พิรัส พัชรเศวต
ผศ.พิรัส พัชรเศวต | |
---|---|
พิรัส พัชรเศวต ในปี พ.ศ. 2565 | |
เกิด | ไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | |
รางวัล | AIA Henry Adams Gold Medal for Excellence in the Study of Architecture |
ผลงานสำคัญ |
|
ผู้ช่วยศาตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต (นามสกุลเดิม: เหล่าไพศาลศักดิ์) เป็นสถาปนิกชาวไทย อาจารย์และอดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้งสำนักออกแบบอีสต์อาร์คีเท็กตส์ จำกัด (EAST Architects) มีผลงานออกแบบอาคารสาธารณะและอาคารพักอาศัยหลายแห่ง ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างงานออกแบบร่วมสมัยและทรอปิคอลโมเดิร์น ทั้งอาคารจุฬาพัฒน์ 1 ของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาคารจุฬาพัฒน์ 13 ของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ คณะจิตวิทยา คณะสหเวชศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) เป็นต้น
ผลงานส่วนใหญ่ของ ผศ.พิรัส มีจุดเด่นทั้งการใช้หลังคาทรงจั่วสูง หรือการวางช่วงหลังคาที่ยาวเป็นพิเศษ เพื่อตอบรับกับสภาพฝนฝ้าอากาศและแดดในภูมิศาสตร์เขตร้อนชื้น การใช้เสากลม-เสาเหลี่ยมลอยแยกออกจากผนังเข้ามารับส่วนหลังคาและการวางบันไดด้านหน้าอาคาร เช่น อาคารจุฬาพัฒน์ 1 และอาคารวิชชาคาม 1 นอกจากนี้ยังมีการทำค้ำยัน ทรง V shape มาใช้รับส่วนที่ยื่น (cantilever) ซึ่งใช้ใน อาคารจามจุรี 10 อาคารจุฬาพัฒน์ 13 ในส่วนการใช้วัสดุงานของเขาส่วนใหญ่ประกอบด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็ก และอิฐ สำหรับงานสถาปัตยกรรมที่ใช้วัสดุอิฐเป็นส่วนหลักของอาคารที่ชัดเจน เช่น อาคารสยามสเคป อาคาร AUA LANGUAGE CENTER[1]
ผศ.พิรัส ยังมีความเชี่ยวชาญในงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแสง และการนำพลังงานทางเลือกจากแสงธรรมชาติเข้ามาใช้สร้างมิติและประสบการณ์ในพื้นที่ (space) งานสถาปัตยกรรม มีผลงานหนังสือ งานวิจัย และนิตยสารวิชาการเช่น แสงสร้างสรรค์, แสงในงานสถาปัตยกรรม, หลักเบื้องต้นการออกแบบแสงธรรมชาติ เป็นต้น[2] เขาเคยได้รับรางวัล AIA Henry Adams Gold Medal for Excellence in the Study of Architecture จากสถาบันสถาปนิกอเมริกัน ในระหว่างที่ศึกษาระดับปริญญาโทที่ประเทศสหรัฐอีกด้วย[3]
ประวัติ
[แก้]พิรัสจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (อสช 26467)[4] จากนั้นศึกษาต่อยังคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบด้วยเกียรตินิยม จากนั้นศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดินทางกลับมาประเทศไทย ได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และเมื่อปี พ.ศ. 2547 ได้ก่อตั้งบริษัทอีสต์อาร์คีเท็กตส์ จำกัด[3] นอกจากนี้เขายังเคยเป็นอาจารย์พิเศษให้กับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ธนบุรี[5]
ผลงานออกแบบ
[แก้]ผลงานออกแบบทั้งหมดอยู่ภายใต้นามสำนักงานออกแบบ อีสต์อาร์คีเท็กตส์ จำกัด (EAST Architects) โดยเป็นผลงานร่วมออกแบบกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ สยาณี วิโรจน์รัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
-
อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10)
-
อาคารจุฬาพัฒน์ 13
-
อาคารสยามสเคป
-
อาคารสยามสเคป
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[9]
- พ.ศ. 2564 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กรกฎ หลอดคำภาพ มณีนุช บุญเรือง. (2564).Behind Brick Building สำรวจโฉมใหม่ของตึก AUA ราชดำริ ที่ตั้งใจเป็นศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมทั้ง 7 ชั้น จัดงานศิลปะ คอนเสิร์ต ฉายหนัง ตลาดนัด และห้องสมุด. readthecloud.co สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2564
- ↑ Pirast Pacharaswata พิรัส พัชรเศวต. ข้อมูลประชาคมวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .สืบค้นเมื่อ 16/11/2559
- ↑ 3.0 3.1 [พิรัส พัชรเศวต - Li-Zenn http://www.li-zenn.com/pdf/life-philosophy/doc25530325174424.pdf เก็บถาวร 2018-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน], li-zenn.com .สืบค้นเมื่อ 16/11/2559
- ↑ ทำเนียบรุ่น AC100 เก็บถาวร 2017-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, omac100.awardspace.com .สืบค้นเมื่อ 16/11/2559
- ↑ [http://cop.car.chula.ac.th/1914/?sec=other Pirast Pacharaswata พิรัส พัชรเศวต], ข้อมูลประชาคมวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .สืบค้นเมื่อ 16/11/2559
- ↑ ข้อมูลคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักบริหารระบบกายภาพ .สืบค้นเมื่อ 15/11/2559
- ↑ อาคารเรียนรวมฯ จุฬาพัฒน์ 13 ARCHITECTURE OF THE TROPICAL POSTMODERNISM, Megazy .สืบค้นเมื่อ 15/11/2559
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕๔, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๑๔๖, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๑๗, ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕