พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต (PHUKET MINING MUSEUM) เมื่อเดือนมิถุนายน 2551 ตั้งอยู่ที่ถนนเหมืองท่อสูง ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต 83120 จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยวและเป็นแหล่งการเรียนรู้ เปิดให้เข้าชมทุกวันไม่เว้นวันหยุดดราชการ เวลา 9.00 - 16.00 น.
ประวัติ
[แก้]หลังภาคใต้ประสบภัยสึนามิ จังหวัดภูเก็ตได้มอบหมายให้เทศบาลตำบลกะทู้ ดำเนินการจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ ในปี พ.ศ. 2549 ตามแบบของนางปัญจภัทร (ตูน) ชูราช บนพื้นที่การทำเหมืองแร่ดีบุก (เลิกทำเหมืองแล้วเมื่อ พ.ศ. 2500) บริเวณเหมืองท่อสูง ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เป็นเขตแดนตำบลกะทู้กับบ้านเกาะแก้ว ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
นายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลกะทู้ได้จัดสรรงบประมาณจัดนิทรรศการภายในระหว่างปี พ.ศ. 2550-2551
ลักษณะการจัดนิทรรศการ
[แก้]กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ มีความประสงค์ที่จะสนับสนุนการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จึงได้มอบหมายให้ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เป็นผู้ออกแบบการจัดพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 ดำเนินการจัดนิทรรศการเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มภายนอก (Outdoor) อาคาร (ต่อไปจะมีเรือขุดแร่ในขุมเหมืองด้านทางเข้าพิพิธภัณฑ์ พ.ศ. 2553 มีเหมืองฉีด เครื่องจักรกลในการทำเหมืองแร่ รางเหมือง โรงหัด) และกลุ่มภายใน (Indoor) อาคาร"อังมอเหลา"
กลุ่มนิทรรศการภายในอาคาร
[แก้]พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (พมร.) ภูเก็ตจัดนิทรรศการภายในโดยใช้ชื่อ เปิดลับแลม่านฟ้าเกาะพญามังกรทอง มีห้องแสดงนิทรรศการใน "อังมอเหลา" (ตึกนายหัวเหมืองหรือบ้านเศรษฐี) ไปตามลำดับ คือ โปท้องหง่อก่ากี่ ชินวิถี อัญมณีนายหัวเหมือง เรืองดารากร (กำเนิดโลก กำเนิดแร่ธาตุ กำเนิดชีวิต กำเนิดคน คนใช้ไฟ คนใช้แร่ คนแสวงหาแร่) สายแร่แห่งชีวิต (เหมืองแล่น เหมืองครา เหมืองปล่อง เหมืองรู เหมืองอุโมงค์ เหมืองหาบ เหมืองสูบ เหมืองฉีด เหมืองเรือขุด) นิรมิตเล่นแร่แปรธาตุ ฉลาดนาวาชีวิต ลิขิตปรัชญ์สืบสาน บันซ้านบางเหนียว (ร้านขนมจีน ร้านขายของชำ ร้านโกปีเตี๊ยม ร้านแป๊ะอ๊านต๋อง (ร้านขายยาจีน) ร้านจักสาน) เก่วเกี้ยวในทู (อ๊าม งิ้ว หนังตะลุง) หลงผิดเสพ เทพาภรณ์ คฤหปตานินท์ บาบ๋าสินสมรส ฉายาบทนฤมิต ภาพกิจปฐมเหตุ และวรรณวิเศษปัญญภูมิ