พูดคุย:ศาสตราจารย์
เพิ่มหัวข้อ
|
|
ขาดมุมมองสากล
[แก้]ไม่ทราบว่า บทความนี้ไม่ได้เสนอมุมมองสากลตรงไหนหรือครับ วานชี้แจง เห็นติดป้ายกันหลายรอบแล้ว --Manop | พูดคุย 13:43, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
- ไม่ลองอ่านดูเนื้อหาโดยละเอียดละครับ รุ่นตั้งแต่ติดป้ายโดย Taweetham เป็นต้นมาก็ไม่ได้มีการปรับปรุงอะไรเพิ่มเติมเลย มีแต่การแก้ไขเล็กน้อย ศาสตราจารย์ที่ต้องทำผลงานวิจัยและ/หรือแต่งตำรา เนื้อหาเพียงย่อหน้าแรกก็ไม่สากลแล้ว พูดถึงไทยอย่างเดียว ส่วนจำนวนศาสตราจารย์ในประเทศไทย ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าจะรวมจำนวนไว้ทำไม (แทนที่จะเป็นรายชื่อ) ไม่รวมต่างประเทศบ้างหรือครับ :) หากเทียบกับวิกิพีเดียภาษาอังกฤษซึ่งพูดถึงหลายประเทศ เพราะการแต่งตั้งศาสตราจารย์มีเกณฑ์ที่ต่างกันออกไปในรายละเอียด แต่วิกิพีเดียภาษาไทยพูดถึงประเทศไทยอย่างเดียวจริงๆ --octahedron80 14:10, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
- ผมเสนอให้แยกบทความนี้ออกเป็น ศาสตราจารย์ในประเทศไทย เป็นอีกบทความหนึ่งจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องมุมมองสากลครับ --octahedron80 14:13, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
- อย่าเข้าใจอะไรผิดครับ "การเป็นสากล" ไม่ได้หมายถึงว่าต้องทำเหมือนชาวบ้านนะครับ รุ่นที่คุณ Taweetham ติดป้ายมันก็ไม่ได้มีปัญหาตั้งแต่แรก แต่คิดว่าคุณ Taweetham คงไม่เข้าใจจุดนี้ (ซึ่งเอามาอ้างว่ารุ่นเก่าติดป้ายแล้วไม่แก้ แปลว่ายังผิด) และที่บอกว่าพูดถึง ศาสตราจารย์ในเมืองไทย มากเป็นพิเศษก็ไม่เห็นแปลกตรงไหนนี่ครับ แล้วก็ถ้าแยกบทความออกไปปุ๊บ ผมก็เดาว่าคนคงติดป้ายแจ้งลบทันทีว่าไม่สำคัญ --Manop | พูดคุย 16:13, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
- ประเด็นผมก็ไม่ได้อยู่ที่ต้องทำให้เหมือนชาวบ้าน แต่ประเด็นผมอยู่ที่เนื้อหาควรพูดถึงทั้งโลกโดยรวม โดยไม่เน้นประเทศไทยต่างหาก แน่นอนว่าศาสตราจารย์บางตำแหน่งในเนื้อหา มีแต่เฉพาะในไทยไม่มีในสากล ถ้าจะพูดถึงประเทศไทยอย่างเดียวก็ให้แยกไป ถ้าเนื้อหามีไม่มากพอที่จะแยกบทความ ก็แยกส่วนเฉยๆก็ได้ เหมือนกับศาสตราจารย์ในสหรัฐอเมริกาที่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษแยกบทความไว้เพราะเนื้อหาเยอะ ใครจะติดป้ายว่าไม่สำคัญเหรอครับผมว่ามันก็สำคัญนะ คุณต่างหากที่เข้าใจผิด--octahedron80 16:28, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
- ผมไม่มีข้อมูลอ้างอิงครับ ถ้าผมมีผมก็ทำไปแล้ว โดยเฉพาะเรื่องศาสตราจารย์ในประเทศไทย ถ้าผมทำรับรองยาวกว่าบทความหลักอีก ทำไมคุณต้องประชดทุกทีด้วยครับ --octahedron80 16:31, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
- ผมเห็นคุณก็อ้างทุกทีละครับ[ต้องการอ้างอิง] แต่ก็ไม่ต้องหาเฉพาะศาสตราจารย์ในประเทศไทยก็ได้นะครับ เห็นคนข้างบนบอกว่ามีเยอะแล้ว ขาดแต่ศาสตราจารย์ที่เป็นสากล
- ถ้าผมทำผมก็คงเคลียร์เรื่องประเทศไทยออกครับ แล้วเอาไปรวมกับศาสตราจารย์ในประเทศไทย เนื้อหาที่เหลือมันจะเป็นสากลเอง คุณจะมีปัญหาหรือเปล่าถ้าผมทำอย่างนั้น --octahedron80 16:43, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
- ขออภัยที่มาช้า ขอพุ่งไปที่ประเด็นปัญหาของบทความเลยนะครับ
- ขาดมุมมองสากล เพราะบทความนี้มุ่งความหมายของคำ "ศาสตราจารย์" ในทางยศศักดิ์มากกว่า
- ในภาษาอังกฤษ คำว่า professor ใช้ในความหมายที่ต่างออกไปจากในประเทศไทย คนที่ได้ tenure ในมหาวิทยาลัยแล้ว ก็เรียก professor ได้ ทั้งที่ตำแหน่งจริงอาจไม่ใช่ศาสตราจารย์
- ในบางแห่ง คำว่าเป็น professor ก็มิได้มีศักดิ์มีศรีเหมือนอย่างที่อธิบายในบทความ เป็นเพียง job หนึ่งที่ต้องหาคนมาเติมเต็ม บางมหาวิทยาลัยไม่มีชื่อเสียง อยู่ในถิ่นห่างไกล รับคนจบ PhD ไม่ผ่าน postdoc มาลงหน้าที่นี้เลยก็มี ไม่มีการคัดเลือกแบบที่กล่าวถึงในบทความ
- ศาสตราจารย์ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีตำแหน่งรองลงมาเป็น รองศาสตราจารย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสมอไป ยังมีคำอื่นๆ สำหรับตำแหน่งรองลงมา เช่น senior lecturer, reader, senior fellow, etc.
- ประเภทของศาสตราจารย์ที่บรรยายในบทความ ความหมาย และแนวทางการคัดเลือก เป็นแนวตามประเทศไทยทั้งหมด แม้ว่าประเทศไทยจะนำแนวทางนี้มาจากต่างประเทศ แต่อ่านแล้วก็รู้ได้ว่าเป็นระบบไทยไปเสียแล้วแต่เขียนเหมือนว่าเป็นแนวทางสากล
- ด้วยตัวอย่างที่ยกมานี้ ทำให้บทความในรุ่นปัจจุบันขัดกับความหมายสากล
- ขาดอ้างอิง และมีข้อมูลปลีกย่อย ที่เป็น trivia
- แนวทางแก้ไข ขอเสนอแบบขี้เกียจโดยแปลย่อหน้าแรกบทความภาษาอังกฤษมาดังนี้
ความหมายของ ศาสตราจารย์ (ละติน: professor ผู้มีความเชี่ยวชาญในศิลปะวิทยาการเฉพาะด้าน หรือ ผู้สอนผู้มีความชำนาญระดับสูง) แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มเครือจักรภพ (ยกเว้นแคนาดาและไอร์แลนด์) คำนี้หมายถึง อาจารย์อาวุโสที่ดำรงตำแหน่งระดับภาควิชา โดยเฉพาะหัวหน้าภาควิชา หรือ หมายถึงตำแหน่งที่ได้รับเป็นการเฉพาะบุคคล สำหรับแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์เป็นตำแหน่งสำหรับอาจารย์อาวุโสในสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป ตำแหน่งศาสตราจารย์ในอเมริกาและแคนาดาเปิดกว้างสำหรับอาจารย์จำนวนมากกว่าตำแหน่งในกลุ่มเครือจักรภพ
บทความภาษาอังกฤษไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป แต่ถ้ายอมรับย่อหน้าแรกกันไปก่อน ก็คงพอแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น ย่อหน้าถัดไปและโครงสร้างบทความก็คงจะตามมาเอง --taweethaも 18:57, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
- ผมลองเปลี่ยนย่อหน้าแรกตามที่แนะนำแล้วครับ --octahedron80 19:31, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
- เนื้อหารุ่นเก่าดั้งเดิม ประเภททั้งหมดเป็นศาสตราจารย์ในประเทศไทย [1] ไปๆมาๆไหงกลายเป็นสากลก็ไม่รู้ :( --octahedron80 19:37, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
ในญี่ปุ่น
[แก้]"โดยถัดมาเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่เรียกว่า.... (ญี่ปุ่น: 准教授 Junkyōju ?)" รบกวนช่วยเติมคำอ่านด้วยครับ --ธวัชชัย 11:01, 26 มกราคม 2554 (ICT)