ข้ามไปเนื้อหา

พิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์เซี่ยงไฮ้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์เซี่ยงไฮ้
上海天文馆
Shanghai Astronomy Museum
ก่อตั้ง18 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 (2021-07-18)
ประเภทท้องฟ้าจำลอง
ผลงานสำคัญพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซี่ยงไฮ้ และหอดูดาวเซี่ยงไฮ้แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์จีน
สถาปนิกเอนนิดส์อาร์คิเทคส์ ในนครนิวยอร์ก
เว็บไซต์www.sstm-sam.org.cn

พิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์เซี่ยงไฮ้ หรือ ท้องฟ้าจำลองเซี่ยงไฮ้ (อังกฤษ: Shanghai Astronomy Museum) เป็นท้องฟ้าจำลองที่เปิดในปี พ.ศ. 2564 ในเมืองใหม่หลิงกัง เขตผู่ตงใหม่ เซี่ยงไฮ้ มีโดมครอบคลุม 38,000 ตารางเมตร เป็นท้องฟ้าจำลองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในด้านของขนาดอาคาร[1] ท้องฟ้าจำลองซึ่งออกแบบโดยเอนนิดส์อาร์คิเทคส์ในนครนิวยอร์ก ทำหน้าที่เป็นสถาบันดาราศาสตร์ให้ความรู้และความบันเทิงสำหรับประชาชนทั่วไปเยี่ยมชม[2][3] เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซี่ยงไฮ้

ประวัติ

[แก้]

พิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์เซี่ยงไฮ้ได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งเซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557 ดำเนินการก่อสร้างโดยพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซี่ยงไฮ้ และหอดูดาวเซี่ยงไฮ้แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์จีนจะให้การสนับสนุนด้านเทคนิค เริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559[4] ดำเนินการเปิดในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 และเปิดให้ประชาชนทั่วไปในวันถัดไป[5] เป็นหนึ่งในท้องฟ้าจำลองที่มีพื้นที่ก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก[6]

สถาปัตยกรรม

[แก้]

ท้องฟ้าจำลองมีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 58,602 ตารางเมตร และพื้นที่ก่อสร้างรวม 38,164 ตารางเมตร มีพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหลัก 3 แห่ง ได้แก่ นิทรรศการ "บ้านเกิด", "จักรวาล" และ"การเดินทาง" พื้นที่จัดแสดงพิเศษ เช่น "สถานีอวกาศเวิ่นเทียน", "ดาวเคราะห์ที่อยากรู้", และ "มุ่งสู่ดาวอังคาร" รวมถึงโดมท้องฟ้าจำลองที่ใช้เครื่องฉายดาวความละเอียดสูงพิเศษ 8K และห้องรับรอง, หอดูดาว Wangshu, หอเทพธิดาซีเหอ (หอเทพธิดาพระอาทิตย์) และค่ายสำรวจดวงดาว[7][3]

ออกแบบโดยใช้เส้นโค้งทั้งหมด ให้สะท้อนถึงรูปร่าง การโคจรหมุนรอบของเทห์ฟากฟ้า และเรขาคณิตของจักรวาล ทั้งตัวอาคารหลักของพิพิธภัณฑ์และภูมิทัศน์กลางแจ้ง โธมัส เจ หว่อง หุ้นส่วนด้านการออกแบบของเอนนิดส์อาร์คิเทคส์ อธิบายว่าแนวคิดการออกแบบพื้นฐานของพิพิธภัณฑ์คือ "กฎพื้นฐานของฟิสิกส์ดาราศาสตร์ซึ่งเป็นกฎในอวกาศ"[8]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Polar and ski parks are coming to Lingang". www.shanghaidaily.com. สืบค้นเมื่อ 2017-03-19.
  2. "Ennead Tapped to Design Shanghai Planetarium". ArchDaily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2015-03-09. สืบค้นเมื่อ 2019-10-27.
  3. 3.0 3.1 Times, Global. "Shanghai can finally see the Milky Way". www.globaltimes.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-16. สืบค้นเมื่อ 2017-03-19.
  4. 上海天文馆正式开工 建成后将成全球最大天文馆 เก็บถาวร 2020-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,网易新闻。
  5. "上海天文馆通过竣工综合验收 进入展示深化设计关键阶段". 新民晚报. 2020-06-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-10. สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
  6. "Polar and ski parks are coming to Lingang". www.shanghaidaily.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-12. สืบค้นเมื่อ 2017-03-19.
  7. "全球建筑规模最大天文馆上海天文馆开馆".
  8. "Ennead Architects designs Shanghai Astronomy Museum to "echo the essence of the Universe"". Dezeen (ภาษาอังกฤษ). 2021-08-09. สืบค้นเมื่อ 2021-08-12.