ข้ามไปเนื้อหา

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว4 มีนาคม พ.ศ. 2566
ระบบสุดท้ายสลายตัวฤดูกาลดำเนินอยู่
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อมาวาร์ และ บอละเวน
 • ลมแรงสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด900 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด26 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด15 ลูก
พายุไต้ฝุ่น10 ลูก
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น4 ลูก (ไม่เป็นทางการ)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด187 คน
ความเสียหายทั้งหมด1.73 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี พ.ศ. 2566)
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก
2564, 2565, 2566, 2567 , 2568

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 เป็นเหตุการณ์ในรอบวัฎจักรของการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในปัจจุบันของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวลากยาวตลอด พ.ศ. 2566 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม

ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมของสหรัฐอเมริกายังได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย

การพยากรณ์ฤดูกาล

[แก้]
วันที่พยากรณ์โดย
TSR
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
จำนวน
พายุรุนแรง
ดัชนีเอซีอี อ้างอิง
เฉลี่ย (2508–2565) 25.7 ลูก 16.1 ลูก 8.7 ลูก 290 หน่วย [1]
5 พฤษภาคม 2565 29 ลูก 19 ลูก 13 ลูก 394 หน่วย [1]
7 กรกฎาคม 2565 29 ลูก 19 ลูก 12 ลูก 382 หน่วย [2]
วันที่พยากรณ์โดย
ศูนย์พยากรณ์อื่น
ศูนย์พยากรณ์ ช่วงเวลา ระบบพายุ อ้างอิง
13 มกราคม 2566 PAGASA มกราคม–มีนาคม 0–2 ลูก [3]
13 มกราคม 2564 PAGASA เมษายน–มิถุนายน 2–4 ลูก [3]
ฤดูกาล 2566 ศูนย์พยากรณ์ พายุหมุน
เขตร้อน
พายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่น อ้างอิง
เกิดขึ้นจริง: JMA 9 ลูก 5 ลูก 2 ลูก
เกิดขึ้นจริง: JTWC 5 ลูก 5 ลูก 3 ลูก

ในระหว่างฤดูกาล หลายหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศจะมีการคาดการณ์ของพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น ที่จะก่อตัวในช่วงฤดู และ/หรือ จะมีพายุกี่ลูกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้น หลายหน่วยงานนี้ได้รวมไปถึงองค์กรความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย การพยากรณ์แรกของปีได้รับการเผยแพร่โดย PAGASA เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2566 ในคาดการณ์ภูมิอากาศรายฤดูประจำเดือนเป็นการคาดการณ์ช่วงครึ่งแรกของฤดูกาล 2566 หน่วยงานคาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเพียง 0–2 ลูกที่เข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ในระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม ขณะเดือนเมษายนถึงมิถุนายนจะมีพายุหมุนเขตร้อน 2–4 ลูก นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่าสภาวะลานีญากำลังอ่อนนั้นจะดำเนินต่อไปและจะเปลี่ยนกลับไปเป็นสภาวะเป็นกลางในภายหลัง[3]

วันที่ 5 พฤษภาคม องค์กรความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ออกการคาดการณ์ฉบับแรกของฤดูกาล 2566 ซึ่งคาดว่าสภาวะเอลนีโญกำลังปานกลางถึงแรงจะพัฒนาชึ้นและคงอยู่ไปตลอดเดือนตุลาคม โดย TSR คาดว่ากิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนในฤดูกาล 2566 จะสูงกว่าค่าเฉลี่ย มีพายุโซนร้อนเกิดขึ้นจำนวน 29 ลูก ในจำนวนนั้นมีกำลังเป็นถึงพายุไต้ฝุ่นได้ 19 ลูก และในจำนวนนั้นจะเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรง 13 ลูก[1] โดย TSR ยังคงไว้ที่การคาดการณ์นี้ในการคาดการณ์ฉบับเดือนกรกฎาคม เว้นแต่ปรับลดจำนวนพายุรุนแรงลงเหลือ 12 ลูก[2]

ภาพรวมฤดูกาล

[แก้]
Typhoon Lan (2023)Typhoon Khanun (2023)Typhoon DoksuriTropical Storm Talim (2023)Typhoon Mawar

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (คณะกรรมการไต้ฝุ่น)
  พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (118–156 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (157–193 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (≥194 กม./ชม.)

พายุ

[แก้]

พายุโซนร้อนซ้านหวู่

[แก้]
2301 (JMA)・01W (JTWC)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 19 – 22 เมษายน
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นมาวาร์

[แก้]
2302 (JMA)・02W (JTWC)・เบตตี (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 19 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นกูโชล

[แก้]
2303 (JMA)・03W (JTWC)・เชเดง (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 5 – 12 มิถุนายน
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงตาลิม

[แก้]
2304 (JMA)・04W (JTWC)・โดโดง (PAGASA)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 18 กรกฎาคม
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นทกซูรี

[แก้]
2305 (JMA)・05W (JTWC)・เอไก (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 19 – 29 กรกฎาคม
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นขนุน

[แก้]
2306 (JMA)・06W (JTWC)・ฟัลโกน (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 26 สิงหาคม – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2566
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นขนุน
  • วันที่ 26 กรกฎาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศการก่อตัวของบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำในมหาสมุทรแปซิฟิก สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มส่งสัญญาณเตือนพายุโดยประกาศว่าเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน การวิเคราะห์จากสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นบ่งชี้ว่าพายุอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาโดยมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่อบอุ่น และลมเฉือนแนวตั้งต่ำ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนสำหรับพื้นที่ที่มีการพาความร้อนทางตะวันออกของแยป
  • วันที่ 27 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้เริ่มออกคำเตือนเกี่ยวกับพายุดังกล่าว และจัดประเภทเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนเมื่อเวลา 16:00 น. (09:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ภาพถ่ายดาวเทียมพบว่าศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำของพายุได้ถูกกำหนดไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม โครงสร้างการพาความร้อนยังคงอสมมาตร
  • วันที่ 28 กรกฎาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้กำหนดให้ชื่อ ขนุน พายุได้รวมศูนย์การไหลเวียนระดับต่ำเข้ากับแถบการพาความร้อนแบบก่อตัว และการพาความร้อนแบบลึกเหนือครึ่งวงกลมทางทิศตะวันออก
  • วันที่ 29 กรกฎาคม พายุโซนร้อนขนุนได้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์เมื่อเวลา 10:00 น. (03:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า ฟัลโกน พายุได้เคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อนระดับกลางที่อยู่ใกล้เคียง จึงทำให้พายุทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 30 กรกฎาคม พายุโซนร้อนขนุนเกิดเมฆปกคลุมหนาแน่นบริเวณศูนย์กลางของพายุ และตาพายุขรุขระ แสดงให้เห็นว่าพายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (80 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1
  • วันที่ 31 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) ทำให้พายุไต้ฝุ่นขนุนมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประเมินพร้อมกันว่าพายุมีความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วของปรอท)
  • วันที่ 1 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นขนุนได้เคลื่อนตัวออกจากพื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์เมื่อเวลาประมาณ 02:00 น. (19:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และพายุอ่อนกำลังลงเล็กน้อยในขณะที่เคลื่อนตัวเข้าใกล้หมู่เกาะรีวกีว
  • วันที่ 2 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นขนุนได้อ่อนกำลังลง เนื่องจากพายุเกิดวัฏจักรการแทนที่กำแพงตา และทำให้ตาพายุขยายตัวขึ้นอย่างมาก แต่โครงสร้างโดยรวมของพายุได้เสื่อมลง ตาพายุชั้นในเริ่มเผชิญกับอุณหภูมิของมหาสมุทรที่เย็นลงจากภาพถ่ายดาวเทียมอินฟราเรด ซึ่งล้อมรอบด้วยวงแหวนสมมาตรของความเย็น
  • วันที่ 3 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นขนุนได้เคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่เย็นลง และด้วยเหตุนี้พายุจึงมีแนวโน้มอ่อนกำลังลงตาพายุ พายุไต้ฝุ่นขนุนได้อ่อนกำลังลง เนื่องจากเมฆที่เกือบจะนิ่ง และอุ่นขึ้น
  • วันที่ 4 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นขนุนได้เคลื่อนตัวไปทางขั้วโลก และพายุได้เปลี่ยนทิศไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในขณะที่เคลื่อนตัวผ่านขอบด้านใต้ของพายุหมุนกึ่งเขตร้อน หลังจากโครงสร้างของพายุได้อ่อนแอลงทำให้สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ลดระดับจากพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงโดยมีความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (60 ไมล์ต่อชั่วโมง) พายุเริ่มมีกำลังแรงขึ้นโดยมีแถบพายุแบบลึกเหนือจตุภาคในวันต่อมา
  • วันที่ 6 สิงหาคม พายุโซนร้อนขนุนได้เคลื่อนตัวไปทางเหนือของโทคุโนะชิมะ และพายุได้เคลื่อนตัวเร่งความเร็วไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์กลางของพายุได้ถูกเปิดเผย และแถบพายุฝนฟ้าคะนองแบบลึกห่อหุ้มเป็นวงกว้าง
  • วันที่ 9 สิงหาคม ภาพถ่ายดาวเทียมได้แสดงศูนย์การไหลเวียนระดับต่ำที่รวมตัวกันโดยมีแถบพายุฝนฟ้าคะนองแบบก่อตัว และการพาความร้อนแบบลึกเหนือครึ่งวงกลมทางทิศเหนือ พายุได้เคลื่อนตัวผ่านไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะคีวชู
  • วันที่ 10 สิงหาคม พายุโซนร้อนขนุนได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่กอเจโดในประเทศเกาหลีใต้ด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (50 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 07:00 น. (00:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) หลังจากนั้นพายุเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำถูกบดบังด้วยพายุที่ยังคงอยู่ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ยังคงติดตามพายุในฐานะพายุหมุนนอกเขตร้อนจนถึงเช้าของวันต่อมา

พายุไต้ฝุ่นแลง

[แก้]
2307 (JMA)・07W (JTWC)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 5 – 17 สิงหาคม
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นมิเฮา

[แก้]
2308 (JMA)・05E (JTWC)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 12(เข้ามาในแอ่ง – 21 สิงหาคม
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเซาลา

[แก้]
2309 (JMA)・09W (JTWC)・โกริง (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 22 – 3 กันยายน
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.17 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงด็อมเร็ย

[แก้]
2310 (JMA)・08W (JTWC)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 21 – 29 สิงหาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นไห่ขุย

[แก้]
2311 (JMA)・10W (JTWC)・ฮันนา (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 27 – 6 กันยายน
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
955 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.2 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงคีโรกี

[แก้]
2312 (JMA)・11W (JTWC)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 29 – 6 กันยายน
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนยุนยาง

[แก้]
2313 (JMA)・12W (JTWC)・อีเนง (PAGASA)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 8 กันยายน
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นโคอินุ

[แก้]
2314 (JMA)・14W (JTWC)・เจนนี (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 29 – 10 ตุลาคม
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นบอละเวน

[แก้]
2315 (JMA)・15W (JTWC)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 15 ตุลาคม
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนซันปา

[แก้]
2316 (JMA)・16W (JTWC)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 20 ตุลาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

[แก้]

รายการพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน โดยอาจเป็นพายุที่มีรหัสเรียกตามหลังด้วยตัวอักษร W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม หรืออาจได้รับชื่อท้องถิ่นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) แต่ไม่ถูกตั้งชื่อตามเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวระบุเพียงแต่คำว่า TD (Tropical Depression) หรือพายุดีเปรสชันเท่านั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 1

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 4 – 8 มีนาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 2

[แก้]
ชื่อของ PAGASA: อามัง
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 10 – 14 เมษายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 4

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 5 – 7 พฤษภาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 7

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 8 – 12 มิถุนายน
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 11

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
Counterclockwise vortex
ระยะเวลา 3 – 4 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ

[แก้]

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างทำหน้าที่กำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนอาจมีสองชื่อ[4] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาจะประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน หากมีความเร็วลมถึง 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (40 ไมล์ต่อชั่วโมง) พายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวจะได้รับชื่อ[5] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าหรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ มีขอบเขตอยู่ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 135°ดะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างเส้นขนานที่ 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[4] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนโดยทั้ง PAGASA และ คณะกรรมการไต้ฝุ่น[5] ในระหว่างฤดูกาล หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ที่เตรียมไว้ถูกใช้จนหมด PAGASA จะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นไว้ในแต่ละฤดูกาลมาใช้กับพายุหมุนเขตร้อนแทนชื่อที่หมดไป

ชื่อสากล

[แก้]

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (40 ไมล์ต่อชั่วโมง)[6] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิกและดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[7]

ชุดที่ 5

  • ซ้านหวู่ (2301)
  • มาวาร์ (2302)
  • กูโชล (2303)
  • ตาลิม (2304)
  • ทกซูรี (2305)
  • ขนุน (2306)
  • แลง (2307)
  • เซาลา (2309)

ชุดที่ 1

  • ด็อมเร็ย (2310)
  • ไห่ขุย (2311)
  • คีโรกี (2312)
  • ยุนยาง (2313)
  • โคอินุ(2314)
  • บอละเวน(2315)
  • ซันปา(2316)
  • เจอลาวัต (ยังไม่ใช้)
  • เอวิเนียร์ (ยังไม่ใช้)
  • แคมี (ยังไม่ใช้)
  • พระพิรุณ (ยังไม่ใช้)
  • มาเรีย (ยังไม่ใช้)
  • เซินติญ (ยังไม่ใช้)
  • อ็อมปึล (ยังไม่ใช้)
  • อู๋คง (ยังไม่ใช้)
  • ชงดารี (ยังไม่ใช้)
  • ชานชาน (ยังไม่ใช้)
  • ยางิ (ยังไม่ใช้)
  • หลี่ผี (ยังไม่ใช้)
  • เบบินคา (ยังไม่ใช้)
  • ปูลาซัน (ยังไม่ใช้)
  • ซูลิก (ยังไม่ใช้)

ชื่ออื่นๆ

[แก้]
  • ดอลา (2308)

ฟิลิปปินส์

[แก้]

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[8] โดยชื่อที่ใช้ถูกนำมาจากรายชื่อ เป็นรายชื่อเดียวกับที่ถูกใช้ไปในฤดูกาล ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) และมีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล ค.ศ. 2026 (พ.ศ. 2569) ด้วย[8] ซึ่งรายชื่อทั้งหมดเหมือนเดิมกับครั้งก่อน เว้น โอเบต, โรซัล และ อุมเบร์โต ที่ถูกนำมาแทน โอมโปง, โรซีตา และอุสมัน ที่ถูกถอนไป[8]

  • อามัง
  • เบตตี
  • เชเดง
  • โดโดง
  • เอไก
  • ฟัลโกน
  • โกริง
  • ฮันนา
  • อีเนง
  • เจนนี
  • กาบายัน (ยังไม่ใช้)
  • ลีไวไว (ยังไม่ใช้)
  • แมริลิน (ยังไม่ใช้)
  • นิมฟา (ยังไม่ใช้)
  • โอนโยก (ยังไม่ใช้)
  • เปร์ลา (ยังไม่ใช้)
  • กีเยล (ยังไม่ใช้)
  • ราโมน (ยังไม่ใช้)
  • ซาราห์ (ยังไม่ใช้)
  • ตามาเรา (ยังไม่ใช้)
  • อูโกง (ยังไม่ใช้)
  • บีริง (ยังไม่ใช้)
  • เวง (ยังไม่ใช้)
  • โยโยย (ยังไม่ใช้)
  • ซิกซัก (ยังไม่ใช้)
รายชื่อเพิ่มเติม
  • อาเบ (ยังไม่ใช้)
  • เบร์โต (ยังไม่ใช้)
  • ชาโร (ยังไม่ใช้)
  • ดาโด (ยังไม่ใช้)
  • เอสโตย (ยังไม่ใช้)
  • เฟลีโยน (ยังไม่ใช้)
  • เฮนิง (ยังไม่ใช้)
  • เฮอร์มัน (ยังไม่ใช้)
  • อีร์มา (ยังไม่ใช้)
  • ไฮเม (ยังไม่ใช้)

ผลกระทบ

[แก้]

ตารางนี้รวมเอาทั้งหมดของระบบพายุที่ก่อตัวภายใน หรือ เคลื่อนตัวเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งวันสากล ภายในปี พ.ศ. 2566 ตารางนี้ยังมีภาพรวมของความรุนแรงของระบบ ระยะเวลา บริเวณที่มีผลกระทบกับแผ่นดิน และจำนวนความเสียหายหรือจำนวนผู้เสียชีวิตใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบพายุ

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
TD 4–7 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1008 hPa บรูไน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ ไม่ทราบ 4 [9]
TD 10–13 เมษายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa ปาเลา, ฟิลิปปินส์ &0000000000923000000000923 พันดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000000000000 ไม่มี [10]
ซ้านหวู่ 19–22 เมษายน พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. 996 hPa ไมโครนีเชีย &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 5–7 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa ฟิลิปปินส์ &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
มาวาร์ 19 พฤษภาคม–3 มิถุนายน พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 215 กม./ชม. 905 hPa ไมโครนีเชีย, กวม, หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา, ฟิลิปปินส์, หมู่เกาะรีวกีว (ญี่ปุ่น) &0000000136000000000000136 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 6 [11][12][13]
กูโชล 5–12 มิถุนายน พายุไต้ฝุ่น 140 กม./ชม. 970 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 7–11 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1000 hPa ภาคใต้ของจีน, เวียดนาม &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ตาลิม 13–18 กรกฎาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. 970 hPa ฟิลิปปินส์, ภาคใต้ของจีน, เวียดนาม ไม่ทราบ 1
ทกซูรี 19-29 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก 185 กม./ชม. 925 hPa จีน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ 15.4 พันล้านดอลาร์สหรัฐ &0000000000000137000000137 [14]
สรุปฤดูกาล
13 ลูก 4 มีนาคม–ฤดูกาลดำเนินอยู่   215 กม./ชม. 905 hPa   15.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 163


ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Lea, Adam; Wood, Nick (May 5, 2023). Extended Range Forecast for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2023 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. สืบค้นเมื่อ May 6, 2023.
  2. 2.0 2.1 Lea, Adam; Wood, Nick (July 7, 2023). Extended Range Forecast for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2023 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. สืบค้นเมื่อ July 8, 2023.
  3. 3.0 3.1 3.2 Seasonal Climate Outlook January - June 2023 (PDF) (Report). Philippine Atmospheric Geophysical and Astronomical Services Administration. January 13, 2023. สืบค้นเมื่อ May 6, 2023.
  4. 4.0 4.1 Padgett, Gary. "Monthly Tropical Cyclone Summary December 1999". Australian Severe Weather. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2012. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  5. 5.0 5.1 The Typhoon Committee (February 21, 2013). "Typhoon Committee Operational Manual 2013" (PDF). World Meteorological Organization. pp. 37–38. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2013. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  6. http://www.typhooncommittee.org/48th/docs/item%204%20technical%20presentations/4.1.Review2015TyphoonSeason.pdf
  7. Zhou, Xiao; Lei, Xiaotu (2012). "Summary of retired typhoons within the Western North Pacific Ocean". Tropical Cyclone Research and Review. The Economic and Social Commission for Asia and the Pacific/World Meteorological Organization's Typhoon Committee. 1 (1): 23–32. doi:10.6057/2012TCRR01.03. ISSN 2225-6032. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-12. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2014.
  8. 8.0 8.1 8.2 "Philippine Tropical Cyclone Names". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-28. สืบค้นเมื่อ April 18, 2015.
  9. "Thousands forced from their homes amid southern Malaysia floods". Alijazeera.com. March 6, 2023. สืบค้นเมื่อ March 6, 2023.
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Amang
  11. Healy, Shane Tenorio (2023-05-27). "Searches for missing swimmers called off". The Guam Daily Post. สืบค้นเมื่อ 2023-05-27.
  12. Situational Report No. 8 for TC Betty (2023) (PDF) (Report). National Disaster Risk Reduction and Management Council. June 1, 2023. สืบค้นเมื่อ June 1, 2023.{{cite report}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. Taitano II, Joe (2023-06-02). "Bureau: Mawar caused estimated $111.8M in damage to businesses". The Guam Daily Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-04.
  14. SitRep No. 15 for the Combined Effects of Southwest Monsoon and TC EGAY (2023) (Report). National Disaster Risk Reduction and Management Council. July 28, 2023. สืบค้นเมื่อ July 28, 2023.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]