พูดคุย:เจดีย์ยุทธหัตถี (จังหวัดกาญจนบุรี)
เพิ่มหัวข้อเรื่องนี้ คณะกรรมการพิจารณาข้อยุติปัญหาเรื่องเจดีย์โบราณ ที่อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ 575/2516ประกอบด้วย กรมศิลปากร ราชบัณฑิตยสถาน คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ และ ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นๆ กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมการศึกษาวิจัย กองบัญชาการทหารสูงสุด กองประวัติศาสตร์ กรมยุทธการทหารบก ที่ประชุมได้พิจารณาปัญหาดังกล่าวนี้หลายด้าน คือด้านโบราณคดี ด้านประวัติศาสตร์ ด้านสถาปัตยกรรม ด้านยุทธวิธี และด้านภูมิศาสตร์ สรุปผลการประชุมดังนี้
1. กรรมการคณะนี้มีความเห็นว่า บริเวณที่เป็นสถานที่ทำสงครามระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชา ในสงครามยุทธหัตถี เมื่อพ.ศ.2135 นั้น คือบริเวณที่ตำบลหนองสาหร่าย ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ตำบลดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี 2. กรรมการคณะนี้มีความเห็นว่า พระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์เนื่องในสงครามยุทธหัตถีเมื่อ พ.ศ.2135 นั้น คือ พระเจดีย์ที่ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรีในปัจจุบัน 3. กรรมการคณะนี้มีความเห็นว่า เจดีย์โบราณที่ หมู่ที่ 2 ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี นั้น คือเจดีย์ภายในวัดซึ่งร้างมานาน และอยู่ในบริเวณวัดเดียวกันกับพระปรางค์และเจดีย์ประกอบ 2 ข้าง ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 314 เมตร เป็นเจดีย์ที่บุคคลได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นบริโภคเจดีย์ เจดีย์นี้มีลักษณะพิเศษคือ มีช่องตามประทีป (ช่องจุดดวงไฟ) เป็นเจดีย์ที่มีอายุระหว่างสมัยอยุธยาตอนปลาย ประมาณว่าตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชลงมา จนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ฝีมือช่างชาวท้องถิ่น และเมื่อพิจารณาคติการตามประทีปบูชาศาสนสถานซึ่งนิยมกันทั้งภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในบริเวณจังหวัดต่างๆ…ซึ่งมีเค้าสืบเนื่องมาแต่คติพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานในธิเบต จีน และอาณาจักรล้านช้าง คือหลวงพระบาง เวียงจันทน์ ซึ่งยังถือปฏิบัติสืบมาจนถึงปัจจุบัน ตามพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 และ รัชกาลที่ 3 …ได้เคยมีการอพยพกลุ่มชนทางภาคเหนือและแถบหลวงพระบาง เวียงจันทน์ เข้ามาตั้งถิ่นฐานในท้องที่แถบ ราชบุรี สระบุรี และสุพรรณบุรี จึงเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่าเจดีย์ที่อำเภอพนมทวนนี้ กลุ่มชนที่ได้อพยพมาเหล่านั้นอาจสร้างขึ้น จึงมีคติตามประทีปบูชาติดอยู่ที่องค์เจดีย์ ตามความนิยมที่นับถือสืบเนื่องมาแต่บรรพบุรุษ และเจดีย์องค์นี้ไม่มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์สงครามยุทธหัตถีในปี พ.ศ.2135 ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/116725
จากที่ติดตามมา ก็ยังน่าเชื่อ มาจนถึงปี ๒๕๖๐ หรือ คศ 2017 นี้ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Aathanit (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 20:50, 25 กุมภาพันธ์ 2560 (ICT)
เริ่มการอภิปรายใหม่ที่เกี่ยวกับ เจดีย์ยุทธหัตถี (จังหวัดกาญจนบุรี)
หน้าคุยคือหน้าที่ผู้คนจะอภิปรายวิธีการสร้างเนื้อหาบน วิกิพีเดีย ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ คุณสามารถใช้หน้านี้เพื่อเริ่มการอภิปรายกับผู้อื่นในการปรับปรุง เจดีย์ยุทธหัตถี (จังหวัดกาญจนบุรี) ได้เช่นกัน