ข้ามไปเนื้อหา

พูดคุย:โรคพาร์คินสัน

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคพาร์คินสัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิแพทยศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการแพทย์ โรคและการรักษา รวมทั้งกายวิภาคศาสตร์และอวัยวะต่าง ๆ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ โรคพาร์คินสัน หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ข้อมูลสุขภาพและการแพทย์ ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ เหตุผลเป็นเพราะล้วนเป็นข้อมูลเพื่อสาธารณะ ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ และผู้เชี่ยวชาญส่วนมากไม่มีเวลามาเขียนบ่อยๆ ทำให้บทความกลุ่มขาดแคลน หรือแทบไม่มีเลย

หากท่านคิดว่าจะใช้นโยบายในลักษณะนี้ ผมคงหยุดงานไว้เพียงเท่านี้ เนื่องจากไม่สามารถเขียนบทความใหม่ขึ้นมาทั้งหมดได้ จริงๆแล้ว ตั้งใจไว้ว่าพยายามจะแทรกข้อมูลใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การรักษาใหม่ๆ ยาใหม่ๆซึ่งแน่นอนคงยังไม่มีใครเขียนและโพสต์ในเว็บใด แต่ข้อมูลพื้นฐานที่ดี ก็ควรปรากฏให้เกิดประโยชน์เช่นกัน

ต้องขออภัยเป็นอย่างสูง และขอยุติการเขียนบทความสุขภาพเพียงเท่านี้

การนำข้อมูล ที่เป็นข้อเท็จจริง/ทฤษฎี/หลักวิชา หรืออะไรทำนองนี้ มาใช้ ไม่มีปัญหาอยู่แล้วครับ ถ้าได้นำมาเรียบเรียงและเขียนขึ้นใหม่ แต่ถ้าเป็นการคัดลอกโดยตรง (เช่น ตัวอักษรต่อตัวอักษร ย่อหน้าต่อย่อหน้า) อันนั้นจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ครับ
-- bact' คุย 13:01, 20 มกราคม 2006 (UTC)


ขอบคุณครับ ที่กรุณาชี้แจง ผมมีความเห็นว่าการแก้ไขเพียงเล็กน้อย เป็นเรื่องไร้สาระ และการที่คัดลอกมาเนื่องจากข้อความนั้นมีความถูกต้อง จนน่าจะนำมาเผยแพร่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคข้อมูล การแก้ไขเพียงเล็กน้อยเหมือนการเลี่ยงบาลีนะครับ ในทางวิทยาศาสตร์ผมคิดว่าไร้สาระ

ที่เลือกคัดลอกมาก็เลือกอย่างคนมีความรู้ครับ ไม่ใช่สักแต่จะลอกเขามาทั้งดุ้น

มองต่างมุมครับ ขอบคุณ

ข้อความเข้าข่ายโฆษณา

[แก้]
  • หลักการรักษาที่สำคัญ คือเพิ่มระดับของสารโดปามีนในสมอง โดยเลือกใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่างๆกัน หรือรักษาโดยการกระตุ้นเซลล์สมองให้สร้างโดปามีนมากขึ้น
  • เป้าหมายสำคัญของการรักษา เพื่อบรรเทาอาการต่างๆของโรค และป้องกันโรคแทรกซ้อน
  • การรักษาด้วยยา - ยาที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่ เลโวโดป้า, ยาในกลุ่ม dopamine agonists, ยาที่ออกฤทธิ์ต้านเอ็นซัยม์ MAO-B และยาออกฤทธิ์ต้านเอ็นซัยม์ COMT ตัวอย่างชื่อการค้าของยา ได้แก่ Sinemet, Parlodel, Comtan, Eldepryl, Symmetrel

เลโวโดป้า (Levodopa) หรือชื่อย่อว่า L-Dopa เป็นยาขนานแรกๆ ที่รักษาโรคพาร์กินสัน ซึ่งเมื่อยาเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกแปลงเป็นโดปามีน เพื่อเสริมให้เซลล์สมองที่ไม่สามารถผลิตสารนี้ได้มากพอ สาเหตุที่ไม่สามารถให้โดปามีนได้โดยตรง เนื่องจากโดปามีนไม่สามารถซึมเข้าสมองได้ ยาเลโวโดปามักจะต้องให้ควบคู่กับยาขนานอื่น เช่น ควบกับ คาร์บิโดปา ซึ่งจะช่วยขนส่งยาไปถึงสมองได้มากขึ้น และจะทำให้ยาออกฤทธิ์ได้นานขึ้น เนื่องจากลดอัตราการถูกทำลาย ยาเลโวโดปาสามารถลดอาการส่วนใหญ่ของผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะอาการเคลื่อนไหวช้า และอาการเกร็ง บางครั้งอาจต้องใช้ควบกับยาชนิดอื่นๆ เมื่อยาเริ่มออกฤทธิ์ไม่เพียงพอที่จะยับยั้งอาการ ตัวอย่างชื่อการค้าของยาเลโวโดปา ได้แก่ Sinemet, Sinemet CR, Atamet, Larodopa, Lodosyn

  • การผ่าตัด - ในระยะที่ใช้ยาไม่ได้ผล สมัยก่อนการผ่าตัดจะทำลายสมองบางส่วน ปัจจุบันนิยมรักษาโดยการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมอง เรียกว่า deep brain stimulation (DBS) วิธีการนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยในระยะท้ายๆ และรักษาด้วยยาไม่ได้ผลอีกต่อไป ผู้ป่วยก่อนรักษามีอาการแขนขาสั่นมากจนควบคุมไม่ได้ ร่างกายแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวลำบาก หลังรับการรักษาจะมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน จนสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ แม้การรักษานี้จะได้ผลดีเยี่ยม แต่ก็มีค่าใช้จ่ายสูงมากในขณะนี้ ประมาณ 800,000 - 1,000,000 บาท

การผ่าตัดรักษาโรคพาร์กินสัน โดยเทคนิคใหม่ที่ไม่ใช้กรอบยึดกะโหลกศีรษะ ถือเป็นวิธีการที่ทันสมัยล่าสุด เมื่อก่อนจะใช้วิธีใส่กรอบยึดศีรษะ แต่วิธีใหม่จะไม่ใช้กรอบยึดศีรษะ หลักการคือการหาตำแหน่งและพิกัดสมองเพื่อฝังอิเล็กโตรด เพื่อไปกระตุ้นการทำงานของสมองด้วยกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ฝังอยู่ที่หน้าอก ซึ่งการหาพิกัดของตำแหน่งสมองที่จะต้องใส่อิเล็กโตรดนั้น วิธีปัจจุบันจะต้องใช้การใส่กรอบยึดศีรษะ แต่วิธีใหม่จะใช้การฝังหมุดแล้วค่อยตรวจหาพิกัดแทน โดยจะใช้วิธีใส่หมุดที่ศีรษะก่อนผ่าตัดได้ 1 วัน ประหยัดเวลา หมุดมีขนาดเล็กมากมำให้ลดความเจ็บปวด มีพลาสติกครอบกันหลุด สามารถวางแผนการผ่าตัดล่วงหน้าได้ 1 วัน และผ่าตัดซ้ำได้โดยยังไม่ต้องถอดหมุด ศีรษะผู้ป่วยสามารถขยับได้ไม่ยึดติดกับเตียง วงการแพทย์ไทยสามารถผ่าตัดรักษาโรคพาร์กินสัน ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ โดยผู้ป่วยจะมีอาการสั่น การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เคลื่อนไหวช้า เดินช้า ทรงตัวไม่ดี เนื่องจากการตายของเซลล์สมองส่วนที่สร้างสารโดปามีนซึ่งเป็นสารนำประสาท โดยใช้วิธีผ่าตัดสมองฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้ารักษาโรคพาร์กินสันระยะสุดท้าย

เทคนิคการผ่าตัดสมองฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อรักษาโรคพาร์กินสัน ค้นพบครั้งแรกโดยแพทย์ชาวฝรั่งเศส และได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐ (เอฟดีเอ) เมื่อ 2 ปีก่อน และศิริราชได้ส่งทีมแพทย์ไปศึกษาวิธีการดังกล่าว และแพทย์โรงพยาบาลเพิ่งผ่าตัดกับคนไข้โรคพาร์กินสันระยะสุดท้ายที่เป็นชาวไทย 2 ราย แล้วพบว่าอาการทั่วไปดีขึ้น จนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติในขณะนี้

นอกจากผู้ป่วยในไทยแล้ว เชื่อว่าความสำเร็จครั้งนี้จะสามารถดึงผู้ป่วยโรคนี้จากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย ที่มีการผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้แต่ราคาสูงกว่าเมืองไทยมารักษา ซึ่งจะพัฒนาให้ไทยเข้าสู่โครงการสร้างความเป็นเลิศในทางการแพทย์ของไทย (Medical Hub) ได้เร็วขึ้น

การรักษาด้วยวิธีนี้จะใช้การผ่าตัดโดยฉีดยาชาและเจาะรูเล็กๆ ที่กะโหลกศีรษะของผู้ป่วยทั้งสองข้าง แล้วสอดสายขั้วไฟฟ้าเข้าไปสมองส่วนที่เรียกว่า "ซับทาลามิคนิวเคลียส" แล้วให้คนไข้ดมยาสลบเพื่อฝังก้อนแบตเตอรี่ที่ใต้ผิวหนังบริเวณทรวงอก และนำไปเชื่อมต่อเป็นวงจรเข้ากับขั้วไฟฟ้าที่ฝังอยู่ใต้สมอง ซึ่งกระแสไฟฟ้าจะช่วยแก้ไขความผิดปกติของการทำงานของสมอง

"ขณะนี้มีผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษาด้วยวิธีนี้แล้ว ประมาณ 1,000 คนทั่วโลก จากการติดตามผลของการผ่าตัดในต่างประเทศใน 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าอาการสั่นดีขึ้นถึง 75% การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ได้ผลดีขึ้น 71% อาการเคลื่อนไหวช้าดีขึ้น 49%"

อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของการรักษาโดยการฝังเครื่องกระตุ้นด้วยไฟฟ้า คือเครื่องกระตุ้นนี้มีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี ซึ่งหมายถึงเมื่อครบกำหนดก็ต้องมาผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นตัวใหม่

  • ความก้าวหน้าใหม่ๆ - การศึกษาวิจัยปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ เพื่อรักษาโรคพาร์กินสัน ขณะนี้คืบหน้าไปมากแล้ว

การรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์ ใช้เซลล์จากทารกในสมองส่วนที่ร้างสารโดปามีน จากการศึกษาวิจัยหลายสถาบัน รวบรวมผู้ป่วยประมาณหนึ่งพันราย พบว่าผลการรักษายังไม่ดีนัก อาการของโรคดีขึ้นมากในผู้ป่วยกลุ่มที่มีอายุไม่มาก ต่ำกว่า 60 ปี ที่สำคัญมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่มีอาการหยุดยาแล้วสั่น ระยะหลังได้นำเซลล์เยื่อบุจอตาชนิดมีรงควัตถุ เป็นเซลล์ที่ทำการปลูกถ่าย พบว่าได้ผลดี แต่จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ยังน้อยอยู่

การรักษาด้วยวิธียีนบำบัด กำลังอยู่ในขั้นทดลองวิจัย ผลการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่าได้ผลดีพอสมควร โดยเฉพาะการสอดใส่ยีนที่สร้างเอ็นซัยม์ กลูตามิก แอซิด ดีคาร์บอกซิเลส (GAD) เข้าไปในเซลล์ที่ ซับธาลามัส ผลที่ได้คือสมองสามารถสร้าง GABA เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

การรักษาด้วยสารกระตุ้นเซลล์ ที่มีชื่อเรียกว่า GDNF ได้ผลดีในสัตว์ทดลอง และกำลังอยู่ระหว่างการวิจัยเฟสที่ 3 ในมนุษย์ หลักการคือสารดังกล่าว เมื่อเข้าไปในสมอง จะกระตุ้นเซลล์สร้างสารโดปามีน ทำให้อาการของโรคพาร์กินสันดีขึ้นมาก

ออกกำลังกายป้องกันโรคพาร์กินสัน

รายงานการศึกษาวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ตีพิมพ์ในวารสารประสาทวิทยาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2005 พบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยป้องกันการเกิดโรคพาร์กินสันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศชายที่ฟิตร่างกายตั้งแต่อายุยังน้อย จากการคำนวณทางสถิติและวิเคราะห์ผลการศึกษา พบว่าสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสันได้มากถึงร้อยละ 50 โรคพาร์กินสัน (Parkinson's Disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท เนื่องจากการขาดสารโดปามีนในสมอง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุทั้งเพศชายและหญิง โรคนี้เกิดขึ้นจากการเสื่อม และตายไปของเซลล์สมอง ในตำแหน่งที่สร้างสารโดปามีน จนไม่สามารถสร้างสารโดปามีนได้เพียงพอ สารโดปามีนนี้มีความสำคัญต่อ การควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีอาการสั่นขณะอยู่เฉยๆ เกิดขึ้นที่มือหรือเท้า ซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้ง 2 ซีก เคลื่อนไหวช้าลง เช่น เดินช้าลง แขนไม่แกว่ง พูดเสียงเบา มักมีอาการแข็งตึงของแขนขา และลำตัว ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติของท่าทาง และการทรงตัว เช่น หลังค่อม แขนงอ หกล้มง่าย นั่งตัวเอียง ส่วนอาการอื่นๆ ที่มักพบร่วมด้วย ได้แก่ อาการปวดตามกล้ามเนื้อ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ สีหน้าเฉยเมย ไม่แสดงอารมณ์ น้ำลายไหลบ่อย ไม่สามารถควบคุมได้ ลายมือเปลี่ยนไป

ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาใดที่จะทำให้โรคพาร์กินสันหายขาดได้ เนื่องจากไม่สามารถหยุดยั้งความเสียหายที่เกิดกับเซลล์สมอง อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีหลายวิธีในการบำบัดรักษาเพื่อควบคุมอาการหรือชะลอไม่ให้โรคเลวลงเร็วนัก เมื่อวินิจฉัยได้แล้วว่าผู้ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน แพทย์จำเป็นต้องวางแผนการรักษา ติดตามอาการ และประเมินผลการรักษาเป็นระยะๆ แตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย หลักการใช้ยาก็เพื่อระงับและยับยั้งอาการสั่น การเคลื่อนไหวผิดปกติและปรับความสมดุลของร่างกาย ทั้งนี้คนไข้คนหนึ่งอาจต้องให้ยามากกว่าหนึ่งขนาน ยาที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่ เลโวโดป้า (levodopa) ซึ่งเมื่อยาเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกแปลงเป็นสารโดปามีน เพื่อเสริมให้เซลล์สมองที่ไม่สามารถผลิตสารนี้ได้มากพอ ยานี้มักจะต้องให้ควบคู่กับยาขนานอื่นเพื่อช่วยขนส่งยาไปถึงสมองได้มากขึ้น ผู้ป่วยบางรายใช้ไปนานๆ แล้วพบว่ายาเสื่อมฤทธิ์ลง ยากลุ่มใหม่ๆ ที่นำมาใช้รักษาโรคพาร์กินสัน ได้แก่ dopamine agonists ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์เลียนแบบผลของโดปามีน ตัวอย่างเช่น pergolide (Permax) และ bromocriptine (Parlodel) อีกกลุ่มหนึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านเอ็นซัยม์ MAO-B ทำให้โดปามีนออกฤทธิ์ได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น selegiline (Carbex) และยาที่ออกฤทธิ์ต้านเอ็นซัยม์ COMT ช่วยเสริมฤทธิ์เลโวโดปา ตัวอย่างเช่น entacapone (Comtan) เป็นต้น --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Horus (พูดคุยหน้าที่เขียน) 08:40, 25 เมษายน 2552 (ICT)