พูดคุย:หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
เพิ่มหัวข้อหน้าตา
|
ข้อมูลจากเพลงปิ่นหทัย
[แก้]เนื่องจากเพลงปิ่นหทัยมีแนวโน้มว่าจะถูกลบในเร็ววัน และข้อมูลบางส่วนอาจปรับให้เข้ากับบทความนี้ได้ จึงขอนำเนื้อหามาลงไว้ตรงนี้
'''ปิ่นหทัย''' เป็นนามปากกาของ [[ปิ่น มาลากุล|ม.ล.ปิ่น มาลากุล]] ซึ่งใช้ในการเขียนทความหรือร้อยกรองเกี่ยวกับ[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]] ชื่อนี้เป็นคำผสมระหว่างชื่อ "'''ปิ่น'''" และคำว่า "'''หทัย'''" ที่แปลว่า ดวงใจ ซึ่งรวมแล้วมีความหมายว่า "ดวงใจของท่านม.ล.[[ปิ่น มาลากุล]]" กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ท่านม.ล.ปิ่น รัก[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]]ประหนึ่งเป็นดวงใจของท่านเอง ==ประวัติเพลงประจำ[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]]== เดิมทีเดียว เพลงประจำ[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]]คือ เพลงเตรียมอุดมศึกษา ที่มีเนื้อร้องขึ้นว่า “เราเตรียมอุดมศึกษา ...” เนื้อร้องของเพลงนี้เป็นผลงานของอดีตอาจารย์ผู้ล่วงลับ [[นิรันตร์ นวมารค]] ผู้เป็นตำนานเล่าขานกันสืบมาว่าสอน [[สามัคคีเภทคำฉันท์]] ตลอดทั้งเรื่องได้โดยไม่ต้องเปิดตัวบทเลย การที่เพลงประจำโรงเรียนเปลี่ยนมาเป็น เพลงปิ่นหทัย นั้น ยังไม่มีผู้ใดสืบได้ชัดว่าเริ่มมาแต่เมื่อใดและด้วยเหตุผลกลใด อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเชื่อว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เพลงปิ่นหทัย “ขึ้นแท่น” และรักษาตำแหน่งนี้ได้อย่างยาวนาน นอกเหนือไปจากสถานะพิเศษอันได้แก่การเป็นผลงานของนักเรียนเตรียมฯ เลขประจำตัว ๑ คือคุณ[[ชอุ่ม ปัญจพรรค์]] และการกำหนดให้ต้องร้องทุกวันก่อนเข้าเรียนตั้งแต่สมัยผู้อำนวยการ[[อัศวิน วรรณวินเวศร์]]แล้ว ยัง มีความงดงามทางภาษาหรือวรรณศิลป์ที่สามารถขับความรักความศรัทธาที่มีต่อสถาน ประสาทวิชาแก่ตนได้อย่างคมเข้มและมีชีวิตชีวาเป็นอีกปัจจัยหนึ่งด้วย ใน ข้อเขียนนี้ ผู้เขียนจะได้อธิบายกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่ผู้แต่งเนื้อร้องได้แฝงไว้อย่าง แนบเนียน เพื่อให้เพื่อนนักเรียนแลเห็นความงามและเกิดความซาบซึ้งได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ยังชื่อของผู้อำนวยการโรงเรียนถึง 4 ท่าน มาไว้ในบทเพลง อย่างเหมาะสม อนึ่ง ผู้เขียนได้กำกับชื่อโวหารภาพพจน์ไว้ เพราะน่าจะช่วยให้ผู้อ่านจับประเด็นได้แม่นยำรัดกุมขึ้น แต่สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยก็มีคำอธิบายอย่างสั้น ๆ ประกอบพอเข้าใจ หวังว่าจะไม่เป็นที่รกหูรกตาของบรรดาผู้รู้ ==ความหมาย== "ปิ่นหทัย" ความหมาย ตามอักษรของความว่า ปิ่น คือ “เครื่องประดับสำหรับปักผมที่มุ่นเป็นจุก” ในวัฒนธรรมตะวันออกเราถือว่าผมหรือศีรษะเป็นส่วนที่ตั้งอยู่บนสุดของร่างกาย ดังนั้น จึงมีความหมายขยายออกโดยปริยายว่า “จอม, ยอด” มักใช้ประกอบกับคำอื่นเพื่อให้ความหมายว่าพระเจ้าแผ่นดินเช่น พระปิ่นภพลบโลกนาถา, ปิ่นเกศประกอบกรณิย์กิจ หทัย คือหัวใจ ในที่นี้ใช้ในความหมายเชิงนามธรรม คือความรู้สึกของบุคคล เช่น “หัวใจของเธอแทบจะแหลกสลายไปเมื่อรู้ข่าวว่า...” เมื่อรวมเป็น ปิ่นหทัย จึงมีความหมายว่า สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความรักเทิดทูนอย่างสูงสุด ชื่อนี้นอกจากเป็นการใช้โวหารภาพพจน์ อุปลักษณ์ ที่นำคำว่า ปิ่น มาประกอบกับคำอื่นและให้ความหมายที่แหวกไปจากขนบเดิม ๆ แล้ว ยัง แฝงไว้ซึ่งนัยยะแห่งความรักและความกตัญญูกตเวทีอันเป็นคติธรรมประจำโรงเรียน คือระลึกนึกถึงพระคุณของโรงเรียนในฐานะที่เป็นยอดของหัวใจทีเดียว และ เมื่อเราพิจารณาเนื้อร้องในลำดับต่อไป ก็จะเห็นว่าการตั้งชื่อว่า ปิ่นหทัย นี้นับว่าเหมาะสมเป็นที่สุดเพราะอาจครอบคลุมใจความของเนื้อร้องไว้ได้ ทั้งหมดอีกด้วย ==รายละเอียดของเพลง== ===บทที่ ๑=== {| |วันเดือนปีที่ผ่านมา |โอ้ ต.อ.จ๋ารักยังแจ่มจ้าไม่เลือน |- |สระน้ำคูบัวตามเตือน |สงวนบุญหนุนเลื่อนเสียงครูเสียงเพื่อนแจ่มใจ |- |} ====วรรคแรก==== การ ขึ้นต้นเนื้อเพลงว่า “วันเดือนปีที่ผ่านมา” ผู้แต่งไล่เวลาขึ้นจากหน่วยเล็กไปหาหน่วยใหญ่ ผู้ฟังจะสามารถทอดอารมณ์ไปตามการเปลี่ยนผ่านของช่วงเวลาตามลำดับได้ว่าเราจบ ไปจากสถานศึกษาแห่งนี้เนิ่นนานเพียงใดแล้ว แต่การที่เรื่องราวผ่านไปเนิ่นนาน ก็ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องลืมเลือนเรื่องราวหรือความ รู้สึกนึกคิดอันเป็นผลโดยตรงของเรื่องนั้นเสมอไป ตรงกันข้ามภาพของ เหตุการณ์ที่ประทับใจหรือกระทบใจซึ่งในที่นี้ก็ได้แก่ความรู้สึกต่อโรงเรียน เรื่องหลายเรื่องก็คล้ายว่าเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน ยังคงชัดเจนอยู่ในห้วงคำนึง การใช้โวหารภาพพจน์จำพวก การเปรียบต่าง (contrast) ซึ่งหมายถึงการนำเอาจินตภาพ ข้อคิดเห็นที่ตรงข้ามหรือแตกต่างกันมาเข้าคู่กัน เพื่อให้ความที่ต้องการนำเสนอชัดเจนหรือเข้มข้นขึ้น ====วรรคสอง==== ใน วรรคที่สอง “โอ้ ต.อ. จ๋ารักยังแจ่มจ้าไม่เลือน” จึงเป็นการสอดประสานที่แม้จะดูขัดแย้งแต่ก็กลมกลืนกับวรรคก่อนหน้าอย่างยิ่ง นอกจากนี้ การใช้คำว่า จ๋า ยังทำให้อารมณ์เพลงดูนุ่มนวล เหมือนการเรียกขานคนรัก ภาพพจน์เช่นนี้ไม่ได้เรียกว่า [[บุคคลวัต]] (personification) อันหมายถึงการสมมติให้สิ่งไม่มีชีวิตกระทำกริยาอย่างมนุษย์ หากมีนามบัญญัติในวงวรรณคดีศึกษาต่างหากออกไปว่า [[สมมุติภาวะ]] (apostrophe) คือการกระทำต่อสิ่งไม่มีชีวิตราวกะว่าเป็นมนุษย์ เช่นเรียกขานด้วยความผูกพัน ประชดประชันด้วยความขึ้งเคียด ====วรรคสามและสี่==== เป็นการให้ภาพและเสียงเพื่อขยายรายละเอียดของวรรคที่สองว่า ที่ไม่ลืมนั้น มีอะไรบ้างเป็นข้อเตือนตาตรึงใจ ก็ได้แก่บรรยากาศธรรมชาติภายในโรงเรียนที่ ตามเตือน เสียงอบรมของครูอาจารย์ และการสังสรรค์จำนรรจาในหมู่เพื่อนฝูงที่ยังคง แจ่มใจ ====เรียงร้อยถ้อยบูชา สี่นามาอตีตาจารย์==== การปรากฏชื่อของผู้อำนวยการในอดีตถึง ๔ ท่านในเนื้อร้องนั้น นับว่าเป็นอีกจุดเด่นหนึ่งของเพลงปิ่นหทัย ทั้งเป็นการยืนยันด้วยว่าเพลงนี้มีความกตัญญูเป็นแกนความคิดหลักที่สำคัญพอ ๆ กับความรักเทิดทูนต่อโรงเรียน “สงวนบุญหนุนเลื่อน” ผู้ที่เคยศึกษาประวัติของโรงเรียนมาบ้าง ย่อมรู้ว่าเป็นการนำเอาชื่อของผู้อำนวยการคนที่ ๓ และ ๔ คือ ผ.อ.[[สงวน เล็กสกุล]] และ [[คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู]] มาใส่ไว้ในเนื้อเพลง ในบทต่อไป จะมีชื่อของผู้อำนวยการคนที่ ๒ คือ ผ.อ.[[สนั่น สุมิตร]] ในวรรคที่ว่า “ต.อ. ระบือลือสนั่นลั่นไกล” และในบทสุดท้ายรวมถึงชื่อเพลงก็จักปรากฏชื่อของ ฯพณฯ ศ.[[หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล]] ในวรรคที่ว่า “รัก ต.อ.ประหนึ่งว่าปิ่นปักจุฑานั่นเอย” ===บทที่ ๒=== {| |ยามเรียนลือยามเล่นเด่นชื่อ |ต.อ.ระบือลือสนั่นลั่นไกล |- |คิดถึงพระคุณอาจารย์ยิ่งใด |เป็นปิ่นหทัยให้ร่มเย็นใจเสมอมา |- |} ====วรรคแรก==== แม้ผู้แต่งจงใจใช้คำว่า ยาม เป็นโครงสร้างคู่ขนานเพื่อแสดงว่ากิจกรรมของนักเรียนเตรียมอุดมศึกษา ทั้งการเรียนและการเล่นนั้นโดดเด่นปานกัน แต่ก็ยังไม่เกิดเป็นจังหวะสมดุลได้ ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่ข้อด้อยรุนแรง เพราะ จังหวะสมดุลนั้นเป็นลักษณะเด่นของฉันท์ยิ่งกว่าฉันทลักษณ์อื่น ๆ เช่นในภุชงคประยาตฉันท์บาทหนึ่งที่ว่า “ถลันจ้วงทะลวงจ้ำ บุรุษนำอนงค์หนุน” ====วรรคสอง==== วรรคที่สองเป็นการเน้นว่าชื่อเสียงของโรงเรียนโด่งดังเพียงไรด้วยการสรรคำพ้องมาเรียงติด ๆ กันถึงสี่คำคือ ระบือ, ลือ, สนั่น, ลั่น ====วรรคสามและสี่==== เมื่อดำเนินความถึงวรรคที่สามและสี่ ผู้แต่งกำลังพาเราเข้าสู่จุดสูงสุดของบทเพลงในบทต่อไป เพราะเนื้อร้องก่อนช่วงนี้เป็นการเล่าถึงภาพของโรงเรียนในความทรงจำ ค่อย ๆ ปลุกกระตุ้นให้ความระลึกนึกถึงเข้มข้นขึ้นทุกขณะ แล้ว พรั่งพรูออกมาเป็นถ้อยคำแสดงความรักอย่างเปี่ยมล้นในสองบทต่อไป จะเห็นได้ว่าผู้แต่งให้พื้นที่โดยตรงสำหรับพรรณนาความรักเทิดทูนล้วน ๆ ต่อโรงเรียนถึงครึ่งหนึ่งของเพลงทั้งหมดทีเดียว ===บทที่ ๓ และ ๔=== {| |รักต.อ.ขอจงอยู่ยืนนาน|||รักครูอาจารย์รักเพื่อนถ้วนหน้า |- |รักจริงรักจริงรักสิงวิญญาณ์|||รักต.อ.ยิ่งชีวารักจนดินฟ้ามลาย |- |รักต.อ.ขอจงอยู่ยืนนาน|||รักครูอาจารย์รักเพื่อนถ้วนหน้า |- |รักจริงรักจริงรักสิงวิญญาณ์|||รักต.อ.ประหนึ่งว่าปิ่นปักจุฑานั่นเอย |- |} การซ้ำคำว่า "รัก" ถึง ๘ แห่งในบทที่ ๓ และ ๗ แห่งในบทที่ ๔ รวมกันถึง ๑๕ แห่งนับว่าเป็นการซ้ำคำที่มาก และกรณีเช่นนี้หาพบได้ค่อนข้างยาก เพราะโดยทั่วไปการซ้ำคำมากเกินไปในที่ใกล้ ๆ กันย่อมทำให้รสเฝือหรือหมดความสำคัญลงไป แต่ในกรณีนี้การซ้ำคำว่า "รัก" กลับทำให้รสแห่งความผูกพันทวีความเข้มข้นขึ้นจนถึงขีดสุด อย่างไรก็ตาม แม้จะปรากฏการใช้โวหารภาพพจน์ในสองบทสุดท้าย แต่ความหลากหลายและแปลกใหม่ถือว่าเทียบกับบทแรกไม่ได้ “รัก ต.อ. ยิ่งชีวารักจนดินฟ้ามลาย” เป็นการเปรียบเกินจริงหรือที่เรียกว่า อติพจน์ (hyperbole) แต่ก็เรียกว่ากล่าวค่อนข้างตรง ไม่ต้องตีความมาก เมื่อเทียบกับฝีปากของนายนรินทรธิเบศร์ที่ว่า {| |ตราบขุนคิริข้น |ขาดสลาย ลงแม่ |- |รักบ่หายตราบหาย |หกฟ้า |- |} “รัก ต.อ.ประหนึ่งว่าปิ่นปักจุฑานั่นเอย” จุฑา เป็นรูปสันสกฤตของคำว่า จุฬา ซึ่งมีความหมายตามอักษรว่า จุก โดยปริยายหมายถึงยอด ในภาษาไทยใช้เป็นส่วนต้นชื่อเฉพาะของสองสิ่งคือพระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในแง่ การเล่นคำ ผู้แต่งสามารถนำทั้งชื่อของผู้ก่อตั้งโรงเรียนและสถาบันที่เป็นต้นกำเนิดของ โรงเรียนมาเข้าประโยคกันอย่างงดงามที่สุด เพราะได้ทั้งคำและความ ในแง่ อุปมา ก็เป็นการเทียบเคียงในทำนองเดียวกับ ปิ่นหทัย คือเทิดทูนโรงเรียนไว้เหนือเกล้าเอาเลย จาก เพลงปิ่นหทัย ซึ่งเป็นเพลงประจำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา อันมีพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน แต่ไม่ปรากฏคำว่า "พระเกี้ยว" อยู่ในเพลงปิ่นหทัยเลย หากแต่ใช้คำว่า "ปิ่นปักจุฑา" ที่มีความหมายว่าปิ่นปักมวยผมหรือจุกผม ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับพระเกี้ยวแทน ==เชิงอรรถ== *ควรทราบด้วยว่า คุณ[[ชอุ่ม ปัญจพรรค์]] ประพันธ์เนื้อร้องเพลงนี้เมื่อตนจบจากโรงเรียนไปแล้วกว่าสิบปี มีคนเคยค้นคว้าช่วงเวลาของการแต่งเพลงนี้เอาไว้ และได้ข้อสรุปว่าน่าจะแต่งราว พ.ศ. ๒๔๙๖ เพราะคุณชอุ่มเล่าว่าแต่งในคราวงานเลี้ยงของสนตอ. คือวันที่ ๘ สิงหาคม ของปีนั้น ฯพณฯ ศ. ม.ล.ปิ่น มาลากุล ยังได้แต่งโคลงสี่สุภาพเอาไว้เป็นอนุสรณ์ด้วยว่า {{โคลงสี่สุภาพ|เหมือนเมื่อลูกกลับบ้าน|แม่ผวา|ลูกรักลูกกลับมา|สู่เหย้า|กิจธุระนานา|ทิ้งทอด หมดแฮ|ปลื้มจิตศิษย์เก่าเข้า|เขตรั้วโรงเรียน}} *การใช้คำว่า แจ่มจ้า กับภาพความทรงจำในอดีตนั้น ไม่ได้ปรากฏแต่ในงานเพลงชิ้นนี้เท่านั้น ผู้ที่คุ้นเคยกับ Yesterday Once More ของวง Carpenter คงจะจำช่วงสร้อยได้ว่า “Every sha-la-la-la, every wo-wo-wo still shines" *ปีที่แต่งคือ พ.ศ. ๒๔๙๖ นั้น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเพิ่งจะมีผู้อำนวยการ ๓ ท่าน การที่มีชื่อคุณหญิงบุญเลื่อนปรากฏอยู่ในชื่อเพลง จึง ไม่ใช่ความจงใจที่จะให้ชื่ออาจารย์ในเพลงเป็นชื่อผู้อำนวยการทั้งหมด หากเพราะว่าทั้งสี่ท่านนี้ ล้วนเคยเป็นอาจารย์ของคุณชอุ่มมาก่อนทั้งสิ้น และ ด้วยเหตุผลนี้ ในเพลงย่อมไม่อาจมีชื่อของผู้อำนวยการท่านต่อไปคือคุณหญิงสุชาดา ถิระวัฒน์ ได้ เพราะคุณชอุ่มและคุณหญิงสุชาดานั้นเป็นนักเรียนเตรียมฯ รุ่น ๑ มาด้วยกัน คือเป็นเพื่อนกันนั่นเอง {{ไม่ได้ลงชื่อ|Nullzero|23:43, 17 มกราคม 2556 (ICT)}} [[หมวดหมู่:โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]]