พิพิธภัณฑ์ตาราคาว
तारागाउँ सङ्ग्रहालय | |
สิ่งก่อสร้างรูป "พ็อด" ของพิพิธภัณฑ์ | |
ก่อตั้ง | 2014 |
---|---|
ที่ตั้ง | กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 27°43′14″N 85°21′22″E / 27.72048054°N 85.356247°E |
ประเภท | พิพิธภัณฑ์ศิลปะ |
ผู้อำนวยการ | Roshan Mishra |
ภัณฑารักษ์ | Niels Gutschow |
สถาปนิก | Carl Pruscha |
เจ้าของ | Taragaon Regency Hotel |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
พิพิธภัณฑ์ตาราคาว (เนปาล: तारागाउँ सङ्ग्रहालय; ตาราคาวสังครหาลัย, อังกฤษ: The Taragaon Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะเอกชนและหอสมุดศิลปะในกาฐมาณฑุ ตั้งอยู่ทางเหนือของเมือง ในแถบพุทธนาถ[1] พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในโรงแรมตาราคาวรีเจนซี (Taragaon Regency Hotel) ผู้เป็นเจ้าขอบพิพิธภัณฑ์ นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ยังได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิซารัฟ (Saraf Foundation) พิพิธภัณฑ์มีของสะสมถาวรจัดแสดงในสามอาคาร และหอศิลป์โพธิสัตตวะ (Bodhisattva Gallery) ซึ่งจัดแสดงศิลปะเนวา, หอศิลป์ปฐิวารา (Pathivara Gallery) ซึ่งจัดแสดงธังกา และหอศิลปะร่วมสมัย[2]
ประวัติศาสตร์
[แก้]สิ่งปลูกสร้างนี้สร้างขึ้นด้วยอิฐแบบออสเตรีย เดิมทีสร้างขึ้นเป็นโฮสเทลให้กับศิลปินและนักวิทยาศาสตร์ในทศวรรษ 1970 หลังเนปาลเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศครั้งแรกในทศวรรษ 1950 โฮสเทบนี้สร้างขึ้นเพื่อสะท้อน "ความเป็นเนปาล" ให้กับแขกผู้มายังโรงแรม ที่ดินที่ตั้งโฮสเทลนี้ถูกซื้อไปโดยรัฐบาลปัญจยัตในปี 1969 ต่อมาถูกส่งมอบให้กับสมาคมสตรีเนปาล (Nepal Women’s Association) และในปี 1970 อางกูร บาบา โชษี นักวิจาการคนสำคัญของเนปาลได้พบกับสถาปนิกชาวออสเตรีย Carl Pruscha ซึ่งในตอนนั้นเป็นที่ปรึกษาจาก UN และ UNESCO ให้กับรัฐบาลเนปาล โชษีจึงได้จ้างให้เขามาออกแบบโรงแรมขึ้น โชษีต้องการจะสร้างหมู่บ้านวัฒนธรรมให้กับศิลปินในเนปาล[3] การก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี 1974 และมีพิธีเปิดในวันที่ 25 กันยายน 1974 โดยมีราชินีไอศวรรย์ ราชสะ ลักษมี เทวี ชาห์ ร่วมพิธี อาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมผสมผสานแบบเนปาลและมอเดิร์นอย่างยุโรป[4]
ในปี 1990 สมาคมสตรีเนปาลถูกยุบเลิกหลังการฟื้นฟูประชาธิปไตยในเนปาล และในปี 1997 โฮสเทลถูกทิ้งร้าง ต่อมาอรุณ ซารัฟ (Arun Saraf) เจ้าของโรงแรมไฮยอัต รีเจนซี ซึ่งตั้งอยู่ติดกัน ได้เข้าซื้อพื้นที่และพัฒนาขึ้นเป็นพิพิธภัณฑ์
งานจัดแสดง
[แก้]พิพิธภัณฑ์มีขนาด 35,000 ตารางฟุต[5] จัดแสดงภาพถ่าย งานสีน้ำ งานแกะสลัก ภาพร่าง แผนที่ แปลน ภาพเขียน และเอกสารมากมายจากศตวรรษที่ 18-19 ซึ่งเป็นของสะสมถาวรของพิพิธภัณฑ์[6] นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ยังมีหอศิลปะร่วมสมัย, โถงจัดกิจกรรม (Event Hall) และแอมฟิเธียเตอร์กลางแจ้งอีกสองแห่ง[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "10 Architectural Treasures to Visit in Nepal". Architectural Digest (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-01-24. สืบค้นเมื่อ 2022-03-30.
- ↑ Shrestha, Elvin L. "Kathmandu's newest museum documents its recent past | Nepali Times Buzz | Nepali Times". archive.nepalitimes.com. สืบค้นเมื่อ 2022-03-30.
- ↑ "Carl Pruscha, an Architect Investigating Overlooked Territories". ArchDaily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-03-15. สืบค้นเมื่อ 2022-03-30.
- ↑ "Taragaon Museum". Atlas Obscura (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-30.
- ↑ "Top 10 museums in Kathmandu you must visit this weekend" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-03-17. สืบค้นเมื่อ 2022-03-30.
- ↑ "New home for contemporary art at Taragaon Museum". kathmandupost.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-30.
- ↑ "The Taragaon Museum". taragaonmuseum.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-30. สืบค้นเมื่อ 2022-03-30.