ข้ามไปเนื้อหา

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว13 มกราคม พ.ศ. 2555
ระบบสุดท้ายสลายตัว29 ธันวาคม พ.ศ. 2555
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อซันปา
 • ลมแรงสูงสุด205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด900 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด35 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด25 ลูก
พายุไต้ฝุ่น14 ลูก
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น4 ลูก (ไม่เป็นทางการ)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด2,487 คน
ความเสียหายทั้งหมด2.07 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2012)
(สถิติความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับสอง
ของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก)
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก
2553, 2554, 2555, 2556, 2557

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2555 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนค่อนข้างใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย แต่สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล นับว่าเป็นฤดูที่ค่อนข้างมีกิจกรรมของพายุมากนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยฤดูกาลนี้มีพายุโซนร้อน 25 ลูก ในจำนวนนี้พัฒนาขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น 14 ลูก และในจำนวนนี้ 4 ลูกพัฒนาเป็นถึงพายุไต้ฝุ่นรุนแรง พายุลูกแรกที่ได้รับชื่อของฤดูนี้ชื่อว่า ปาข่า ก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ส่วนพายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกสุดท้ายของฤดูนี้ชื่อว่า อู๋คง สลายตัวไปเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม โดยฤดูนี้มีกิจกรรมของพายุอย่างมากในระหว่างกลางเดือนกรกฎาคม ถึงกลางเดือนสิงหาคม ซึ่งมีพายุถึง 9 ลูกที่ได้รับชื่อในช่วงดังกล่าว

พายุบิเซนเตเป็นพายุที่ทรงพลานุภาพ และได้พัดขึ้นฝั่งทางตะวันตกของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง ในฐานะพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรง พายุด็อมเร็ยก่อตัวเป็นพายุไต้ฝุ่นในทะเลเหลือง และกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่พัดขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของแม่น้ำแยงซี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 พายุไต้ฝุ่นไห่ขุยถึงแม้ว่าศูนย์กลางของพายุจะอยู่ห่างจากประเทศฟิลิปปินส์ออกไป แต่ก็ทำให้มีผู้เสียชีวิตได้อย่างน้อย 89 คนในประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนพายุไต้ฝุ่นเท็มบิง ส่งผลกระทบกับประเทศไต้หวันถึงสองครั้ง เนื่องจากเกิดวังวนพายุหมุนขึ้น

ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงกันยายน พายุไต้ฝุ่นทรงพลังมากสามลูก อันได้แก่ บอละเวน, ซันปา และ เจอลาวัต พัดเข้าโจมตีเกาะโอกินาวาโดยตรงอย่างต่อเนื่อง ในเดือนตุลาคม เศษที่หลงเหลือของพายุโซนร้อนกำลังแรงแคมี เคลื่อนตัวไปถึงบริเวณอ่าวเบงกอล และกลับทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็วอีกครั้ง ก่อนจะพัดขึ้นฝั่งที่ประเทศบังกลาเทศต่อไป ในเดือนธันวาคม พายุไต้ฝุ่นบบพา เป็นพายุที่ก่อตัวในละติจูดที่ต่ำมาก ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่มันเป็นได้ถึงพายุหมุนเขตร้อนที่มีพลังมาก เป็นผลให้เกิดภัยพิบัติขึ้นในเกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ พายุบบพาทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 1,901 คน และสร้างความเสียหายถึง 1.04 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในประเทศฟิลิปปินส์ กลายเป็นพายุที่ทำให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดทั่วโลกในปี พ.ศ. 2555 และเป็นพายุไต้ฝุ่นที่สร้างความเสียหายมากเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ของฟิลิปปินส์ เป็นรองจากพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนในปีถัดไปเท่านั้น

ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าติดตามโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ของสหรัฐยังได้รับการกำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย

การพยากรณ์ฤดูกาล

[แก้]
วันที่พยากรณ์โดย
TSR
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
จำนวน
พายุรุนแรง
ดัชนีเอซีอี อ้างอิง
เฉลี่ย (2508–2554) 26.2 16.3 8.4 295 [1]
13 เมษายน 2555 25.5 15.6 7.3 262 [2]
5 พฤษภาคม 2555 25.5 15.6 8.5 300 [1]
9 กรกฎาคม 2555 26.8 16.7 9.2 324 [3]
6 สิงหาคม 2555 27.4 17.4 9.3 327 [4]
วันที่พยากรณ์ ศูนย์
พยากรณ์
ช่วงเวลา ระบบพายุ อ้างอิง
30 มิถุนายน 2555 CWB 1 มกราคม — 31 ธันวาคม 23–26 ลูก [5]
กรกฎาคม 2555 PAGASA กรกฎาคม — กันยายน 7–10 ลูก [6]
กรกฎาคม 2555 PAGASA ตุลาคม — ธันวาคม 4–7 ลูก [6]
ฤดูกาล 2555 ศูนย์พยากรณ์ พายุหมุนเขตร้อน พายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่น อ้างอิง
เกิดขึ้นจริง: JMA 34 25 14
เกิดขึ้นจริง: JTWC 27 25 16
เกิดขึ้นจริง: PAGASA 17 16 9

ในแต่ละฤดูกาล สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของหลายประเทศ และหน่วยงานวิทยาศาสตร์หลายแห่ง ต่างพยากรณ์จำนวนพายุหมุนเขตร้อน พายุเขตร้อน และพายุไต้ฝุ่นที่จะก่อตัวขึ้นระหว่างฤดูกาล และ/หรือ จำนวนพายุหมุนที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศใดประเทศหนึ่ง[2][7] รวมถึงองค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอนและศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกาย คาร์เพนเตอร์ เอเชีย-แปซิฟิกของมหาวิทยาลัยฮ่องกงซึ่งได้ทำการพยากรณ์ไว้ตั้งแต่พ.ศ. 2543 แล้ว[2][7] อย่างไรก็ตามในปีนี้ GCACIC ไม่มีการออกการคาดการณ์เกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อนที่จะก่อตัวและพัฒนาขึ้นในสามฤดูกาลล่าสุด[7]

ในฤดูกาลนี้องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ได้ออกการคาดการณ์ประมาณการเบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนของโซนร้อน, ไต้ฝุ่นและไต้ฝุ่นรุนแรง ที่จะก่อตัวช่วงเดือนเมษายน ก่อนจะออกการปรับปรุงในช่วงเดือนพฤษภาคม, กรกฎาคมและสิงหาคม[nb 1] ในการพยากรณ์ของเดือนเมษายน, TSR ทำนายว่าฤดูกาลนี้จะได้เห็นกิจกรรมประมาณ 10% เฉลี่ยช่วงก่อนปี 2508 - 2554 อย่างไรก็ตามอาจมีการปรับปรุงการพยากรณ์เพื่อให้ทันสมัย[2][1]

วันที่ 20 มีนาคม หอสังเกตการณ์ฮ่องกงทำนายว่า ฤดูกาลพายุไต้ฝุ่นในฮ่องกงจะเริ่มต้นในเดือนมิถุนายนหรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อย ก่อนหน้านี้ที่มีพายุหมุนเขตร้อน 5-8 ลูกผ่านไปในระยะ 500 กิโลเมตร (310 ไมล์) จากฮ่องกง[8]

วันที่ 21 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าประเทศไทยจะได้รับปลกระทบจากพายุโซนร้อน 1-2 ลูกในช่วงปี 2555 โดยคาดว่าจะมี 1 ลูกเข้าที่เวียดนามและส่งผลกระทบต่อไทยภายหลังในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ขณะที่หน่วยงานอื่นๆคาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวผ่านภาคใต้ของประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน[9]

วันที่ 13 สิงหาคม สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ทำนายว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน 7-10 ลูกที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงหรือก่อตัวในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ระหว่างเดือนกรกฎาคม และเดือนกันยายน และ 4 -7 คาดว่าจะเกิดในระหว่างเดือนตุลาคมและเดือนธันวาคม[10]

วันที่ 31 สิงหาคม สำนักงานอากาศกลางของไต้หวันคาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนอีก 8 ลูกสามารถทวีความรุนแรงได้ใกล้ไต้หวันและคาดว่าหนึ่งหรือสองลูกจะส่งผลกระทบต่อไต้หวัน[5]

ภาพรวมฤดูกาล

[แก้]
Typhoon BophaTyphoon Son-TinhTyphoon Jelawat (2012)Typhoon SanbaTyphoon Bolaven (2012)Typhoon Tembin (2012)Typhoon Kai-tak (2012)Typhoon HaikuiTyphoon Damrey (2012)Typhoon Saola (2012)Typhoon VicenteTropical Storm Khanun (2012)Typhoon Guchol (2012)

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (คณะกรรมการไต้ฝุ่น)
  พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (118–156 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (157–193 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (≥194 กม./ชม.)

พายุ

[แก้]

พายุโซนร้อนปาข่า

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 26 มีนาคม – 2 เมษายน
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 17 มีนาคม ความแปรปวนเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของปาเลาและอยู่ในพื้นที่ลมเฉียนตามแนวตั้ง
  • วันที่ 24 มีนาคม JMA เพิ่มระดับความรุนแรงของหย่อมความกดอากาศเพิ่มขึ้น
  • วันที่ 25 มีนาคม JMA ปรับลดระดับความรุนแรงเนื่องจากการหมุนเวียนลมที่ศูนย์กลางได้ลดลง
  • วันที่ 26 มีนาคม JMA เพิ่มระดับความรุนแรงของความแปรปวนเขตร้อนอีกครั้งเพราะลมเฉือนต่ำแนวตั้งและความเอื้ออำนวยจากอุณหภูมิผิวน้ำทะเลในทะเลจีนใต้
  • วันที่ 28 มีนาคม JTWC ออก TCFA
  • วันที่ 29 มีนาคม JMA เพิ่มระดับความรุนแรงของหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ ปาข่า (Pakhar) เนื่องจากมีการไหลเวียนของลมที่ศูนย์กลางอย่างสมบูรณ์
  • วันที่ 30 มีนาคม JTWC ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของ ปาข่า เป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 เนื่องจากมีการพบตาพายุบริเวณศูนย์กลาง
  • วันที่ 31 มีนาคม JTWC ได้ปรับลดระดับความรุนแรงของ ปาข่า เป็นพายุโซนร้อน เนื่องจากปฏิกิริยาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นดินและพื้นน้ำทะเล
  • วันที่ 1 เมษายน ปาข่า พัดขึ้นฝั่งใกล้กับ หวุงเต่า, เวียดนาม และเริ่มอ่อนตัวลง
  • วันที่ 2 เมษายน JMA ได้ปรับลดระดับความรุนแรง, ปาข่าเริ่มสลายตัว
  • วันที่ 5 เมษายน ปาข่าสลายตัวทั้งหมด

พายุโซนร้อนกำลังแรงซ้านหวู่

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 20 – 27 พฤษภาคม
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 20 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพบการพัฒนาของดีเปรสชันเขตร้อนใกล้ ๆ กับกวม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่ระยะ 525 กิโลเมตร (325 ไมล์)[11]
  • วันที่ 21 พฤษภาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 22 พฤษภาคม JMA ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "ซ้านหวู่"
  • วันที่ 23 พฤษภาคม JTWC ประกาศทวีความรุนแรงของซ้านหวู่เป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 และซ้านหวู่เริ่มมีการจัดระเบียบของระบบมากขึ้นจากการสังเกต
  • วันที่ 24 พฤษภาคม JMA ประกาศทวีความรุนแรงของซ้านหวู่เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 25 พฤษภาคม ตาพายุของซ้านหวู่ได้เคลื่อนตัวผ่านเกาะอิโวะจิมะ
  • วันที่ 26 พฤษภาคม ลมเฉือนตามแนวตั้งกำลังแรงและอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่เย็นขึ้น ทำให้การไหลเวียนของความร้อนในพายุลดลง ทำให้ระบบตาพายุเริ่มเล็กลง ต่อมา JTWC ประกาศลดความรุนแรงของซ้านหวู่เป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 27 พฤษภาคม การติดตามโดย JMA พบว่าระดับการไหลเวียนพลังงานเริ่มจะเปิดออก ก่อนที่จะรายงานว่าซ้านหวู่อ่อนกำลังลงกลายเป็นต่ำเขตร้อนพิเศษ (Extratropical Low)
  • วันที่ 30 พฤษภาคม ระบบกระจายไปในที่สุด[11]

ผลกระทบของซ้านหวู่ก่อให้เกิดลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักประมาณ 1.5–2 นิ้ว (38–51 มิลลิเมตร)ในบางส่วนของกวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา[12] ความเสียหายที่รายงานมาจากเกาะกวม พบว่าเกิดการหักโค่นของกิ่งไม้ทำให้เกิดความเสียหายกับระบบสายไฟฟ้า เป็นมลูค่าประมาณ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ[12]

พายุไต้ฝุ่นมาวาร์

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 31 พฤษภาคม – 6 มิถุนายน
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: อัมโบ
  • วันที่ 29 พฤษภาคม ความแปรปวนเขตร้อนก่อตัวขึ้นบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของปาเลา
  • วันที่ 31 พฤษภาคม มีการประกาศเตือน TCFA, PAGASA ปรับระดับความรุนแรงเป็นดีเปรสชันเขตร้อนและใช้ชื่อ "อัมโบ (Ambo)"
  • วันที่ 1 มิถุนายน JMA ปรับระดับความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "มาวาร์ (Mawar)"
  • วันที่ 2 มิถุนายน JMA ปรับระดับความรุนแรงของพายุโซนร้อนมาวาร์ เป็น "พายุโซนร้อนกำลังแรงมาวาร์" ในขณะที่ JTWC ปรับระดับความรุนแรงเป็น พายุไต้ฝุ่นระดับ 1
  • วันที่ 3 มิถุนายน JMA ปรับระดับความรุนแรงของพายุโซนร้อนกำลังแรงมาวาร์ เป็น "ไต้ฝุ่นมาวาร์" หลังจากที่ JTWC ปรับระดับความรุนแรงเป็น พายุไต้ฝุ่นระดับ 2
  • วันที่ 4 มิถุนายน JTWC ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของไต้ฝุ่นมาวาร์จากพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 เป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 แต่ได้ลดลงมาอยู่ในระดับ 2 เหมือนเดิมหลังจากนั้นเพียง 6 ชั่วโมงเนื่องจากลมเฉือน ที่มาจากกระแสเจ็ท (jet stream) บริเวณใกล้ๆประเทศญี่ปุ่น
  • วันที่ 5 มิถุนายน มาวาร์เริ่มอ่อนกำลังลงอย่างมาก จน JMA ได้ลดระดับความรุนแรงของมาวาร์เป็น พายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 6 มิถุนายน มาวาร์กลายเป็นพายุหมุนเต็มที่

พายุไต้ฝุ่นกูโชล

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 10 – 19 มิถุนายน
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
930 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.46 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: บุตโชย
  • วันที่ 7 มิถุนายน ความแปรปวนเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เยื้องใต้ (south-southeast) ของโปนเป (Pohnpei)
  • วันที่ 8 มิถุนายน JTWC ออก TCFA แต่ได้ถูกยกเลิกไปในช่วงสายของวันที่ 9 มิถุนายน
  • วันที่ 10 มิถุนายน JMA ได้ปรับระดับความรุนแรงของหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 13 มิถุนายน JTWC และ JMA ได้ปรับระดับความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ "กูโชล" (Guchol)
  • วันที่ 14 มิถุนายน JMA ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของกูโชลเป็น พายุโซนร้อนกำลังแรง, PAGASA ได้กำหนดชื่อ "บุตโชย" (Butchoy) เนื่องจากพายุโซนร้อนกำลังแรงกูโชลเคลื่อนตัวเข้ามาในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงาน ต่อมา JTWC ได้ปรับระดับเพิ่มความรุนแรงของกูโชลเป็น พายุไต้ฝุ่นระดับ 1
  • วันที่ 15 มิถุนายน JTWC ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของไต้ฝุ่นกูโชลเป็น พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 เนื่องจากมันมีการพัฒนามากขึ้น
  • วันที่ 16 มิถุนายน กูโชลพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิด ตาพายุ บริเวณศูนย์กลาง ต่อมา JMA ได้ประกาศให้ไต้ฝุ่นกูโชล กลายเป็น พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 และเป็น ซูเปอร์ พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ในเวลาถัดมาด้วย
  • วันที่ 18 มิถุนายน กูโชล เริ่มอ่อนกำลังลงจากลมเฉือนปานกลางแนวตั้งและลดระดับความรุนแรงอย่างรวดเร็ว
  • วันที่ 19 มิถุนายน JTWC ลดระดับความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นกูโซลเป็น พายุโซนร้อน ในขณะที่มันใกล้ขึ้นฝั่งบริเวณคาบสมุทรกี (Kii Peninsula), ประเทศญี่ปุ่น
  • วันที่ 20 มิถุนายน JMA ลดระดับความรุนแรงของกูโชลเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงและปรับเป็นพายุหมุน

พายุโซนร้อนกำลังแรงตาลิม

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 20 มิถุนายน
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: การีนา
  • วันที่ 14 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำภายในร่องมรสุม ทางทิศตะวันออกของเกาะไหหนานของประเทศจีน
  • วันที่ 16 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำเริ่มมีการไหลวันของอากาศร้อนภายใน JMA และ HKO เพิ่มระดับความรุนแรงเป็นดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 17 มิถุนายน HKO ประกาศยกเลิกการติดตามพายุ, JMA ปรับระดับความรุนแรงของดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "ตาลิม" (Talim)
  • วันที่ 18 มิถุนายน JTWC ได้ปรับระดับความรุนแรงของตาลิม เป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 19 มิถุนายน HKO ประกาศยกเลิกการเฝ้าระวังลมแรง เนื่องจากลมเฉือนปานกลางจากแนวทิศเหนือผลักดันในตาลิมเคลื่อนไปทางใต้
  • วันที่ 20 มิถุนายน JMA ปรับระดับความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง แต่ก็ได้ลดความรุนแรงกลับมาเป็นพายุโซนร้อนดังเดิม และตัวพายุเริ่มเชื่อมกับร่องมรสุม, PAGASA ได้กำหนดชื่อ "คารินา" (Carina) เนื่องจากมันเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงาน ต่อมาทั้ง JMA และ JTWC ได้ประกาศลดระดับความรุนแรงของ ตาลิม เป็นดีเปรสชันเขตร้อนในช่องแคบไต้หวัน ไม่นาน ตาลิม ก็อ่อนกำลังลงเนื่องจากเชื่อมกับร่องมรสุมเดียวกันกับที่พัฒนาเป็นตัวพายุเอง

พายุโซนร้อนทกซูรี

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 25 – 30 มิถุนายน
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ดินโด
  • วันที่ 25 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) เริ่มตรวจสอบดีเปรสชันเขตร้อนที่มีการพัฒนาอยู่ในร่องมรสุมทางตะวันตกเฉียงใต้ของ มะนิลา, ฟิลิปปินส์[13][14]
  • วันที่ 26 มิถุนายน ในวันนี้ดีเปรสชันเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือและตะวันตก, PAGASA ได้ตรวจสอบและกำหนดเป็นดีเปรสชันเขตร้อน และใช้ชื่อ "ดินโด" (Dindo)[15], JMA ปรับระดับความรุนแรงไปเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "ทกซูรี" (Doksuri)[16],JTWC ปรับระดับความรุนแรงของทกซูรีเป็นพายุโซนร้อน[ต้องการอ้างอิง]
  • วันที่ 27 มิถุนายน มีการไหลเวียนลมที่ศูนย์กลางในระดับต่ำ จนเจอกับลมเฉือนตะวันออก
  • วันที่ 28 มิถุนายน JTWC ปรับลดระดับความรุนแรงของพายุโซนร้อนทกซูรี เป็น ดีเปรสชันเขตร้อน เนื่องจากการไหลเวียนลมที่ศูนย์กลางผิดปกติและมีการไหลเวียนศูนย์กลางในที่ใหม่
  • วันที่ 29 มิถุนายน ทกซูรีพัดขึ้นฝั่ง จูไฮ่, กวางตุ้ง, จีน[17]
  • วันที่ 30 มิถุนายน JMA รายงานว่า ทกซูรี อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชันเขตร้อนก่อนที่จะสลายตัวไปในช่วงสุดท้าย[18], ในมาเก๊า พายุทำให้เกิดความเสียหายกับหลังคาของบ้านเรือนประชาชนเล็กน้อย[19]

พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุน

[แก้]
1207 (JMA)・08W (JTWC)・เอนเตง (PAGASA)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 14 กรกฎาคม – 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุโซนร้อนกำลังแรงขนุน
  • วันที่ 12 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นบริเวณทางตะวันตกเฉียงเหนือของกวม
  • วันที่ 14 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้เริ่มติดตามพื้นที่การหมุนเวียนที่มีต้นกำเนิดมาจากระดับต่ำที่ไม่ใช่พายุดีเปรสชันเขตร้อน เนื่องจากอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกวมไปประมาณ 780 กิโลเมตร (485 ไมล์) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมเริ่มมีการประเมินศักยภาพการพัฒนาภายใน 24 ชั่วโมง ข้างหน้าว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเวลา 02:30 น. (19:30 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ยกระดับศักยภาพการพัฒนาเพิ่มเติมภายใน 24 ชั่วโมง ข้างหน้าเป็นระดับปานกลางโดยมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลอยู่ที่ประมาณ 32 องศาเซลเซียส เมื่อเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และพายุตั้งอยู่ในสภาวะที่เอื้ออำนวย เนื่องจากการพาความร้อนพัดแผ่กระจายไปทางทิศตะวันออกของการไหลเวียนระดับต่ำที่ยืดเยื้อ
  • วันที่ 15 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนเมื่อเวลา 11:30 น. (04:30 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) เนื่องจากอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอิโวะจิมะไปประมาณ 435 กิโลเมตร (270 ไมล์) การหมุนเวียนของพายุยังคงเคลื่อนตัวต่อไป และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และกำหนดหมายเลขอย่างเป็นทางการว่า 08W เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 16 กรกฎาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และกำหนดให้ชื่อว่า ขนุน เมื่อเวลา 13:00 น. (06:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) การหมุนเวียนระดับต่ำยังคงรวมเข้าด้วยกัน และต่อมาอีกไม่นานศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนเช่นกันเมื่อในเวลา 19:00 น. (12:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) เนื่องจากอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฐานทัพอากาศคาเดนาไปประมาณ 685 กิโลเมตร (425 ไมล์) พายุเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ และปากาซาได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า เอนเตง ในเวลาสั้น ๆ ก่อนที่พายุจะเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ไป
  • วันที่ 17 กรกฎาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ขณะที่ศูนย์กลางของพายุกำลังเคลื่อนตัวผ่านโอกิโนเอราบูจิมะ และตาพายุที่อ่อนแอปรากฏขึ้นบนภาพถ่ายไมโครเวฟเมื่อเวลา 18:00 น. (11:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุนได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้จังหวัดโอกินาวะมากที่สุดอยู่ที่ประมาณ 155 กิโลเมตร (100 ไมล์) มีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (60 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วของปรอท) เมื่อเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 18 กรกฎาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุโซนร้อนกำลังแรงให้กลายเป็นพายุโซนร้อน ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดเชจู และขึ้นฝั่งจังหวัดชุงช็องใต้เมื่อเวลา 04:00 น. (21:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 19 กรกฎาคม พายุโซนร้อนขนุนได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนในขณะที่กำลังเคลื่อนตัวผ่านประเทศเกาหลี หลังจากนั้นไม่นานพายุก็สลายไปในวันรุ่งขึ้น
รัฐบาลประเทศเกาหลีเหนือได้รายงานเพิ่มจำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ 88 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกประมาณ 134 ราย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม การสูญเสียชีวิตครั้งใหญ่ที่สุด คือ จังหวัดพย็องอันใต้ น้ำท่วมครั้งนี้ทำให้ประชาชนอย่างน้อย 63,000 คน ไร้ที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 30,000 เฮกตาร์ จมอยู่ใต้น้ำ อาคารสาธารณะประมาณ 300 แห่ง และโรงงาน 60 แห่ง ได้รับความเสียหายระหว่างเกิดพายุ[20] ความเสียหายโดยรวมประมาณ 11.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

พายุไต้ฝุ่นบิเซนเต

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 25 กรกฎาคม
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เฟร์ดี
  • วันที่ 18 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศทวีกำลังระบบหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[21]
  • วันที่ 20 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกประกาศ TCFA ของระบบ[22] ต่อมาไม่นาน PAGASA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อนและใช้ชื่อ "เฟร์ดี (Ferdie)"[23] ต่อมา JTWC ได้ประกาศทวีกำลังระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[24] หลังจากระบบเคลื่อนเข้ามาอยู่ในทะเลจีนใต้
  • วันที่ 21 กรกฎาคม JMA ได้ประกาศทวีกำลังพายุเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "บิเซนเต"[25]
  • วันที่ 23 กรกฎาคม เนื่องจากลมเฉือนแนวตั้งและอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงขึ้น กระตุ้นให้บิเซนเตทวีกำลังแรงขึ้น ต่อมา JMA ได้ประกาศทวีกำลังบิเซนเตเป็นไต้ฝุ่น และ JTWC ได้ประกาศทวีกำลังแรงบิเซนเตเป็นไต้ฝุ่นระดับ 4[26] ที่เวลา 16:45 UTC หอสังเกตการณ์ฮ่องกง (HKO) ได้ออกสัญญาณเตือนภัยพายุเฮอร์ริเคนระดับ 10 เป็นครั้งแรกตั้งแต่ไต้ฝุ่นยอร์ก ในปี พ.ศ. 2542[27] ต่อมาไต้ฝุ่นบิเซนเตได้ขึ้นถล่มแผ่นดินที่ไทชานในมณฑลกวางตุ้ง, จีน[28]
  • วันที่ 24 กรกฎาคม เนื่องจากระบบขึ้นไปอยู่บนแผ่นดิน JMA ได้ประกาศลดความรุนแรงของบิเซนเตเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และ JTWC ได้ประกาศลดความรุนแรงของบิเซนเตไปเป็น ไต้ฝุ่นระดับ 3[29][30] และในวันเดียวกันนั้น

JMA ได้ประกาศลดความรุนแรงบิเซนเตเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[31]

พายุไต้ฝุ่นซาวลา

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 26 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เฮเนร์
  • วันที่ 26 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพบว่ามีการพัฒนาดีเปรสชันเขตร้อน ในพื้นที่ลมเฉือนแนวตั้งกำลังแรงภายในร่องมรสุม ประมาณ 1,000 กิโลเมตร (620 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมะนิลา, ฟิลิปปินส์
  • วันที่ 28 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ประกาศทวีความรุนแรงให้ระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน ในขณะที่ JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงให้ระบบเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ "เซาลา" อีกไม่นาน PAGASA ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อนและใช้ชื่อ "เฮเนร์ (Gener)"
  • วันที่ 29 กรกฎาคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงซาวลา เป็นพายุโซนร้อน ส่วน JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงเซาลาเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 30 กรกฎาคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงของซาวลาอีกครั้งเป็น ไต้ฝุ่นระดับ 1 ในขณะที่ระบบเริ่มพัฒนาลักษณะของตาพายุแต่จากนั้นไม่นาน เซาลาก็ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนอีกครั้ง
  • วันที่ 31 กรกฎาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของซาวลาเป็นไต้ฝุ่น เซาลายังคงทวีกำลังแรงต่อไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นไต้ฝุ่นระดับ 2
  • วันที่ 1 สิงหาคม การพยากรณ์ส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ว่า ซาวลาจะผ่านใกล้ชายฝั่งทางตอนเหนือของเกาะไต้หวัน ขณะที่เซาลากำลังถล่มแผ่นดินไต้หวัน พายุได้ทวีกำลังแรงเป็น ไต้ฝุ่นระดับ 2 ตัวพายุนั้นเคลื่อนผ่านแผ่นดินไปอย่างช้า ๆ และอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และมุ่งหน้าตรงต่อไปประเทศจีน
  • วันที่ 3 สิงหาคม พายุขึ้นถล่มแผ่นดินในมณฑลฝูเจี้ยน, ไต้หวัน และออกทะเลไปขึ้นฝั่งอีกครั้งด้วยความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนใกล้เจียงซี

พายุไต้ฝุ่นด็อมเร็ย

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 27 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 26 กรกฎาคม มีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมินะมิโทะริชิมะ
  • วันที่ 27 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศทวีความรุนแรงขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[32]
  • วันที่ 28 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ออกประกาศเตือนการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน ก่อนที่ JMA จะประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ "ด็อมเร็ย"[33][34] และต่อมา JTWC ก็ได้ประกาศทวีความรุนแรงด็อมเร็ยเป็นดีเปรสชันเขตร้อนด้วย[35]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงด็อมเร็ยเป็นพายุโซนร้อน[36]
  • วันที่ 30 กรกฎาคม ด็อมเร็ยได้เคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ และทวีกำลังแรง จน JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงด็อมเร็ยเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะจิจิชิมะ ต่อมาพายุได้เคลื่อนตัวมาทางตะวันตกเฉียงเหนือและเริ่มปรากฏรูปแบบของตาพายุ[37]
  • วันที่ 1 สิงหาคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงด็อมเร็ยเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 ขณะที่กำลังเคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะโอะซุมิ ในประเทศญี่ปุ่นขณะที่ระบบเริ่มพัฒนาตาของพายุขึ้น[38]
  • วันที่ 2 สิงหาคม ด็อมเร็ยเคลื่อนตัวเข้าสู่ทะเลเหลือง ต่อมา JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงด็อมเร็ยเป็นไต้ฝุ่น ต่อมาไม่นาน ด็อมเร็ย ขึ้นถล่มแผ่นดินเซียงซุย ใน เจียงซู, จีน ที่เวลา 13:30 UTC (21:30 CST)[39] ต่อมาไม่นาน JTWC ได้ประกาศลดความรุนแรงด็อมเร็ยลงเป็นพายุโซนร้อนและออกคำประกาศเตือนครั้งสุดท้าย
  • วันที่ 3 สิงหาคม JMA ได้ประกาศลดความรุนแรงด็อมเร็ยเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และเป็นดีเปรสชันเขตร้อนเมื่อพายุอยู่ในซานตง
  • วันที่ 4 สิงหาคม ระบบได้สลายตัวไปใกล้เหอเป่ย์[40]

พายุไต้ฝุ่นไห่ขุย

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 1 – 11 สิงหาคม
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 31 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวในร่องมรสุม
  • วันที่ 1 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอิโวะจิมะ และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในวันเดียวกัน[41][42]
  • วันที่ 2 สิงหาคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 3 สิงหาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "ไห่ขุย"[43][44]
  • วันที่ 4 สิงหาคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงของไห่ขุยเป็นพายุโซนร้อน[45]
  • วันที่ 5 สิงหาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของพายุโซนร้อนไห่ขุยเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ขณะที่พายุอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเยื้องเหนือของเกาะคุเมะ[46]
  • วันที่ 6 สิงหาคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงพายุโซนร้อนไห่ขุยเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 เมื่อพายุเริ่มมีการพัฒนาตา
  • วันที่ 7 สิงหาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงไห่ขุยเป็นไต้ฝุ่น และในขณะเดียวกัน JTWC ก็ได้ประกาศลดระดับความรุนแรงของไต้ฝุ่นระดับ 1 ไห่ขุยเป็นพายุโซนร้อน ต่อมา ไห่ขุยได้ขึ้นถล่มแผ่นดินเชียงซาน ใน มณฑลเจ้อเจียง, จีน ที่เวลา 19.20 UTC (วันที่ 8 สิงหาคม เวลา 03.20 น. ตามเวลาในประเทศจีน)[47]
  • วันที่ 8 สิงหาคม JMA ได้ประกาศลดระดับความรุนแรงของไห่ขุยลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และ JTWC ก็ได้ออกคำเตือนสุดท้ายของพายุ ในไม่ช้า JMA ก็ลดระดับความรุนแรงไห่ขุยเป็นพายุโซนร้อน

พายุโซนร้อนกำลังแรงคีโรกี

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 10 สิงหาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 3 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าดีเปรสชันเขตร้อนมีการก่อตัวขึ้นในร่องมรสุม ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะเวก[48][49]
  • วันที่ 4 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน และได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อนต่อมาตามลำดับ[50]
  • วันที่ 5 สิงหาคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นพายุโซนร้อน[51]
  • วันที่ 6 สิงหาคม JMA ได้รายงานว่าระบบได้กลายเป็นไซโคลนเต็มรูปแบบ[52]
  • วันที่ 8 สิงหาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "คีโรกี"[53]
  • วันที่ 9 สิงหาคม JTWC ได้ประกาศลดความรุนแรง คีโรกี ลงเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[54] ต่อมา JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรง คีโรกี เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงและมีกำลังแรงสุด[55] ขณะเดียวกัน JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรง คีโรกี เป็นพายุโซนร้อนอีกครั้ง[56] ในช่วงสุดท้ายของวัน JTWC ได้ประกาศคำเตือนสุดท้าย และประกาศลดระดับความรุนแรง คีโรกี เป็นดีเปรสชันเขตร้อน[57] ส่วนสุดท้ายของระบบเคลื่อนตัวไปยังทะเลโอค็อตสค์ และสลายไปในไซบีเรีย

พายุไต้ฝุ่นไคตั๊ก

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 12 – 18 สิงหาคม
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เฮเลน
  • วันที่ 10 สิงหาคม ร่องมรสุมได้มีการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำ[58]และได้เกิดการไหลเวียนความร้อนระดับอ่อน[59]
  • วันที่ 12 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้เริ่มติดตามดีเปรสชันเขตร้อนอ่อนๆกับลมต่ำกว่า 30 นอต[60] ต่อมาสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้เริ่มการออกคำเตือนเกี่ยวกับระบบและใช้ชื่อ "เอเลน (Helen)"[61]และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ก็เริ่มประกาศคำเตือนในดีเปรสชันเขตร้อน 14W[62]
  • วันที่ 13 สิงหาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของดีเปรสชันเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "ไคตั๊ก"[63] 9 ชั่วโมงต่อมาหลังจาก JTWC ได้ติดตามระบบ[64] ต่อมา JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงพายุอีกครั้งเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[65]
  • วันที่ 15 สิงหาคม ระบบเริ่มมีการไหลเวียนระบบที่ดีขึ้นและ JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นไต้ฝุ่น[66]และพายุยังคงมุ่งหน้าเข้าสู่ประเทศจีนด้วยระบบที่ลึกลงและเริ่มมีลมเฉือนลดลง[67] อย่างไรก็ตามก็เป็นเพียงในเวลา 0000 UTC เท่านั้น
  • วันที่ 16 สิงหาคม JMA ได้แถลงอย่างเป็นทางการว่า ไคตั๊ก ยังคงเป็นไต้ฝุ่นอยู่[68]ในเวลาเดียวกัน PAGASA ได้ออกคำเตือนสุดท้ายของหน่วยสำหรับ "ไคตั๊ก" ที่ทางหน่วยงานเรียกว่า "เฮเลน" หลังจากนั้นระบบพายุได้เคลื่อนออกจากพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์[69]
  • วันที่ 17 สิงหาคม ไคตั๊กได้ขึ้นถล่มแผ่นดินที่คาบสมุทรเลโจวในภาคใต้ของประเทศจีนในระดับความรุนแรงของไต้ฝุ่น[70] ภายใน 6 ชั่วโมง ไคตั๊กเคลื่อนตัวสู่ชายฝั่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเวียดนามและอ่อนกำลังเป็นพายุโซนร้อน[71] ช่วงกลางคืน JTWC ได้ออกคำเตือนสุดท้ายของระบบในขณะที่ระบบอ่อนกำลังลงและเคลื่อนตัวเร็วขึ้นบนแผ่นดิน[72]
  • วันที่ 18 สิงหาคม JMA ได้หยุดติดตามพายุ[73]

พายุไต้ฝุ่นเท็มบิง

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 30 สิงหาคม
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: อินเม
  • วันที่ 16 สิงหาคม มีหย่อมความกดอากาศต่ำเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของไต้หวัน[74]
  • วันที่ 17 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศว่าระบบกลายเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[75]
  • วันที่ 18 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน (TCFA) กับระบบ[76]
  • วันที่ 19 สิงหาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "เท็มบิง" ส่วน JTWC ก็ได้ประกาศให้ระบบทวีความรุนแรงเป็นเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[77][78] ในไม่ช้าสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ก็ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อนและใช้ชื่อ "อินเม (Igme)"[79]
  • วันที่ 20 สิงหาคม เท็มบิงเริ่มทวีกำลังแรงขึ้นและมีความหนาแน่นแบบแรงระเบิดไหลออกคู่ส่งผลให้ JMA และ JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงเท็มบิงเป็นไต้ฝุ่น[80][81]
  • วันที่ 22 สิงหาคม เท็มบิงได้ทวีกำลังแรงขึ้นไปอีกเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 และเริ่มมีผนังขอบตาพายุ[82]
  • วันที่ 23 สิงหาคม เท็มบิงกลับมาทวีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งและมีความรุนแรงถึงไต้ฝุ่นระดับ 3 ก่อนจะขึ้นถล่มแผ่นดิน ผิงตง, ไต้หวัน ในวันเดียวกัน[83]
  • วันที่ 24 สิงหาคม หลังจากที่พายุขึ้นถล่มแผ่นดินไต้หวันก็เริ่มอ่อนกำลังลง ต่อมา JMA ได้ประกาศลดความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และ JTWC ได้ประกาศลดระดับความรุนแรงพายุเป็นพายุโซนร้อนในภายหลัง[84]
  • วันที่ 25 สิงหาคม ในไม่ช้า JTWC ประกาศทวีความรุนแรงระบบอีกครั้งเป็นไต้ฝุ่นเมื่อพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่ทะเลจีนใต้ ต่อมา JMA ประกาศทวีความรุนแรงเป็นไต้ฝุ่นอีกครั้ง

พายุไต้ฝุ่นบอละเวน

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 19 – 29 สิงหาคม
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
910 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.87 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ฮูเลียน
  • วันที่ 19 สิงหาคม อดีตของพายุดีเปรสชันเขตร้อนทางตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะมาเรียนา[85]โบเลเวน ได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องและค่อยๆเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในพื้นที่พัฒนาเขตร้อน
  • วันที่ 21 สิงหาคม ระบบทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนอย่างรวดเร็วและหลังจากนั้นได้ทวีความรุนแรงเป็นไต้ฝุ่น[86][87]
  • วันที่ 24 สิงหาคม ระบบได้มีลมหมุนเวียนสูงสุด 185 กม./ชม. (115 ไมล์) และมีความกดอากาศ 910 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล; 26.81 นิ้วปรอท) และอ่อนกำลังเล็กน้อย พายุได้เคลื่อนผ่านโอะกินะวะ
  • วันที่ 26 สิงหาคม ระบบเริ่มเคลื่อนตัวไปทางเหนือ[88][89][90]
  • วันที่ 28 สิงหาคม บอละเวนได้อ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่อง และเคลื่อนตัวเข้าหาคาบสมุทรเกาหลีและเคลื่อนเข้าถล่มแผ่นดินเกาหลีในที่สุดก่อนจะกลายเป็นไซโคลนเต็มรูปแบบ[91] ส่วนที่เหลืออยู่ของบอละเวนเคลื่อนตัวเข้าสู่รัสเซียอย่างรวดเร็ว[92]

แม้ว่าบอละเวน ในขณะโจมตีเกาะริวกิวนั้นเป็นพายุไต้ฝุ่น แต่ก็มีความเสียหายน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้[93] ผลกระทบที่รุนแรงที่สุดจะเป็นฝนตกหนักเป็นจำนวน 551.5 มม. (21.71 นิ้ว) ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่ม[94]มีคนหนึ่งจมน้ำเสียชีวิตในอะมะมิ โอะชิมะหลังจากที่ถูกน้ำพลัดหายไปในแม่น้ำ[95]ในญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่ มีสองคนถูกพัดหายไปในทะเล[96][97] ในเกาหลีใต้ มีคนจำนวน 19 คนถูกฆ่าโดยพายุ อาคารหลายหลังคาเรือนได้รับความเสียหายและประมาณ 1.9 ล้านหลังคาเรือนต้องอยู่อย่างไม่มีไฟฟ้าใช้[98][99]ในประเทศเกาหลีมีความเสียหายถึง 420 พันล้านวอน () สวนแอปเปิ้ลส่วนใหญ่ถูกทำลายไป[100] ส่วนความเสียหายในเกาหลีเหนือคือ มีผู้เสียชีวิตจากพายุอย่างน้อย 59 คนและมีบุคคลสูญหายไป 50 คน[101] นอกจากนี้บ้านเรือนประชาชนนอกชายฝั่ง 6,700 หลังคาเรือนถูกทำลายไป และมีผูเสียชีวิต 9 คนจากเรื่อล่มในจีน[102]

พายุไต้ฝุ่นซันปา

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 10 – 18 กันยายน
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: กาเรน
  • วันที่ 9 กันยายน บริเวณถูกรบกวนเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางใต้ของกวม[103]
  • วันที่ 10 กันยายน ระบบเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตก, JMA ปรับเพิ่มทวีความรุนแรงเป็นดีเปรสชันเขตร้อนบริเวณปาเลา, JTWC ออกประกาศ TCFA ในระบบ โดย JTWC ได้ปรับเพิ่มทวีความรุนแรงเป็นดีเปรสชันเขตร้อนเช่นกัน
  • วันที่ 11 กันยายน JMA ได้ประกาศเพิ่มทวีความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อน (TS) และใช้ชื่อว่า "ซันปา (Sanba)" ,สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ ออกประกาศใช้ชื่อว่า "กาเรน (Karen)"[104]
  • วันที่ 12 กันยายน JTWC ประกาศทวีความรุนแรงพายุเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 ขณะที่ตัวระบบเริ่มมีลักษณะของตาพายุ
  • วันที่ 13 กันยายน JTWC ประกาศทวีความรุนแรงของพายุเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 5 (พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น), และเป็นพายุที่แรงที่สุดนับจากไต้ฝุ่นเมกีปี พ.ศ. 2553

พายุไต้ฝุ่นเจอลาวัต

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 20 กันยายน – 1 ตุลาคม
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ลาวิน
  • วันที่ 17 กันยายน มีการตรวจพบความแปรปรวนเขตร้อนทางทิศตะวันออกของกวม
  • วันที่ 20 กันยายน JTWC ประกาศ TCFA พร้อม JMA ประกาศทวีความรุนแรงบริเวณความกดอากาศต่ำเป็นดีเปรสชันเขตร้อน (TD), 8 ชั่วโมงต่อมา PAGASA ได้ทวีความรุนแรงของระบบให้เป็นดีเปรสชันเขตร้อนและใช้ชื่อ "ลาวิน (Lawin)" จากนั้น JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงของมันเป็นดีเปรสชันเขตร้อนด้วยเช่นกัน

ต่อมา JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อน (TS) และใช้ชื่อ "เจอลาวัต (Jelawat)" เช่นเดียวกับ JTWC

  • วันที่ 21 กันยายน เพียงครึ่งวันต่อจากนั้น JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของ เจอลาวัต เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง (STS)
  • วันที่ 23 กันยายน ทั้ง JMA และ JTWC ประกาศทวีความรุนแรงของ เจอลาวัต เป็นไต้ฝุ่น (TY) ขณะที่ตัวพายุเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 (Category 1 Typhoon) และกลายเป็น ไต้ฝุ่นระดับ 4 (Category 4 Typhoon) ภายในระยะเวลา 12 ชั่วโมง ขณะที่เริ่มมีการพัฒนาของตาพายุเล็ก ๆ บริเวณใจกลางพายุ
  • วันที่ 25 กันยายน เจอลาวัต มีขนาดกว้างขึ้น 50 กิโลเมตร หลังจากมีพนังขอบตาพายุ, JTWC ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็น ซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (Category 5 Super Typhoon)
  • วันที่ 26 กันยายน JTWC ประกาศลดระดับความรุนแรงเป็น ซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (Category 4 Super Typhoon)
  • วันที่ 28 กันยายน หลังจากไต้ฝุ่นเจอลาวัตขึ้นฝั่งที่ประเทศไต้หวัน ก็ได้อ่อนกำลังลงเรื่อยๆ จาก ซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 เป็นไต้ฝุ่นระดับ 3 และ 2 และเนื่องจากอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่เย็นขึ้นทำให้มันอ่อนกำลังลงไปอีกเป็น ไต้ฝุ่นระดับ 1

พายุโซนร้อนกำลังแรงเอวิเนียร์

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 23 – 30 กันยายน
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 22 กันยายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวทางตะวันตกของเกาะกวม
  • วันที่ 23 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 24 กันยายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน ต่อมาได้ประกาศทวีความรุนแรงอีกครั้งเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ "เอวิเนียร์" และเริ่มเคลื่อนออกจากเจอลาวัต ต่อมา JMA ได้เปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียมพายุที่มีลักษณะเหมือนตาขนาดเล็กปรากฏอยู่
  • วันที่ 29 กันยายน ระบบสลายไปโดยลมเฉือนแนวตั้งกำลังแรงและกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนเต็มรูปแบบในวันรุ่งขึ้น[105]

พายุโซนร้อนกำลังแรงมาลิกซี

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 29 กันยายน – 4 ตุลาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 27 กันยายน มีการตรวจพบความแปรปรวนเขตร้อนใกล้กับรัฐชุก
  • วันที่ 29 กันยายน JMA ประกาศทวีความรุนแรงบริเวณความกดอากาศต่ำเป็นดีเปรสชันเขตร้อน (TD)
  • วันที่ 1 ตุลาคม ระบบพัฒนาเป็นพายุโซนร้อน JMA ประกาศใช้ชื่อ มาลิกซี
  • วันที่ 3 ตุลาคม JMA ประกาศทวีความรุนแรงของพายุจากพายุโซนร้อน เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 4 ตุลาคม มาลิกซี เริ่มอ่อนกำลังลงและสลายตัวไปในที่สุด

พายุโซนร้อนกำลังแรงแคมี

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 29 กันยายน – 7 ตุลาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: มาร์เซ
  • วันที่ 28 กันยายน มีการตรวจพบความแปรปรวนเขตร้อนทางตะวันออกของเวียดนาม
  • วันที่ 29 กันยายน JMA ประกาศทวีความรุนแรงบริเวณความกดอากาศต่ำเป็นดีเปรสชันเขตร้อน (TD) ภายในร่องความกดอากาศต่ำ (ร่องมรสุม) ที่ระยะห่างจากนครโฮจิมินห์ ประมาณ 745 กิโลเมตร (465 ไมล์)[106][107]
  • วันที่ 1 ตุลาคม ระบบพัฒนาเป็นพายุโซนร้อน JMA ประกาศใช้ชื่อ แคมี

พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณ

[แก้]
1221 (JMA)・22W (JTWC)・นีนา (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 5 ตุลาคม – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นพระพิรุณ
  • วันที่ 5 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นห่างจากฮากัตญา กวม ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 115 กิโลเมตร (70 ไมล์) ในเวลานั้น พายุดีเปรสชันมีศูนย์กลางการหมุนเวียนของลมระดับต่ำที่รวมตัวกันอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลอุ่น และมีลมเฉือนแนวตั้งเล็กน้อยด้วยการพาความร้อนจากศูนย์กลางของพายุที่เพิ่มขึ้น
  • วันที่ 7 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และกำหนดให้ชื่อว่า พระพิรุณ ในเวลาเดียวกันศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) เริ่มออกคำแนะนำเกี่ยวกับพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อนที่จะยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนในเวลาต่อมา และรายงานว่าพายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีแถบพายุดีเปรสชันเขตร้อนลึกห่อหุ้มจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปยังทิศตะวันออกของศูนย์กลางพายุในเช้าวันรุ่งขึ้น
  • วันที่ 8 ตุลาคม พายุโซนร้อนพระพิรุณก็ได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมีแถบโค้งแน่นหนาเหนือศูนย์กลางของพายุในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกตามสันเขากึ่งเขตร้อน ต่อมาสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า นีนา เมื่อพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ในช่วงดึกของวันเดียวกันนั้น และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนกำลังแรงให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่น เนื่องจากพายุมีแถบพายุฝนฟ้าคะนองลึกที่ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นตามแนวทิศใต้
  • วันที่ 9 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ดำเนินการเมื่อพายุเริ่มมีการพัฒนาลักษณะของตาพายุบนภาพถ่ายดาวเทียมในวันต่อมา พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 เนื่องจากพายุเริ่มเคลื่อนตัวเกือบนิ่งเพราะจากสภาพแวดล้อมการบังคับทิศทางที่อ่อนแอระหว่างสันเขากึ่งเขตร้อนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และสันเขาใกล้เส้นศูนย์สูตรทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
  • วันที่ 11 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณเริ่มพัฒนาตาพายุประมาณ 33 กิโลเมตร (20 ไมล์) ซึ่งถึงสถานะกำลังแรงสูงสุดเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 เมื่อช่วงค่ำของในวันรุ่งขึ้น และพายุก็เริ่มอ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 เนื่องจากตาพายุเริ่มขรุขระพร้อมกับยอดเมฆที่อุ่นขึ้นในขณะที่พายุถูกบังคับทิศทางไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือโดยสันเขาใกล้เส้นศูนย์สูตรในวันถัดมา
  • วันที่ 13 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณได้อ่อนกำลังลงอีกเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 เนื่องจากการเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ และพายุก็ได้ชะลอการเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ พายุกำลังเคลื่อนตัวช้า ๆ เนื่องจากสันเขากึ่งเขตร้อนทางทิศตะวันออกเริ่มควบคุมสภาพแวดล้อมการบังคับทิศทางในขณะที่สันเขาใกล้เส้นศูนย์สูตรอ่อนกำลังลง และการพาความร้อนจากศูนย์กลางของพายุก็ลดลงเช่นกัน ก่อนที่จะเปิดตาพายุที่ระยะประมาณ 28 กิโลเมตร (17 ไมล์) ในวันถัดมา
  • วันที่ 15 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณเริ่มมีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งจนถึงระดับกำลังแรงสูงสุดในขณะนั้น เนื่องจากความร้อนจากดวงอาทิตย์ลึกห่อหุ้มตาพายุที่ระยะประมาณ 110 กิโลเมตร (68 ไมล์) และเกือบจะหยุดเคลื่อนตัวอีกครั้งเพราะเข้าสู่บริเวณคอลในขณะที่พายุโซนร้อนกำลังแรงมาเรียกำลังเคลื่อนตัวไปรอบสันเขากึ่งเขตร้อนที่อยู่ใกล้เคียงกับพายุไต้ฝุ่นพระพิรุณ หลังจากนั้นพายุก็เริ่มอ่อนกำลังลงในช่วงปลายวันเดียวกัน เนื่องจากความร้อนจากดวงอาทิตย์ลึกลดลงในทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือโดยมียอดเมฆที่อุ่นขึ้น
  • วันที่ 16 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และวันต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน เนื่องจากอากาศแห้งแทรกซึมเข้าไปในโครงสร้างของพายุในขณะที่พายุเริ่มเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก หลังจากนั้นพายุก็เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และขึ้นถึงขอบด้านทางทิศตะวันตกของสันเขากึ่งเขตร้อนในขณะที่ศูนย์กลางของพายุเปิดโล่งเต็มที่เมื่ออากาศเย็นจากทะเลจีนตะวันออกพัดเข้ามาในพายุต่อมา
  • วันที่ 18 ตุลาคม พายุได้เคลื่อนตัวออกจากพื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ จึงทำให้สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้ออกคำแนะนำสุดท้ายเมื่อพายุเริ่มเคลื่อนตัวเร็วขึ้น การพาความร้อนลึกก็ลดลงในขณะที่อากาศแห้งล้อมรอบศูนย์กลางของพายุพร้อมกับลมเฉือนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากร่องความกดอากาศระดับบนทำให้เกิดการทรุดตัวอย่างหนักตามแนวด้านทางทิศตะวันตกของศูนย์กลางพายุ และไม่นานพายุโซนร้อนพระพิรุณก็ฝังตัวอยู่ในกลุ่มความกดอากาศที่มีลมเฉือนรุนแรง เนื่องจากโครงสร้างของพายุเริ่มขยายตัวโดยการพาความร้อนลึกคลี่คลาย และเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือของศูนย์กลางพายุเริ่มเปลี่ยนผ่านนอกเขตร้อนในช่วงปลายวันเดียวกัน
  • วันที่ 19 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกคำแนะนำสุดท้ายในช่วงเช้าของวันถัดมา เนื่องจากอากาศเย็น และแห้งแทรกซึมเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุจากทางทิศตะวันตก พายุโซนร้อนพระพิรุณได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนอย่างสมบูรณ์ 12 ชั่วโมงต่อมา ขณะที่พายุเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือก่อนจะเปลี่ยนทิศไปทางทิศเหนือ และถูกสังเกตเห็นครั้งสุดท้ายใกล้หมู่เกาะอะลูเชียน
พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณกำลังเคลื่อนตัวช้า ๆ เนื่องจากสันเขากึ่งเขตร้อนทางทิศตะวันออกเริ่มควบคุมสภาพแวดล้อมการบังคับทิศทางในขณะที่สันเขาใกล้เส้นศูนย์สูตรอ่อนกำลังลง และการพาความร้อนจากศูนย์กลางของพายุก็ลดลงเช่นกัน พายุก็เริ่มมีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งจนถึงระดับกำลังแรงสูงสุดในขณะนั้น และเกือบจะหยุดเคลื่อนตัวอีกครั้งเพราะเข้าสู่บริเวณคอลในขณะที่พายุโซนร้อนกำลังแรงมาเรียกำลังเคลื่อนตัวไปรอบสันเขากึ่งเขตร้อนที่อยู่ใกล้เคียงกับพายุไต้ฝุ่นพระพิรุณ[108] หลังจากนั้นพายุก็เริ่มอ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในขณะที่เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก และเริ่มเคลื่อนตัวเร็วขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 18 ตุลาคม พายุโซนร้อนพระพิรุณได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือก่อนที่จะเปลี่ยนทิศทางไปทางทิศเหนือใกล้หมู่เกาะอะลูเชียน[109]

พายุโซนร้อนกำลังแรงมาเรีย

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 12 – 20 ตุลาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 13 ตุลาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[110]ในขณะที่ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของปากันในหมู่เกาะนอร์ทเทิร์นมาเรียนาห่างประมาณ 50 ไมล์ทะเล (93 กิโลเมตร; 85 ไมล์)[111]
  • วันที่ 14 ตุลาคม ระบบเคลื่อนไปทางตะวันตกและทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนมาเรีย[112]
  • วันที่ 15 ตุลาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรง มาเรีย เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[113]
  • วันที่ 19 ตุลาคม การไหลเวียนลมเฉือนทำให้พายุเริ่มเคลื่อนที่ช้าลง[114]
  • วันที่ 20 ตุลาคม เศษที่เหลือกำลังรวมเข้ากับ พระพิรุณ โดยพระพิรุณเป็นฝ่ายดึงเศษของมาเรียเข้าไป[115]

พายุไต้ฝุ่นเซินติญ

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 21 – 29 ตุลาคม
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
945 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.91 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โอเฟล

พายุไต้ฝุ่นบบพา

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 25 พฤศจิกายน – 9 ธันวาคม
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
930 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.46 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ปาโบล
  • วันที่ 23 พฤศจิกายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพบพื้นที่ความกดอากาศต่ำขนาดใหญ่ 90w[117] ระบบก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ และมีสภาพที่สมบูรณ์ขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิผิดน้ำทะเลที่อบอุ่น[118]
  • วันที่ 25 พฤศจิกายน JTWC และ JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในขณะที่ JTWC ได้ใช้สัญญาณเรียกขาน 26W[119][120] 26W ได้กลายเป็นพายุโซนร้อนโดยสถานะทำให้ JMA ใช้ชื่อทางการว่า "บบพา"[121]
  • วันที่ 27 พฤศจิกายน JTWC ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนบบพา[122]
  • วันที่ 2 ธันวาคม พายุได้เคลื่อนตัวมาในเขตรับผิดชอบของฟิลิปปินส์และได้ชื่อ "ปาโบล (Pablo)"
  • วันที่ 3 ธันวาคม ระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่คาดคิดระบบกลายเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 และเริ่มมีตาที่กว้าง 27 กิโลเมตร

บบพาขึ้นถล่มแผ่นดินฟิลิปปินส์ในระดับความรุนแรงเป็นซุเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 [123]

  • วันที่ 9 ธันวาคม JTWC ได้ประกาศคำเตือนสุดท้ายของพายุ[124]

พายุโซนร้อนอู๋คง

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 24 – 28 ธันวาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: กินตา

พายุทำให้เกิดแผ่นดินถล่มในหมู่เกาะวิซายาของฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ขณะที่กำลังทวีความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อน ด้วยการจัดระบบการพาความร้อนอย่างดีของพายุขณะที่กำลังเคลื่อนผ่านฟิลิปปินส์[130][131] ต่อมา PAGASA ได้รายงานว่า อู๋คง ได้ทำให้เกิดแผ่นดินถล่มในเกาะเล็กๆ ในภาคกลางของฟิลิปปินส์รวม 7 ครั้ง[132]

วันที่ 27 ธันวาคม พายุได้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 11 คนในฟิลิปปินส์ และเคลื่อนไปทางทะเลจีนใต้โดยลงทะเลที่ตะวันออกของจังหวัดปาลาวัน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมะนิลา[133]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

[แก้]

รายการพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน โดยอาจเป็นพายุที่มีรหัสเรียกตามหลังด้วยตัวอักษร W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม หรืออาจได้รับชื่อท้องถิ่นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) แต่ไม่ถูกตั้งชื่อตามเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวระบุเพียงแต่คำว่า TD (Tropical Depression) หรือพายุดีเปรสชันเท่านั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 1

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 13 – 14 มกราคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

วันที่ 13 มกราคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ปรับให้หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณใกล้กับประเทศสิงคโปร์เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 01W

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 21 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 17 กุมภาพันธ์ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพบว่ามีการก่อตัวของพายุดีเปรสชันเขตร้อน ห่างจากกรุงมะนิลาบนเกาะลูซอนไปทางใต้ 800 กิโลเมตร (500 ไมล์)[134] ต่อมาดีเปรสชันเขตร้อนได้เคลื่อนตัวไปทางตะวันตก ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) เริ่มประกาศคำแนะนำที่เวลา 1500 UTC (22.00 น. ตามเวลาประเทศไทย) และได้ประกาศให้ระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน 01W[135] อย่างไรก็ตาม หกชั่วโมงต่อมา JTWC ได้ออกประกาศสุดท้ายของระบบ เนื่องจากเกิดลมเฉือน และพบว่าไม่มีการหมุนเวียนลมใกล้ศูนย์กลางในการประเมินโครงสร้างพายุดีเปรสชัน[136]
  • วันที่ 20 กุมภาพันธ์ JMA ยังคงตรวจสอบดีเปรสชันเขตร้อน ก่อนที่จะประกาศคำเตือนสุดท้ายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์[137]

ผลกระทบจากพายุดีเปรสชัน 01W ทำให้มีฝนตกหนักบริเวณแถบนอกของพายุและทำให้เกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่มในหลายพื้นที่ของฟิลิปปินส์ตะวันตก มีอย่างน้อยสองคนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ และอีกหนึ่งคนพบว่าสูญหายไป มีบ้านเรือนประชาชนสามหลังคาเรือนถูกทำลาย และอีกห้าหลังคาเรือนได้รับความเสียหาย รวมแล้วมีประชาชนเกือบ 30,000 คนได้รับผลกระทบจากพายุและความสูญเสียนับเป็นมูลค่าเกิน 40 ล้านเปโซ (₱)[138]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 3

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 8 – 11 เมษายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 4 เมษายน กลุ่มพายุฝนฟ้าคะนองอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่เกาะฮาวาย พัฒนาเป็นพื้นที่ความกดอากาศต่ำ
  • วันที่ 6 เมษายน หย่อมความกดอากาศต่ำได้เจอกับแนวลมเฉือนขนาดใหญ่แนวดิ่ง ทำให้กลุ่มพัฒนาไปทางทิศตะวันตก
  • วันที่ 8 เมษายน หย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวข้ามเส้นแบ่งเขตวันสากล เข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก, JMA ได้ปรับระดับความรุนแรงเป็นดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 10 เมษายน ลมเฉือนทำให้พายุเริ่มอ่อนตัวลง
  • วันที่ 11 เมษายน พายุสลายตัวไป

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 5

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 29 – 30 เมษายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 23 เมษายน ความแปรปวนเขตร้อนก่อตัวขึ้นบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปาเลา และเริ่มเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก
  • วันที่ 28 เมษายน พายุเคลื่อนตัวไปอยู่ใกล้เกาะมินดาเนา, JMA ออกคำเตือนเกี่ยวกับพายุ
  • วันที่ 30 เมษายน พายุนำฝนและลมถึงเกาะมินดาเนาและเริ่มอ่อนกำลังลง เนื่องจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นดิน
  • วันที่ 1 พฤษภาคม พายุได้สลายตัวไปอย่างสมบูรณ์

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 6

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 30 มิถุนายน – 5 กรกฎาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 18

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 9 – 11 สิงหาคม (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 22

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 10 – 14 กันยายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 25W

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 12 – 15 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกอื่นๆ

[แก้]
ภาพถ่ายดาวเทียมของดีเปรสชันเขตร้อนขณะกำลังส่งผลกระทบกับฟิลิปปินส์ในเดือนกรกฎาคม

วันที่ 1 มกราคม JMA ได้ประกาศเตือนดีเปรสชันเขตร้อนกำลังอ่อนที่อยู่ที่ 75 กิโลเมตร (45 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัวลา ตระเรนกานู, มาเลเซีย[139] ในระหว่างนั้นดีเปรสชันเขตร้อนได้เคลื่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างช้าๆ ก่อนจะถูกบันทึกครั้งสุดท้ายโดย JMA หลังจากนั้น[140][141] วันที่ 13 มกราคม JMA ได้เริ่มติดตามดีเปรสชันเขตร้อนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของลมเฉือนห่างจากกัวลาลัมเปอร์ไปทางตะวันออก ทาง 625 กิโลเมตร (390 ไมล์)[142][143] ระหว่างนั้นดีเปรสชันได้หยุดเคลื่อนตัวก่อนที่ JMA จะออกคำเตือนสุดท้าย ในวันถัดไประบบได้จางเหือดหายไป[144][145][146] วันที่ 8 เมษายน JMA ได้เริ่มตรวจสอบดีเปรสชันเขตร้อนมีการก่อตัวในระยะ 2,000 กิโลเมตร (1,200 ไมล์) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตาระวะ, คิริบาส[147] จากนั้นสองสามวันถัดไป JMA ยังคงเฝ้าตรวจสอบดีเปรสชันเขตร้อนก่อนที่จะถูกบันทึกครั้งสุดท้ายโดย JMA ระหว่างวันที่ 11 เมษายน ประมาณ 450 กิโลเมตร (280 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะเวค[148] ช่วงสายของวันที่ 28 เมษายน JMA รายงานว่าพายุดีเปรสชันมีการก่อตัวทางตะวันออกเฉียงใต้ ห่างจาก เมืองดาเวา บนเกาะมินดาเนาเกาะฟิลิปปินส์ ที่ระยะ 460 กิโลเมตร (290 ไมล์)[149] วันถัดไป ดีเปรสชันเขตร้อนเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือทางทิศตะวันตกก่อนที่จะถูกบันทึกครั้งสุดท้าย ในวันที่ 30 เมษายน และสลายไปใกล้ๆกับมินดาเนา[150][151][152][153]

ชื่อพายุ

[แก้]

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างทำหน้าที่กำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนอาจมีสองชื่อ[154] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาจะประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน หากมีความเร็วลมถึง 65 km/h (40 mph) พายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวจะได้รับชื่อ[155] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าหรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ มีขอบเขตอยู่ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 135°ดะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างเส้นขนานที่ 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[154] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนโดยทั้ง PAGASA และ คณะกรรมการไต้ฝุ่น[155] ในระหว่างฤดูกาล หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ที่เตรียมไว้ถูกใช้จนหมด PAGASA จะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นไว้ในแต่ละฤดูกาลมาใช้กับพายุหมุนเขตร้อนแทนชื่อที่หมดไป

ชื่อสากล

[แก้]

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 km/h (40 mph)[156] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิกและดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[157] โดยรายชื่อด้านล่างจะเป็นรายชื่อ พร้อมเลขรหัสพายุ ชื่อที่ใช้เป็นชื่อแรกของฤดูกาล 2555 คือ ปาข่า จากชุดที่ 5 และชื่อที่ใช้เป็นชื่อสุดท้ายคือ อู๋คง จากชุดที่ 1 รวมมีชื่อจากชุดรายชื่อถูกใช้ 25 ชื่อ

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนสากลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในฤดูกาล 2555
ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ
ชุดที่ 5 1201 ปาข่า
(Pakhar)
ชุดที่ 5 1208 บิเซนเต
(Vicente)
ชุดที่ 1 1215 บอละเวน
(Bolaven)
ชุดที่ 1 1222 มาเรีย
(Maria)
1202 ซ้านหวู่
(Sanvu)
1209 เซาลา
(Saola)
1216 ซันปา
(Sanba)
1223 เซินติญ
(Son-Tinh)
1203 มาวาร์
(Mawar)
ชุดที่ 1 1210 ด็อมเร็ย
(Damrey)
1217 เจอลาวัต
(Jelawat)
1224 บบพา
(Bopha)
1204 กูโชล
(Guchol)
1211 ไห่ขุย
(Haikui)
1218 เอวิเนียร์
(Ewiniar)
1225 อู๋คง
(Wukong)
1205 ตาลิม
(Talim)
1212 คีโรกี
(Kirogi)
1219 มาลิกซี
(Maliksi)
1206 ทกซูรี
(Doksuri)
1213 ไคตั๊ก
(Kai-tak)
1220 แคมี
(Gaemi)
1207 ขนุน
(Khanun)
1214 เท็มบิง
(Tembin)
1221 พระพิรุณ
(Prapiroon)

ฟิลิปปินส์

[แก้]

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[158] โดยชื่อที่ใช้ถูกนำมาจากรายชื่อ เป็นรายชื่อเดียวกับที่ถูกใช้ไปในฤดูกาล ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) และมีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) ด้วย[158] ซึ่งรายชื่อทั้งหมดเหมือนเดิมกับครั้งก่อน เว้น การีนา (Carina) และเฟร์ดี (Ferdie) ที่ถูกนำมาแทน โกสเม (Cosme) และฟรันก์ (Frank) ที่ถูกถอนไป[158] ส่วนชื่อที่ไม่ถูกใช้จะทำเป็น อักษรสีเทา

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนท้องถิ่นฟิลิปปินส์ในฤดูกาล 2555
อัมโบ (Ambo) (1203) เฟร์ดี (Ferdie) (1208) กาเรน (Karen) (1216) ปาโบล (Pablo) (1224) ยูลิสซีส (Ulysses) (ไม่ถูกใช้)
บุตโชย (Butchoy) (1204) เฮเนร์ (Gener) (1209) ลาวิน (Lawin) (1217) กินตา (Quinta) (1225) บิกกี (Vicky) (ไม่ถูกใช้)
การีนา (Carina) (1205) เฮเลน (Helen) (1213) มาร์เซ (Marce) (1220) รอลลี (Rolly) (ไม่ถูกใช้) วอร์เรน (Warren) (ไม่ถูกใช้)
ดินโด (Dindo) (1206) อินเม (Igme) (1214) นีนา (Nina) (1221) โชนี (Siony) (ไม่ถูกใช้) โยโยง (Yoyong) (ไม่ถูกใช้)
เอนเตง (Enteng) (1207) ฮูเลียน (Julian) (1215) โอเฟล (Ofel) (1223) โตนโย (Tonyo) (ไม่ถูกใช้) โซซีโม (Zosimo) (ไม่ถูกใช้)
รายชื่อเพิ่มเติม
อาลักดัน (Alakdan) (ไม่ถูกใช้) กลารา (Clara) (ไม่ถูกใช้) เอสโตง (Estong) (ไม่ถูกใช้) การ์โด (Gardo) (ไม่ถูกใช้) อิสมาเอล (Ismael) (ไม่ถูกใช้)
บัลโด (Baldo) (ไม่ถูกใช้) เดนซีโย (Dencio) (ไม่ถูกใช้) เฟลีเป (Felipe) (ไม่ถูกใช้) เฮลิง (Heling) (ไม่ถูกใช้) ฮูลีโย (Julio) (ไม่ถูกใช้)

การถอนชื่อ

[แก้]

ในฤดูกาล 2556 ESCAP/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น ได้เห็นสมควรว่าควรปลดชื่อ "บบพา" ออกจากรายชื่อทั้งหมด ส่วนสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ประกาศว่าได้มีการปลดชื่อพายุ "ปาโบล" ออกจากรายชื่อทั้งหมดเนื่องจากมียอดผู้เสียชีวิตและมูลค่าความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นปาโบล (บบพา) นั้นมีเป็นจำนวนมาก[159] ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 PAGASA ได้คัดเลือกชื่อ เปปีโต (Pepito) แทนชื่อ ปาโบล

ผลกระทบ

[แก้]

ตารางนี้รวมเอาทั้งหมดของระบบพายุที่ก่อตัวภายใน หรือ เคลื่อนตัวเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งวันสากล ภายในปี พ.ศ. 2555 ประกอบด้วยชื่อพายุ ความรุนแรง บริเวณที่มีผลกระทบ จำนวนผู้เสียชีวิต และความเสียหาย ความเสียหายทั้งหมดเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) ความเสียหายและผู้เสียชีวิตจากพายุนั้นรวมไปถึงตั้งแต่ครั้งเมื่อพายุยังเป็นเพียงหย่อมความกดอากาศต่ำ หรือเปลี่ยนผ่านไปเป็นความกดอากาศต่ำนอกเขตร้อนแล้ว

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
TD 13 – 14 มกราคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) มาเลเซีย &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
01W 17 – 21 กุมภาพันธ์ พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ &00000000010000000000001 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 2 [138]
TD 24 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ปาข่า March 26 – April 2 พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 986 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, กัมพูชา, ไทย &000000004810000000000048.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 9 [160][161][162][163]
TD 8 – 11 เมษายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 28 – 30 เมษายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ปาเลา, ฟิลิปปินส์ &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ซ้านหวู่ 20 – 27 พฤษภาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. 975 hPa (28.79 นิ้วปรอท) กวม, หมู่เกาะมาเรียนา &000000000002000000000020 พันดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000000000000 ไม่มี [12]
มาวาร์
(อัมโบ)
31 พฤษภาคม – 6 มิถุนายน พายุไต้ฝุ่น 140 กม./ชม. 960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี 3 [164]
กูโชล
(บุตโชย)
10 – 20 มิถุนายน พายุไต้ฝุ่น 185 กม./ชม. 930 hPa (27.46 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น &0000000100000000000000100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 3 [165][166]
ตาลิม
(การีนา)
16 – 21 มิถุนายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) จีน, ไต้หวัน &0000000356000000000000356 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 1 [167]
ทกซูรี
(ดินโด)
25 – 30 มิถุนายน พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 992 hPa (29.29 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, จีน &0000000000418000000000418 พันดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000000000000 ไม่มี [168]
ขนุน
(เอนเตง)
14 – 19 กรกฎาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น, เกาหลี &000000001140000000000011.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 89 [169]
บิเซนเต
(เฟร์ดี)
18 – 25 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 150 กม./ชม. 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, จีน, เวียดนาม, ลาว, พม่า &0000000324238000000000324 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 13 [167]
เซาลา
(เฮเนร์)
26 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 130 กม./ชม. 960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, จีน &00000029487400000000002.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 86 [170][171][167]
ด็อมเร็ย 27 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 130 กม./ชม. 965 hPa (28.50 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น, จีน, South เกาหลี &00000043670000000000004.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 44 [167]
ไห่ขุย 1 – 11 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 130 กม./ชม. 965 hPa (28.50 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, จีน &00000059226200000000005.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 115 [172][167]
คีโรกี 3 – 10 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 9 – 11 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ไคตั๊ก
(เฮเลน)
12 – 18 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 120 กม./ชม. 970 hPa (28.64 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, จีน, เวียดนาม, ลาว &0000000765000000000000765 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 38 [173][174][167]
เท็มบิง
(อินเม)
17 – 30 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 150 กม./ชม. 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ &00000000082500000000008.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 10 [175][176][177]
บอละเวน
(ฮูเลียน)
19 – 29 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 185 กม./ชม. 910 hPa (26.87 นิ้วปรอท) จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ไซบีเรีย &00000035862900000000003.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 96 [178][179][167]
TD August 23 – 24 พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) คาบสมุทรเกาหลี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ซันปา
(กาเรน)
10 – 18 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 205 กม./ชม. (125 mph) 900 hPa (26.58 นิ้วปรอท) ปาเลา, ญี่ปุ่น, เกาหลี, จีน, ไซบีเรีย &0000000378800000000000379 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 6
TD 10 – 13 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เจอลาวัต
(ลาวิน)
20 กันยายน – 1 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 205 กม./ชม.ช 905 hPa (26.72 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น &000000002740000000000027.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 3
เอวิเนียร์ 23 – 30 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา, ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
มาลิกซี 29 กันยายน – 4 ตุลาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) กวม, หมู่เกาะมาเรียนา, ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
แคมี
(มาร์เซ)
29 กันยายน – 7 ตุลาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, กัมพูชา, ไทย &00000000041000000000004.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 5 [163]
พระพิรุณ
(นีนา)
5 – 19 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 165 กม./ชม. 940 hPa (27.76 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี 1
มาเรีย 13 – 20 ตุลาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา, ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เซินติญ
(โอเฟล)
21 – 30 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 155 กม./ชม. 945 hPa (27.91 นิ้วปรอท) ปาเลา, ฟิลิปปินส์, จีน, เวียดนาม &0000000775500000000000776 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 42 [163][167][180]
25W 12 – 15 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) มาเลเซีย, เวียดนาม &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
บบพา
(ปาโบล)
25 พฤศจิกายน – 9 ธันวาคม พายุไต้ฝุ่น 185 กม./ชม. 930 hPa (27.46 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, ปาเลา, ฟิลิปปินส์ &00000010400000000000001.04 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 1,901 [181][182][183]
อู๋คง
(กินตา)
24 – 29 ธันวาคม Tropical storm 75 กม./ชม. 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, เวียดนาม &00000000054800000000005.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000020000000 20 [184]
สรุปฤดูกาล
34 ลูก 13 มกราคม – 29 ธันวาคม   205 กม./ชม. 900 hPa (26.58 นิ้วปรอท)   &000002066487600000000020.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 2,487


ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เกณฑ์ของ TSR: พายุไต้ฝุ่นรุนแรงจะต้องมีลมเฉลี่ยหนึ่งนาที ลมจะต้องสูงกว่า 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Saunders, Mark; Lea, Adam (May 7, 2013). Extended Range Forecast for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2013 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ October 4, 2013. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Saunders, Mark; Lea, Adam (April 13, 2012). "Extended Range Forecast for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2012" (PDF). Tropical Storm Risk Consortium. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ July 19, 2012. สืบค้นเมื่อ September 17, 2012.
  3. Saunders, Mark; Lea, Adam (July 9, 2012). "July Forecast Update for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2012" (PDF). Tropical Storm Risk Consortium. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ November 9, 2012. สืบค้นเมื่อ September 17, 2012.
  4. Saunders, Mark; Lea, Adam (August 6, 2012). "August Forecast Update for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2012" (PDF). Tropical Storm Risk Consortium. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2012. สืบค้นเมื่อ September 17, 2012.
  5. 5.0 5.1 Three to Five Typhoons Tend to Impinge upon Taiwan during 2014 (Report). Taiwan Central Weather Bureau. June 27, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Doc)เมื่อ September 23, 2015. สืบค้นเมื่อ July 7, 2014.
  6. 6.0 6.1 Servando, Nathaniel T (August 13, 2012). July to December 2012 (PDF) (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 14, 2012. สืบค้นเมื่อ September 24, 2012.
  7. 7.0 7.1 7.2 Guy Carpenter Asia-Pacific Climate Impact Centre. "Seasonal Forecast of tropical cyclone activity over the western North Pacific". City University of Hong Kong. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-23. สืบค้นเมื่อ 2012-10-30.
  8. Lee, B.Y (March 20, 2012). "Speech by Mr CM Shun, Director of the Hong Kong Observatory March 20, 2012" (PDF). Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-17. สืบค้นเมื่อ September 17, 2012.
  9. Climatological Center, Meteorological Development Bureau (May 21, 2012). "Weather outlook for Thailand during Rainy Season (June — October 2012)" (PDF). Thai Meteorological Department. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-17. สืบค้นเมื่อ September 17, 2012.
  10. Servando, Nathaniel T (August 13, 2012). July to December 2012 (PDF) (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-23. สืบค้นเมื่อ September 24, 2012.
  11. 11.0 11.1 RSMC Tokyo - Typhoon Center (April 27, 2012). "RSMC Tropical Cyclone Best Track: Tropical Storm Sanvu (1202)". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-29. สืบค้นเมื่อ August 20, 2012.
  12. 12.0 12.1 12.2 National Weather Service Forecast Office Guam; National Climatic Data Center (2012). "Storm Events Database: Guam: Tropical Storm Sanvu". National Oceanic and Atmospheric Administration. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-20. สืบค้นเมื่อ 2012-12-22.
  13. "JMA WWJP25 Warning and Summary July 21, 2012 12z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-25. สืบค้นเมื่อ July 21, 2012.
  14. Joint Typhoon Warning Centre (June 25, 2012). "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Ocean". The United States Navy and The United States Airforce. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-25. สืบค้นเมื่อ 2012-08-19.
  15. "Severe Weather Bulletin Number One, Tropical Cyclone Alert: Tropical Depression "Dindo" Issued at 5:00 pm, Tuesday, June 26, 2012". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-26. สืบค้นเมื่อ 2012-08-19.
  16. RSMC Tokyo — Typhoon Center (June 26, 2012). "RSMC Tropical Cyclone Advisory June 26, 2012 12z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-26. สืบค้นเมื่อ July 21, 2012.
  17. "強熱帶風暴"杜蘇芮"在廣東省珠海市沿海登陸". National Meteorological Center of CMA. 2012-06-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-31. สืบค้นเมื่อ 2012-06-29.
  18. RSMC Tokyo — Typhoon Center (July 27, 2012). "RSMC Tropical Cyclone Best Track: Tropical Storm Doksuri". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-27. สืบค้นเมื่อ July 27, 2012.
  19. Tropical Storm Doksuri (1206) (Tropical Cyclone Report). Tropical Cyclones Affecting Hong Kong in 2012. Hong Kong Observatory. July 20, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-29. สืบค้นเมื่อ 2012-08-19.
  20. "Scores killed in North Korea floods" (ภาษาอังกฤษ). Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 29 July 2012.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  21. "WWJP25 RJTD 181200". Japan Meteorological Agency. July 18, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ July 23, 2012.
  22. "Tropical Cyclone Formation Alert". Joint Typhoon Warning Center. July 20, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ July 23, 2012.
  23. "Severe Weather Bulletin Number ONE". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. July 20, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ July 23, 2012.
  24. "Tropical Depression 09W Advisory One". Joint Typhoon Warning Center. July 20, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ July 23, 2012.
  25. "Tropical Storm Vicente Tropical Cyclone Advisory 211200". Japan Meteorological Agency. July 21, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ July 23, 2012.
  26. "Typhoon Vicente Tropical Cyclone Advisory 231200". Japan Meteorological Agency. July 23, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ July 28, 2012.
  27. "強颱風韋森特超勁 天文台改發10號波". Sharp Daily. July 23, 2012. สืบค้นเมื่อ July 24, 2012.
  28. ""韦森特"24日4时15分前后登陆广东台山沿海". Sina News. July 23, 2012. สืบค้นเมื่อ July 23, 2012.
  29. "Severe Tropical Storm Vicente Tropical Cyclone Advisory 240000". Japan Meteorological Agency. July 24, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ July 28, 2012.
  30. "Typhoon 09W (Vicente) Advisory Fourteen". Joint Typhoon Warning Center. July 24, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-09. สืบค้นเมื่อ July 28, 2012.
  31. "Tropical Depression Vicente Tropical Cyclone Advisory 241800". Japan Meteorological Agency. July 24, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ July 28, 2012.
  32. "TD Tropical Cyclone Advisory 270000". Japan Meteorological Agency. July 27, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-31. สืบค้นเมื่อ August 2, 2012.
  33. "Tropical Cyclone Formation Alert". Joint Typhoon Warning Center. July 28, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-21. สืบค้นเมื่อ August 2, 2012.
  34. "Tropical Storm Damrey Tropical Cyclone Advisory 281200". Japan Meteorological Agency. July 28, 2012. สืบค้นเมื่อ August 2, 2012.[ลิงก์เสีย]
  35. "Tropical Depression 11W Advisory 1". Joint Typhoon Warning Center. July 28, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ August 2, 2012.
  36. "Tropical Storm 11W (Damrey) Advisory 4". Joint Typhoon Warning Center. July 29, 2012. สืบค้นเมื่อ August 2, 2012.[ลิงก์เสีย]
  37. "Severe Tropical Storm Damrey Tropical Cyclone Advisory 301800". Japan Meteorological Agency. July 30, 2012. สืบค้นเมื่อ August 2, 2012.[ลิงก์เสีย]
  38. "Typhoon 11W (Damrey) Advisory 15". Joint Typhoon Warning Center. August 1, 2012. สืบค้นเมื่อ August 2, 2012.[ลิงก์เสีย]
  39. ""达维"在江苏省响水县陈家港镇沿海登陆". Xinhua News Agency. August 2, 2012. สืบค้นเมื่อ August 2, 2012.
  40. "WWJP25 RJTD 040600". Japan Meteorological Agency. August 4, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ August 4, 2012.
  41. "WWJP25 RJTD 011200". Japan Meteorological Agency. August 1, 2012. สืบค้นเมื่อ August 4, 2012.[ลิงก์เสีย]
  42. "Tropical Cyclone Formation Alert". Joint Typhoon Warning Center. August 1, 2012. สืบค้นเมื่อ August 4, 2012.[ลิงก์เสีย]
  43. "Tropical Depression 12W Advisory 1". Joint Typhoon Warning Center. August 2, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ August 4, 2012.
  44. "Tropical Storm Haikui Tropical Cyclone Advisory 030000". Japan Meteorological Agency. August 3, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ August 4, 2012.
  45. "Tropical Storm 12W (Haikui) Advisory 6". Joint Typhoon Warning Center. August 4, 2012. สืบค้นเมื่อ August 4, 2012.[ลิงก์เสีย]
  46. "Severe Tropical Storm Haikui Tropical Cyclone Advisory 051200". Japan Meteorological Agency. August 5, 2012. สืบค้นเมื่อ August 6, 2012.[ลิงก์เสีย]
  47. "强台风"海葵"登陆浙江象山鹤浦镇 速度将放缓". China News. August 7, 2012. สืบค้นเมื่อ August 7, 2012.
  48. "JMA WWJP25 Warning and Summary August 3, 2012 00z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-04. สืบค้นเมื่อ September 24, 2012.
  49. Joint Typhoon Warning Center. "Significant Tropical Weather Outlook for the Western and South Pacific Ocean August 2, 2012 00z". United States Navy, United States Airforce. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-03. สืบค้นเมื่อ September 23, 2012.
  50. "ABPW10 PGTW 040600". Joint Typhoon Warning Center. August 4, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ August 4, 2012.
  51. "Tropical Storm 13W (Thirteen) Warning Nr 003". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 6, 2012. สืบค้นเมื่อ August 19, 2012.
  52. "JMA WWJP25 Warning and Summary August 7, 2012 00z". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2012. สืบค้นเมื่อ August 19, 2012. Developing Low 1000 hPa at 29N 162E sea around of Wake moving north slowly.
  53. "Tropical Storm Kirogi Tropical Cyclone Advisory 0000z". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2012. สืบค้นเมื่อ August 19, 2012.
  54. "Tropical Depression 13W (Kirogi) Warning Nr 018". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2012. สืบค้นเมื่อ August 19, 2012.
  55. "Severe Tropical Storm Kirogi Tropical Cyclone Advisory 0600z". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2012. สืบค้นเมื่อ August 19, 2012.
  56. "Tropical Storm 13W (Kirogi) Warning Nr 019". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2012. สืบค้นเมื่อ August 19, 2012.
  57. Joint Typhoon Warning Center. "Tropical Storm 13W (Kirogi) Warning Nr 021". United States Navy, United States Air Force. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2012. สืบค้นเมื่อ August 19, 2012.
  58. "Typhoon Kai-tak - Tropical Weather Outlook 1". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ August 18, 2012.
  59. "Tropical Weather Outlook 2 - Typhoon Kai-tak". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ August 18, 2012.[ลิงก์เสีย]
  60. "JMA Tropical Cyclone Advisory 1 - Typhoon Kai-tak". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ August 18, 2012.
  61. "Severe Weather Bulletin Number ONE - Tropical Depression "HELEN"". PAGASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ August 18, 2012.
  62. "TROPICAL DEPRESSION 14W (FOURTEEN) WARNING NR 001". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ August 18, 2012.
  63. "RSMC TROPICAL CYCLONE ADVISORY 130000". JMA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ August 18, 2012.
  64. "TROPICAL STORM 14W (KAI-TAK) WARNING NR 004". JTWC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ August 18, 2012.
  65. "RSMC TROPICAL CYCLONE ADVISORY 151500". JMA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ August 18, 2012.
  66. "PROGNOSTIC REASONING FOR TYPHOON 14W (KAI-TAK) WARNING NR 13". JTWC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ August 20, 2012.
  67. "ROGNOSTIC REASONING FOR TYPHOON 14W (KAI-TAK) WARNING NR 18". JTWC. สืบค้นเมื่อ August 20, 2012.[ลิงก์เสีย]
  68. "RSMC TROPICAL CYCLONE ADVISORY 170000". JMA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ August 20, 2012.
  69. "Weather Bulletin Number FOURTEEN(FINAL) on Tropical Storm "HELEN"". PAGASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ August 20, 2012.
  70. "PROGNOSTIC REASONING FOR TYPHOON 14W (KAI-TAK) WARNING NR 20". JTWC. สืบค้นเมื่อ August 20, 2012.[ลิงก์เสีย]
  71. "PROGNOSTIC REASONING FOR TROPICAL STORM 14W (KAI-TAK) WARNING NR 21". JTWC. สืบค้นเมื่อ August 20, 2012.[ลิงก์เสีย]
  72. "TROPICAL STORM 14W (KAI-TAK) WARNING NR 022". JTWC. สืบค้นเมื่อ August 20, 2012.[ลิงก์เสีย]
  73. "RSMC TROPICAL CYCLONE ADVISORY 180600". JMA. สืบค้นเมื่อ August 20, 2012.[ลิงก์เสีย]
  74. "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Ocean". Joint Typhoon Warning Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 22, 2012. สืบค้นเมื่อ August 17, 2012.
  75. "JMA WWJP25 Warning and Summary August 17, 2012 06z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 17, 2012. สืบค้นเมื่อ August 17, 2012.
  76. "Tropical Cyclone Formation Alert". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 21, 2012. สืบค้นเมื่อ August 19, 2012.
  77. "Tropical Storm Tembin Tropical Cyclone Advisory 0000z". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2012. สืบค้นเมื่อ August 19, 2012.
  78. "Tropical Depression 15W (Fourteen) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 31, 2012. สืบค้นเมื่อ August 19, 2012.
  79. "Tropical Cyclone Alert: Tropical Depression "IGME": Number One". PAGASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2012. สืบค้นเมื่อ August 19, 2012.
  80. "RSMC TROPICAL CYCLONE ADVISORY 200000". JMA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-19. สืบค้นเมื่อ August 21, 2012.
  81. "PROGNOSTIC REASONING FOR TYPHOON 15W (TEMBIN) WARNING NR 05". JTWC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-19. สืบค้นเมื่อ August 21, 2012.
  82. "Prognostic Reasoning for Tropical Cyclone Warning 14 on Typhoon Tembin". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ August 24, 2012.
  83. "天秤清晨5時 屏東牡丹登陸". The Liberty Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-18. สืบค้นเมื่อ August 24, 2012.
  84. "Prognostic Reasoning for Tropical Cyclone Warning 22 on Typhoon Tembin". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ August 24, 2012.
  85. "JMA High Seas Forecast". Japan Meteorological Agency. August 19, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ September 4, 2012.
  86. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 16W (Bolaven) Warning NR 002". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. August 20, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-14. สืบค้นเมื่อ September 4, 2012.
  87. "JMA Tropical Cyclone Advisory Three". Japan Meteorological Agency. August 20, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-14. สืบค้นเมื่อ September 4, 2012.
  88. "JMA Tropical Cyclone Advisory Forty-Nine". Japan Meteorological Agency. August 26, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ September 5, 2012.
  89. "Prognostic Reasoning for Typhoon 16W (Bolaven) Warning NR 27". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. August 26, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ September 5, 2012.
  90. "JMA Tropical Cyclone Advisory Fifty-Four". Japan Meteorological Agency. August 26, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ September 5, 2012.
  91. "Prognostic Reasoning for Typhoon 16W (Bolaven) Warning NR 32". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. August 27, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ September 5, 2012.
  92. "JMA Tropical Cyclone Advisory Eighty-Three (Final)". Japan Meteorological Agency. August 29, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ September 5, 2012.
  93. "Massive Typhoon Bolaven roars over Okinawa, heads for Koreas". Tokyo, Japan: CNN. August 27, 2012. สืบค้นเมื่อ August 27, 2012.
  94. "<台風15号>高波で男性1人不明 、鹿児島・南さつま". 毎日新聞. Yahoo! News. August 28, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ August 29, 2012. (ญี่ปุ่น)
  95. "台風北上、九州が強風域に…14号も接近中". 読売新聞. Yahoo! News. August 27, 2012. สืบค้นเมื่อ August 29, 2012.[ลิงก์เสีย] (ญี่ปุ่น)
  96. "高波にさらわれ男児不明…助けようとした母死亡". 読売新聞. Yahoo! News. August 28, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ August 29, 2012. (ญี่ปุ่น)
  97. "台風影響で高波、漁船転覆…ヘリ救助も船長死亡". 読売新聞. Yahoo! News. August 28, 2012. สืบค้นเมื่อ August 29, 2012.[ลิงก์เสีย] (ญี่ปุ่น)
  98. "台風15号 ソウルの強風注意報解除=死者15人". 聯合ニュース. Yahoo! News. August 29, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ August 29, 2012. (ญี่ปุ่น)
  99. "Typhoon Bolaven 2012: Powerful Winds, Rain Smash Ships". Associated Press. Seoul, South Korea: Huffington Post. August 29, 2012. สืบค้นเมื่อ August 29, 2012.
  100. 박수석 (September 14, 2012). "전남 태풍 피해액 4300억 원 최종 집계". Yeosu MBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ September 20, 2012. (เกาหลี)
  101. "Death toll from Typhoon Bolaven in North Korea reaches 59". BNO News. Pyongyang, North Korea: NewsWire Update. September 6, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ September 6, 2012.
  102. "Typhoon Bolaven hits North Korea, as death toll in the South rises". ABC Radio Australia. August 29, 2012. สืบค้นเมื่อ August 29, 2012.
  103. "Tropical Cyclone Alert 091900". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ 11 September 2012.
  104. "Weather Bulletin Number ONE". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ 11 September 2012.
  105. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-10. สืบค้นเมื่อ 2013-01-16.
  106. "JMA WWJP25 Warning and Summary September 29, 2012 12z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-30. สืบค้นเมื่อ September 29, 2012.
  107. Darwin Regional Specialised Meteorological Centre (October 2, 2012). "Weekly Tropical Climate Note". Australian Bureau of Meteorology. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-03. สืบค้นเมื่อ October 3, 2012.
  108. RSMC Tropical Cyclone Advisory 160000 (Report). Japan Meteorological Agency. 2012-10-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2024. สืบค้นเมื่อ 22 December 2023.
  109. Tropical Storm "NINA" (PRAPIROON) Severe Weather Bulletin Number TWENTY (FINAL) (Report). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. 2012-10-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2024. สืบค้นเมื่อ 22 December 2023.
  110. "JMA WWJP25 Warning and Summary October 13, 2012 00z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-13. สืบค้นเมื่อ October 13, 2012.
  111. "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Ocean October 13, 2012 06z". Joint Typhoon Warning Centre. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-13. สืบค้นเมื่อ October 13, 2012.
  112. "Tropical Storm Maria Tropical Cyclone Advisory 1200z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-15. สืบค้นเมื่อ October 15, 2012.
  113. "Severe Tropical Storm Maria Tropical Cyclone Advisory 0000z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-15. สืบค้นเมื่อ October 15, 2012.
  114. http://www.jma.go.jp/en/typh/
  115. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-18. สืบค้นเมื่อ 2012-10-18.
  116. "JMA WWJP25 Warning and Summary October 21, 2012 12z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-13. สืบค้นเมื่อ October 21, 2012.
  117. "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Ocean November 23, 2012 08z". Joint Typhoon Warning Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 25, 2012. สืบค้นเมื่อ November 26, 2012.
  118. "Tropical Cyclone Formation Alert". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 21, 2012. สืบค้นเมื่อ November 26, 2012.
  119. "Tropical Cyclone Advisory 1800z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 26, 2012. สืบค้นเมื่อ November 26, 2012.
  120. "Tropical Depression 26W (Twenty-Six) Prognostic Reasoning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 26, 2012. สืบค้นเมื่อ November 26, 2012.
  121. Japan Meteorological Agency. "Tropical Cyclone Advisory 261800 – Tropical Storm Bopha". United States Navy, United States Air Force. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2012. สืบค้นเมื่อ November 27, 2012.
  122. Joint Typhoon Warning Center; National Oceanic and Atmospheric Administration. "Prognostic Reasoning for Tropical Cyclone Warning 006 - Tropical Storm Bopha". United States Navy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-27. สืบค้นเมื่อ November 27, 2012.
  123. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ 2013-01-16.
  124. http://www.usno.navy.mil/NOOC/nmfc-ph/RSS/jtwc/warnings/wp2612web.txt[ลิงก์เสีย]
  125. "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Ocean December 20, 2012 14z". Joint Typhoon Warning Centre. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-21. สืบค้นเมื่อ December 26, 2012.
  126. "Tropical Depression - Tropical Cyclone Advisory 0000z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-24. สืบค้นเมื่อ December 26, 2012.
  127. "Tropical Depression 27W Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-25. สืบค้นเมื่อ December 26, 2012.
  128. "Tropical Cyclone Alert: Tropical Depression "QUINTA": Number One". PAGASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-25. สืบค้นเมื่อ December 26, 2012.
  129. "Tropical Storm Wukong - Tropical Cyclone Advisory 0000z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-25. สืบค้นเมื่อ December 26, 2012.
  130. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-26. สืบค้นเมื่อ 2012-12-26.
  131. "Tropical Cyclone Alert: Tropical Storm "QUINTA": Number Five". PAGASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-26. สืบค้นเมื่อ December 26, 2012.
  132. "Quinta makes landfall six times in Visayas, may leave Friday". GMA Network Inc. สืบค้นเมื่อ 26 December 2012.
  133. "Late-season storm kills 11 in central Philippines". Jakarta Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-29. สืบค้นเมื่อ 28 December 2012.
  134. "JMA WWJP25 Warning and Summary February 17, 2012 06z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-18. สืบค้นเมื่อ October 3, 2012.
  135. Joint Typhoon Warning Center (February 17, 2012). "JTWC Tropical Depression 01W Warning 1". United States Navy, United States Airforce. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-18. สืบค้นเมื่อ 2012-12-22.
  136. Joint Typhoon Warning Center (February 17, 2012). "Tropical Cyclone Warning: Tropical Depression 01W". United States Navy, United States Airforce. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-18. สืบค้นเมื่อ 2012-12-22.
  137. Padua, David Michael V, (2012). "Typhoon 2000's Storm Log: Tropical Depression 01W". Typhoon 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-04. สืบค้นเมื่อ October 4, 2012.{{cite web}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  138. 138.0 138.1 "NDRRMC Update SitRep No.3 re Effects of Low Pressure Area (LPA)" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. February 18, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-08-23. สืบค้นเมื่อ August 7, 2012.
  139. "JMA WWJP25 Warning and Summary January 1, 2012 00z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-03. สืบค้นเมื่อ July 29, 2012.
  140. "JMA WWJP25 Warning and Summary 2012-01-01 06z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-03. สืบค้นเมื่อ July 29, 2012.
  141. "JMA WWJP25 Warning and Summary 2012-01-01 12z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-29. สืบค้นเมื่อ July 29, 2012.
  142. "JMA WWJP25 Warning and Summary January 13, 2012 12z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-20. สืบค้นเมื่อ July 29, 2012.
  143. Joint Typhoon Warning Center. "Significant Tropical Weather Outlook for the Western and South Pacific Ocean January 13, 2012 02z". United States Navy, United States Airforce. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-13. สืบค้นเมื่อ July 30, 2012.
  144. "JMA WWJP25 Warning and Summary January 14, 2012 12z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-01. สืบค้นเมื่อ August 2, 2012.
  145. "JMA WWJP25 Warning and Summary January 14, 2012 18z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-01. สืบค้นเมื่อ August 2, 2012.
  146. Joint Typhoon Warning Center. "Significant Tropical Weather Outlook for the Western and South Pacific Ocean January 14, 2012 06z". United States Navy, United States Airforce. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-02. สืบค้นเมื่อ August 2, 2012.
  147. "JMA WWJP25 Warning and Summary April 8, 2012 06z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-08. สืบค้นเมื่อ October 17, 2012.
  148. "JMA WWJP25 Warning and Summary April 11, 2012 12z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-12. สืบค้นเมื่อ October 17, 2012.
  149. "JMA WWJP25 Warning and Summary April 28, 2012 18z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-29. สืบค้นเมื่อ September 23, 2012.
  150. "JMA WWJP25 Warning and Summary April 29, 2012 12z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-30. สืบค้นเมื่อ September 23, 2012.
  151. "JMA WWJP25 Warning and Summary April 30, 2012 00z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-30. สืบค้นเมื่อ September 23, 2012.
  152. "JMA WWJP25 Warning and Summary April 30, 2012 06z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-23. สืบค้นเมื่อ September 23, 2012.
  153. Joint Typhoon Warning Center. "Significant Tropical Weather Outlook for the Western and South Pacific Ocean April 30, 2012 06z". United States Navy, United States Airforce. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-23. สืบค้นเมื่อ September 23, 2012.
  154. 154.0 154.1 Padgett, Gary. "Monthly Tropical Cyclone Summary December 1999". Australian Severe Weather. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-28. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  155. 155.0 155.1 The Typhoon Committee (21 กุมภาพันธ์ 2556). "Typhoon Committee Operational Manual 2013" (PDF). World Meteorological Organization. pp. 37–38. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-28. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  156. http://www.typhooncommittee.org/48th/docs/item%204%20technical%20presentations/4.1.Review2015TyphoonSeason.pdf
  157. Zhou, Xiao; Lei, Xiaotu (2012). "Summary of retired typhoons within the Western North Pacific Ocean". Tropical Cyclone Research and Review. The Economic and Social Commission for Asia and the Pacific/World Meteorological Organization's Typhoon Committee. 1 (1): 23–32. doi:10.6057/2012TCRR01.03. ISSN 2225-6032. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-12. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2557. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  158. 158.0 158.1 158.2 "Philippine Tropical Cyclone Names". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 28, 2016. สืบค้นเมื่อ มกราคม 20, 2016.
  159. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-13. สืบค้นเมื่อ 2012-12-24.
  160. RSMC Tokyo – Typhoon Center (April 27, 2012). Tropical Storm Pakhar (RSMC Tropical Cyclone Best Track). Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2012. สืบค้นเมื่อ August 20, 2012.
  161. "NDRRMC Update re SitRep No.09 on Effects of the March 18, LPA and TECF" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. February 18, 2012. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-23. สืบค้นเมื่อ August 7, 2012.
  162. "Typhoon Pakhar Rakes Southern Vietnam". Earthweek. April 6, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-06. สืบค้นเมื่อ August 7, 2012.
  163. 163.0 163.1 163.2 Đặc điểm Khí tượng Thủy văn năm 2012, VNCHMF.
  164. "Sitrep No. 9 regarding Tropical Depression Ambo" (PDF). June 6, 2012. สืบค้นเมื่อ June 6, 2012.
  165. "Final Report re Effects of Southwest Monsoon and Typhoon "Butchoy" (Guchol)" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. June 26, 2012. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-23. สืบค้นเมื่อ August 7, 2012.
  166. "June 2012 Global Catastrophe Recap" (PDF). AON Benfield. July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-08-05. สืบค้นเมื่อ August 7, 2012.
  167. 167.0 167.1 167.2 167.3 167.4 167.5 167.6 167.7 China Meteorological Agency (November 26, 2012). Member Report: China (PDF). ESCAP/WMO Typhoon Committee: 7th Integrated Workshop. ESCAP/WMO Typhoon Committee. p. 15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 2, 2012. สืบค้นเมื่อ November 26, 2013.
  168. "SitRep No.6 re Effects of the SW Monsoon Enhanced by TS "Dindo"" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. July 1, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-08-23. สืบค้นเมื่อ August 7, 2012.
  169. "Scores killed in North Korea floods". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ July 29, 2012.
  170. "SitRep No.21 re Effects of Typhoon "Gener" (Saola) Enhanced by Southwest Monsoon" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. August 6, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-08-23. สืบค้นเมื่อ August 6, 2012.
  171. Huang Chiao-wen; Hanna Liu (August 6, 2012). "Typhoon Saola causes over US$27 million in agricultural losses". Focus Taiwan. สืบค้นเมื่อ August 6, 2012.
  172. "SitRep No.4 re Effects of Southwest Monsoon Enhanced by TS "Haikui"" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. August 8, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-08-23. สืบค้นเมื่อ August 8, 2012.
  173. "SitRep No.11 re Effects of Tropical Storm "Helen" and Enhanced Southwest Monsoon" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. August 19, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-08-23. สืบค้นเมื่อ August 19, 2012.
  174. "Typhoon Kai-Tak leaves dozens dead in เวียดนาม". Al Jazeera. สิงหาคม 20, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 20, 2012. สืบค้นเมื่อ August 20, 2012.
  175. "Igme claims first casualty". ABS-CBN News. ABS-CBN. August 21, 2012. สืบค้นเมื่อ August 21, 2012.
  176. "Tembin affects thousands in S. ไต้หวัน". The จีน Post. Asia One. August 29, 2012. สืบค้นเมื่อ August 29, 2012.
  177. "8 dead in PH due to 'Igme'". ABS-CBN News. ABS-CBN. August 29, 2012. สืบค้นเมื่อ August 31, 2012.
  178. Sam Kim (August 28, 2012). "Typhoon hits N. เกาหลี, still reeling from floods". Atlanta Journal-Constitution. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2012. สืบค้นเมื่อ August 29, 2012.
  179. "Typhoon Bolaven: North เกาหลี reports storm damage". BBC News. August 29, 2012. สืบค้นเมื่อ August 29, 2012.
  180. "SitRep No. 17 re Effects of Tropical Storm "Ofel" (Son-Tinh)" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. November 1, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 17, 2013. สืบค้นเมื่อ November 15, 2012.
  181. "Effects of Typhoon Pablo" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ January 21, 2013.
  182. Padua, David M (2012). "Tropical Cyclone Logs: Pablo (Bopha) 2012". Typhoon 2000. สืบค้นเมื่อ December 8, 2011.
  183. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ พฤศจิกายน 10, 2013. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 2, 2014.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  184. [1]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]