ข้ามไปเนื้อหา

พายุไต้ฝุ่นบบพา (พ.ศ. 2555)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พายุไต้ฝุ่นบบพา)
พายุไต้ฝุ่นบบพา
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นปาโบล
พายุไต้ฝุ่นบบพาขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่
3 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สลายตัว9 ธันวาคม พ.ศ. 2555
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA)
ความเร็วลมสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.58 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่น
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.58 นิ้วปรอท
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC)
ความเร็วลมสูงสุด285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.43 นิ้วปรอท
ผลกระทบ
ผู้เสียชีวิต1,901 ราย
ความเสียหาย$1.04 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงินปี พ.ศ. 2555 USD)
พื้นที่ได้รับผลกระทบปาเลา, เกาะแคโรไลน์,
ฟิลิปปินส์
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555

พายุไต้ฝุ่นบบพา (อักษรโรมัน: Bopha)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นปาโบล (ตากาล็อก: Pablo)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นอย่างผิดปกติใกล้กับเส้นศูนย์สูตร จัดเป็นพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดที่เคยโจมตีภาคใต้ของฟิลิปปินส์ในบริเวณเกาะมินดาเนาโดยมีความแรงในระดับ 5 ซูเปอร์ไต้ฝุ่น มีความเร็วลม 160 mph (260 km/h)[1] พายุไต้ฝุ่นโบเป็นพายุที่เกิดค่อนไปทางใต้สุดเป็นอันดับสอง และเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 โดยเกิดที่ละติจูด 7.4° N เมื่อ 3 ธันวาคม โดยมีเฉพาะซูเปอร์ไต้ฝุ่นหลุยส์ใน พ.ศ. 2507 ที่เป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 5 ที่เกิดใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ที่ 7.3° N[2]

หลังจากที่โจมตีปาเลา โดยได้ทำลายบ้านเรือน ตัดขาดการสื่อสาร กระแสไฟฟ้าขัดข้อง และถอนรากถอนโคนต้นไม้ พายุไต้ฝุ่นโบพาได้ขึ้นสู่แผ่นดินที่เกาะมินดาเนาที่เคยถูกทำลายด้วย พายุโซนร้อนวาชิเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554[3][4] พายุได้สร้างความเสียหายให้กับเกาะมินดาเนาอย่างมาก ผู้คนไร้ที่อยู่อาศัย และเสียชีวิตจำนวนมาก[5]

หลังจากโจมตี จังหวัดดาเวาตะวันออก และ หุบเขาโกมโปสเตลา พายุไต้ฝุ่นโบพาได้ข้ามทางใต้และตอนกลางของเกาะมินดาเนา พายุได้เคลื่อนสู่ทะเลจีนใต้ ทางตะวันตกของเกาะปาลาวัน นักอุตุนิยมวิทยาของรัฐคาดการณ์ว่าพายุนี้จะเข้าสู่ เวียดนาม หรือจีนตอนใต้[6]

การเตรียมการ

[แก้]
ภาพถ่ายดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นโบพาเมื่อ 1 ธันวาคม
ภาพพายุไต้ฝุ่นโบพาจาก ISS เมื่อ 2 ธีนวาคม ขณะมีความรุนแรงระดับ 4 ใกล้ปาเลา

สหพันธรัฐไมโครนีเชียและปาเลา

[แก้]

เมื่อพายุโบพาก่อตัวขึ้น National Weather Service (NWS) ในกวมได้ประกาศเตือนภัยสำหรับสหพันธรัฐไมโครนีเชีย ที่เกาะนุกุโอโรและลุกุนอร์ [7] และได้เพิ่มระดับการเตือนในวันที่ 26 พฤศจิกายน โดยได้รวมโลซับและคุกลากูนด้วย[8] เมื่อพายุโบพาเคลื่อนไปทางตะวันตก ได้มีการประกาศให้จับตาในโปลูวัต[9] และซาตาวัล[10] ทั้งสองแห่งได้ยกระดับเป็นการเตือนภัย และการจับตาไต้ฝุ่นได้ถูกประกาศเพิ่มในโวเลไอ[11]

Palau National Emergency Management Office (NEMO) ได้ออกประกาศเมื่อ 29 พฤศจิกายน ให้ประชาชนเตรียมรับมือกัยสถานการณ์ฉุกเฉินโดยเฉพาะอาหารและน้ำสำหรับสามวัน วิทยุเคลื่อนที่พร้อมแบตเตอรี ไฟฉายและชุดปฐมพยาบาล และออกจากสถานที่ที่ไม่ปลอดภัยเมื่อเกิดพายุ เติมน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับพาหนะให้พร้อม[12] ในวันที่ 30 พฤศจิกายนเจ้าหน้าที่ของปาเลาได้เตรียมพร้อมสำหรับพายุไต้ฝุ่นระดับสาม ที่คาดว่าจะขึ้นฝั่งเมื่อ 2 ธันวาคม

ผลกระทบ

[แก้]

สหพันธรัฐไมโครนีเชียและปาเลา

[แก้]

เมื่อพายุโบพาผ่านทางใต้ของเกาะ เกิดไฟฟ้าดับทั่วเกาะ[13] เครือข่ายการสื่อสารหยุดชะงัก และเกิดความเสียหายในบริเวณที่พายุผ่าน ในโกรอร์เกิดต้นไม้โค่นล้มและไฟฟ้าดับ ด้านนอกของโกรอร์ หมู่บ้านตามแนวชายฝั่งได้รับผลกระทบจากลมแรงและฝน ทำให้เกิดน้ำท่วม[14] ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมในปาเลลิวและบ้านในบาเบลดาโอบถูกทำลาย[15]

ประเทศฟิลิปปินส์

[แก้]

พายุไต้ฝุ่นโบพา ซึ่งพัดเข้าชายฝั่งประเทศฟิลิปปินส์ สภาการจัดการและบรรเทาความเสียหายจากภัยพิบัติแห่งชาติฟิลิปปินส์ รายงานว่าส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 902 ราย[16] สูญหายอีกจำนวนกว่า 934 คน บาดเจ็บจำนวน 2,661 ราย

ในขณะที่เที่ยวบิน 146 เที่ยว ในจังหวัดมินดาเนาและเกาะใกล้เคียงหยุดให้บริการ เช่นเดียวกับเรือโดยสารเฟอร์รี่ ที่ระงับให้บริการและทำให้ผู้โดยสาร 3 พันคน ต้องติดอยู่ตามท่าเรือ โรงเรียนและธุรกิจในประเทศได้ทำการปิดการปิดโรงเรียนและการทำธุรกิจชั่วคราว

โดยสภาดังกล่าวได้ประเมินว่าไต้ฝุ่นโบพาจะสร้างความเสียหายต่อระบบสาธารณูปโภคของฟิลิปปินส์ราว 14.3 พันล้านเปโซ หรือประมาณ 348.95 ล้านดอลลาห์สหรัฐ ส่วนพื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหายราว 9 พัน 7 ร้อยล้านเปโซ หรือ ราว 2 ร้อย 36.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[17]

โดย ซุปเปอร์ไต้ฝุ่น โบพา ขึ้นฝั่งด้วยความเร็วลม 210 ก.ม. ต่อ ช.ม. ทำให้ฝนตกหนักที่เกาะมินดาเนาโดยเฉพาะพื้นที่ทางตะวันออก ซึ่งเกาะมินดาเนามีประชาชนอาศัยอยู่มากถึง 10 ล้านคน นอกจากนี้ยังทำให้ไฟฟ้าดับ ถนนหลายเส้นถูกตัดขาด และทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่เสี่ยง เกิดดินสไลด์ถล่มลงมา

โฆษกของกองทัพฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า เกิดน้ำท่วมฉับพลันไหลผ่านค่ายทหารแห่งหนึ่งบนเกาะมินดาเนา ทำให้มีผู้สูญหายกว่า 20 คน รวมถึงทหารอีก 6 นาย ด้านรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งระดับ 3 ใน 7 จังหวัด เตรียมอุปกรณ์กู้ภัย และย้ายประชาชนราว 2000 ครอบครัว[18]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. "บบพา" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 1 ลำดับที่ 15 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศกัมพูชา
  2. พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "ปาโบล" (27 พฤศจิกายน ถึง 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Super Typhoon Bopha hits Phillipines; Death Toll likely > 300, 5 December 2012, Daily Kos. Retrieved 6 December 2012.
  2. "Dr. Jeff Masters' WunderBlog: Typhoon Bopha hits the Philippines at Cat 5 strength; at least 40 killed | Weather Underground". Wunderground.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ 2012-12-05.
  3. Jeff Masters (December 3, 2012). "Category 5 Super Typhoon Bopha bearing down on the Philippines". Weather Underground. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ December 3, 2012.
  4. Amita Legaspi (December 4, 2012). "Typhoon Pablo is strongest storm to hit Mindanao in two decades". GMA News. สืบค้นเมื่อ December 4, 2012.
  5. http://www.chron.com/news/world/article/Death-toll-from-Philippine-typhoon-climbs-past-500-4098553.php[ลิงก์เสีย]
  6. Typhoon Bopha: Philippines death toll climbs, 5 December 2012, The Guardian. Accessed 6 December 2012.
  7. Middlebrooke (2012-11-26). Tropical Depression 26W Advisory Number 1 (Report). Guam National Weather Service. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-27. สืบค้นเมื่อ 2012-11-29.
  8. Middlebrooke (2012-11-26). Tropical Depression 26W Advisory Number 2 (Report). Guam National Weather Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-27. สืบค้นเมื่อ 2012-11-29.
  9. Middlebrooke (2012-11-26). Tropical Storm Bopha (26W) Advisory Number 6 (Report). Guam National Weather Service. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-27. สืบค้นเมื่อ 2012-11-29.
  10. Williams (2012-11-27). Tropical Storm Bopha (26W) Advisory Number 9 (Report). Guam National Weather Service. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-27. สืบค้นเมื่อ 2012-11-29.
  11. Guard; Stanko (2012-11-28). Tropical Storm Bopha (26W) Advisory Number 11 (Report). Guam National Weather Service. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-29. สืบค้นเมื่อ 2012-11-29.
  12. UN Office for the Coordination of Humanitarian Affairs (2012-11-30). "Tropical Storm Bopha (26W) Update 4 | ReliefWeb". Reliefweb.int. สืบค้นเมื่อ 2012-12-05.
  13. "Palau power went out as typhoon passed last night, damage unknown". Pacific Daily News. December 3, 2012. สืบค้นเมื่อ 3 December 2012.[ลิงก์เสีย]
  14. "Palau assesses Typhoon Bopha's damage". Pacific Daily News. December 4, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-21. สืบค้นเมื่อ 4 December 2012.
  15. "Palau spared from direct storm hit". KUAM-TV. December 3, 2012. สืบค้นเมื่อ 3 December 2012.
  16. http://www.globaltimes.cn/content/749985.shtml
  17. http://www.globaltimes.cn/content/749985.shtml
  18. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-04. สืบค้นเมื่อ 2012-12-08.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]