ข้ามไปเนื้อหา

พูดคุย:อักษรธรรมล้านนา

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรธรรมล้านนา เป็นส่วนหนึ่งของ สารานุกรมภาษามีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวกับภาษาที่ใช้สื่อสารกันทั่วโลกรวมถึงอักษร ไวยากรณ์ การอ่าน การเขียน และภาษาพูดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า หากคุณต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างโลกแห่งภาษา ลองแวะไปที่สถานีย่อย:ภาษา
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
อักษรธรรมล้านนา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ อักษรธรรมล้านนา หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ที่มาของอักษร

[แก้]

วิกิพีเดียไทยบอกพัฒนาจากอักษรมอญ วิกิพีเดียอังกฤษบอกพัฒนาจากอักษรเขมร en:Tai Tham alphabet (กล่องทางขวา) ข้อมูลไหนถูกกันแน่ครับ --Octra Dagostino 22:22, 18 กรกฎาคม 2551 (ICT)

ตัวอักษรธรรมไม่แสดง

[แก้]

สำหรับผู้ใช้ใดที่ไม่สามารถมองเห็นอักษรธรรม ᩋᨠ᩠ᨡᩁᨵᩢᨾ᩠ᨾ᩺ᩃ᩶ᩣ᩠ᨶᨶᩣ ᩁᩂ ᨲ᩠ᩅᩫᨾᩮᩬᩥᨦ (ขึ้นเป็นช่องสี่เหลี่ยม) สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งสคริปต์ได้ที่ https://fonts.google.com/noto/specimen/Noto+Sans+Tai+Tham Austin (คุย) 12:17, 14 มกราคม 2565 (+07)ตอบกลับ

ฟอนต์ Noto Sans Tai Tham ยังแสดงผลยูนิโค้ดได้ไม่ถูกต้องครับ การสะกดหลายตัวยังแสดงผลออกมาผิดเพี้ยน จริง ๆ ไม่อยากจะแนะนำสักเท่าไหร่ Noktonissian (คุย) 03:20, 22 มกราคม 2565 (+07)ตอบกลับ

คำว่า "ภาษาไทยถิ่นเหนือ" ความหมายและนัยยะต่างกันกับ "ภาษาล้านนา"

[แก้]

คำว่า ภาษาไทยถิ่นเหนือ ถ้าตามรากศัพท์จริง ๆ จะให้ความหมายว่ารูปแบบของภาษาไทยที่ผสมกับภาษาถิ่นที่พูดกันในเขตภาคเหนือในปัจจุบัน ดังนั้นจึงเชื่อมโยงกับรัฐชาติสมัยใหม่ เป็นรูปแบบภาษาที่เกิดขึ้นใหม่ เกิดจากการผสมกันของภาษาของคนหลายหลายชนเผ่าในภาคเหนือ เช่น ภาษาล้านนา ภาษาไทย ภาษาไทเขิน ภาษาไทลื้อ ฯลฯ แต่เนื่องจากคนล้านนา (ไทยวน) เป็นคนหมู่มากสุด รูปแบบภาษาผสมตัวนี้จึงออกมาใกล้เคียงกับภาษาของคนล้านนาเป็นสำคัญ แต่ที่สำคัญคือ รูปแบบภาษาแบบนี้ ไม่มีภาษาเขียนแล้วเพราะรัฐบาลยุคหนึ่งสั่งห้ามเรียนอักษรของภาษาถิ่น จนปัจจุบันเหลือแต่ภาษาพูด หรือหากจะถอดความ ก็ใช้อักษรไทยแบบปรับแต่งเอา

ส่วนคำว่า ภาษาล้านนา หรือ คำยวน หรือ คำเมือง เป็นชื่อเรียกภาษาของคนล้านนา (คือคนไทยวนเท่านั้น ไม่ใช่คนไทเขิน ไทลื้อ หรือไทหมู่อื่น) ซึ่งเป็นภาษาที่เกิดมา "ก่อน" จะมีประเทศไทยแบบรัฐชาติสมัยใหม่ โดยมี "อักษรธรรม" เป็นตัวเขียนมาตั้งแต่โบราณ ดังนั้นในบทความนี้ การใช้คำว่า ภาษาล้านนา คำเมือง คำโยน หรือคำยวน ฯลฯ ในทำนองนี้ สื่อถึงภาษาพูดจึงสอดคล้องกับ "อักษรธรรม" มากกว่า คำว่าภาษาไทยถิ่นเหนือ

ส่วนตัวมองว่าคำว่า ภาษาไทยถิ่นเหนือ เป็นคำที่กำกวมและให้ความหมายสับสน บางคนอาจจะเข้าใจได้ว่าหมายถึงภาษาไทยด้วยซ้ำ ดังนั้นคิดว่าไม่ควรใช้คำว่า "ภาษาไทยถิ่นเหนือ" กับบทความนี้เพราะจะทำให้เกิดความสับสน

สรุป ในกรณีที่จะสื่อถึงภาษาพูดในบทความเกี่ยวกับอักษรธรรมนี้ ควรใช้คำที่ระบุอัตลักษณ์ชัดเจนไปเลย เช่นคำว่า ภาษาล้านนา (คำเมือง คำโยน คำยวน) ภาษาไทเขิน หรือภาษาไทลื้อ ไม่ควรใช้คำว่า ภาษาไทยถิ่นเหนือ เพราะคำนี้ความหมายกำกวม ไม่ชัดเจน และชวนสับสน Noktonissian (คุย) 04:04, 27 สิงหาคม 2567 (+07)ตอบกลับ