พูดคุย:ฌ็อง อานูย
เพิ่มหัวข้อAntigone ในตำนานกรีก
ตามตำนานกรีก Antigone เป็นลูกสาวของกษัตริย์อิดิปุสแห่งเมืองธีปส์ มีน้องสาวชื่อ Ismène มีพี่ชายอีก 2 คนคือ Étéocle และ Polynice เมื่ออีดิปุสได้รู้ความจริงเกี่ยวกับชาติกำเนิดของตัวเองจึงรู้ว่าตนนั้นได้ทำปิตุฆาตและแต่งงานกับแม่ของตนเองคือ Jocaste ซึ่งเมื่อนางทราบความจริงจึงแขวนคอตาย ส่วน อีดิปุส เลือกที่จะไถ่บาปให้แก่ความผิดที่ตนเองได้ก่อ ด้วยการควักลูกตาทิ้ง และออกเดินทางร่อนเร่ เมืองธีปส์จึงตกอยู่ภายใต้ความดูแลของลูกชายทั้ง 2 คนของอีดิปุส คือ Étéocle และ Polynice ซึ่งจะผลัดกันปกครองเมือง โดยจะมีลุง Créon ผู้เป็นพี่ชายของ Jocaste เป็นที่ปรึกษา ต่อมาเกิดสงครามและเนื่องจากการสู้รบที่ยืดเยื้อ ทำให้พี่ชายทั้ง 2 ของ Antigone ตายในสงคราม Étéocle นั้นได้รับการฝังร่างตามประเพณีแต่ศพของ Polynice ถูกทิ้งไว้โดยไม่ได้ฝัง เพราะคำสั่งของกษัตริย์คนใหม่ คือ กษัตริย์ Créon สั่งห้ามมิให้ผู้ใดฝังศพ Polynice ซึ่งเป็นคำสั่งที่ผิดจารีตและศีลธรรม วัฒนธรรมของเมืองธีปส์ในขณะนั้นมีความเชื่อว่า เมื่อผู้ใดพบเห็นศพที่ตายโดยไม่ได้ฝัง ต้องทำการฝังศพนั้นทันที เพื่อว่าศพนั้นจะได้ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานเป็นวิญญาณเร่ร่อนและจะได้ไปสู่สุขคติ Antigone หาญกล้ากล้าฝ่าฝืนคำสั่ง และทำการฝังศพพี่ชาย Polynice ผู้เป็นที่รัก เธอจึงถูกลงโทษโดยขังให้ตายทั้งเป็น
'Antigone'
ละครเรื่อง Antigone ได้นำมาจาก La mythologie grecque หรือเทพปกรณัมกรีกโรมัน Sophocleเป็นผู้ที่สร้างเรื่องนี้เป็นคนแรก Sophocle คือนักการละครในสมัยกรีกผู้มีผลงานละครมากมายหลายเรื่อง แต่ผลงานที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือเรื่อง Antigone โดย Sophocle ได้เขียนเรื่องนี้ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ประมาณปี441-442 ช่วงก่อนคริสตกาล โดยผลงานเรื่องนี้ถือว่าเป็นอีกผลงานหนึ่งที่เขย่าวงการละครในสมัยนั้น และนักเขียนคนต่อมาที่ได้นำเรื่องนี้มาเขียนขึ้นอีกครั้งนั่นก็คือ Jean Anouilh เรื่องนี้ได้เขียนขึ้นอีกครั้งในปีค.ศ 1942 และนำออกแสดงในปี 1944 ที่ le théâtre de l’Atelier ที่ปารีส ละครเรื่องนี้สร้างชื่อเสียงให้กับ Jean Anouilh อย่างมาก และต่อมาก็ได้มีนักเขียนชาวเยอรมัน Bertolt Brecht ได้เขียนเรื่องนี้ขึ้นและออกแสดงที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในปีค.ศ 1948 และในปี พ.ศ 2519 ละครเรื่องนี้ได้ถูกแปลขึ้นเป็นภาษาไทยเป็นครั้งแรก โดย อ.มัทนี รัตนินและ อ. สุชาวดี ตัณฑวณิช และนำออกแสดงครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อเรื่องและชื่อตัวละครเพื่อให้เหมาะกับการแสดงในเมืองไทยและผู้ชมชาวไทย โดยชื่อเรื่องได้มีการเปลี่ยนจาก Antigone เป็น อันตราคนี ซึ่งแปลว่าผู้มีไฟไม่สิ้นสุด
ตัวละครสำคัญของเรื่อง
Antigone เป็น อันตราคนี ( นางเอก )
Hémon เป็น เหมาธร ( คู่หมั้นนางเอก )
Créon เป็น คีรีธร ( อัครประธาน )
OEdipes เป็น เอศบุตร ( พ่อนางเอก )
Jocaste เป็น ยุชาสิตา ( แม่นางเอก )
Ismène เป็น หัสมณี ( พี่สาวนางเอก )
Étéocle เป็น อสิทธกฤต ( พี่ชายคนโตของนางเอก )
Polynice เป็น พลนิกฤต ( พี่ชายคนรองของนางเอก )
เนื้อเรื่องย่อ นคร Thèbes ตั้งอยู่ในหุบเขา มีวัฒนธรรมและระบบการปกครองของตัวเองที่ไม่เหมือนที่ไหน คือมีประมุขเรียกว่า “อัครประธาน” เลือกขึ้นมาจากผู้ที่เหมาะสมที่สุด โดยมีมติเอกฉันท์ของคณะมนตรีและหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆอัครประธานมีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน แต่ก็มีคณะมนตรีเป็นที่ปรึกษาทางการบริหารแผ่นดิน โดยมี Oedipes เป็นอัครประธานและ Jocaste เป็นราชินีและทั้งคู่มีลูกทั้งหมด 4 คน คือÉtéocle,Polynice,Ismène และ Antigone โดยมียู่วันหนึ่งได้เกิดเหตุอาเพศขึ้นในครอบครัวซึ่งอื้อฉาวเสื่อมเสียวงศ์ตระกูลอย่างร้ายแรงคือ Oedipes พบความจริงว่าตนได้ฆ่าพ่อของตนและเอาแม่เป็นเมียโดยไม่รู้ ซึ่งนับว่าเป็นคนบาปผิดประเวณีอย่างร้ายกาจ Jocaste ภรรยาจึงฆ่าตัวตายในทันทีและ Oedipes ก็เอาเหล็กแหลมทิ่มตาของตนบอด และเนรเทศตนเองสาบสูญไป เป็นเรื่องที่น่าหวาดเสียวและสยดสยองมาก คณะมนตรีจึงประชุมหารือกันเห็นควรให้ลูกชายทั้งสองของ Oedipes คือÉtéocle และ Polynice ผลัดกันเป็นอัครประธานคนละปี โดยระหว่างที่พี่ชายคือÉtéocleเป็นอัครประธาน Polynice ก็ได้ไปอยู่อีกเมืองหนึ่งนั่นก็คือเมือง Argos ซึ่งเป็นเมืองพี่เมืองน้องและไม่ไกลกันมาก แต่ปรากฏว่าÉtéocleพี่ชายพอครบกำนดก็ไม่ยอมมอบอำนาจให้ Polyniceน้องชาย จึงเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น Polyniceไปขอความช่วยเหลือทางทหารจากเมืองArgosแต่กลับแพ้สงคราม ในวันสยองนั้นพี่น้องทั้งสองเข้าประหัตประหารกัน และตายแหลกด้วยกันทั้งคู่ อยู่นอกกำแพงเมือง คณะมนตรีจึงปรึกษากันและลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า Créon ซึ่งเป็นพี่เมีย Oedipes เป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดที่จะรับตำแหน่งอัครประธานต่อไป ตามประเพณีทางศาสนาของชาว Thèbesนั้น เมื่อคนตายลงจะต้องทำพิธีฝังศพทันที วิญญาณผู้ตายจึงจะไปสู่สุขคติ เพียงแต่โรยดินพอกลบร่างเป็นพิธีก็พอ หากศพถูกทิ้งไว้ตามยถากรรมเป็นเหยื่อแร้งกาวิญญาณจะล่องลยไปไม่มีสิ้นสุด ไม่มีวันได้ไปผุดไปเกิด เมื่อสองพี่น้องฆ่ากันตาย Créon ได้จัดพิธีศพให้Étéocle พี่ชายอย่างใหญ่โตสมศักดิ์ศรีเยี่ยงวีบุรุษที่ได้ต่อสู้ป้องกันบ้านเมือง ส่วนPolyniceในฐานะผู้ก่อความไม่สงบนั้น ให้ทิ้งศพไว้เป็นเหยื่อแร้งกา และออกประกาศว่าผู้ดที่พยายามจะฝังศพPolynice ตามพิธีทางศาสนา ผู้นั้นจะมีโทษถึงตาย แต่ Antigone น้องสาวได้ฝ่าฝืนกฏไปฝังศพของพี่ชายตนเอง จนในที่สุดแล้ว Antigone ก็ถูกจับได้ แม้เธอก็ทราบดีแล้วว่าผู้ใดทีฝ่าฝืนกฏนี้โทษคือการประหารชีวิต แต่เธอก็ไม่กลัวที่จะตายขอเพียงแต่ได้ทำตามความถูกต้องของราชประเพณีดั้งเดิม โดยระหว่างที่เธอถูกจับ Hémon คู่หมั้นของเธอได้พยายามช่วยเหลือเธอย่างเต็มความสามารถ แต่ตอนท้ายของเรื่องเธอก็ได้ถูกขังคุกให้ตายทั้งเป็นส่วนคู่หมั้นของเธอก็ได้ฆ่าตัวตายตาม
ลักษณะความเหมือนและความแตกต่างของบทละครของ Jean Anouilh และ Sophocle
1. Les resemblances (ความเหมือน)
1.1 La fable (เนื้อเรื่อง)
เนื้อเรื่องหรือว่าแก่นเรื่องโดยรวมของทั้ง 2 คน มีความเหมือนกันอย่างเห็นได้ชัด โดย Anouilh ได้เล่าเรื่องราวตามแบบฉบับของ Sophocle และเค้าโครงเรื่องเดิมเกือบทั้งหมด ส่วนเรื่องของตัวละครก็ได้ใช้ตัวละครตัวเดิมอย่างครบถ้วน แต่จะมีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย เช่น บุคลิกภาพของตัวละคร บทเจรจาและรายละเอียดปลีก ย่อยบางประการ ส่วนตอนท้ายของเรื่อง Anouilh ก็ยังคงรักษาแบบฉบับเดิมเอาไว้นั่นก็คือการจบลงของเรื่องด้วยความเศร้าตามรูปแบบของละครแนวโศกนาฏกรรม( la tragédie )
1.2 Quelques expressions (สำนวน) Anouilh ได้นำสำนวนหรือคำบางคำของ Sophocle มาใช้ในผลงานของเขา โดยประโยคที่ Anouilh นำมาใช้นั้นส่วนใหญ่จะเป็นประโยคที่มีสำคัญและเป็นประโยคทองอันโด่งดังของ Sophocle เช่นตอนที่ Antigone กล่าวกับพี่สาวว่า “Tu as choisi la vie et moi la mort” แปลว่า “พี่เลือกที่จะอยู่ แต่ฉันเลือกที่จะตาย” ส่วนอีกประโยคที่มีความสำคัญไม่แพ้กันในตอนท้ายของเรื่องซึ่งตอนนี้เป็นตอนที่ Antigone ถูกจับขังคุก โดยเธอได้รำพึงว่า “ Ô tombeau,chambre nuptiale,demeure souterraine”แปลว่า “โอ้สุสาน โอ้เตียงวิวาห์ โอ้วังใต้พสุธาของข้า”
2. Les différences (ความแตกต่าง) 2.1 Le style (รูปแบบการเขียน) ลักษณะการเขียนของ Sophocle จะเป็นลักษณะการเขียนแบบร้อยกรอง (vers) ลักษณะการเขียนแบบดังกล่าวนี้ภาษาที่ใช้ในการเขียนจะเป็นภาษาในระดับสูง ส่วนรูปแบบลักษณะการเขียน ของ Anouilh จะเป็นการนำเรื่องกลับมาเขียนใหม่โดยเปลี่ยนวิธีการเขียนเป็นแบบร้อยแก้ว (prose) โดยเหตุผลที่เขาเปลี่ยนวิธีการเขียนเป็นแบบร้อยแก้วก็เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยอีกทั้งยังเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายและเป็นที่คุ้นเคยกับคนฝรั่งเศสในสมัยนั้น นอกจากนี้แล้วลักษณะการเขียนของ Sophocle ยังเป็นแบบโศกนาฏกรรมแบบกรีก (la tragédie greque) กล่าวคือเนื้อเรื่องจะเป็นเรื่องราวของเทพปกรณัมกรีก-โรมัน ในขณะที่ลักษณะการเขียนของ Anouilh จะเป็นลักษณะโศกนาฏกรรมรูปแบบปัจจุบัน (la tragédie moderne) การเขียนแนวนี้ต้องอาศัยเหตุการณ์ในปัจจุบันเข้าไปในเนื้อเรื่อง โดยเป็นที่สังเกตได้ว่า Anouilh พยายามให้ผู้อ่านรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่าบทละครของเขาเป็นคนละเรื่องเดียวกับบทละครของ Sophocle ถึงแม้ว่าเรื่องราวจะเกิดขึ้นในสมัยโบราณเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น โปสการ์ด,กาแฟ,รถสปอร์ต ฯลฯ ซึ่งเป็นของที่มีในปัจจุบัน ซึ่งสังเกตได้ว่า Anouilh พยายามที่จะให้ผู้อ่านได้เข้ารู้สึกมีส่วนร่วมกับผลงานของเขา
2. 2 L’atmosphère (บรรยากาศ) บรรยากาศในเรื่องของ Sophocle จะเป็นบรรยากาศของชาวกรีกสมัยโบราณในช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล แต่เมื่อ Anouilh นำมาเขียนใหม่ในช่วงศตวรรษที่ 20 Anouilh ได้เปลี่ยนแปลงบรรยากาศภายในเรื่อง อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นเครื่องแต่งกาย ซึ่งตัวละครของ Sophocle จะแต่งกายเป็นแบบกรีก ในขณะที่ตัวละครของ Anouilhจะแต่งกายเป็นแบบทันสมัยมากขึ้น เช่น ชุดของ Créon จะใส่เสื้อคลุม ส่วนชุดของ Les gardes จะเป็นชุดสีดำเคลือบมันเพื่อให้ดูเขม็งมากขึ้น และ Antigone จะใส่ชุดกระโปรงสีเข้มมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เข้ากับบุคลิกของตัวละคร
2.3 Les personnages(ตัวละคร) ในบทละครของ Sophocle จะมีตัวละครที่สำคัญของเรื่องอีกตัวหนึ่งนั่นก็คือคนแก่ตาบอดที่มีเด็กจูง โดยตัวละครตัวนี้เปรียบเสมือนตัวแทนของพระเจ้าที่มาคอยบอก Créon ว่าสิ่งที่เขาได้ตัดสินใจนั้นเป็นสิ่งที่ผิด แต่สำหรับ Anouilh เขาได้ยกเลิกตัวละครตัวนี้ออกไป เนื่องจากแต่เดิมตัวละครตัวนี้เป็นตัวละครแบบกรีก คือมีการเน้นความเชื่อและความศรัทธาในเรื่องของพระเจ้ามากในยุคนั้น แต่พอมาสมัยของ Anouilh คือในช่วงศตวรรษที่ 20 ความเชื่อในเรื่องของพระเจ้าได้จางลงไปมาก เนื่องจากเป็นยุคหลังจากที่มีการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น Anouilh จึงได้ปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันมากขึ้น
สรุป อิทธิพลของผลงานของ Jean Anouilh ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยและสังคมฝรั่งเศส ผลกระทบที่มีต่อสังคมไทย ละครเรื่องนี้ได้มีการแปลออกมาเป็นภาษาไทยโดยใช้ชื่อว่าอันตราคนีและได้มีการจัดแสดงที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อปี พ.ศ.2519 โดยได้มีการดัดแปลงให้เข้ากับสภาพสังคมไทยอยู่ 2 ประการ ประการแรกคือมีการแปลงชื่อตัวละครและสถานที่แบบกรีกโดยใช้ชื่อให้เป็นแบบไทย ประการที่สองคือบทละครเรื่องนี้ได้มีการเสริมขยายคำพูดบางคำพูดเข้าไปเพื่อให้พาดพิงถึงเหตุการณ์ร่วมสมัยของไทยในช่วงนั้น กล่าวคือละครเรื่องนี้แสดงในช่วงเดือนกรกฎาคม 2519 ซึ่งเกิดก่อนเหตุการณ์มหาวิปโยคในช่วงเดือนตุลาคม 2519 ไม่นาน ซึ่งเป็นการแสดงในช่วงที่มีกิจกรรมทางประชาธิปไตยสูงสุดยุคหนึ่งของประเทศ ซึ่งเราสามารถอนุมานได้ว่าบทละครเรื่องนี้ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐกับสิทธิของพลเมือง ผ่านทางตัวละครหลัก 2 ตัวคือ Créon ซึ่งพออนุมานได้ว่าเป็นตัวแทนของพวกผู้นำทรราชย์ในยุคนั้น ส่วนตัวละครอีกตัวหนึ่งคือ Antigone คือตัวแทนของประชาชนหรือนักศึกษาที่กล้าลุกขึ้นมาท้าทายอำนาจเผด็จการในยุคนั้น บทละครเรื่องนี้อาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเมืองในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยตรง แต่ก็เป็นหนึ่งในบทละครที่เสียดสีและสะท้อนสภาพทางการเมืองและสังคมในยุคดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ผลกระทบต่อประเทศฝรั่งเศส โดย จุดประสงค์ที่ Anouilh เขียนเรื่องนี้ในปี1942และนำละครเรื่องนี้ออกแสดงในปี 1944 เนื่องจาก ในปี 1944 ช่วงนั้นเป็นช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-1945) เป็นช่วงที่ลัทธินาซีได้แผ่อำนาจปกครองยุโรปรวมทั้งประเทศฝรั่งเศสด้วยซึ่งทำให้ชาวฝรั่งเศสถูกกดขี่ข่มเหงและถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพเป็นอย่างมาก ซึ่งละครเรื่องนี้ Anouilh ต้องการที่จะนำผลงานชิ้นนี้เปรียบเสมือนเป็นกระจกสะท้อนให้แก่ชาวฝรั่งเศสในการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพกลับคืนมา โดยเปรียบ Antigone เป็นชาวฝรั่งเศส และ เปรียบ Créon เป็นนาซีนั่นเอง เมื่อละครเรื่องนี้ได้นำออกแสดงในปี 1944 นั้น Anouilh ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของแต่ละฝ่ายซึ่งต่างก็มีปรัชญาชีวิตและอุดมการณ์ของตน ฝ่ายหนึ่งจำต้องทำหน้าที่เพื่อรักษากฏหมายและความสงบสุขของบ้านเมืองให้ดีที่สุดแม้จะต้องทำในสิ่งที่ขัดต่ออุดมการณ์ของตัวนั่นก็คือ Créon อีกฝ่ายหนึ่งบูชาอุดมการณ์แม้จะต้องตายก็คือ Antigone Anouilh สามารถชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของแต่ละฝ่ายนี้ได้ ซึ่งแม้แต่ฝ่ายเผด็จการนาซียังยอมให้นำเรื่องนี้ออกแสดงและละครเรื่องนี้ยังส่งผลให้ชาวฝรั่งเศสหลายๆคนลุกขึ้นสู้กับอำนาจเผด็จการเพื่อเรียกร้องอิสรภาพกลับคืนสู่ประเทศฝรั่งเศส
ฝากไว้ตรงนี้ก่อน รอการแก้ไข ปรับปรุง--ธวัชชัย 10:15, 29 กันยายน 2006 (UTC)
เริ่มการอภิปรายใหม่ที่เกี่ยวกับ ฌ็อง อานูย
หน้าคุยคือหน้าที่ผู้คนจะอภิปรายวิธีการสร้างเนื้อหาบน วิกิพีเดีย ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ คุณสามารถใช้หน้านี้เพื่อเริ่มการอภิปรายกับผู้อื่นในการปรับปรุง ฌ็อง อานูย ได้เช่นกัน