พิคาชู
พิคาชู | |
---|---|
ตัวละครใน ซีรีส์ โปเกมอน | |
ปรากฏครั้งแรก | โปเกมอน เรด และ บลู (1996) |
ออกแบบโดย | อัตสึโกะ นิชิดะ และ เค็ง ซูงิโมริ |
แสดงโดย | เจนนิเฟอร์ ริสเซอร์ (โปเกมอนไลฟ์!) |
เสียงอังกฤษ | อังกฤษ
ญี่ปุ่น
|
พิคาชู[1] (ญี่ปุ่น: ピカチュウ; โรมาจิ: Pikachū; ภาษาอังกฤษ: /ˈpiːkətʃuː/) เป็นสายพันธุ์ของโปเกมอน โปเกมอนเป็นสิ่งมีชีวิตในบันเทิงคดีที่ปรากฏในวิดีโอเกม รายการโทรทัศน์และภาพยนตร์แอนิเมชัน การ์ดเกม และหนังสือการ์ตูน เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทญี่ปุ่น เดอะโปเกมอนคอมพานี พิคาชูเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายหนูสีเหลือง มีความสามารถพิเศษเกี่ยวกับไฟฟ้า ในอนิเมะและวิดีโอเกม ตัวละครพากย์เสียงโดยอิกุเอะ โอตะนิ พิคาชูยังปรากฏเป็นตัวละครหลักในภาพยนตร์แอนิเมชันฉบับคนแสดงเรื่อง โปเกมอน ยอดนักสืบพิคาชู รับบทและพากย์เสียงโดยไรอัน เรย์โนลส์
พิคาชูออกแบบโดยอะสึโกะ นิชิดะ และตรวจทานโดยเค็ง ซูงิโมริ พิคาชูปรากฏครั้งแรกในเกมเกมโปเกมอนเรดและกรีน และต่อมาปรากฏในเกมโปเกมอน เรดและบลู ซึ่งเป็นเกมแรกในชุดโปเกมอนที่วางจำหน่ายทั่วโลก สำหรับเครื่องเกมบอยรุ่นแรก
มนุษย์จับและฝึกฝนพิคาชูเพื่อต่อสู้โปเกมอนตัวอื่นเป็นการแข่งขัน เช่นเดียวกับโปเกมอนสายพันธุ์อื่น ๆ พิคาชูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดตัวหนึ่ง เหตุเพราะพิคาชูเป็นตัวละครหลักในอนิเมะเรื่องโปเกมอน พิคาชูถือว่าเป็นตัวละครหลัก และการ์ตูนสัญลักษณ์ของแฟรนไชส์โปเกมอน และกลายเป็นสัญรูปในวัฒนธรรมสมัยนิยมญี่ปุ่นเมื่อช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้
แนวคิดและการออกแบบ
[แก้]ซีรีส์โปเกมอนเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1996 พัฒนาโดยเกมฟรีก และจำหน่ายโดยนินเทนโด และนำเสนอสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ เรียกว่า "โปเกมอน" ผู้เล่น หรือ "เทรนเนอร์" สามารถจับมาเลี้ยง ฝึกฝน และใช้ต่อสู้กับโปเกมอนของคนอื่น หรือมีปฏิสัมพันธ์กับโลกของเกม[2][3] พิคาชูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่ออกแบบหลายครั้งโดยทีมพัฒนาตัวละครของบริษัทเกมฟรีก ศิลปินชื่อ อะสึโกะ นิชิดะ เป็นบุคคลหลักที่ออกแบบพิคาชู[4][5] ซึ่งต่อมาได้ตรวจทานโดยเค็น ซุงิโมะริ[6][7] จากคำกล่าวของผู้ผลิตซีรีส์ ซาโตชิ ทะจิริ ชื่อมาจากเสียงภาษาญี่ปุ่นสองเสียงผสมกัน ระหว่าง pika เสียงของประกายไฟฟ้า และ chu เสียงร้องของหนู[8] แม้ว่าที่มาของชื่อเป็นเช่นนั้น แต่นิชิดะออกแบบพิคาชูรุ่นที่ 1 อ้างอิงกระรอก โดยเฉพาะแก้ม[9] จูนิชิ มาซุดะ นักพัฒนากล่าวว่า ชื่อของพิคาชูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่สร้างยากที่สุด เนื่องจากเขาพยายามทำให้ดึงดูดทั้งผู้ชมชาวญี่ปุ่นและชาวอเมริกัน[10]
เมื่อยืนตรง พิคาชูจะสูง 1 ฟุต 4 นิ้ว (0.4 เมตร) พิคาชูเป็นโปเกมอน "ประเภทไฟฟ้า" ตัวแรกที่ถูกสร้างขึ้น การออกแบบตั้งใจจะให้เกี่ยวพันกับแนวคิดเรื่องไฟฟ้า[11] พิคาชูเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายหนูไพกา มีขนสั้นสีเหลือง มีแต้มสีน้ำตาลปกคลุมแผ่นหลังและบางส่วนของหางรูปสายฟ้า มีหูแหลมแต้มด้วยสีดำ และถุงเก็บกระแสไฟฟ้าสีแดงอยู่ที่แก้มสองข้าง สามารถสร้างประกายไฟได้[12] ในโปเกมอน ไดมอนด์ และ เพิร์ล นำเสนอความแตกต่างตามเพศเป็นครั้งแรก พิคาชูเพศเมียจะมีรอยเว้าที่ปลายหางเป็นรูปหัวใจ พิคาชูจะจู่โจมโดยใช้ไฟฟ้าจากร่างกายพุ่งไปสู่คู่ต่อสู้ ในบริบทของแฟรนไชส์ พิคาชูสามารถเปลี่ยนร่าง หรือ "พัฒนาร่าง" (evolve) เป็นไรชู เมื่อประสบกับหินสายฟ้า (Thunderstone) ในซีรีส์ต่อมา ร่างพัฒนาก่อนหน้าเกิดขึ้นครั้งแรก ชื่อว่า "พีชู" (Pichu) ซึ่งจะพัฒนาเป็นพิคาชูหลังจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเทรนเนอร์
เดิมทีโปเกมอนที่ถูกเลือกให้เป็นตัวละครหลักของสินค้าในแฟรนไชส์คือพิคาชู และปิปปี (Clefairy) ซึ่งปิปปีเป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ที่ทำให้หนังสือการ์ตูน "มีเสน่ห์" (engaging) ขึ้น แม้กระนั้น ในการผลิตซีรีส์แอนิเมชัน พิคาชูกลายเป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ เพื่อต้องการดึงดูดเหล่าผู้ชมเพศหญิงและแม่ของพวกเขา ภายใต้ความเชื่อว่าเขาสร้างสิ่งมีชีวิตให้เป็นภาพทดแทนสัตว์เลี้ยงให้กับเด็ก ๆ สีตัวพิคาชูก็เป็นหนึ่งในปัจจัย เนื่องจากสีเหลืองเป็นแม่สี และเด็ก ๆ มองเห็นง่ายจากระยะไกล และคู่แข่งเดียวที่เป็นการ์ตูนสัญลักษณ์สีเหลืองเหมือนกันในเวลานั้นคือ วินนี่-เดอะ-พูห์ เท่านั้น[13] แม้ว่าทะจิริจะรู้ว่าตัวละครได้รับความนิยมจากทั้งเด็กชายและเด็กหญิง แต่เขาไม่ได้เป็นเจ้าของแนวคิดที่ว่าจะให้พิคาชูเป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ ทางบริษัทมีส่วนในการสร้างซีรีส์อนิเมะ บริษัทโอแอลเอ็มแนะนำเกมฟรีกให้ใช้ศักยภาพของพิคาชูให้เป็นประโยชน์ และกล่าวว่าเขารู้สึกว่าเด็ก ๆ ชาวญี่ปุ่นที่ชื่นชอบพิคาชู ไม่ได้สนใจมุมมองของคนที่มีต่อซีรีส์อยู่แล้ว[14] เดิมพิคาชูจะมีร่างวิวัฒนาการร่างที่สองชื่อ โกโรชู ตั้งใจจะให้พัฒนาจากไรชู[15][16]
การปรากฏตัว
[แก้]ในวิดีโอเกม
[แก้]ในวิดีโอเกม พิคาชูเป็นโปเกมอนระดับล่าง ปรากฏในเกมในธรรมชาติทุกภาคยกเว้นภาคแบล็ก และ ไวต์ ซึ่งต้องแลกเปลี่ยนเท่านั้น[17] โปเกมอน เยลโลว์จะมีพิคาชูเป็นโปเกมอนเริ่มต้นเพียงตัวเดียว และอิงจากพิคาชูในอนิเมะ พิคาชูจะไม่ยอมเข้ามอนสเตอร์บอลหรือโปเกบอล แต่จะเดินตามตัวละครหลักบนหน้าจอแทน เทรนเนอร์สามารถพูดคุยกับมันและมันจะแสดงปฏิกิริยาต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู[18] โปเกมอน เยลโลว์ มีเนื้อเรื่องตามอย่างซีรีส์อนิเมะ โดยมีพิคาชูเป็นศูนย์กลางของเกม[19]
ในโปเกมอนภาคเอเมอรัลด์ พิคาชูและสายวิวัฒนาการจะมีท่า โวลต์แทกเคิล (Volt Tackle) เป็นท่าลายเซ็น เรียนรู้จากพิชูที่ฟักจากไข่ที่เกิดจากพิคาชูหรือไรชูที่ถือไลต์บอล หรือเรียนรู้จากอีเวนต์และครูสอนท่า ณ อีเวนต์ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 อนุญาตให้ผู้เล่นโปเกมอนฮาร์ตโกลด์ และโซลซิลเวอร์ เข้าไปในเส้นทางผ่านเครื่องโปเกวอล์กเกอร์ ซึ่งจะมีพิคาชูที่จดจำท่าโจมตีที่ปกติจะไม่สามารถจดจำได้ นั่นคือ โต้คลื่น (Surf) และ บินโฉบ (Fly) [20] ทั้งสองท่านี้เป็นตัวช่วยเดินทาง สามารถใช้นอกการต่อสู้ได้ พิคาชูสวมหมวกแก๊ปเจ็ดแบบ ซึ่งเป็นหมวกแก๊ปของซาโตชิ ตัวเอกจากอนิเมะตลอดซีซัน จำหน่ายกับเกมโปเกมอนภาคซันและมูน และโปเกมอนภาคอัลตราซันและอัลตรามูน[21] เกมยังออกซีคริสตัลสองชิ้น ออกพิเศษสำหรับพิคาชู มีชื่อว่า พิคาเนียม ซี ซึ่งอัปเกรดท่าโวลต์แทกเคิลเป็นคาทาสโตรพิกา (Catastropika) และพิคาชูเนียม ซี[22] ซึ่งอัปเกรดท่าธันเดอร์โบลต์ เป็นท่า ธันเดอร์โบลต์ 10,000,000 โวลต์ เมื่อให้พิคาชูสวมหมวกแก๊ปถือไว้
นอกจากซีรีส์หลักของเกมแล้ว พิคาชูยังปรากฏในเกม เฮย์ยูพิคาชู บนเครื่องนินเทนโด 64[23] ผู้เล่นสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับพิคาชูผ่านไมโครโฟน ออกคำสั่งให้เล่นมินิเกมต่าง ๆ และแสดงความคิดในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ เกมโปเกมอนแชนเนลก็เกี่ยวข้องกับการปฏิสัมพันธ์กับพิคาชูเช่นกัน แต่ไม่ใช้ไมโครโฟน[24] พิคาชูปรากฏในทุกด่านของเกมโปเกมอนสแนป ซึ่งผู้เล่นจะต้องถ่ายภาพโปเกมอนเพื่อเก็บคะแนน พิคาชูเป็นหนึ่งใน 16 โปเกมอนเริ่มต้น และ 10 คู่หูในเกมโปเกมอนมิสเตอรีดันเจียน พิคาชูยังเป็นตัวละครหลักในเกมโปเกปาร์กวี: พิคาชูส์แอดเวนเชอร์[25] และปรากฏเป็นตัวละครที่เล่นได้ในเกมซูเปอร์สแมชบราเธอส์ ทั้งหมดห้าเกม[26] โปเกมอนเป็นตัวละครของโพรโตคอลอะมีโบ (Amiibo) ด้วย พิคาชูเป็นตัวละครที่เล่นได้ในเกมโพกเคนทัวร์นาเมนต์ ร่วมกับ "พิคาชู ลิเบร" ยึดจาก "คอสเพลย์พิคาชู" จากภาคโอเมการูบี และอัลฟาแซฟไฟร์[27][28] เกม ดีเท็กทิฟพิคาชู เสนอพิคาชูในบทบาทนักสืบและช่วยไขปริศนา[29]
โปเกมอน เล็ตส์โกพิคาชู! และเล็ตส์โกอีวุย! สร้างตามแบบภาคเยลโลว์ มีพิคาชูเป็นหนึ่งในโปเกมอนเริ่มต้น โดยอีกภาคใช้อีบุยแทน[30]
ในอนิเมะ
[แก้]ซีรีส์อนิเมะและภาพยนตร์โปเกมอนนำเสนอการเดินทางของซาโตชิ หรือแอช เค็ตชัม (Ash Ketchum) ไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ในจักรวาลโปเกมอน เขาเดินทางพร้อมกับกลุ่มเพื่อนร่วมทางที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ได้แก่ คาสึมื ทาเคชิ เค็นจิ ฮารุกะ มาซาโตะ ฮิคาริ ไอริส เด็นโตะ ยูเรกะ เซเรนา และซิตรอน
ในตอนแรก เด็กชายจากเมืองมาซาระ อายุครบ 10 ปีและพร้อมที่จะได้รับโปเกมอนตัวแรก เนื่องจากตั้งใจจะเป็นโปเกมอนมาสเตอร์ คืนก่อนที่เขาได้รับโปเกมอนเริ่มต้น (เซนิกาเมะ ฮิโตะคาเงะ หรือฟุชิงิดาเนะ ตัวใดตัวหนึ่ง) เขาฝันว่าได้รับโปเกมอนและละเมอทำลายนาฬิกาปลุกของเขา ซาโตชิวิ่งไปที่ห้องทดลองของศาสตราจารย์ออคิโด ซึ่งพบว่าโปเกมอนเริ่มต้นถูกแจกให้คนอื่นไปแล้ว ศาสตราจารย์ออคิโดบอกซาโตชิว่ายังมีโปเกมอนเหลืออยู่ตัวหนึ่ง คือ พิคาชู เพศผู้ ทีแรก พิคาชูดื้อและไม่เชื่อฟังซาโตชิ ปล่อยกระแสไฟฟ้าใส่เขาบ่อยครั้งและไม่ยอมเข้าไปอยู่ในมอนสเตอร์บอลเหมือนกับโปเกมอนตัวอื่น ๆ แม้กระนั้น ซาโตชิเสี่ยงชีวิตตัวเองเพื่อปกป้องพิคาชูจากฝูงโอนิซุซุเมะ[31] จากนั้นรีบพาพิคาชูไปรักษาตัวที่โปเกมอนเซ็นเตอร์ เนื่องจากซาโตชิสาธิตความเชื่อถือและความมุ่งมั่นแบบไร้เงื่อนไขต่อโปเกมอน พิคาชูจึงเริ่มใส่ใจซาโตชิ และมิตรภาพระหว่างเขาก็เกิดขึ้น แต่พิคาชูยังคงไม่ยอมเข้าไปอยู่ในมอสเตอร์บอล หลังจากนั้นไม่นานพิคาชูแสดงพลังยิ่งใหญ่ซึ่งโดดเด่นจากโปเกมอน หรือแม้แต่พิคาชูตัวอื่น ทำให้ทีมร็อกเก็ตพยายามแย่งชิงตัวพิคาชูเพื่อสนองความต้องการของหัวหน้าซาคากิให้ได้[32] ครั้งหนึ่ง ซาโตชิเกือบปล่อยตัวพิคาชู ในตอน Pikachu's Goodbye เพราะซาโตชิคิดว่าพิคาชูคงจะมีความสุขมากกว่าถ้าได้อยู่กับฝูงพิคาชูป่า แต่พิคาชูเลือกที่จะอยู่กับเขาแทน[33] พิคาชูยังปรากฏในช่วงพิเศษในสองซีซันแรก เรียกว่า "พิคาชูส์จูกบอกซ์" ซึ่งมีเพลงจากอัลบั้ม 2.บี.เอ.มาสเตอร์ ด้วย
ในซีรีส์ยังมีพิคาชูป่า และพิคาชูที่มีเจ้าของตัวอื่นด้วย มักจะมีบทบาทร่วมกับซาโตชิและพิคาชูของเขาด้วย ที่โดดเด่นคือพิคาชูของฮิโรชิ ชื่อสปาร์กี[34] พิคาชูสื่อสารกันด้วยการพูดคำจากชื่อตัวเอง เหมือนกับโปเกมอนส่วนใหญ่ ในอนิเมะ ผู้ให้เสียงพิคาชูคืออิคูเอะ โอตานิ ในโปเกมอนไลฟ์ ที่เป็นละครเพลงเวทีที่ดัดแปลงจากอนิเมะ ผู้รับบทเป็นพิคาชูคือ เจนนิเฟอร์ ริสเซอร์
ในภาพยนตร์
[แก้]ตัวละคร ยอดนักสืบพิคาชู พากย์เสียงโดยไรอัน เรย์โนลส์ ในภาพยนตร์ โปเกมอน ยอดนักสืบพิคาชู ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2019
ในสื่ออื่น
[แก้]พิคาชูเป็นหนึ่งในโปเกมอนหลักในซีรีส์มังงะโปเกมอนหลายซีรีส์ ในโปเกมอนสเปเชียล ตัวละครหลัก เรดโดะ และอิเอะโระ ทั้งคู่ต่างเลี้ยงพิคาชู เกิดเป็นไข่ซึ่งโกรุโดะฟักออกมาเป็นพีชู ในซีรีส์อื่น เช่น เมจิคัลโปเกมอนเจอร์นีย์ และเก็ตโตดาเซ นำเสนอพิคาชูเช่นกัน ขณะที่ในมังงะซีรีส์อื่น เช่น อิเล็กทริกเทลออฟพิคาชู[35] และ แอชแอนด์พิคาชู นำเสนอพิคาชูของซาโตชิตัวเดียวกับในอนิเมะ[35]
การ์ดสะสมที่มีรูปพิคาชูปรากฏขึ้นมาในโปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกมรุ่นแรก ออกจำหน่ายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1996 รวมถึงการ์ดรุ่นที่มีจำกัดด้วย พิคาชูยังถูกนำไปใช้ส่งเสริมสินค้าร้านอาหารจานด่วนต่าง ๆ เช่น แมคโดนัลด์ เวนดีส์ และเบอร์เกอร์คิง ด้วย[36][37][38][39]
การส่งเสริมและอนุสรณ์
[แก้]ในฐานะการ์ตูนสัญลักษณ์ของแฟรนไชส์ พิคาชูปรากฏตัวในเหตุการณ์ และสินค้าต่าง ๆ หลายครั้ง ใน ค.ศ. 1998 โจอัน แวกนอน นายกเทศมนตรีของเมืองโทพีกา รัฐแคนซัส เปลี่ยนชื่อเมืองให้เป็น "โทพิคาชู" (Topikachu) หนึ่งวัน[40] และในโฆษณาชุด "Got Milk?" ก็มีพิคาชูปรากฏอยู่ในวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2000[41] ในขบวนพาเหรดเมซีส์แธงส์กิฟวิงเดย์พาเหรด นำเสนอบอลลูนลายพิคาชูตั้งแต่ ค.ศ. 2001[42] บอลลูนแบบดั้งเดิมลอยต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งสุดท้ายในงานครบรอบสิบปีของโปเกมอน ชื่อว่า "ปาร์ตีออฟเดอะเดเคด" (Party of the Decade) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2006 ที่สวนไบรแอนต์ในนครนิวยอร์ก[43][44][45][46] และบอลลูนพิคาชูแบบใหม่ที่กำลังไล่ตามมอนสเตอร์บอลและมีแก้มสีโทนสว่างปรากฏตัวครั้งแรกในขบวนพาเหรด ค.ศ. 2006[47] ในขบวนพาเหรด ค.ศ. 2014 บอลลูนพิคาชูแบบใหม่สวมผ้าพันคอสีเขียวและกำลังถือพิคาชูสโนว์แมนตัวเล็กอยู่[48]
ในตอนแรกของซีรีส์ที่ 11 ของซีรีส์เรื่องท็อปเกียร์ พิธีกร ริชาร์ด แฮมมอนด์เปรียบภาพของรถยนต์รุ่นทาทา นาโน กับพิคาชูตัวหนึ่ง โดยกล่าวว่า "พวกเขาประหยัดเงินในการออกแบบ เพราะเขายึดพิคาชูเป็นต้นแบบ"[49] ในตอนชื่อ "Dual" ในซีซีนที่สามของเรื่อง ฮีโร่ส์ แดฟนี มิลล์บรุก ตั้งชื่อเล่นให้ฮิโระ นากามุระ ว่า "พิคาชู" ทำให้เขาละอายใจมาก เทรซี สเตราส์ เรียกเขาด้วยชื่อนี้อีกครั้งหลังจากเขากล่าวขอโทษก่อนที่จะต่อยหน้าเธอ[50][51] ตัวละครล้อเลียนพิคาชูตัวหนึ่งชื่อ หลิงหลิง เป็นตัวละครหลักในละครดรอนทูเก็ตเดอร์ ทางช่องคอเมดีเซนทรัล บนตัวเครื่องบินรุ่นโบอิง 747-400 ของสายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์ (JA8962) มีรูปพิคาชูอยู่ด้วย[52]
พิคาชูปรากฏตัวหลายครั้งในซีรีส์เดอะซิมป์สันส์ ในตอน "Bart vs. Lisa vs. the Third Grade" ค.ศ. 2002 บาร์ต ซิมป์สันมีภาพหลอนขณะทำข้อสอบในห้องเรียนและมองเห็นเพื่อนในห้องเป็นตัวละครในรายการโทรทัศน์หลายตัว หนึ่งในนั้นคือพิคาชู[53] แมกกี ซิมป์สัน กลายเป็นพิคาชูในมุขโซฟาหรือคาวช์แก็ก (couch gag) ในช่วงเปิดเรื่องของตอน 'Tis the Fifteenth Season" ค.ศ. 2003[54] มุขโซฟามุขดังกล่าวได้กลับมาใช้อีกครั้งในตอน "Fraudcast News" ค.ศ. 2004[55] ในตอน "Postcards from the Wedge" ค.ศ. 2010 ขณะบาร์ตทำการบ้าน โปเกมอนตอนหนึ่งเบี่ยงเบนความสนใจของเขา หลังจากกำลังชมฉากที่ซาโตชิกำลังคุยกับพิคาชู เขาครุ่นคิดว่าการ์ตูนเรื่องโปเกมอนสามารถฉายอยู่ได้อย่างไรเป็นเวลาหลายปี[56]
นิตยสารไทม์จัดอันดับให้พิคาชูเป็นบุคคลดีเด่นอันดับที่สองประจำปี ค.ศ. 1999 เรียกพิคาชูว่าเป็น "ตัวละครแอนิเมชันที่เป็นที่รักที่สุดนับตั้งแต่มีเฮลโลคิตตีมา" นิตยสารชี้ว่าพิคาชูเป็น "หน้าตาสาธารณชนของปรากฏการณ์ที่แพร่หลายจากวิดีโอเกมที่ขายดีที่สุดของนินเทนโด จนกลายเป็นอาณาจักรการ์ดเกม" กล่าวว่าสาเหตุของการจัดอันดับมาจากการทำกำไรให้แฟรนไชส์ได้ในปีนั้น รองจากริกกี มาร์ติน และนำหน้านักเขียน เจ.เค. โรว์ลิง[57] พิคาชูอยู่อันดับที่ 8 จากผลสำรวจตัวละครแอนิเมชันตัวโปรด จัดทำโดยแอนิแมกซ์ ใน ค.ศ. 2002 พิคาชูของซาโตชิอยู่อันดับที่ 15 จากรายชื่อตัวละครการ์ตูนที่ดีที่สุดตลอดกาล จัดทำโดยนิตยสารทีวีไกด์[58] เว็บไซต์เกมสปอต กล่าวถึงพิคาชูในบทความ "ฮีโร่จากเกมที่ดีที่สุดตลอดกาล"[59] ใน ค.ศ. 2003 นิตยสารฟอบส์ตัดอันดับพิคาชูให้เป็นตัวละครในบันเทิงคดีที่ทำรายได้สูงสุดอันดับที่แปดด้วยรายได้ 825 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[60] ใน ค.ศ. 2004 พิคาชูตกอันดับลงมา 2 อันดับ อยู่อันดับที่ 10 ทำรายได้อีก 825 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นปีที่สองติดต่อกัน[61] ในผลสำรวจ ค.ศ. 2008 ของออริคอน พิคาชูได้รับโหวตเป็นตัวละครจากวิดีโอเกมที่เป็นที่นิยมที่สุดอันดับที่ 4 ในญี่ปุ่น ร่วมกับโซลิดสเนก[62] พิคาชูยังถือเป็นมิกกี้ เมาส์ในแบบฉบับของญี่ปุ่น[63] และเป็นส่วนหนึ่งในการเคลื่อนไหว "ทุนนิยมน่ารัก" (cute capitalism) [52] พิคาชูติดอันดับที่ 8 ในรายชื่อ "ตัวละครอนิเมะ 25 ตัวยอดเยี่ยมตลอดกาล" จัดทำโดยไอจีเอ็น[64] นิตยสารนินเทนโดเพาเวอร์จัดว่าพิคาชูเป็นฮีโรตัวโปรดอันดับที่ 9 กล่าวว่า แม้ว่ามันจะเป็นหนึ่งในโปเกมอนรุ่นแรก ๆ แต่มันก็ยังเป็นที่นิยมในทุกวันนี้[65] นักเขียน เทรซี เวสต์ และแคตเธอรีน โนลล์ เรียกพิคาชูว่าเป็นโปเกมอนรูปแบบไฟฟ้าที่ดีที่สุด และเป็นโปเกมอนที่ดีที่สุดจากทั้งหมดทั้งมวล เขาเสริมว่าถ้าคนคนหนึ่งถามผู้เล่นเกมโปเกมอนว่าโปเกมอนตัวโปรดของเขาคือตัวอะไร พวกเขา "คงจะ" เลือกพิคาชู เขายังเห็นว่าพิคาชู "กล้าหาญและจงรักภักดี"[66] ในคำกล่าวที่ไม่ใช่ด้านดี พิคาชูจัดว่าเป็นตัวละครการ์ตูนในยุค 1990 ที่น่ารำคาญที่สุดอันดับหนึ่ง[67] จัดทำโดยเว็บท่าอาสก์เมน[68] เช่นเดียวกัน ในผลสำรวจที่ไอจีเอ็นทำขึ้น พิคาชูเป็นโปเกมอนที่ดีที่สุดอันดับที่ 48 โดยมีพนักงานให้ความเห็นว่า "แม้ว่าจะเป็นโปเกมอนที่เป็นที่จดจำที่สุดในโลก พิคาชูกลับอยู่อันดับต่ำใน 100 อันดับอย่างน่าประหลาดใจ"[69]
สารลิแกนด์ที่เพิ่งถูกค้นพบซึ่งเชื่อกันว่าช่วยทำให้สายตาแหลมคม ค้นพบโดยมูลนิธิสถาบันชีวเคมีโอซากา (ญี่ปุ่น: Osaka Bioscience Institute Foundation; โรมาจิ: 大阪バイオサイエンス研究所) ได้ชื่อว่า "พิกะชูริน" (Pikachurin) ยืมชื่อมาความว่องไวของพิคาชู[70] เนื่องจากพิคาชูมี "การเคลื่อนไหวไวเท่าแสงและเอฟเฟกต์ไฟฟ้าช็อต"[71]
พิคาชูและโปเกมอนอื่น ๆ อีก 10 ชนิดเคยถูกเลือกให้เป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ในฟุตบอลโลก 2014[72] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2017 เดอะโปเกมอนคอมพานีหุ้นส่วนกับบริษัทสแนปในการนำพิคาชูมาใช้กับโปรแกรมประยุกต์สื่อสังคม สแนปแชต[73] นักเขียนมังงะ ฮิโระ มะชิมะ กล่าวถึงพิคาชูว่าเป็น "ตัวละครสัญลักษณ์ยอดเยี่ยมตลอดกาล" เมื่อเขาพูดถึงการใส่ตัวละครประเภทดังกล่าวลงในซีรีส์[74]
เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "PokemonThailand". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-22. สืบค้นเมื่อ 2018-05-18.
- ↑ Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red and Blue, Instruction manual. Nintendo. pp. 6–7.
- ↑ Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red and Blue, Instruction manual. Nintendo. p. 11.
- ↑ Sarkar, Samit (May 29, 2013). "Harvest Moon creator's Hometown Story leads Natsume's E3 slate". Polygon. Vox Media. สืบค้นเมื่อ March 7, 2016.
- ↑ Bailey, Kat (September 16, 2015). "The New Zygarde Form is a Reminder of How Hard it is to Design a Good Pokémon". USGamer.net. Gamer Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2016. สืบค้นเมื่อ March 7, 2016.
- ↑ Staff. "2. 一新されたポケモンの世界". Nintendo.com (ภาษาญี่ปุ่น). Nintendo. p. 2. สืบค้นเมื่อ 2010-09-10.
- ↑ Stuart Bishop (2003-05-30). "Game Freak on Pokémon!". CVG. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-08. สืบค้นเมื่อ 2008-02-07.
- ↑ "The Ultimate Game Freak". Time Asia. 154 (20): 2. November 22, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-10. สืบค้นเมื่อ September 25, 2009.
- ↑ https://kotaku.com/pikachu-wasnt-based-on-a-mouse-but-a-squirrel-1825738117
- ↑ Noble, McKinley (2009-03-23). "Pokemon Platinum: Developer Interview!". GamePro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-27. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
- ↑ 『ポケットモンスター』スタッフインタビュー (ภาษาญี่ปุ่น). Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2000-10-18. สืบค้นเมื่อ June 6, 2009.
- ↑ Game Freak (2007-04-22). Pokémon Diamond (Nintendo DS). Nintendo.
- ↑ Tobin 2004, pp. 63–64.
- ↑ "The Ultimate Game Freak". Time. Vol. 154 no. 20. November 22, 1999. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-01. สืบค้นเมื่อ December 24, 2021.
- ↑ "Pikachu Originally Had A Second Evolution Called 'Gorochu' With Large Fangs And Two Horns". May 3, 2018.
- ↑ Knezevic, Kevin (2018-10-15). "Don't Expect Pikachu's Lost Evolution, Gorochu, To Appear In A Pokemon Game". GameSpot (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-10-16.
- ↑ "Pikachu Pokemon – Pokedex". IGN. 2013-12-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-14. สืบค้นเมื่อ 2014-01-01.
- ↑ Craig Harris (October 19, 1999). "Pokemon Yellow: Special Pikachu Edition – Game Boy Review at IGN". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-26. สืบค้นเมื่อ 2010-12-09.
- ↑ Shinn, Gini (2004). "Case Study: First Generation Pokèmon Games for the Nintendo Game Boy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 7, 2022. สืบค้นเมื่อ September 18, 2021.
- ↑ Lucas M. Thomas (April 1, 2010). "Take a Pokewalk Through the Yellow Forest – Nintendo DS News at IGN". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-26. สืบค้นเมื่อ 2010-12-09.
- ↑ "Pokémon Sun and Moon players have one week to get Pikachu clad in Ash's original hat". Polygon. สืบค้นเมื่อ 2018-09-24.
- ↑ Knezevic, Kevin (2017-10-24). "Last Free Pikachu For Pokemon Sun And Moon Available Now For A Limited Time". GameSpot (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-09-24.
- ↑ Hey You, Pikachu! Nintendo.com'.' Retrieved July 17, 2006.
- ↑ Mary Jane Irwin (December 4, 2003). "Pokemon Channel – GameCube Review at IGN". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-26. สืบค้นเมื่อ 2010-12-09.
- ↑ Nintendo officially announces PokePark Wii Joystiq.com'.' Retrieved February 27, 2010.
- ↑ Nintendo Power Magazine
- ↑ "Pikachu, Suicune, and Gardevoir announced for Pokkn Tournament". Destructoid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-08. สืบค้นเมื่อ 2016-02-12.
- ↑ "'Pokkén Tournament' To Be Released On Wii U Next Year". Forbes. 21 August 2015.
- ↑ "Bizarre Pokémon game Detective Pikachu is real, out next week in Japan". Eurogamer. 26 January 2016.
- ↑ Plagge, Kallie (May 29, 2018). "Pokemon Let's Go Pikachu And Let's Go Eevee Announced For Nintendo Switch". GameSpot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2018. สืบค้นเมื่อ May 30, 2018.
- ↑ Takeshi Shudō (writer) (September 8, 1998). "Pokémon - I Choose You!". Pokémon. ฤดูกาล Indigo League. ตอน 1. Various.
- ↑ Shinzō Fujita (writer) (September 9, 1998). "Pokémon Emergency!". Pokémon. ฤดูกาล Indigo League. ตอน 2. Various.
- ↑ Junki Takegami (writer) (November 20, 1998). "Pikachu's Goodbye". Pokémon. ฤดูกาล Indigo League. ตอน 37. Various.
- ↑ Shōji Yonemura (writer) (November 20, 1999). "A Friend In Deed". Pokémon. ฤดูกาล Indigo League. ตอน 78. Various.
- ↑ 35.0 35.1 "Animerica Interview Toshihiro Ono." VIZ Media. May 10, 2000. Retrieved on May 31, 2009.
- ↑ "The Pojo – TCG Set Lists McDonald's Campaign Expansion Set". สืบค้นเมื่อ 2008-06-04.
- ↑ "Fastfoodtoys.Net Pokémon 2000 Toys". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-06. สืบค้นเมื่อ 2008-06-04.
- ↑ "Restaurant chain entertainment promotions monitor, June 2003". Entertainment Marketing Letter. June 1, 2003. สืบค้นเมื่อ 2009-06-30.
- ↑ "Pokemon at Wendy's Promotion Begins!". May 20, 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-12. สืบค้นเมื่อ 2009-06-30.
- ↑ Staff (November 1999). "What's the Deal with Pokémon?". Electronic Gaming Monthly (124): 172.
- ↑ "Pikachu Guzzles Milk to Become Most Powerful Pokemon". Business Wire. 2000-05-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-06. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.
- ↑ Macy's Thanksgiving Day Parade เก็บถาวร 2012-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Ncytourist.com'.' Retrieved July 17, 2006.
- ↑ Zappia, Corina (August 8, 2006). "How Has Pokémon Not Died Yet?". NY Mirror. The Village Voice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 12, 2014. สืบค้นเมื่อ 2009-05-18.
- ↑ Clark, Roger (August 8, 2006). "Pokemon Mania Takes Over Bryant Park". NY1 News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-18. สืบค้นเมื่อ 2009-05-18.
- ↑ Sekula, Anna (August 17, 2006). "Gamers Crowd Bryant Park for Pokemon Tournament". BizBash. BizBash Media Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 21, 2012. สืบค้นเมื่อ 2009-05-18.
- ↑ "Pokémon Party of the Decade". Bryantpark.org. 2010-12-05. สืบค้นเมื่อ 2010-12-13.
- ↑ Whitt, Tom (2006-05-23). "Pikachu Soars as Trial Balloon for a Safer Macy's Parade". สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.
- ↑ LeBoeuf, Sarah (3 November 2014). "Holiday-Themed Pikachu Making Debut in Macy's Thanksgiving Day Parade". Defy Media, LLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-04. สืบค้นเมื่อ 27 November 2014.
- ↑ Jeremy Clarkson, Richard Hammond, James May, The Stig (22 June 2008). "Series 11, episode 1". Top Gear. Dunsfold Park. BBC 2.
- ↑ Kubicek, John (December 15, 2008). "Heroes: Episode 3.13 "Dual, " Volume 3 Finale Recap (Page 2/3)". Buddy TV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-17. สืบค้นเมื่อ 4 March 2012.
- ↑ "Dual". TV.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-17. สืบค้นเมื่อ 4 March 2012.
- ↑ 52.0 52.1 Allison, Anne (2002) The Cultural Politics of Pokémon Capitalism Media in Transition 2: globalization and convergence เก็บถาวร เมษายน 19, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Steven Dean Moore (Director) (17 November 2002). "Bart vs. Lisa vs. The Third Grade". The Simpsons. ฤดูกาล 14. ตอน 3. Fox.
- ↑ Steven Dean Moore (Director) (14 December 2003). "'Tis the Fifteenth Season". The Simpsons. ฤดูกาล 15. ตอน 7. Fox.
- ↑ Bob Anderson (Director) (23 May 2004). "Fraudcast News". The Simpsons. ฤดูกาล 15. ตอน 22. Fox.
- ↑ Mark Kirkland (Director) (14 March 2010). "Postcards from the Wedge". The Simpsons. ฤดูกาล 21. ตอน 14. Fox.
- ↑ "The Best (and Worst) of 1999: The Best People of 1999". Time. Vol. 154 no. 24. 1999-12-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2010-03-05.
- ↑ "TV Guide's 50 greatest cartoon characters of all time. Retrieved April 17, 2009. เก็บถาวร ธันวาคม 27, 2005 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "All Time Greatest Game Hero – The Standings". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 18, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-09-15.
- ↑ Gisquet, Vanessa; Lagorce, Aude (2003-09-25). "Top-Earning Fictional Characters". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2010-03-05.
- ↑ Gisquet, Vanessa; Rose, Lacey (2004-10-19). "Top Characters Gross $25B". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2010-03-05.
- ↑ Ashcraft, Brian (2009-10-04). "And Japan's Favorite Video Game Characters Are...?". Kotaku. สืบค้นเมื่อ 2009-09-12.
- ↑ Tobin, Joseph (2002). "Pikachu's Global Adventure". ใน Cecilla von Feilitzen & Ulla Carlsson (บ.ก.). Children, Young People and Media Globalisation (PDF). UNESCO. pp. 53–67. ISBN 91-89471-15-6. ISSN 1403-4700. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-12. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
- ↑ Chris Mackenzie (October 20, 2009). "Top 25 Anime Characters of All Time – Movies Feature at IGN". IGN. สืบค้นเมื่อ 2010-12-09.
- ↑ Nintendo Power 250th issue!. South San Francisco, California: Future US. 2010. pp. 40, 41.
- ↑ West, Tracey; Noll, Katherine (2007). Pokémon Top 10 Handbook. pp. 20, 78. ISBN 9780545001618. สืบค้นเมื่อ 2011-04-30.
- ↑ Murphy, Ryan. "Top 10: Irritating '90s Cartoon Characters". AskMen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-18. สืบค้นเมื่อ July 7, 2012.
- ↑ Murphy, Ryan. "Top 10: Irritating '90s Cartoon Characters". AskMen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-18. สืบค้นเมื่อ July 7, 2012.
- ↑ "Pikachu – #48 Top Pokémon – IGN". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-24. สืบค้นเมื่อ 2012-06-26.
- ↑ "Pikachurin, a dystroglycan ligand, is essential for photoreceptor ribbon synapse formation". Nature (journal). 2008-07-20. สืบค้นเมื่อ 2008-07-21.
- ↑ Levenstein, Steve (2008-07-24). "Lightning-Fast Vision Protein Named After Pikachu". Inventor Spot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-11. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.
- ↑ Salvador Borboa (March 12, 2014). "Pikachu Named Japan's Official Mascot In Brazil 2014 World Cup". The Beautiful Game LLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-12. สืบค้นเมื่อ March 17, 2014.
- ↑ "Snapchat adds a Pikachu filter for your kawaii pokémon needs". The Verge. August 14, 2017. สืบค้นเมื่อ August 17, 2017.
- ↑ "New York Comic-Con 2017: Q&A with Fairy Tail Creator Hiro Mashima". Anime News Network. October 6, 2017. สืบค้นเมื่อ October 8, 2017.
บรรณานุกรม
[แก้]- Loe, Casey, ed. Pokémon Special Pikachu Edition Official Perfect Guide. Sunnydale, California: Empire 21 Publishing, 1999.
- Barbo, Maria. The Official Pokémon Handbook. Scholastic Publishing, 1999. ISBN 0-439-15404-9.
- Mylonas, Eric. Pokémon Pokédex Collector's Edition: Prima's Official Pokémon Guide. Prima Games, September 21, 2004. ISBN 0-7615-4761-4
- Nintendo Power. Official Nintendo Pokémon FireRed Version & Pokémon LeafGreen Version Player's Guide. Nintendo of America Inc., August 2004. ISBN 1-930206-50-X
- Nintendo Power. Official Nintendo Pokémon Emerald Player's Guide. Nintendo of America Inc., April 2005. ISBN 1-930206-58-5
- Tobin, Joseph Jay, บ.ก. (2004). Pikachu's Global Adventure: The Rise and Fall of Pokémon. Duke University Press. ISBN 978-0-8223-3287-9.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Ashcraft, Brian (July 28, 2021). "Japanese Fans Thought Olympians Were 'Pikachu' And 'Raichu'". Kotaku.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ตัวละครในโปเกมอน
- ตัวละครในการ์ตูนทีวีแอนิเมชัน
- สายพันธุ์โปเกมอน
- โปเกมอนเริ่มต้น
- ตัวละครที่เป็นหนู
- หนูที่มีชื่อเสียง
- ตัวละครที่เป็นนักสืบ
- ตัวละครหลักของนินเทนโด
- ตัวละครของวิดีโอเกมที่เปิดตัวในปี พ.ศ. 2539
- ตัวละครในบันเทิงคดีที่มีความสามารถเกี่ยวกับไฟฟ้าหรือแม่เหล็ก
- ตัวละครวิดีโอเกมที่มีความสามารถเกี่ยวกับไฟฟ้าหรือแม่เหล็ก
- ตัวละครในบันเทิงคดีที่สามารถเปลี่ยนแปลงขนาด
- สัญลักษณ์นำโชควิดีโอเกม
- มาสคอตอนิเมะและมังงะ
- ตัวละครที่สร้างโดยอัตสึโกะ นิชิดะ