พูดคุย:สตูดิโออัลบั้ม
เพิ่มหัวข้อหน้าตา
|
ชื่อบทความ
[แก้]ลองเสิร์ช ในกูเกิ้ล คิดว่าคำว่า อัลบั้มสตูดิโอ ในภาษาไทย แทบไม่มีใครใช้กันเลย เมื่อเปรียบเทียบกับ สตูดิืโออัลบั้ม ที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง --Sry85 13:58, 1 มีนาคม 2552 (ICT)
คือผมรู้สึก คำ ว่า "สตูดิืโออัลบั้ม" เป็นการเรียกรูปแบบหนึ่้งของอัลบั้ม คล้าย ๆ กับการเรียก พวก "มินิดิสก์" หรือ "บลูเรย์ดิสก์" มากกว่าจะใช้เป็น อัลบั้มสตูดิโอ ที่ไม่นิยมเรียกอย่างนั้นกัน --Sry85 21:02, 17 มีนาคม 2552 (ICT)
- ราชบัณฑิตฯ อีกและ 555~!
- ๑๓. การวางตำแหน่งคำคุณศัพท์ในคำทับศัพท์ ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้
- ๑๓.๑ คำคุณศัพท์ที่ประกอบคำนามที่เป็นภาษาไทย หรือเป็นคำทับศัพท์ แต่ได้ใช้ในภาษาไทยมาจนถือเป็นคำไทยแล้ว ให้วางคำคุณศัพท์ไว้หลังคำนาม เช่น
- cosmic ray = รังสีคอสมิก
- gross ton = ตันกรอส
- ๑๓.๒ ถ้าทั้งคำคุณศัพท์และคำนามเป็นคำทับศัพท์ที่ยังไม่ถือเป็นคำไทย ให้ทับศัพท์ตรงตามศัพท์เดิม เช่น
- Arctic Circle = อาร์กติกเซอร์เคิล
- adrenal cortex = อะดรีนัลคอร์เทกซ์
- ๑๓.๓ ถ้าต้องการเน้นว่าคำนามนั้นเป็นสิ่งที่มีหลายชนิดและคำคุณศัพท์ที่ประกอบ เป็นชนิดหนึ่งของคำนามนั้น อาจทับศัพท์โดยใช้คำประกอบ แบบ ชนิด ระบบ ฯลฯ มาแทรกไว้ระหว่างคำนามกับคำคุณศัพท์ เช่น
- normal matrix = เมทริกซ์แบบนอร์แมล
- thermoseting plastic = พลาสติกชนิดเทอร์โมเซตติง
- ๑๓.๑ คำคุณศัพท์ที่ประกอบคำนามที่เป็นภาษาไทย หรือเป็นคำทับศัพท์ แต่ได้ใช้ในภาษาไทยมาจนถือเป็นคำไทยแล้ว ให้วางคำคุณศัพท์ไว้หลังคำนาม เช่น
- ๑๓. การวางตำแหน่งคำคุณศัพท์ในคำทับศัพท์ ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้
- เค้าว่า "studio album" น่าจะเข้าหลักเกณฑ์ข้อ ๑๓.๒ มากกว่านะ
- หรือเราจะทับศัพท์ตามข้อ ๑๓.๓ ว่า "อัลบั้มในสตูอิโอ" หรือ "อัลบั้มจากสตูดิโอ" ?
- ป.ล. จากข้อ ๑๓.๓ เพิ่งรู้ว่า "normal" อ่านว่า "นอร์แมล" (สำเนียงอเมริกัน?)
- ก. ไปหาคำตอบมาเองและ เลยมาพิมพ์บอกไว้เฉย ๆ ค่ะ 55~!
- ข. ดิกต์ทุกเจ้า ว่าอ่าน "นอร์มัล" /ˈnɔrməl/
- ค. แต่ไปค้นศัพท์บัญญัติดู แกก็ใช้ "นอร์แมล" ทุกที่เลย (seminormal - กึ่งนอร์แมล; subnormal - ซับนอร์แมล ฯลฯ) ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน
- —— ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๕๕๒ ศก มีนาคมมาส อัษฎทศมสุรทิน, ๐๒:๐๗ นาฬิกา (GMT+7)
- ยาวเฟื้อย ขอตีเส้นละกันครับ ผมว่าน่าจะเหมือนกรณี มิวสิกวิดีโอ หรือเปล่าครับ ที่ไม่มีใครใช้ วิดีโอมิวสิก --Manop | พูดคุย 02:27, 18 มีนาคม 2552 (ICT)
- ใช่ ๆ เพราะมันยังไม่ใช่คำไทย (ตามหลักเกณฑ์ข้อ ๑๓.๒) ด้วยล่ะ
- แต่เรื่อง "music video" นี่หลัง ๆ มาเห็นมีคนแปลเป็นไทยบ้างล่ะ เช่น "วีดิทัศน์ประกอบเพลง" อย่างไรก็ดี ยังไม่มีคำไทยอย่างเป็นทางการสำหรับคำนี้
- —— ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๕๕๒ ศก มีนาคมมาส อัษฎทศมสุรทิน, ๐๒:๔๑ นาฬิกา (GMT+7)
- ผมว่าไม่ต้องยึดราชบัณฑิตฯ มากหรอกครับ ไม่งั้นต้องแปลไทยเป็นไทยอีก ลำบากคนอ่านเปล่าๆ "วีดิทัศน์ประกอบเพลง" ถ้าใช้ "วิดีโอประกอบเพลง" ยังน่าฟังกว่าเลยนะเนี่ย ไม่รู้ว่าใครช่างคิดคำได้ไม่ให้คนอยากใช้จริงๆ คำพวกนี้ซักพักอาจจะหายตายจากไปเหมือน คณิตกรณ์ กับ ประยุกวิทยา ก็ได้ครับ ว่าไปแล้วน่าจะชวนราชบัณฑิตฯมาเขียนวิกิพีเดียนะเนี่ย
ขอถามต่ออีกนิดนึงครับ คำว่า album สะกด อัลบั้ม หรือ อัลบั้ม ครับ ผมหาศัพท์จาก http://dict.longdo.com/search/album เขาเขียนว่า อัลบั้ม --Sry85 09:59, 18 มีนาคม 2552 (ICT)
- มันก็สะกดได้ทั้งสองอย่างนะ แต่คนคงสะกดตามเสียงอ่าน ("อัลบั้ม") มากกว่า
- เฮียมานพ~! เพิ่งรู้นะเนี่ยว่า "เทคโนโลยี" นี่มันเรียก "ประยุกตวิทยา" 555~! (ไปค้นมาและ มี ต เต่า ด้วยน่ะ) เค้าฮานะเนี่ย คนคิดคิดได้ไง 55~!
- นอกเรื่องนะคะ เคยอ่านมา "วีดิทัศน์" เป็นการเลียนเสียง "วิดีโอ" โดยมาจาก "วิติ" (เพลิดเพลิน, ภาษาบาลีนะ) + "ทัศน์" (การดูชม)
- จะบอกว่ายังมีคำแปลก ๆ ที่เหนือความคาดหมายในพจนานุกรมราชการอีก เช่น "หมูหย็อง" (อ่านว่าอะไรก็ไม่รู้ แต่มันคือ "หมูหยอง" นั่นแหละ), กะ "แคระแกร็น" (มันก็คือ "แคระแกรน" นั่นแล, คงจะอ่านเสียงไม่ยาวเท่า "แกรน" มั้ง)
- —— ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๕๕๒ ศก มีนาคมมาส อัษฎทศมสุรทิน, ๑๒:๐๗ นาฬิกา (GMT+7)
- เห็นในเว็บ http://www.navy.mi.th/misc/variety/v142541.htm เขาเขียนไม่มี ต เหมือนกัน แต่ว่าไปท่าทางจะมี ต. เต่าแฮะ
- เค้าว่าข้อมูลในนั้นที่กองทัพเรือเอามาลงก็ออกจะมั่ว ๆ อยู่นะ ขอยืนยันว่า "วีดิทัศน์" ไม่ใช่มาจาก "วิ" + "ดิ" + "ทัศน์" ที่แปลว่า "การดูที่วิเศษ" ถึงแม้ในนั้นจะบอกว่า ราชบัณฑิตบรรจบ พันธุเมธา เป็นคนคิดเหมือนกันก็เถิด เพราะของจริงเขาว่า...
- "คำว่า 'วีดิทัศน์' เป็นศัพท์บัญญัติ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า 'video' (อ่านว่า วิ-ดี-โอ). ศาสตราจารย์ ดร. คุณบรรจบ พันธุเมธา เป็นผู้คิดคำนี้ขึ้น โดยเห็นว่า คำว่า 'วีติ' ในภาษาสันสกฤต แปลว่า 'ความสนุกสนานรื่นเริง' มีเสียงใกล้เคียงกับคำว่า 'video' ในภาษาอังกฤษ เมื่อเติมคำว่า 'ทัศน์' ลงไปข้างท้าย ก็อาจจะแปลได้ว่า 'เครื่องที่แสดงภาพเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง'" (อ้างอิง ๑, ๒)
- ส่วน "ประยุกตวิทยา" นั้น มี ต เต่า แน่นอนค่ะ เหตุผลดังนี้
- ก. ดูจากเว็บศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตฯ
- ข. ดูจากข้อเท็จจริง คำว่า "ประยุกต์" ก็เขียนอย่างนี้อยู่แล้ว และคำว่า "ประยุก" ไม่มีในภาษาไทย
- นี่เรากำลังออกทะเลกันนะเนี่ย 55~!
- —— ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๕๕๒ ศก มีนาคมมาส อัษฎทศมสุรทิน, ๒๒:๐๓ นาฬิกา (GMT+7)