ข้ามไปเนื้อหา

พี.โอ.ดับเบิลยู.: พริซซันเนอส์ออฟวอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พี.โอ.ดับเบิลยู.: พริซซันเนอส์ออฟวอร์
ใบปลิวอาร์เคดของพี.โอ.ดับเบิลยู.: พริซซันเนอส์ออฟวอร์ เวอร์ชันสหรัฐ
ใบปลิวอาร์เคดของพี.โอ.ดับเบิลยู.: พริซซันเนอส์ออฟวอร์ เวอร์ชันสหรัฐ
ผู้พัฒนาเอสเอ็นเค
ผู้จัดจำหน่ายเอสเอ็นเค
อิเล็กโตรคอยน์
เครื่องเล่นอาร์เคด, แฟมิคอม
วางจำหน่าย17 สิงหาคม ค.ศ. 1988[1]
แนวบีตเอ็มอัป
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, ผู้เล่น 2 คนร่วมมือกัน

พี.โอ.ดับเบิลยู.: พริซซันเนอส์ออฟวอร์ (อังกฤษ: P.O.W.: Prisoners of War) วางจำหน่ายในญี่ปุ่นในชื่อ ดาสึโงกุ -พริซซันเนอส์ออฟวอร์- (ญี่ปุ่น: 脱獄 -Prisoners of War-; คำแปล: แหกคุก: เชลยศึก) เป็นวิดีโอเกมแนวบีตเอ็มอัปแบบเลื่อนด้านข้างที่ผลิตโดยเอสเอ็นเค ซึ่งแต่เดิมได้เปิดตัวในฐานะเกมอาร์เคดเมื่อ ค.ศ. 1988[2]

เวอร์ชันประจำบ้านได้รับการเผยแพร่สำหรับระบบแฟมิคอมในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1989 ในประเทศญี่ปุ่น และในเดือนกันยายน ค.ศ. 1989 ในทวีปอเมริกาเหนือ[3][4] เกมดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงสงครามเย็นที่ผู้เล่นควบคุมนักโทษทหารคู่หนึ่งที่หลุดพ้นจากห้องขัง เพื่อต่อสู้อย่างไม่ลดละ เพื่อเข้าสู่ฐานหลักของฝ่ายตรงข้าม เพื่อกำจัดผู้นำ และหลบหนีเพื่อเอาชีวิตรอด

รูปแบบการเล่น

[แก้]

ในฐานะหมาป่าเดียวดาย หรือในฐานะคู่หู วัตถุประสงค์ของภารกิจคือการหลบหนีจากฐานของศัตรูโดยการต่อสู้ผ่านสี่ด่านที่เต็มไปด้วยทหารฝ่ายศัตรูหลายรูปแบบที่พยายามขัดขวางการหลบหนีของผู้เล่น ด่านประกอบด้วยค่ายเชลยศึก, โรงพัสดุ, ป่า และฐานของศัตรู ในบางครั้งศัตรูจะโจมตีผู้เล่นด้วยยานพาหนะ เช่น เฮลิคอปเตอร์, รถลำเลียงหุ้มเกราะ หรือรถจักรยานยนต์ ในตอนท้ายของด่านสุดท้าย ผู้เล่นจะเผชิญหน้ากับแม่ทัพของศัตรู ก่อนที่จะได้รับการช่วยพาออกมาโดยเฮลิคอปเตอร์ในการหลบหนีครั้งสุดท้าย

เกมนี้สามารถเล่นได้โดยผู้เล่นสูงสุดสองคนพร้อมกัน

  • ผู้เล่นคนที่ 1 ควบคุมเชลยศึกซึ่งแต่งกายด้วยเครื่องแบบการสงครามกองโจรสีกรมท่าที่ชื่อสเนก (スネーク, Sunēku)
  • ผู้เล่นคนที่ 2 ควบคุมตัวละครสลับสีของตัวละครเดียวกันซึ่งแต่งกายด้วยเครื่องแบบการสงครามกองโจรสีแดงเหมือนเลือดที่ชื่อบาร์ต (バート, Bāto)

การควบคุมประกอบด้วยก้านควบคุมสำหรับการเคลื่อนย้ายตัวละคร และปุ่มแอ็กชันสามปุ่มสำหรับการชก, เตะ และกระโดด นอกจากนี้ ยังมีการโจมตีพิเศษสามแบบโดยการกดปุ่มสองปุ่มพร้อมกัน ได้แก่ กระโดดเตะ (กดปุ่มกระโดดแล้วเตะ), หมัดหลัง (กดปุ่มกระโดดและชกพร้อมกัน) และโขกหัว (กดปุ่มชกและเตะพร้อมกัน) ผู้เล่นยังสามารถหยิบอาวุธหนึ่งในสองชิ้นที่ทิ้งโดยศัตรูที่พ่ายแพ้ ได้แก่ มีดขว้างและปืนกล ซึ่งการควบคุมจะเปลี่ยนไปในขณะที่ถืออาวุธ มีดขว้างได้โดยการกดปุ่มชก แต่ผู้เล่นสามารถเก็บรักษาไว้ได้จนกว่าจะจำเป็นโดยใช้การเตะแทน เมื่อถือปืนกล ผู้เล่นสามารถยิงได้โดยการกดปุ่มเตะ หรือเก็บรักษากระสุนโดยการกดปุ่มชกเพื่อหวดศัตรู[5]

เวอร์ชันแฟมิคอม

[แก้]

ไม่เหมือนกับเวอร์ชันอาร์เคด เวอร์ชันแฟมิคอมเป็นแบบผู้เล่นเดี่ยวเท่านั้น สมมติฐานของเกมยังคงเหมือนเดิม แต่การควบคุมได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากไม่มีปุ่มการกระทำที่สาม การกระโดดเตะทำได้โดยการกดปุ่มชกและปุ่มเตะพร้อมกัน (ปุ่ม B และ A) ในขณะที่การใช้หมัดหลังทำได้โดยกดแป้นทิศทางในทิศทางตรงกันข้ามของผู้เล่นและกด B พร้อมกัน (ส่วนการโขกหัวเป็นเพียงการโจมตีแบบผสมที่ถูกเอาออกในเวอร์ชันแฟมิคอมเท่านั้น) อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นมีความสามารถในการหยิบและใช้ระเบิดมือ (ซึ่งใช้โดยตัวละครศัตรูในเวอร์ชันอาร์เคดเท่านั้น) ระหว่างที่เผชิญหน้ากับบอสเฮลิคอปเตอร์ในด่าน 1 และรถถังในด่าน 4 นอกจากนี้ ยังมีตัวละครศัตรูใหม่ ๆ (เช่น มนุษย์กบ, คนถือปืนลูกซอง และชายอ้วนที่แข็งแรง) เช่นเดียวกับบอสตัวสุดท้ายคนใหม่

นอกจากนี้ ยังมีกระท่อมและห้องที่ผู้เล่นสามารถรับเพาเวอร์-อัป จากการเอาชนะศัตรูที่อยู่ภายใน ซึ่งเพาเวอร์-อัป ประกอบด้วยการฟื้นคืนชีวิตที่สมบูรณ์, สนับมือทองเหลืองที่เพิ่มความแข็งแกร่งในการชกของผู้เล่น และชุดเกราะที่ทำให้ผู้เล่นคงกระพันต่อการยิงปืนและการขว้างมีด

การตอบรับ

[แก้]

นิก เคลลี จากนิตยสารคอมโมดอร์ยูสเซอร์ ได้เขียนว่าเกมอาร์เคดนั้นซื้อสัตย์ต่อดับเบิลดรากอนกับเรนอิเกด และเรียกเกมนี้ว่า "เกมแนวบีตเอ็มอัปซึ่งไว้ใจได้ดี" โดยให้คะแนน 6 เต็ม 10[6] ส่วนในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนได้จัดอันดับพี.โอ.ดับเบิลยู.: พริซซันเนอส์ออฟวอร์ในฉบับวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1988 ว่าเป็นหน่วยเกมอาร์เคดบนโต๊ะที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอันดับสามของปี[7]

การเผยแพร่ใหม่

[แก้]

เกมดังกล่าวได้รวมอยู่ในคอลเลกชันเอสเอ็นเค ฟอร์ทิเอธแอนนิเวอร์ซารีคอลเลกชัน[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "P.O.W.: Prisoners of War (Registration Number PA0000378808)". สำนักงานลิขสิทธิ์แห่งสหรัฐ. สืบค้นเมื่อ 5 June 2021.
  2. "P.O.W.: Prisoners of War". The International Arcade Museum. สืบค้นเมื่อ 4 Oct 2013.
  3. "【全機種】アクションゲームソフト 1989年6月30日発売 - ゲームソフト発売スケジュール | ゲーム・エンタメ最新情報のファミ通.com". www.famitsu.com.
  4. Nintendo staff. "NES Games" (PDF). Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 21, 2010. สืบค้นเมื่อ September 24, 2011.
  5. "P.O.W. instruction manual" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-12-07. สืบค้นเมื่อ 2021-05-24.
  6. Kelly, Nick (November 1988). "P.O.W.". Commodore User. p. 122.
  7. "Game Machine's Best Hit Games 25 - テーブル型TVゲーム機 (Table Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 346. Amusement Press, Inc. 15 December 1988. p. 25.
  8. Brown, Peter (6 November 2018). "SNK 40th Anniversary Collection Review - It Belongs In A Museum". GameSpot.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]