พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอะเลปโป
![]() ทางเข้าหลักของพิพิธภัณฑ์ | |
ก่อตั้ง | 1931 |
---|---|
ที่ตั้ง | ถนนบารอน อะเลปโป ประเทศซีเรีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 36°12′14″N 37°09′02″E / 36.203754°N 37.150607°E |
ประเภท | โบราณคดี |
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอเเลปโป (อาหรับ: متحف حلب الوطني; National Museum of Aleppo) เป็รพิพิธภัณฑ์ในนครอะเลปโป ประเทศซีเรีย สถาปนาขึ้นในปี 1931 ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมือง ตั้งอยู่ในใจกลางเมือง บนถนนบารอน ติดกับโรงแรมบารอน ใกล้กับจัตุรัสประตูฟารัจญ์ และ หอนาฬิกาประตูฟารัจญ์ นิทรรศการจัดแสดงส่วนใหญ่ของพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับโบราณคดีซีเรีย ส่วนใหญ่เป็นโบราณวัตถุที่ได้มาจากทางตอนเหนือของประเทศ
ประวัติศาสตร์
[แก้]ในปี ค.ศ. 1931 รัฐบาลซีเรียประกาศมห้พระราชวังสมัยออตโตมันขนาดเล็กแห่งหนึ่วเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติประจำนครอะเลปโป และเมื่อผ่านไปสามทศวรรษ พิพิธภัณฑ์เริ่มมีขนาดไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับจำนวนของสะสมที่เพิ่มจำนวนขึ้น ในปี 1966 จึงตัดสินใจรื้อวังออตโตมันทิ้งและสร้างพิพิธภัณฑ์หลังใหม่ที่ทีขนาดใหญ่และทันสมัยกว่าขึ้นแทนที่ อาคารหลังใหม่นี้ก่อสร้างตามการออกแบบของสถาปนิกชาวยูโกสลาเวีย ซดรัฟกอ เบรกอวัซ (Zdravko Bregovac) และ วเยนเซสสลัฟ ริคเทอร์ (Vjenceslav Richter) ซึ่งชนะรางวัลที่หนึ่งในการประกวดออกแบบอาคารหลังใหม่[1]
ในเดือนกรกฎาคม 2016 พิพิธภัณฑ์ถูกโจมตีด้วยระเบิดมิสไซล์จำนวนมากจากกองกำลังฝั่งกบฏ เป็นผลให้อาคารและโครงสร้างได้รับความเสียหาย ของสะสมส่วนใหญ่ ณ เวลานั้นได้รับการเคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาที่อื่น แต่ยังมีบางส่วนที่ยังคงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นประเด็นที่มีผู้แสดงความกังวลถึง[2][3][4]
โบราณวัตถุจำนวนหนึ่งเสียหายในเหตุแผ่นดินไหวปี 2023[5]
ของสะสม
[แก้]โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์มีที่มาจากทุกยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ โดยของสะสมชุดใหญ่ที่สุดมีที่มาจากสมัยยุคโลหะและสมัยอิสลาม ทางเข้าหลักของพิพิธภัณฑ์ประดับด้วยซุ้มทางเข้าวิหารโบราณและสฟิงซ์จากสมัยยุคโลหะ (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์กาล) ที่ได้มาจากแหล่งโบราณคดีฮิตไทต์ใหม่ที่เทลฮาลาฟ ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็นสองชั้นซึ่งจัดแสดงวัตถุตามยุคสมัย
ลานกลางภายในของพิพิธภัณฑ์เป็นที่ตั้งของประติมากรรมหินบะซอลต์ขนาดมหึมาจากสมัยฮิตไทต์โบราณและโรมันโบราณ รวมถึงชิ้นงานโมเสคขนาดใหญ่จากสมัยศตวรรษที่ 3 ส่วนลานด้านหน้าพิพิธภัณฑ์มีประติมากรรมจากอารยธรรมอารามาอิก, บีแซนทีน และอาหรับ[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Martina Munivrana, Vesna Meštrić (ed): Richter - Rebel With a Wision, Zagreb, 2017., p. 90
- ↑ "UNESCO Director-General deplores heavy damages at the National Museum of Aleppo | United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization".
- ↑ The National Museum of Aleppo under heavy shelling
- ↑ "Cultural Heritage Initiatives". 17 November 2017.
- ↑ Hunter, Marnie; Alberti, Mia (February 7, 2023). "UNESCO site 'in danger' faces greater peril after earthquake". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Aleppo.us: Aleppo Museum". Aleppo.us. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-28. สืบค้นเมื่อ 2012-07-13.