ข้ามไปเนื้อหา

เหรินหมินรื่อเป้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พีเพิลส์เดลี)
เหรินหมินรื่อเป้า
หน้าหนึ่งประจำวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949
(ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน)
ประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน
เจ้าของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ผู้เผยแพร่สำนักข่าวเหรินหมินรื่อเป้า
ประธานถั่ว เจิ้น
หัวหน้าบรรณาธิการยฺหวี เช่าเหลียง
ก่อตั้งเมื่อ15 มิถุนายน 1948; 76 ปีก่อน (1948-06-15)
นโยบายทางการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ภาษาจีนและอื่น ๆ
สำนักงานใหญ่2 ถนนจินไถตะวันตก เขตเฉาหยาง กรุงปักกิ่ง
ประเทศจีน
OCLC number1011095986
เว็บไซต์en.people.cn แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
People's Daily
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ人民日报
อักษรจีนตัวเต็ม人民日報
ชื่อภาษามองโกเลีย
อักษรซิริลลิกมองโกเลียДундад улсын (Хятадын) ардын өдөр тутмын
อักษรมองโกเลีย ᠳᠤᠮᠳᠠᠳᠤ ᠤᠯᠤᠰ ᠤᠨ
(ᠬᠢᠲᠠᠳ ᠤᠨ)
ᠠᠷᠠᠳ ᠡᠳᠦᠷ ᠲᠤᠲᠤᠮ ᠤᠨ

เหรินหมินรื่อเป้า (จีน: 人民日报; พินอิน: Rénmín Rìbào) เป็นหนังสือพิมพ์อย่างเป็นทางการของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีหน้าที่ให้ข้อมูลโดยตรงเกี่ยวกับนโยบายและมุมมองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในหลายภาษา

ประวัติ

[แก้]

หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1948 และตีพิมพ์อยู่ในอำเภอผิงชาน มณฑลเหอเป่ย์ กระทั่งสำนักงานใหญ่ย้ายไปยังกรุงปักกิ่งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1959 นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นมา เหรินหมินรื่อเป้าก็อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเสมอ ทั้งเติ้ง ทั่ว และอู๋ เลิ่งซี ดำรงตำแหน่งบรรณาธิการบริหารระหว่าง ค.ศ. 1948–1958 และ 1958–1966 ตามลำดับ แต่ในความเป็นจริงแล้วหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของหู เฉียวมู่ เลขาส่วนตัวของเหมา เจ๋อตง[1] หนังสือพิมพ์ฉบับนี้เป็น "ปากเป่า" (จีน: 喉舌) อย่างเป็นทางการของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน[2] มักถูกมองว่าเป็นตัวแทนมุมมองหลักที่สำคัญที่สุดของรัฐบาลจีน[3]: 77 

บทความจำนวนมากที่กล่าวถึงบุคคลทางการเมือง แนวคิด หรือภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งมักถูกตีความว่าเป็นสัญญาณบอกว่าบุคคลหรือเรื่องราวที่กล่าวถึงนั้นกำลังได้รับความสนใจมากขึ้น[4][5] บทบรรณาธิการในเหรินหมินรื่อเป้านั้นทั้งผู้สังเกตการณ์ต่างชาติและผู้อ่านชาวจีนต่างมองว่าเป็นแถลงการณ์อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล มีการจำแนกประเภทระหว่างบทบรรณาธิการ บทวิจารณ์ และบทความเห็น แม้ทั้งหมดจะต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล แต่พวกมันก็มีความต่างกันอย่างเห็นได้ชัดในระดับของอำนาจทางการที่ถูกออกแบบให้มีตั้งแต่ระดับสูงสุด เป็นต้นว่า แม้บทความความเห็นจะไม่ค่อยมีแนวคิดขัดแย้งกับรัฐบาล แต่ก็อาจแสดงมุมมอง หรืออาจมีการอภิปรายที่กำลังพิจารณาอยู่และสะท้อนเพียงความเห็นของผู้เขียนเท่านั้น กล่าวคือ เป็นเหมือนการทดลองความเห็นผ่านบทบรรณาธิการเพื่อประเมินความเห็นภายในของสาธารณชน[6] ตรงกันข้าม บทบรรณาธิการอย่างเป็นทางการ ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก หมายความว่ารัฐบาลได้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับประเด็นนั้นแล้ว[6]

ในระหว่างเหตุการณ์การประท้วงและการสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989 บทบรรณาธิการของเหรินหมินรื่อเป้าฉบับวันที่ 26 เมษายน ซึ่งประณาม "การเดินขบวนและชุมนุมที่ผิดกฎหมาย" นับเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้[7] บทบรรณาธิการดังกล่าวได้จุดชนวนความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับผู้ประท้วงมากขึ้น และผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้มีการถกเถียงกันอย่างดุเดือดเกี่ยวกับการแก้ไขบทบรรณาธิการฉบับนี้ บทความที่รวบรวมบทบรรณาธิการที่สำคัญที่สุดได้รับการเผยแพร่โดยเหรินหมินรื่อเป้าในระหว่างการขบวนการนักศึกษา[ต้องการอ้างอิง]

การวิเคราะห์ถ้อยคำจากจากเหรินหมินรื่อเป้าทุกฉบับ ตั้งแต่ ค.ศ. 1998 ถึง 2000 ได้ถูกนำมาใช้ในการรวบรวมและจัดทำ "แบบมาตรฐานคำที่มีรูปแบบผันแปรไม่เป็นมาตรฐานชุดที่ 1"[8]: 3 

เหรินหมินรื่อเป้ามีหน่วยงานชื่อว่า People's Data ที่ทำการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากโซเชียลมีเดียต่างประเทศเพื่อให้บริการตำรวจ หน่วยงานตุลาการ และองค์กรของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[9][10] People's Data ยังมีข้อตกลงแบ่งปันข้อมูลกับบริษัทต่าง ๆ เช่น DiDi และ Pinduoduo ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของทีมู[9] ใน ค.ศ. 2022 เหรินหมินรื่อเป้าได้เปิดตัวบริการซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ชื่อว่า เหรินหมินเชินเจียว (ผู้ตรวจแก้ของประชาชน) ซึ่งให้บริการตรวจพิจารณาเนื้อหาจากภายนอก[11] เหรินหมินรื่อเป้ายังจัดหาข้อมูลฝึกอบรมให้แก่บริษัทปัญญาประดิษฐ์ในจีน โดยเป็นข้อมูลที่ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนเห็นว่ายอมรับได้[12] ใน ค.ศ. 2024 เหรินหมินรื่อเป้าได้เปิดตัวเครื่องมือที่ใช้แบบจำลองภาษาขนาดใหญ่ชื่อว่า อีซีไรต์ (Easy Write)[13]

ฉบับต่างประเทศ

[แก้]

นามปากกา

[แก้]

รายชื่อประธาน

[แก้]

ปฏิกิริยา

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Historian: Hu Qiaomu". Chinese Revolution (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 27 August 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2023. สืบค้นเมื่อ 29 May 2020.
  2. Bandurski, David (2024-05-07). "China's Mouthpieces Go Quiet". China Media Project (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-05-07.
  3. Wang, Frances Yaping (2024). The Art of State Persuasion: China's Strategic Use of Media in Interstate Disputes. Oxford University Press. ISBN 9780197757512.
  4. Wu, Shufang (3 September 2014). "The Revival of Confucianism and the CCP's Struggle for Cultural Leadership: a content analysis of the People's Daily , 2000–2009". Journal of Contemporary China (ภาษาอังกฤษ). 23 (89): 971–991. doi:10.1080/10670564.2014.882624. ISSN 1067-0564. S2CID 145585617.
  5. Weston, Morley J.; Rauchfleisch, Adrian (23 July 2021). "Close to Beijing: Geographic Biases in People's Daily". Media and Communication. 9 (3): 59–73. doi:10.17645/mac.v9i3.3966. ISSN 2183-2439.
  6. 6.0 6.1 Wu, Guoguang (March 1994). "Command Communication: The Politics of Editorial Formulation in the People's Daily". The China Quarterly (ภาษาอังกฤษ). 137 (137): 194–211. doi:10.1017/S0305741000034111. ISSN 0305-7410. JSTOR 655694. S2CID 154739228.
  7. "April 26 Editorial". Tsquare.tv. 26 April 1989. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2012. สืบค้นเมื่อ 10 May 2012.
  8. 国家语言文字工作委员会 (20 April 2016). 第一批异形词整理表(试行) (ภาษาจีนตัวย่อ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2018. สืบค้นเมื่อ 21 November 2017.
  9. 9.0 9.1 Cadell, Cate (May 1, 2024). "Report: China's propaganda units harvest data from overseas tech firms". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ May 2, 2024.
  10. Cadell, Cate (31 December 2021). "China harvests masses of data on Western targets, documents show". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2022. สืบค้นเมื่อ 1 January 2022.
  11. Cai, Vanessa; Zhuang, Sylvie (2023-07-17). "Chinese entities turn to People's Daily censorship AI to avoid political mines". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-07-20.
  12. Lin, Liza (July 15, 2024). "China Puts Power of State Behind AI—and Risks Strangling It". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2024. สืบค้นเมื่อ July 16, 2024.
  13. Colville, Alex (2024-11-27). "The Party in the Machine". China Media Project (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-11-30.