ข้ามไปเนื้อหา

พูดคุย:พระโกศทองใหญ่

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จากประโยค "จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าพระโกศทองใหญ่มีรูปโบราณไม่โปรด จึงโปรดให้ "กรมหมื่นณรงค์เรืองเดช" เจ้านายผู้ทรงชำนาญในการช่างหล่อทรงแก้ไขเสียใหม่" ใคร คือ กรมหมื่นณรงค์เรืองเดช

สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ อธิบายไว้ว่า

"หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์ฉบับลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม มีหนังสือพิมพ์ตัดตอนวินิจฉัยของผู้ใดผู้หนึ่ง ว่าด้วยตำนานพระโกศทองใหญ่ประทานมาให้ดู วินิจฉัยนั้นขบขันอยู่ ด้วยน่าเอ็นดูอยู่บ้างที่เห็นได้ว่าผู้แต่งเป็นคนเอาใจใส่โบราณคดี ได้สนใจดูหนังสือเก่าจึงเห็นเรื่องสร้างพระโกศทองใหญ่ และรู้พระนามกรมหนื่นณรงค์หริรักษ์อันนับว่ามืดมากอยู่แล้ว แต่น่าเกลียดที่มักง่ายไม่รู้จักวิจารณ์เสียเลยทีเดียว ข้อที่อ้างว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จลงประทับทดลองใน "พระลองเงิน" ดูโง่เสียยิ่งกว่านาย ก.ศ.ร.กุหลาบ เห็นจะเอาคำที่มักพูดกันว่า "พระรามเข้าโกศ" หรือรูปเขียนที่พระระเบียงวัดพระแก้วมาสำคัญ ว่าพระราลงไปซ่อนตัวอยู่ในในพระโกศ เพราะไม่ได้อ่านเรื่องรามเกียรติ์ตรงนั้น ไม่รู้ว่าที่จริงเอาโกศเปล่าตั้ง ส่วนพระรามแอบอยู่ในม่าน ก็เลยเห็นว่าทำเหมือนอย่างพระราม แต่ข้อที่อ้างถึงว่าทูลกระหม่อมโปรดฯให้กรมหมื่นณรงค์ฯแก้รูปพระโกศทองใหญ่(คือสร้าง พระโกศทองน้อย)นั้นพิศวง เป็นต้นที่เอานามกรมหมื่นณรงค์ฯ ซึ่งสิ้นพระชนม์เสียแต่ในรัชกาลที่ ๓ มาอ้าง ส่วนกรมพระเทเวศรฯผู้ทำพระโกศทองน้อยเสด็จอยู่มาจนรัชกาลที่ ๕ ไฉนผู้แต่งจึงไม่รู้ ดูประหลาดอยู่"

เริ่มการอภิปรายใหม่ที่เกี่ยวกับ พระโกศทองใหญ่

เริ่มการอภิปรายใหม่