พายุไซโคลนโอนิล
พายุไซโคลนกำลังแรง (IMD) | |||
---|---|---|---|
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
พายุไซโคลนโอนิลบริเวณใกล้ชายฝั่งประเทศปากีสถานในวันที่ 2 ตุลาคม
| |||
ก่อตัว | 30 กันยายน พ.ศ. 2547 | ||
สลายตัว | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547 | ||
ความเร็วลม สูงสุด |
| ||
ความกดอากาศต่ำสุด | 990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท) | ||
ผู้เสียชีวิต | รวม 9 คน, สูญเสีย 300 คน | ||
ความเสียหาย | ไม่มี | ||
พื้นที่ได้รับ ผลกระทบ |
ประเทศอินเดียและประเทศปากีสถาน | ||
ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2547 |
พายุโซโคลนกำลังแรงโอนิล (รหัสเรียกของ IMD: ARB 03; รหัสเรียกของ JTWC: 03A) เป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกที่ได้รับการตั้งชื่อในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ชื่อ โอนิล (เบงกอล: অনিল, อนิละ) เป็นชื่อที่ถูกส่งมาจากประเทศบังกลาเทศ พายุไซโคลนโอนิลก่อตัวขึ้นจากบริเวณการพาความร้อนที่อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้หลายร้อยกิโลเมตรจากประเทศอินเดียในวันที่ 1 ตุลาคม ตัวพายุทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีกำลังสูงสุดในวันที่ 2 ตุลาคม ด้วยความเร็วลม 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความกดอากาศต่ำสุดที่ศูนย์กลาง 990 มิลลิบาร์ อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยอากาศแห้งที่พัดเข้าสู่ระบบอย่างรวดเร็ว ทำให้พายุอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเป็นพายุดีเปรสชัน บริเวณนอกชายฝั่งรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย หลายวันต่อมา ระบบพายุที่มีทิศทางการเคลื่อนตัวเอาแน่ไม่ได้ได้เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และพายุได้พัดขึ้นฝั่งใกล้กับนครปอร์บันดาร์ ในวันที่ 10 ตุลาคม และสลายตัวไปไม่นานหลังจากนั้น
ตลอดทั้งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศปากีสถานและตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ประชาชนนับพันคนถูกอพยพออกไปก่อนที่พายุไซโคลนจะมาถึง ในบริเวณเหล่านั้น พายุได้สร้างปริมาณฝนปานกลางถึงหนัก ปริมาณน้ำฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่ 145 มิลลิเมตร (5.7 นิ้ว) ในนครธัตตะ แคว้นสินธ์ ประเทศปากีสถาน ปริมาณน้ำฝนสะสมเหล่านี้ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุหลายครั้งที่เกี่ยวข้องกับพายุในการาจี ระบบระบายน้ำของเมืองไฮเดอราบาดได้รับความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้เกิดการประท้วงและการเดินขบวนของชาวเมืองจำนวนมาก บริเวณนอกชายฝั่ง เชื่อกันว่าชาวประมง 300 คน ได้สูญหายไปในระหว่างเกิดพายุ ทั้งนี้ไมมีรายงานยืนยันว่าพวกเขาหายไปไหน
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
[แก้]พายุไซโคลนกำลังแรงโอนิล ได้รับการระบุครั้งแรกเป็นพื้นที่การพาความร้อนในช่วงต้นของวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547 อยู่ห่างจากมุมไบ ประเทศอินเดีย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นระบบที่มีการจัดระบบไม่ดีนัก กับมีการพาความร้อนระดับลึกในบางส่วนรอบ ๆ การไหลเวียนระดับต่ำ โดยขณะนั้นระบบตั้งอยู่บนน้ำอุ่นและบริเวณที่มีลมเฉือนปานกลาง[1] ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ประเมินว่าระบบมีโอกาสพัฒนาขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนได้ "พอใช้"[2] ในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากมีการระบุครั้งแรกไปแล้ว กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) เริ่มติดตามระบบในฐานะพายุดีเปรสชัน ARB 03[3] แม้ว่าการพาความร้อนจะลดลงในช่วงท้ายของวันที่ 30 กันยายน[1] แต่ IMD ก็ปรับให้ ARB 03 เป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็ว เนื่องจากมีความเร็วลมต่อเนื่องในสามนาทีรอบศูนย์กลางถึง 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[3] ช่วงต้นของวันถัดมา การจัดระบบของพายุดีขึ้น[1] ทำให้ JTWC ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน[2] ต่อมาเวลาประมาณ 09:00 UTC ของวันที่ 1 ตุลาคม IMD ปรับให้ระบบเป็นพายุไซโคลน และให้ชื่อว่า โอนิล[3] ทำให้พายุนี้กลายเป็นพายุลูกแรกที่ได้รับการตั้งชื่อในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ตามที่ตกลงกันไว้ในนามคณะทำงาน WMO/ESCAP ในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 ว่าในเดือนกันยายน หากมีพายุหมุนเขตร้อนใดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ที่มีกำลังลมถึงกำหนดจะมีการตั้งชื่อตามที่กำหนดไว้[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Gary Padgett (May 17, 2005). "Monthly Tropical Weather Summary for October 2004". Australia Severe Weather. สืบค้นเมื่อ June 10, 2010.
- ↑ 2.0 2.1 Joint Typhoon Warning Center (2005). "2004 Annual Tropical Cyclone Report" (PDF). Naval Meteorology and Oceanography Command. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-07. สืบค้นเมื่อ June 13, 2010.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "IMD Best Tracks Data ( 1990 - 2008 )". India Meteorological Department. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2009. สืบค้นเมื่อ June 13, 2010.
- ↑ "Report on Cyclonic Disturbances Over North Indian Ocean During 2009" (PDF). India Meteorological Department. January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 6, 2010. สืบค้นเมื่อ June 13, 2010.