พูดคุย:เลอง ชาร์ล เตฟว์แน็ง
เพิ่มหัวข้อหน้าตา
ชื่อบทความและคำทับศัพท์
[แก้]- จากการตรวจสอบหลักเกณฑ์การทับศัพท์ฉบับราชบัณฑิตยสภา ปี 2535 (ใช้มากในวงการวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะท่านที่ทราบ) ดูหน้า 4 และ 10 พบว่า fève (ถั่ว) เขียนเป็น แฟฟว์ (ฉบับ 2554 แฟ็ฟว์) Gustave เขียนเป็น กูสตาฟว์ จึงเขียนได้เป็น เตฟว์แนง ไม่ใช่เตเวอแนง
- อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นิยมใช้ชื่อภาษาอังกฤษเป็นหลัก ไม่นิยมใช้ชื่อภาษาอื่น ๆ นอกเหน้ือจากภาษาอังกฤษ หรือบางทีอาจจะใช้ภาษาอังกฤษดัดแปลงเสียงเข้าหาภาษานั้น ๆ ฉะนั้น การจะเขียน ทฤษฎีบทของเตฟว์แน็ง แทนที่ ทฤษฎีบทของเทเวนิน ย่อมทำให้เกิดปัญหามากโดยเฉพาะการอ้างอิง และเป็นการไม่ถูกต้องอย่างร้ายแรง นักวิชาการใดที่กระทำสวนทางมักจะประสบปัญหาเมื่อนำงานให้นักวิชาการอีกท่านตรวจ ต้องปรับแก้ให้ไปตามความนิยมจนเสียเวลาและความรู้สึกกันมาหลายรายแล้ว (ทำนองเดียวกับ กฎของคูลอมบ์ และชื่อหน่วยประจุไฟฟ้า คูลอมบ์ จากชื่อของชาร์ล กูลง และชื่อหน่วยความถี่หรือรอบต่อวินาที เฮิรตซ์ จาก ไฮน์ริช แฮทซ์ ชื่อหน่วยกำลัง (อัตราการทำงานต่อเวลา) วัตต์ จากชื่อของเจมส์ วอตต์)
- คีร์ชฮ็อฟฟ์ นั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์ แต่พบว่ามีคำอ่านไม่ลงรอยกันในหลายแหล่งอ้างอิง พจนานุกรมศัพท์พลังงานของราชบัณฑิต กำหนดเป็น (กฎของ)เคิร์ชฮอฟฟ์ แหล่งอ้างอิงวิชาการส่วนมากในไทยใช้ เคอร์ชอฟฟ์ ส่วนในสหรัฐ ใช้ เคียชฮอฟฟ์ ฉะนั้นการใช้ชื่อตามที่รู้อยู่แล้วย่อมเป็นการเหมาะสมกว่า แล้วหมายเหตุเป็นคำอ่านถูกต้องไว้
- เลอง นั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์และพจนานุกรมบางฉบับ ขออภัยที่เขียนเป็นเลยง แต่ในทางปฏิบัติพบว่า นิยมอ่านเป็น เลยง มากกว่า (เช่นใน forvo.com และเว็บไซต์ประมวลเสียงอ่านอื่น ๆ)
จึงขอลงหมายเหตุนีั้ไว้เพื่อประกอบการแก้ไข --Char au (คุย) 23:19, 23 พฤษภาคม 2561 (ICT)--Char au (คุย) 23:19, 23 พฤษภาคม 2561 (ICT)
- ในหลักเกณฑ์ฉบับ พ.ศ. 2535 การทับศัพท์ fève และ Gustave เป็น "แฟฟว์" และ "กูสตาฟว์" นั้นเป็นไปตามข้อ 4. (คำที่มีพยัญชนะท้ายคำตามด้วยสระ e ให้ทับศัพท์โดยละเสียง e แต่คงพยัญชนะหน้า e ไว้ และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต เช่น lamp = ลองป์) พจนานุกรมส่วนใหญ่ถอดเสียงสองคำนี้เป็นสัทอักษรว่า /fɛv/ และ /ɡystav/ เพราะเสียง /ə/ (ซึ่งแทนด้วยรูปสระ e) ที่อยู่ท้ายคำมักถูกละออกไป ส่วน Thévenin ออกเสียง /tev(ə)nɛ̃/ โดยที่เสียง /ə/ (ซึ่งแทนด้วยรูปสระ e) อยู่ในตำแหน่งกลางคำ พจนานุกรมส่วนใหญ่จะถอดเสียงโดยไม่ตัด ə ออก (แต่ ə กลางคำอาจอยู่ในวงเล็บหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับคำ) หลักเกณฑ์ฉบับ พ.ศ. 2535 (ซึ่งไม่ได้เน้นการออกเสียงเป็นหลักอย่างสมบูรณ์) ไม่ได้กล่าวครอบคลุมถึงกรณีนี้ และโครงสร้างของภาษาฝรั่งเศสโดยปกติไม่มีคำที่ลงท้ายด้วย -éve อยู่แล้ว ดังนั้นคำว่า Thévenin จึงเป็นคนละกรณีกับ fève และ Gustave และทับศัพท์โดยแยกพยางค์ได้เป็น เตเวอแนง อย่างคำว่า demi = เดอมี หรือชื่อเกาะ Miquelon ซึ่งราชบัณฑิตยสถานทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์ฉบับนี้ว่า มีเกอลง ไม่ได้ทับศัพท์ว่า "มีกลง" การทับศัพท์เสียง /ə/ ที่อยู่กลางคำและอยู่ในวงเล็บ เพิ่งมีระบุไว้ในหลักเกณฑ์ฉบับ พ.ศ. 2553 ว่า เสียง ə ในวงเล็บยังคงออกเสียงแต่ออกเสียงเพียงเล็กน้อย ในกรณีที่อยู่ในพยางค์แรกให้ทับศัพท์เป็น เ–อ ในกรณีที่อยู่ในพยางค์กลางคำหรือท้ายคำไม่ต้องทับศัพท์ ตามหลักเกณฑ์ฉบับนี้ เสียง /tev(ə)nɛ̃/ จึงทับศัพท์ได้ว่า เตฟว์แน็ง โดย /v/ ซึ่งตามโครงสร้างเดิมเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์กลาง กลายเป็นพยัญชนะท้ายของพยางค์แรก
- "คูลอมบ์", "เฮิรตซ์", "วัตต์" ต่างกับ "กฎของคูลอมบ์" และ "กฎของ Kirchhoff" เนื่องจากกลุ่มแรกเป็นคำที่มีความหมายใหม่เป็นของตัวเอง แต่กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มคำที่มีคำว่า "ของ" อยู่ด้วย ชื่อในกลุ่มหลังจึงควรทับศัพท์ตามชื่อบุคคล (ในภาษาต้นทาง) เพราะสื่อถึงสิ่งเดียวกัน แต่ในกรณีนี้ถ้าต้องการจะสะกดตามที่นิยมในไทยก็จะไม่คัดค้าน
- León ออกเสียงว่า "เลอง" /leɔ̃/ ไม่มีเสียง ย /j/ แทรกเป็น "เลยง" /lejɔ̃/ ได้ลองฟังใน Forvo แล้ว ไม่พบว่ามีคลิปใดที่ออกเสียงแทรก /j/ อย่างชัดเจน และลองค้นในพจนานุกรมเท่าที่หาได้แล้วก็ไม่พบว่ามีฉบับใดให้ออกเสียงเป็น /lejɔ̃/ เช่นกัน ถ้าจะออกเสียงให้ใกล้เคียงกับ /lejɔ̃/ ตามอักขรวิธีภาษาฝรั่งเศสควรจะสะกดชื่อนี้เป็น Layon มากกว่า