พูดคุย:ลัทธิมากซ์
เพิ่มหัวข้อ
|
ลัทธิมากซ์ จัดเป็น บทความที่วิกิพีเดียทุกภาษาควรมี ในหัวข้อสังคมศาสตร์ ขอให้คุณช่วยปรับปรุงบทความหากสามารถทำได้ บทความนี้จัดอยู่ในระดับ พอใช้ |
ชื่อบทความ
[แก้]คำว่า ลัทธิมาร์กซ ในทางวิชาการมักมีการันย์ที่ "ซ" ด้วย เป็น มาร์กซ์ นั่นรวมถึงชื่อของ คาร์ล มาร์กซ์ ด้วย
อีกคำหนึ่งตอนนี้การทับศัพท์คำว่า Marxism มีการใช้ว่า มาร์กซิสต์ ซึ่งน่าจะผิด เพราะมาร์กซิสต์ทับศัพท์มาจาก Marxist ซึ่งแปลว่า "นักคิดตระกูลมาร์กซิสต์" ส่วน Marxism แปลว่า "ตระกูลความคิดแบบมาร์กซ์" ผมเสนอว่าน่าจะแปลทับศัพท์ว่า มาร์กซิสม์ แทน
--Iammean
- ราชบัณฑิตกำหนดให้ใช้ "ลัทธิมากซ์" ครับ (ยิ่งแย่ไปใหญ่ :P) ดูที่นี่ --Rattakorn 20:30, 21 มีนาคม 2554 (ICT)
ดูแล้วครับเป็นอย่างว่าจริงๆ แต่บอกตรงๆนะครับศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตเนี่ยมันดูแปลกๆ และบางคำก็ไม่นิยมใช้เอาซะเลย ทั้งมากซ์ และก็โพสท์โมเดิร์นที่ราชบัณฑิตแปลว่า "หลังนวนิยม" อะไรเนี่ยครับ ผมรับไม่ค่อยได้ ผมเรียนมาตั้งนานเพิ่งรู้วันนี้เอง (แต่เคยเห็นหนังสือของอาจารย์กีรติ บุญเจือของจุฬาใช้คำนี้เหมือนกัน แต่ทุกวันนี้ก็ใช้คำว่าหลังสมัยใหม่มากกว่า) แล้วนโยบายของวิกิเนี่ยต้องเอาตามราชบัณฑิตใช่มั้ยครับ ถ้าอย่างนั้นผมว่ายุ่งแน่ๆเลยครับ --Iammean
- ครับ ตามหลักการตั้งชื่อบทความ คือต้องเข้าใจนะครับว่ามันเป็นนโยบายวิกิพีเดีย ซึ่งผมเองก็ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง ส่วนในกรณีนี้ไม่ทราบเหมือนกันว่าต้องเอาตามราชบัณฑิตหรือไม่อย่างไร --Rattakorn 21:44, 21 มีนาคม 2554 (ICT)
ไม่มีปัญหาหรอกครับถ้าเอาตามราชบัณฑิตมันก็ถือเป็นแนวทางทางการของไทย และก็ตรงตามนโยบายวิกิด้วย
แต่อย่างว่ามันอึดอัดพิลึก เอาว่าเป็นที่รู้กันในวงก็ละกันครับว่าภาษาของราชบัณฑิตนี่ไม่เป็นที่นิยมเอาซะเลย
ส่วนชื่อบทความนี้ก็จัดการให้ตรงตามราชบัณฑิตไปด้วยเลยก็ดีนะครับจะได้เป็นมาตรฐานเดียวกันไป --Iammean
Marx น่าจะเขียนว่า มากซ์ ถูกต้องแล้ว ตัว ร กับ ตัว ซ เป็นตัวไม่ออกเสียง แต่ถ้าใส่ทั้งสองตัวจะทำให้เกิดความสับสนได้จึงต้องตัดตัวใดตัวหนึ่งออก เพราะเราจะไม่ใส่เครื่องหมาย ทัณฑฆาต เหนือตัวการันต์ทั้งสองตัว มิเช่นนั้น คำว่า มาร์กซ จะอ่านได้ว่า มาร์-กซ ไปโดยปริยาย ส่วนเรื่องศัพท์บัญญัตินั้น ก็คงต้องดูราชบัณฑิตเป็นเกณฑ์ เพราะ การบัญญัติขอองอาจารย์แต่ละท่านนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยส่วนตัว จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการบัญญัติศัพท์ขึ้นโดยราชบัณฑิตฯ ขึ้นมา เพื่อให้ใช้ไปในทิศทางเดียวกัน มิใช่ต่างคนต่างใช้คำบัญญัติส่วนตัว--Poang6 21:59, 21 มีนาคม 2554 (ICT)
- ถ้าเป็นอย่างคุณ Horus ว่า มันจะแย้งกับคุณ Poang6 แล้วสิครับ เพราะตามราชบัณฑิตบอกว่า มากซ์ ซึ่งก็มีแนวคิดอย่างที่คุณ Poang6 แต่ตามที่ในวงวิชาการนิยมกัน (อย่างที่คุณ Horus พูด) มันนิยมมีตัว ร์ ทุกอันเลยนะครับ คราวนี้จะเอายังไงดีครับ --Iammean
ไม่สามารถบอกได้ว่า Marx อย่างไหนนิยม สุด เพราะแต่ละคน ก็ต่างคนต่างสะกดกัน บางคนสะกด มาร์กซ บางคนสะกด มาร์กซ์ แปลกเข้าไปใหญ่ก็ มาร์คซ์ แปลกสุดๆ ก็ มากรซ์ แต่การใช้มากซ์ ถูกหลักเกณฑ์ ที่สุด เพราะไม่เกิดความสับสน --Poang6 22:16, 21 มีนาคม 2554 (ICT)
ถูกครับ ปัญหาที่ผมอยากชี้ให้เห็นคือนักวิชาการไทยจำนวนมากในปัจจุบันใช้คำว่า มาร์กซ์ (ใช้กันแทบทุกคนนี่จะเรียกกล้อมแกล้มว่านิยมในวงวิชาการได้มั้ยครับ คือถ้าจะเอาหลักฐานก็พอหาได้อยู่แต่ก็ต้องมีตีความกันต่ออีก) และจำนวนหนึ่ง (ซึ่งไม่นิยมอย่างแรง) ใช้ มาร์คซ์ หรือ มาคซ์ หรือ มาร์กซ หรือ มากรซ์ ก็มี (ที่คุณ Poang6 บอกว่าแปลกๆนั่นแหละ แต่ผมว่าเข้าขั้นประหลาดเลยล่ะครับ) คือราชบัณฑิตก็มีแนวคิดว่า ร์ ตรงกลางมันไม่ควรมีตามหลักภาษาไทยอะไรประมาณนั้น และก็ถือเป็นเกณฑ์กลางด้วย ผมถึงบอกว่ามันยุ่งแล้วไงครับ เพราะเกณฑ์กับความนิยม (ในวงวิชาการ) มันดันไปคนละทาง คือถ้ายึดตามนโยบายวิกิ การตั้งแบบคุณ Poang6 ถูกครับ แต่มันไม่นิยมใช้นะสิครับ (ในความคิดส่วนตัวนะผมว่ามันไม่รักษารากศัพท์เดิมซึ่งผิดหลักการที่ผมเรียนมาด้วยครับ แต่ผมคงละประเด็นนี้ไปก่อน) ผมถึงบอกว่าจะเอายังไงกันดี
หรือเราจะตั้งชื่อตามราชบัณฑิตคือ "ลัทธิ มากซ์" แล้วเขียนในสารานุกรมว่า "ในวงวิชาการใช้คำว่า มาร์กซ์" แบบนี้ OK หรือเปล่า ครับ --Iammean
คงสรุปไม่ได้ ว่า มาร์กซ กับ มาร์กซ์ เป็นคำที่นิยมในวงวิชาการ อันไหนนิยมกว่า ก็ตามมาด้วยคำถามมากมาย เช่น วงวิชาการ ใครพูดบ้าง? พูดเมื่อไหร่ เขียนตอนไหน? มีใครบ้างที่คิดเช่นนี้ คนจำนวนนั้นมีใครบ้าง? คนประเภทไหนที่คิดเช่นนี้บ้าง พวกเขาอยู่ที่ไหน? พวกเขามีอคติอะไรอยู่บ้าง? เนื่องจากคลุมเครือ หาข้อพิสูจน์ไม่ได้ --~~
คือถ้าจะหาจริงๆมันได้ครับ แต่คงต้องใช้เวลา และถ้าผมหามาแล้วจะยอมรับกันหรือเปล่าก็จะวุ่นไปอีก แต่ช่างมันก่อนครับ ประเด็นคือ จะเอายังไงกับไอ้คำนี้ดี ซึ่งจริงๆเลือกข้อไหนมันก็มีคำวิจารณ์ตามมาแหละครับ ผมขอวิสาสะสรุปอย่างนี้
- มากซ์ ตามราชบัณฑิต (ซึ่งผมค่อนข้างไม่เห็นด้วย แต่ก็พอจะรับได้ถ้าจะเอาอย่างนี้จริงๆ คล้ายๆเหตุผลของคุณ Rattakorn c)
- มาร์กซ์ ตามความนิยม (ซึ่งผมชอบกว่า แต่ก็จะถูกวิจารณ์อีกอย่างที่คุณ Poang6 กับคุณ ~~ (ไม่ทราบว่าชื่ออะไรครับ) พูดไว้ ซึ่งผมไม่เถียงนะ คุณถูก)
จะตัดสินยังไง หรือใครตัดสิน หรือปล่อยมันไว้อย่างนี้ก่อนดีครับ --Iammean
การทับศัพท์ ไม่ควรใช้ "ความนิยม" เพราะมีหลักเกณฑ์ชัดเจนเรื่องการทับศัพท์ และเป็นความนิยมที่ไม่สามารถวัดได้ ว่าอันใดนิยม อีกทั้งมีการบัญญัติในศัพท์บัญญัติ --Sry85 00:34, 22 มีนาคม 2554 (ICT)
งั้นผมสรุปอย่างนี้ได้ไหม
- ต้องเปลี่ยนเป็นชื่อบทความเป็น "ลัทธิมากซ์" (ต้องมีคนมาเปลี่ยนให้เพราะผมไม่รู้วิธีเปลี่ยน)
- ผมจะเขียนในบทความว่า "มีการใช้ว่า มาร์กซ์" (อันนี้ผมเขียนลงไปได้ใช่ไหม อันนี้ผมเอาตัวอยางมาจากบทความ ลัทธิหลังสมัยใหม่)
ปล. ผมขอบ่นนิดนึงละกัน ไม่เกี่ยวกับบทความนี้นะครับ คือ ไอ้ระบบศัทพ์บัญญัติของราชบัณฑิตเนี่ย คิดมาก็ไม่ค่อยมีคนใช้ บางคำคิดมาก็ถอดความไม่ตรงความหมาย คลุมเครือ (ดูประโยคแรกของหน้านี้) แล้วดันเอามาให้ใช้เป็นภาษาอ้างอิงกลางอีก แล้วเราก็ต้องใช้ตามระเบียบ (ซึ่งผมจะแหกคอกมัน) ตัวอย่างคือ มากซ์ เนี่ยเซอร์ชกูเกิลดูมันยังถามเลยว่าคุณเขียนผิดหรือเปล่า ทั้งที่เขียนถูกตามราชบัณฑิตนะ ผมละปวดกะโหลกกับความคิดของพวกราชบัณฑิตอะไรนี่จริงๆให้ตาย
--Iammean
- เพิ่มเติมนิดนึงครับราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่าใช้ "คอมพิวเตอร์" หรือ "คณิตกรณ์" ได้ทั้งสองกรณี ([1]) เห็นด้วยกับความคิดคุณ Iammean มาก ๆ ครับ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ="= --Rattakorn 18:36, 22 มีนาคม 2554 (ICT)
สิ่งที่แก้ไข
[แก้]ผมแก้ไขคำเฉพาะที่มีตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิต คือ ลัทธิมากซ์ (Marxism) เท่านั้นเหตุผลคือแม้ผมค่อนข้างไม่เห็นด้วยกับการบัญญัติคำของราชบัณฑิต แต่ผมไม่ต้องการมีปัญหากับนโยบายของวิกิพีเดียแต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากคำอื่น อาทิชื่อของ Karl Marx คำว่า Neo-Marxism, Strutural Marxism, Post-Marxism แม้มีส่วนประกอบของคำมาจาก Marxism แต่โดยความหมายไม่ใช่คำเดียวกันกับที่สำคัญราชบัณฑิตไม่ได้บัญญัติไว้ ผมจึงขอคงรูปเดิมไว้โดยใช้หลักการตั้งชื่อบทความ และ การเขียนคำทับศัพท์ตามระบบของราชบัณฑิตยสถาน --Iammean
เปลี่ยนชื่อบทความ (ปี 2563)
[แก้]ได้แลกเปลี่ยนทัศนะกับคุณ Horus เรื่องการใช้คำว่า "ลัทธิมาคส์" อันเป็นชื่อบทความในขณะที่กำลังอภิปรายอยู่นี้ มีประเด็นตรง (1) การใช้คำว่า "มาคส์" และ (2) การใช้คำว่า "ลัทธิ"
(1) คำว่า "มาคส์" แม้มาจากการแปลงเสียงภาษาเยอรมัน ซึ่งให้ความรู้สึกถึงความเป็นต้นฉบับ อย่างไรก็ดี การใช้งานภาษาไทยของคำว่า "Marx" ในบริบทสังคมไทยปัจจุบันนั้น อิงกับความเป็นภาษาอังกฤษมากกว่า ซึ่งโดยมากจะใช้คำว่า "มาร์กซ์" และคำว่า "มาร์กซ์" นี่เองก็ปรากฏอยู่ในงานเขียนที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มหนังสือเป็นจำนวนมาก เช่น งานเขียนของ ใจ อึ้งภากรณ์ หรืองานเขียนของ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ เป็นต้น ตลอดจนในสังคมโซเชียลมีเดีย ก็ใช้คำว่า "มาร์กซ์" อย่างแพร่หลาย เช่นเวลาเราเข้าไปในเฟสบุ๊ก แล้วพิมพ์ในช่องค้นหาของเฟสบุ๊กว่า "มาคส์" จะไม่ปรากฏผลลัพธ์ที่ตรงกับบริบทของ "Marx" เลย ในขณะที่ถ้าใช้คำว่า "มาร์กซ์" ในการค้นหา ผลลัพธ์ที่ออกมาจะตรงตามบริบทอย่างตรงตัว
(2) คำว่า "ลัทธิ" นั้น โดยนัยยะเป็นคำที่ชี้นำให้นึกถึงลัทธิความเชื่อ หรือลัทธิเชิงศาสนา อีกทั้งเวลานำเอาคำว่า "ลัทธิ" มาใช้ร่วมกับคำว่า "มาคส์" (หรือมาร์กซ์) นั้น ก็จะเพิ่มนัยยะด้านลบอีกหนึ่งอย่างด้วย ข้อแย้งอีกประการหนึ่งคือ Marxism เป็นหลักการที่ชูระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ในขณะที่เมื่อนำมาใช้กับคำว่า "ลัทธิ" ทำให้เกิดความย้อนแย้งเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงอยากเสนอให้ใช้คำแปลของ Marxism คล้ายๆกับคำแปลของคำว่า Feminism ซึ่งในวิกิพีเดียไทยแปลว่า "คตินิยมสิทธิสตรี" ดังนั้น "Marxism" ควรแปลเป็นไทยได้ว่า "คตินิยมมาร์กซิสม์"
ส่วนการใช้คำตาม ราชบัณฑิตยสถานนั้น มีทัศนะว่า แม้จะเป็นแหล่งอ้างอิงการใช้คำภาษาไทยตามที่เคยบัญญัติไว้เป็นจารีต แต่บริบทในสังคมปัจจุบัน ไม่ควรยึดถือคำแปลที่สังคมฟังแล้วรู้สึกค้านในใจ ยกตัวอย่างเช่นคำว่า "Software" ราชบัณฑิตยสถานแปลว่า "ละมุนภัณฑ์" ซึ่งสังคมไทยไม่มีใครใช้กัน กรณีคำว่า "Marx" ก็เช่นกัน ควรใช้ตามที่บริบทสังคมใช้เป็นบรรทัดฐาน อีกทั้งวิกิพีเดียนั้นมีฐานะเป็นสารานุกรมที่มีความสากลเป็นอย่างสูง และมีเจตน์จำนงที่ชัดเจนที่จะรักษาความเป็นกลางในองค์ความรู้ ไม่ให้เอนเอียง หรือถูกบิดเบือนไปตามวาระทางการเมืองของประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงอยากจะชักชวนให้เปลี่ยนชื่อบทความทั้งหมดให้เป็น "คตินิยมมาร์กซิสม์" น่าจะเป็นที่ยอมรับได้ในวงกว้างมากที่สุดครับ --潘国豪 (คุย) 00:31, 14 ตุลาคม 2563 (+07)
- @潘国豪: ขอออกความเห็นเรื่องคำว่าลัทธินั้น จริง ๆ เป็นคำที่ใช้ทางการเมืองหรือเศรษฐกิจด้วย เช่น ลัทธิทุนนิยม ลัทธิสังคมนิยม ลัทธิทรูแมน ลัทธินิกสัน ฯลฯ หรืออย่างลัทธิเลนิน ลัทธิสตาลิน ลัทธิเหมา (ไม่ใช่คตินิยมเลนิน คตินิยมสตาลิน คตินิยมเหมา) เพราะฉะนั้นการอ้างว่าคำว่าลัทธิเป็นคำไม่ดีจึงขึ้นอยู่กับทัศนะของคนรับสารเอง ส่วนที่บอกว่าราชบัณฑิตบัญญัติว่า software เป็นละมุนภัณฑ์เป็น myth ครับ [2] ถ้าจะยกตัวอย่างยกว่า computer = คณิตกรณ์, keyboard = แผงแป้นอักขระ จะดูดีกว่า --Horus (พูดคุย) 00:42, 14 ตุลาคม 2563 (+07)
- @Horus: รับทราบครับ แต่มีข้อสังเกตุเพิ่มเติมว่าอะไรที่มีคำว่า "นิยม" ต่อท้าย ทางวิชาการมักไม่ใช้คำว่า "ลัทธิ" นำหน้าคำนั้นๆ เช่น ทุนนิยม ก็ปรากฏอยู่โดดๆ หรือ สังคมนิยม ก็ปรากฏโดดๆเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ทัศนะส่วนตัวกับคำว่า "ลัทธิ" นั้น ไม่ได้เหมาะกับการเอามาใช้เรียกศัพท์ทางการเมืองหรือเศรษฐกิจทุกกรณี ลัทธิสตาลินก็ดี ลัทธิเหมาก็ดี ดูแล้วไม่ qualify ที่จะนำมาใช้เลยเมื่อเทียบกับคำว่าคำว่าลัทธิขงจื๊อ หรือลัทธิชินโต ในทำนองเดียวกัน Marx เป็นชื่อสกุลของบุคคล การจะนำคำว่าลัทธิมาใช้นั้น พึงต้องระวังเป็นอย่างมาก แม้แต่คำว่า ลัทธิทรูแมน จะว่าไปก็ไม่สมเหตุผลเช่นกัน ส่วนกรณี Marxism นั้น ถ้าจะต้องให้เป็นไปตามหลักวิชาการ อีกทั้งสะท้อนถึงการใช้งานของคำศัพท์นั้นตามบริบทสังคมไทยอย่างแท้จริง อย่างไรก็เห็นว่าควรเปลี่ยนครับ ในกรณีที่หาคำที่ลงตัวไม่ได้ ก็ยังมีทางเลือกให้ใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษได้เช่นกัน ดังนั้นจึงขอเสนอดังนี้ครับ
- @潘国豪: ขอออกความเห็นเรื่องคำว่าลัทธินั้น จริง ๆ เป็นคำที่ใช้ทางการเมืองหรือเศรษฐกิจด้วย เช่น ลัทธิทุนนิยม ลัทธิสังคมนิยม ลัทธิทรูแมน ลัทธินิกสัน ฯลฯ หรืออย่างลัทธิเลนิน ลัทธิสตาลิน ลัทธิเหมา (ไม่ใช่คตินิยมเลนิน คตินิยมสตาลิน คตินิยมเหมา) เพราะฉะนั้นการอ้างว่าคำว่าลัทธิเป็นคำไม่ดีจึงขึ้นอยู่กับทัศนะของคนรับสารเอง ส่วนที่บอกว่าราชบัณฑิตบัญญัติว่า software เป็นละมุนภัณฑ์เป็น myth ครับ [2] ถ้าจะยกตัวอย่างยกว่า computer = คณิตกรณ์, keyboard = แผงแป้นอักขระ จะดูดีกว่า --Horus (พูดคุย) 00:42, 14 ตุลาคม 2563 (+07)
(ก) Marx เปลี่ยนจาก "มาคส์" หรือ "มากซ์" ให้เป็น "มาร์กซ์" (กรณีของคำนี้ มีหลักฐานเชิงประจักษ์ในงานตีพิมพ์ทางวิชาการ และนอกวิชาการมากมาย) (ข) Marxism เปลี่ยนจาก "ลัทธิมาคส์" หรือ "ลัทธิมากซ์" ให้เป็นคำทับศัพท์ "มาร์กซิสม์" (ค) Marxist ให้ใช้คำทับศัพท์เป็น มาร์กซิสต์ --潘国豪 (คุย) 01:14, 14 ตุลาคม 2563 (+07)
- (ข) และ (ค) ไม่เห็นด้วย (ข) เสนอเป็นลัทธิตามเดิม ส่วน (ค) ก็ใช้ว่า นักลัทธิมากซ์/มาคส์ --Horus (พูดคุย) 01:59, 14 ตุลาคม 2563 (+07)
- ข้อสังเกตของคุณข้างต้นเป็น subjective มากเลย ในเมื่อมีใช้ว่าลัทธิทุนนิยม ลัทธิสังคมนิยม ก็ไม่ควรต้องมาหาเหตุผลว่าทำไมจึงใช้ไม่ได้ ในเมื่อมันมีใช้อยู่ ในวิกิพีเดียขอให้อ้างหลักฐานเอกสารเป็นสำคัญ ไม่ใช่อ้างอิงตัวบุคคล (ซึ่งในที่นี่คือคุณที่กำลังยก anecdotal evidence) --Horus (พูดคุย) 02:01, 14 ตุลาคม 2563 (+07)
- (ก) ผมคิดว่าถ้าจะถอดเสียง Marx ตามภาษาอังกฤษก็ควรสะกดว่า "มากซ์" และเปลี่ยนชื่อบทความคาร์ล มาคส์ เป็น "คาร์ล มากซ์" ให้สอดคล้องกันครับ --Potapt (คุย) 04:27, 14 ตุลาคม 2563 (+07)
- @Horus: @Potapt: สำหรับข้อ (ก) นั้น ผมควรต้องแสดงหลักฐานเอกสารอะไรบ้าง ในจำนวนเท่าใด เพื่อแย้งว่าภาควิชาการของไทยและสังคมไทย ใช้คำว่า "มาร์กซ์" เป็นคำสามัญครับ? และมีเกณฑ์ว่าเอกสารที่ใช้ชี้แจงดังกล่าว ต้องเขียนโดยบุคคลที่ได้รับการยอมรับในสังคมในระดับไหนด้วยหรือไม่? --潘国豪 (คุย) 00:48, 15 ตุลาคม 2563 (+07)
- @Horus: ยังติดใจข้อ (ค) "นักลัทธิมากซ์/มาคส์" อยู่นะครับ จะว่าผมใช้ดุลยพินิจส่วนตัวก็ได้นะ แต่มันฟังดูไม่ใช่คำศัพท์หรือคำนามภาษาไทยที่โดยปกติคนไทยนำมาใช้เป็นศัพท์สามัญ แต่ในขณะนี้ผมเองก็ยังไม่สามารถหาคำทดแทนที่เหมาะสมได้เช่นกัน เท่าที่คิดออกก็ประมาณ "ผู้สันทัดแนวคิดแบบมากซ์" ซึ่งก็ยาวไป แล้วมันก็ชวนให้ย้อนไปประเด็นคำว่า "ลัทธิ" จนได้ เพราะถ้า "ลัทธิมากซ์" เป็นคำแปลของ Marxism มันก็จะทำให้หาคำแปลที่เหมาะที่ควรให้กับคำว่า Marxist ได้ยากทีเดียว --潘国豪 (คุย) 00:32, 15 ตุลาคม 2563 (+07)
- งงครับ นักประชาธิปไตย (democrat) นักสังคมนิยม (socialist) นักคอมมิวนิสต์ (communist) ก็มีนี่ครับ แค่เหตุผลว่าคุณไม่เคยได้ยินมา หรือคุณคิดว่าน่าจะใช้คำอื่น (ที่คิดเอง) ไม่ใช่เหตุผลที่ดีครับ --Horus (พูดคุย) 01:57, 15 ตุลาคม 2563 (+07)
- @潘国豪: ที่จริงแล้ว นอกจาก "มาร์กซ์" ก็ยังมีการใช้ "มากซ์" และ "มาร์กซ" ด้วยนี่ครับ ถึงจะไม่มากเท่าก็ตาม ในเมื่อมีการใช้หลายแบบก็น่าจะเลือกรูปแบบที่เป็นมาตรฐานที่สุด คือตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ และ "มากซ์" ก็ไม่ได้ผิดหลักการออกเสียงในภาษาอังกฤษแต่อย่างใด เพราะในบางสำเนียงก็ไม่ออกเสียง r --Potapt (คุย) 03:21, 15 ตุลาคม 2563 (+07)