พูดคุย:วิทยาการคอมพิวเตอร์
เพิ่มหัวข้อหน้าตา
|
วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
[แก้]- เนื้อหาบทความนี้(วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์)เกือบทั้งหมดถูกก๊อปปี้มาจาก หัวข้อ"วิทยาการคอมพิวเตอร์" เพราะว่าChaiwat ผู้เริ่มต้นบทความนี้ เห็นว่าการใช้คำว่า "วิทยาการคอมพิวเตอร์" อ้างอิงถึง Computer Technologyแทนที่จะอ้างถึงความหมายของ Computer Science คำว่าวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ มีความเหมาะสม มากกว่า ที่จะอ้างอิงถึง วิทยาศาสตร์แห่งวิชาทางคอมพิวเตอร์ คือ Computer Science คำว่าวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีความเหมาะสม ที่จะอ้างอิงถึง วิทยาการ คือการประยุกต์นำวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มาใช้งานในทางปฏิบัติ Computer Technology.อย่างไรก็ดี ราชยัณฑิตยสถาน ให้คำแปลของ Computer Science ไว้ว่า วิทยาการคอมพิวเตอร์ *แต่* ไม่มีการให้คำแปลของ Computer Technology ไว้หากยึดตามราชบัณฑิต แล้วการกล่าวถึง Computer Technology เป็นภาษาไทย ควรใช้คำใด? เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์?
- คิดว่าคำว่า "วิทยาการคอมพิวเตอร์" แพร่หลายมากกว่านะครับ, แต่ถกเถียงกันได้ครับ
- อย่างไรก็ดีถ้าต้องการเปลี่ยนชื่อจริง ควรใช้การ "ย้าย" (เปลี่ยนชื่อ) บทความเดิมนะครับ ไม่ใช่การลอกบทความเดิมมาตั้งบทความใหม่ เพราะจะทำให้มีบทความที่มีเนื้อหาซ้ำกัน/คล้ายกันมาก สองที่ -- bact' 4 กรกฎาคม 2005 19:00 (UTC)
- The article name problem need to be resolved. There should be only 1 article and the other should be a redirection. ไร้สติ 4 กรกฎาคม 2005 21:47 (UTC)
- "computer technology" -> เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ -- bact' 4 กรกฎาคม 2005 21:59 (UTC)
- ผมก็อยากแก้ที่หัวข้อเดิมอยู่เหมือนกันแต่ว่าไปแก้สุ่มสี่สุ่มห้าเดี๋ยวโดนตำหนิเอา เลยก๊อปมาก่อน สำหรับผม คำว่าวิทยาการ กับ วิทยาศาสตร์ มีความหมายแตกต่างกันมากอย่างมีนัย โดยเนื้อหาที่เขียนในหัวข้อนี้นั้น เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นหลักการ และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ในสาขาคอมพิวเตอร์ และอย่างที่เขียนไว้ในคอมเม้น คำว่าวิทยาการ มีความหมายในเชิงประยุกต์ ผมจึงขอเสนอให้เปลี่ยนชื่อหัวข้อเป็น วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ครับ --Chaiwat 4 กรกฎาคม 2005 23:02 (UTC)
- จริงๆ แล้วโดยส่วนตัวผมเห็นด้วยกับความหมายจริงว่า computer science ควรเป็น วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ มากกว่าที่จะเป็น วิทยาการ ครับ แต่ก็อย่างที่คุณ bact' กับคุณ Jittat ได้ให้ข้อคิดเห็นนั่นล่ะครับ ชื่อ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ดูจะกลายเป็นชื่อเรียกมาตรฐานไปซะแล้ว ดูจากที่หลายๆ มหาวิทยาลัยก็ใช้ชื่อนี้ในคณะและภาควิชา การใช้ชื่อ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นชื่อหลักดูจะเข้าใจได้ง่ายและที่สำคัญน่าจะค้นเจอได้ง่ายสำหรับคนทั่วๆ ไปมากกว่า (เช่น หาในกูเกิ้ล) ไม่ว่าอย่างไรผมก็ดีใจที่เราจะได้วิกิพีเดียนคนใหม่ เพิ่มอีกหนึ่งคนครับ ยินดีที่ได้ร่วมงานกันครับ ;) -- จุง 5 กรกฎาคม 2005 06:51 (UTC)
- เรื่องเนื้อหานั้น สาขา computer science โดยทั่วไป ก็ครอบคลุมทั้งทางทฤษฎีและการประยุกต์นะครับ ถ้าต้องการเน้นเรื่องทฤษฎี ก็มีคำ theoretical computer science ให้ใช้อยู่แล้ว
- หรือถ้าจะพูดถึงหลักภาษา ความหมายของคำจริง ๆ แล้ว ถ้าต้องการสื่อถึงหลักการทฤษฎีจริง ๆ ก็ควรจะเลิกอิงคำว่า computer science ไปเลย และไปอิงคำว่า computing science แทน เพราะโดยตัวหลักการแล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นคอมพิวเตอร์ จะเป็นเครื่องจักร หรือระบบใด ๆ ก็ได้ จะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ จะเป็นระบบที่ถูกสร้างขึ้น หรือมีตามธรรมชาติก็ได้ ขอให้คำนวณได้ก็เพียงพอ จึงน่าจะอิงคำว่า computing (หลักการ) มากกว่า computer (เครื่องมือ)
- ส่วนตัวมีความเห็นว่า ความหมายของคำ ๆ หนึ่งนั้น สามารถหด ขยาย เปลี่ยนแปลงได้การเวลา (ยกตัวอย่างเช่น คำว่า กั้นหน้า กั้นหลัง ซึ่งเป็นคำที่เรียกตามลักษณะการใช้งานทางกายภาพของเครื่องพิมพ์ดีด แต่คำ ๆ เดียวกันนี้ ก็ยังเป็นที่เข้าใจในปัจจุบัน ว่าหมายถึงการเว้นระยะขอบกระดาษ แม้ว่าเปลี่ยนมาใช้ระบบการพิมพ์โดยคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ ซึ่งไม่มีชิ้นส่วนสำหรับ "กั้น" อันนั้นแล้ว) — ถ้าคำ ๆ ใดที่มีอยู่เดิมสามารถสื่อสารให้คนส่วนใหญ่เข้าใจความคิดเดียวกันได้แล้ว ก็ควรคงใช้คำนั้น (ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจ) ไว้ครับ — เว้นเสียแต่ว่า คำเดิมนั้น ไม่สามารถสื่อสารความคิดใหม่ได้เลย หรือบิดเบือนความเข้าใจของผู้รับสาร
- ซึ่งในกรณี วิืทยาการคอมพิวเตอร์ ความเห็นผมคือ เป็นคำที่แพร่หลาย และเข้าใจโดยคนส่วนใหญ่เป็นอย่างดี และยังสามารถใช้ส่งความคิด (concept) "ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ สำหรับการคำนวณ และใช้งานคอมพิวเตอร์" ได้
- ส่วนคำว่า technology / เทคโนโลยี ตามพจนานุกรม ปรากฏคำแปลเพียง วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ไม่มี วิทยาการ ครับ
- และคำว่า "วิทยาการสารสนเทศ" (จากคำว่า information science/ informatics (ในส่วนของเนื้อหา)) ที่ได้มีการแก้ไขเป็น "วิทยาศาสตร์สารสนเทศ" นั้น เท่าที่พบในประเทศไทย มีการใช้อยู่สามคำคือ "วิทยาการสารสนเทศ" (เช่นที่ ม. มหาสารคาม [1]), "สารสนเทศศาสตร์" (ม. วลัยลักษณ์ [2]), และ "สนเทศศาสตร์" (ม. หอการค้าไทย [3] และ สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ [4])
- — ในกูเกิ้ลไม่พบ "วิทยาศาสตร์สารสนเทศ" เลย [5] (ไม่ได้หมายถึงว่า ควรใช้ตามที่มีอยู่นะครับ เพียงแต่ให้ข้อมูลอ้างอิงความนิยม (=ความคิดเห็นของบุคคลอื่น ๆ) เท่านั้น)
- -- bact' 4 กรกฎาคม 2005 23:53 (UTC)
- ว่าจะมาเขียนตอบเหมือนกัน แต่ bact' มาเขียนไว้แล้ว... ผมเห็นด้วยกับ bact' นะครับ อยากจะให้ข้อมูลอีกสักนิดนะครับ ว่าจริง ๆ การกำหนดหัวข้อ — หรือชื่ออะไรก็ตาม — ผมเชื่อว่าเราไม่สามารถจะสื่อความหมายออกมาได้ทั้งหมด จะทำอย่างไรมันต้องเพี้ยนอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาด้านคณิตศาสตร์ จริงๆ แล้วก็ไม่ควรจัดอยู่ในกลุ่มวิทยาศาสตร์ (หรือจะให้ตรงก็คงต้องบอกว่าไม่จัดว่าเป็น science) ทีนี้ด้านทฤษฎีการคำนวณ จริงๆ มันก็คือคณิตศาสตร์นั่นล่ะ แต่มันก็มาอยู่ใน computer science เป็นต้น
- แน่นอน ผมคิดว่าทุกคนต้องการการเปลี่ยนแปลง และพยายามทำอะไรให้เป็นอย่างที่คิดว่าถูกต้อง อย่างไรก็ตาม การเขียนสาราณุกรมหลาย ๆ คน ผมเชื่อว่าบางครั้งเราไม่สามารถทำได้อย่างที่คิดเสมอไป เพราะคงต้องคำนึงถึงผู้ที่เข้ามาอ่าน นิสิตนักศึกษาอีกมากมายที่เรียนอยู่ภาควิทยาการคอมพิวเตอร์เวลาค้น ผมก็คิดว่าเขาคงไม่ตะขิดตะขวงใจเท่าใด กับการเห็นชื่อมันเป็นอย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้ เพราะว่าสำหรับพวกเขา ชื่อนี้ก็มีความหมายว่า computer science อยู่แล้ว แม้ว่าความ "หนักแน่น" ของคำว่า science อาจจะหายไปบ้างก็ตาม
- มาช่วยกันแก้ต่อนะครับ ยังไงก็ขอให้กล้าแก้บทความนะครับ --- Jittat 5 กรกฎาคม 2005 00:32 (UTC)
- ผมคิดว่า เราสามารถใช้ข้อความประมาณว่า "วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (computer science) เป็นการศึกษา ..." ที่ตอนต้นของบทความได้ครับ แล้วให้ชื่อใดชื่อหนึ่ง โอน (redirect) ไปหาอีกอัน -- bact' 5 กรกฎาคม 2005 11:43 (UTC)
- คำว่า management science ก็มีคำแปลเป็นไทยว่า วิทยาการจัดการ นะ :-) -- PaePae 5 กรกฎาคม 2005 04:07 (UTC)
- คิดว่าเราน่าจะคุยกันมาพอสมควรแล้วนะครับ ไม่ทราบว่าถ้าจะเริ่มแก้ตามที่คุณ bact' เสนอ (ขึ้นบทความว่า "วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (computer science) เป็นการศึกษา ..." ที่ตอนต้นของบทความ) แล้วให้วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นบทความหลักตามเดิม ส่วน วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จะ redirect ไปหา, ท่านอื่น ๆ มีความเห็นเป็นอย่างไรครับ? --- Jittat 7 กรกฎาคม 2005 02:30 (UTC)
- เห็นด้วยครับ (ว่าแต่คุณ Chaiwat หายเลยครับ) -- จุง 7 กรกฎาคม 2005 04:21 (UTC)
- ถ้าอย่างนั้นก็เอาตามที่คุณ bact' เสนอมาก็ได้ครับ --Chaiwat 7 กรกฎาคม 2005 10:44 (UTC)
- ดิฉันคิดว่า วิทยาการ กับ วิทยาศาสตร์ ตามความหมายแล้วมีความแตกต่างกัน เหมือนกัน ควรให้มีความชัดเจนมากขึ้น ควรเพิ่มข้อมูล
วิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะเด่นคือมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก วิทยาการใหม่ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน โดยคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้น มีการคิดวิธีการคำนวณใหม่ๆ ทำให้โปรแกรมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีการคิดคอมพิวเตอร์ประเภทใหม่ๆ หรือสถาปัตยกรรมใหม่ๆ เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายร้อยหลายพันตัวให้คำนวณหรือทำงานร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบที่เร็วขึ้นหรือถูกต้องมากขึ้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการศึกษาหลักการหรือวิธีการ ในการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายเน็ตเวิร์คหรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิธีการในการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในอุตสาหกรรม เช่น หลักการวางระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มผลผลิตในโรงงาน หลักการควบคุมดูแลเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และกระบวนการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังคิดหลักการ ทฤษฏีที่เกี่ยวกับการนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานระดับสูงอื่นๆ เช่น งานด้านชีววิทยา เพื่อหารหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต งานด้านการแพทย์เพื่อควบคุมดูแลประวัติของผู้ป่วยและพัฒนาระบบวินิจฉัยโรคอัตโนมัติ งานด้านฟิสิกส์ เคมี เพื่อสร้างแบบจำลองหรือโมเดลก่อนทำการทดลองจริง---ผู้ใช้ : tangmo13 กุมภาพันธ์ 2014 23:04 (UTC)
computation = การคณนา, การคำนวณ ?
[แก้]computation แปลเป็นไทยได้สองแบบ คือ "การคณนา" กับ "การคำนวณ" ซึ่งการคณนาจะพบการใช้ในสาขาคณิตศาสตร์ ส่วนในสาขาคอมพิวเตอร์จะใช้คำว่าการคำนวณ จากการตรวจสอบกับราชบัณฑิตยสถาน ก็พบว่าทั้งสองสาขาต่างก็บัญญัติศัพท์คำนี้ตามนั้นด้วย / โดยส่วนตัวสนับสนุน "การคำนวณ" มากกว่า จะได้ไม่ต้องแปลไทยเป็นไทยอีก แต่เนื่องจากเนื้อหาในหลายๆส่วน มันซ้อนกันอยู่ทั้งสองสาขา เลยยังไม่แน่ใจว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร -- PaePae 12:41, 12 ธ.ค. 2004 (UTC)
- เพิ่งเห็นว่ามี en:Computing ด้วย ซึ่งคงไม่เหมือนกับ en:Computation ทีนี้ถ้าจะใช้คำว่า "การคำนวณ" = computation แล้ว คำว่า computing จะใช้ว่าอย่างไรดี? -- Jittat 18:01, 28 ธ.ค. 2004 (UTC)
- อ่านคร่าวๆแล้วยังสรุปไม่ได้ แต่คิดว่าถ้าจำเป็นก็อาจจะต้องแบ่งหัวข้อไม่เหมือนกับฉบับภาษาอังกฤษ เพราะไม่งั้นจะสร้างความสับสนให้มากกว่า ยังไงต้องใช้เวลาศึกษาตัวเนื้อหากันดูก่อนแล้วล่ะ -- PaePae 04:03, 29 ธ.ค. 2004 (UTC)
รายชื่อผู้บุกเบิก
[แก้]- ผมได้แก้รายชื่อผู้บุกเบิก โดยเพิ่มให้คล้ายฉบับภาษาอังกฤษ แต่ว่ามีหลายชื่อที่หลุดหายไป ผมเก็บชื่อและข้อมูลไว้ที่นี่นะครับ
- ลีโอนาร์ด ไคล์นรอค (Leonard Kleinrock) บุคคลผู้สร้างคณิตศาสตร์ สำหรับโครงข่ายคอมพิวเตอร์
- เบอนัว มานด้ลบรอ (Benoit Mandelbrot) บุคคลผู้คิดคำ
- Jittat 11:48, 28 ธ.ค. 2004 (UTC)
- The content doesn't have to be exact translation of any of those in other languages. In certain categories, there are efforts to keep the uniform format across languages. You can translate, add from another language or even write it yourself. --ไร้สติ 20:54, 28 ธ.ค. 2004 (UTC)
Turing: ทัวร์ริ่ง หรือ เธอริ่ง
[แก้]- ไม่ทราบว่าจะใช้คำอ่านใดครับ -- Jittat 12:20, 28 ธ.ค. 2004 (UTC)
- I think it's "ทัวริ่ง" as you suggested. I checked the http://www.bartleby.com/61/91/T0419125.html and the pronunciation is as you suggested. --ไร้สติ 20:48, 28 ธ.ค. 2004 (UTC)
- อ่า เห็นว่ามีการแก้เป็น แอลัน ทัวริง แล้ว แต่คิดว่าน่าจะเป็น "อลัน ทัวริ่ง" มากกว่านะครับ เพราะในภาษาไทยจะคุ้นกับ "อลัน" มากกว่า (เช่น อลัน กรีนสแปน) และ Turing ก็จะเป็น "ทัวริ่ง" ที่เรียกกันติดปากอยู่แล้ว -- PaePae 04:03, 29 ธ.ค. 2004 (UTC)
- สวัสดีครับ เรื่องชื่อที่มาจากภาษาต่างประเทศนี่ บางทีก็ตัดสินใจลำบากเหมือนกันว่าจะถ่ายเสียง/ถอดอักษรถึงขนาดไหนถึงจะเหมาะสม ก่อนที่ผมจะตัดสินใจแก้เป็น "แอลัน ทัวริง" นี่ก็คิดหลายตลบเหมือนกัน อาจจะต้องคุยกันละเอียดใน Village Pump อีกทีครับ --Phisite 02:21, 4 ม.ค. 2005 (UTC)
ภาษาเครื่องกับภาษาระดับต่ำ
[แก้]- หัวข้อ Software ผมว่า ภาษาเครื่องกับภาษาระดับต่ำน่าจะอยู่ในหัวข้อเดียวกันอยู่แล้วนะ รวมเป็นหัวข้อ ภาษาระดับต่ำ ดีไหม ??? kengz 23:59, 22 มี.ค. 2005 (UTC)
- เท่าที่ดูตามของภาษาอังกฤษก็จัดไว้ตามที่คุณ kengz บอกนะครับ (en:Low-level programming language) อย่างไรก็ตามผมว่าหัวข้อน่าจะใช้ชื่อว่า "ภาษาโปรแกรมระดับต่ำ" ครับ แต่เอ... การแบ่งระดับภาษาว่าสูง-ต่ำ ตรงนี้ผมว่ามันก็ไม่ค่อยครอบคลุมเท่าใดนัก ถ้าลองดูจาก article en:Programming language แล้วจะเห็นว่ามีวิธีการแบ่งอีกหลายประเภทมาก -- Jittat 03:54, 23 มี.ค. 2005 (UTC)
- ผมว่ามัน relative ป่ะ ? low-level กะ high-level เนี่ย, abstraction layer มันก็เพิ่มขึ้นไปได้เรื่อย ๆ -- 172.176.223.117 09:27, 19 กรกฎาคม 2006 (UTC)
ทฤษฎีออโตมาตา
[แก้]- ผมตัดหัวข้อย่อยเกี่ยวกับทฤษฎีออโตมาตาออกจากหัวข้อของวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี เพราะเห็นว่าเป็นหัวข้อย่อยเกินไป และน่าจะไปอยู่ในเนื้อหาของหัวข้อย่อยหลักที่มีอยู่แล้ว เช่น ในทฤษฎีการคำนวณได้ (computability theory) หรือทฤษฎีการคำนวณ เป็นต้น ขอเก็บ link ไว้ตรงนี้ก่อน แล้วจะนำไปเพิ่มเติมในหน้าดังกล่าวครับ
- ทฤษฎีออโตมาตา (Automata theory)
- ออโตมาตา (Automata on finite words)
- บุชิ ออโตมาตา (Buchi Automata or Automata on infinite words)
- -- Jittat 04:52, 13 กรกฎาคม 2005 (UTC)
- -- ผู้ใช้:peerapon 16:26,14กุมภาพันธ์ 2014 ข้อมูลอยู่ในระดับพอใช้มันคงจะมีที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทคที่มากกว่านี้แต่Okครับ(พีรพล ศรีบูญเรือง) --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 118.172.0.175 (พูดคุย | ตรวจ) 16:29, 14 กุมภาพันธ์ 2557 (ICT)