ข้ามไปเนื้อหา

พืดหินปะการังอาโป

พิกัด: 12°39′42″N 120°24′52″E / 12.66167°N 120.41444°E / 12.66167; 120.41444
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Apo Reef
ทิวทัศน์ของพืดหินปะการังอาโปจากประภาคารบนเกาะอาโป
แผนที่
ที่ตั้งช่องแคบมินโดโร, ฟิลิปปินส์
เมืองใกล้สุดซาบลายาน
พิกัด12°39′42″N 120°24′52″E / 12.66167°N 120.41444°E / 12.66167; 120.41444
พื้นที่34 ตารางกิโลเมตร (13 ตารางไมล์)
หน่วยราชการDepartment of Environment and Natural Resources
Municipal Government of Sablayan

พืดหินปะการังอาโป เป็นระบบแนวปะการังในฟิลิปปินส์ตั้งอยู่บนน่านน้ำตะวันตกของจังหวัดคันลูรังมินโดโรในช่องแคบมินโดโร ครอบคลุมพื้นที่รวม 34 ตารางกิโลเมตร พืดหินปะการังนี้ถือเป็นระบบแนวปะการังที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกและใหญ่ที่สุดในประเทศ แนวปะการังและน่านน้ำโดยรอบเป็นพื้นที่คุ้มครองของประเทศโดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติพืดหินปะการังอะโป (ARNP) พืดหินปะการังอะโปเป็นหนึ่งในแหล่งดำน้ำที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศ และอยู่ในรายการเบื้องต้นของแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกอีกด้วย

ประวัติศาสตร์การอนุรักษ์

[แก้]

พืดหินปะการังอาโปเป็นพื้นที่คุ้มครองของฟิลิปปินส์ จัดเป็นอุทยานธรรมชาติ ครอบคลุมพื้นที่ 274.69 ตารางกิโลเมตร (106.06 ตารางไมล์)[1] โดยแยกเป็น 157.92 ตารางกิโลเมตร (60.97 ตารางไมล์) สำหรับ อุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังอาโป ส่วนที่เหลือ 116.77 ตารางกิโลเมตร (45.09 ตารางไมล์) เป็นเขตกันชนล้อมรอบพื้นที่คุ้มครอง[2][3]

ก่อนที่จะมีการประกาศให้เป็นพื้นที่คุ้มครองพืดหินปะการังอาโปได้รับการประกาศว่า "อุทยานทางทะเล" อย่างเป็นทางการครั้งแรกโดยประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ในปี 1980[4] ตามด้วยรัฐบาลท้องถิ่นของซาบลายานประกาศพืดหินปะการังให้เป็น "เขตการท่องเที่ยวและเขตอนุรักษ์ทางทะเล" ในสามปีต่อมา[5] ในปี 1996 พืดหินปะการังทั้งหมดได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานธรรมชาติที่ได้รับการคุ้มครองโดยประธานาธิบดีฟิเดล รามอส[1]

ในปี 2006 สำนักคุ้มครองพื้นที่และสัตว์ป่าของกรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของฟิลิปปินส์ ได้ส่งชื่อพืดหินปะการังอาโปไปยังศูนย์มรดกโลกยูเนสโกเพื่อพิจารณาให้เป็นมรดกโลก[2]

หลังจากการตรวจสอบขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล การตกปลาในแนวปะการังถูกห้ามโดยรัฐบาลฟิลิปปินส์ในเดือนกันยายน 2007[6][7] อุทยานทางทะเลนี้เปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถมาเที่ยวได้เพื่อหาเงินสำหรับการอนุรักษ์รวมทั้งจัดหาวิถีชีวิตทางเลือกให้กับชาวประมงหลายร้อยคนในพื้นที่[8] ทุกคนที่เข้าถึงพืดหินปะการังอาโปจำเป็นต้องจ่ายค่าธรรมเนียมทางสิ่งแวดล้อม

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Presidential Proclamation 868" (Press release). Office of the President of the Republic of the Philippines. 1996-09-06.
  2. 2.0 2.1 "Apo Reef Natural Park". UNESCO World Heritage: Tentative Lists. UNESCO. 2006-05-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-10-08.
  3. "Protected Areas in Region 4B – MIMAROPA" เก็บถาวร 2014-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Biodiversity Management Bureau. Retrieved on 2014-09-25.
  4. "Presidential Proclamation 1801" (Press release). Office of the President of the Republic of the Philippines. 1980.
  5. "Resolution No. 1108" (Press release). Sangguniang Bayan ng Sablayan, Occidental Mindoro. 1983.
  6. "Philippines bans fishing to revive biggest reef". Yahoo! News. Yahoo! Inc. 2007-10-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 6, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-10-08.
  7. "Philippines bans fishing to revive biggest reef". Reuters News. Reuters Inc. 2007-10-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-01. สืบค้นเมื่อ 2007-10-08.
  8. "Sustainable Ecosystems and Community News: Philippines bans fishing to revive biggest reef". enn.com. สืบค้นเมื่อ 24 August 2015.