา
      --Chris Vineyard Chat Contribs 16:45, 15 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
    3. เพิ่งสังเกตุว่ามีการเปลี่ยน และเปลี่ยนกลับเรียบร้อยแล้ว เห็นในภาษาอังกฤษก็แยกตัวสะกดเป็น Alz-hie-mer นะครับ แต่กรณีก็คิดหนักเหมือนกันเพราะคำที่สะกดถูกสะกดตรง ดันไม่เป็นที่นิยม (กูเกิลเจอ 7 หน้าเอง เทียบกับคำนิยม สองแสนหน้า) ยกตัวอย่าง แก๊สโซฮอล์ (คำนิยม) กับ แกโซฮอล (คำตามราชบัณฑิต) นะครับ สงสัยกรณีคงต้องทำแบบเดียวกัน
      --Manop | พูดคุย 05:25, 16 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
    4. ผมใช้หลักคิดว่า ถึงแม้คำนั้นจะมีบัญญัติศัพท์ตามหลักราชบัณฑิตยสถานซึ่งมีความเป็นระบบพอสมควร แต่หากคำนั้นไม่เป็นที่นิยมใช้ในวงกว้างหรือแปลแล้วฟังดูแปลกๆ ไม่เป็นที่นิยม ก็ควรใช้ตามความนิยมเพื่อความสะดวกในการค้นหาและการนำไปใช้อ้างอิงครับ เช่น บทความชื่อกระดูกอัลนา ก็ใช้แทนกระดูกปลายแขนท่อนใน เนื่องจากในโรงเรียนแพทย์ทั้งหมดก็เรียกทับศัพท์ว่าอัลนาทั้งนั้น อย่างไรก็ตามผมไม่ซีเรียสครับหากจะใช้ตามหลักราชบัณฑิตยสถานว่า อัลซไฮเมอร์ ยินดีเปลี่ยนตามครับ
      · Dr.Garden · คุยกันได้! · 16:29, 16 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
    5. เสนอให้ลองใช้ อัลซไฮเมอร์ ดูครับ
      --ธวัชชัย 23:26, 16 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
    6. เห็นด้วย คิดว่าน่าจะใช้ อัลซไฮเมอร์ ครับ แล้วเปลี่ยนทางจาก อัลไซเมอร์ มา ก็ไม่น่าจะมีปัญหาต่อการค้นหาแล้วครับ
      --Wap 00:48, 18 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
    7. ถ้าใช้ชื่อไม่นิยมจะมีปัญหาในด้านกูเกิลด้วยนะครับ เพราะคนทั่วไปที่ค้นหาผ่านกูเกิลที่ไม่ได้ค้นหาในระบบของวิกิพีเดียจะหาหน้านี้ไม่เจอ
      --Manop | พูดคุย 04:57, 18 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
    8. ที่บอกมีผลคือมันจะเจอแต่จะไม่อยู่หน้าแรกกูเกิลนะครับ (ตามเพจแรงก์) เพราะจะโดนเว็บอื่นแย่งพื้นที่หน้าแรกของกูเกิลคำว่า "อัลไซเมอร์" ไปหมด
      --Manop | พูดคุย 05:02, 14 มีนาคม 2552 (ICT)
    9. เห็นด้วยกับพี่นพครับ อีกอย่างหนึ่งเอาตามที่คุ้นเคย (อัลไซเมอร์) ก็ไม่มีอะไรเสียหายครับ
      --P W 11:33, 14 มีนาคม 2552 (ICT)
    10. ผมสนับสนุนให้ใช้ อัลซไฮเมอร์ ตามหลักการทับศัพท์ และ อัลซไฮเมอร์ ก็เป็นนามสกุลของผู้คิดค้นชื่อนี้ขึ้นมาด้วยครับ
      --octahedron80 15:19, 27 กันยายน 2553 (ICT)