พายุเฮอริเคนแซนดี
พายุเฮอริเคนระดับ 3 (SSHWS) | ||
---|---|---|
พายุเฮอริเคนแซนดีในความรุนแรงระดับ 3 ที่ประเทศคิวบา ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555
| ||
ก่อตัว | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | |
สลายตัว | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 | |
ความเร็วลม สูงสุด |
| |
ความกดอากาศต่ำสุด | 940 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.76 นิ้วปรอท) | |
ผู้เสียชีวิต | รวม 233 คน | |
ความเสียหาย | 68.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2012) | |
พื้นที่ได้รับ ผลกระทบ |
เกรตเตอร์แอนทิลลีส, บาฮามาส, ส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาตะวันออก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชายฝั่งกลางมหาสมุทรแอตแลนติก), เบอร์มิวดา, แคนาดาตะวันออก | |
ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2555 |
พายุเฮอริเคนแซนดี (อังกฤษ: Hurricane Sandy) เป็นพายุที่อันตรายและเป็นภัยมากที่สุด รวมทั้งเป็นพายุเฮอริเคนที่รุนแรงที่สุดในฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติกปี พ.ศ. 2555 สร้างความเสียหายเกือบ 70 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ค่าเงินปี พ.ศ. 2555) เป็นพายุเฮอริเคนที่มีสร้างความเสียหายมากเป็นอันดับสองในสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งพายุเฮอริเคนฮาร์วีย์และเฮอริเคนมารีอาในปี 2560 มาแซงหน้า โดยเฮอร์ริเคนแซนดีเป็นพายุที่สิบแปด เป็นพายุเฮอริเคนที่สิบ เฮอร์ริเคนแซนดีเป็นพายุระดับ 3 ตามมาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์-ซิมป์สันที่จุดรุนแรงที่สุดเมื่อพายุได้ขึ้นฝั่งในประเทศคิวบา[1] ในขณะที่พายุแซนดีเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 2 อยู่ที่นอกชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ได้กลายเป็นพายุเฮอริเคนที่ใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกมา (โดยวัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ประมาณ 900 ไมล์ (1,400 กิโลเมตร))[2][3] มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 233[4] คนตามเส้นทางของพายุใน 8 ประเทศ
ในจาเมกาแรงลมทำให้ประชากรร้อยละ 70 ไม่มีไฟฟ้าใช้ หลังคาได้รับความเสียหาย คร่าชีวิตผู้คน 1 คน สร้างความเสียหายประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ (ค่าเงินปี พ.ศ. 2555) บริเวณขอบนอกของพายุเกิดน้ำท่วมที่เฮติคร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 54 รายทำให้เกิดทุพภิกขภัยและมีผู้คนไร้ที่อยู่อาศัยประมาณ 200,000 ราย พายุเฮอริเคนยังทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 รายในสาธารณรัฐโดมินิกัน ในคิวบาเกิดน้ำท่วมในบริเวณชายฝั่งและแรงลมสร้างความเสียหายทำลายบ้านเรือนไป 15,000 หลัง คร่าชีวิตผู้คนไป 11 คน ตีราคาความเสียหายได้ 2 พันล้านดอลลาร์ (ค่าเงินปี พ.ศ. 2555) ในบาฮามาสพายุแซนดีเป็นเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ได้รับความเสียหายประมาณ 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี พ.ศ. 2555)
ในสหรัฐอเมริกาพายุเฮอริเคนแซนดีสร้างความ้สียหายต่อ 24 รัฐ รวมถึงพื้นที่ชายฝั่งทางทะเลตะวันออกแทบทั้งหมดตั้งแต่ฟลอริดาไปจนถึงรัฐเมน และทางตะวันตกตั้งแต่เทือกเขาแอปพาเลเชียนไปยังมิชิแกนและวิสคอนซิน โดยเฉพาะในรัฐนิวเจอร์ซีย์และนครนิวยอร์กได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง พายุที่พัดถล่มมหานครนิวยอร์กเมื่อวันที่ 29 ตุลาคมทำให้เกิดน้ำท่วมปิดถนน, อุโมงค์และรถไฟใต้ดิน[5][6] ตีมูลค่าความเสียหายในสหรัฐอเมริกาได้ประมาณ 65,000 ล้านดอลลาร์ (ค่าเงินปี พ.ศ. 2555)[7] ในแคนาดามีผู้เสียชีวิต 2 รายในออนแทรีโอและพายุดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหายประมาณ 100 ล้านดอลลาร์แคนาดา (ค่าเงินปี พ.ศ. 2555) ในบริเวณรัฐออนแทรีโอและรัฐเกแบ็ก[8]
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
[แก้]- วันที่ 22 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวนอกชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศนิการากัวในทะเลแคริบเบียน
- วันที่ 24 ตุลาคม แซนดีเริ่มเคลื่อนตัวไปตะวันออกเฉียงเหนือ ตาพายุเริ่มก่อตัวขึ้นในบริเวณที่มีความหนาแน่น แซนดีกลายเป็นพายุเฮอริเคนในวันเดียวกันและข้ามฝั่งมาทางตะวันออกของจาเมกา[9]
- วันที่ 25 ตุลาคม พายุเฮอริเคนแซนดีได้ขึ้นฝั่งในประเทศคิวบาเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 2 ด้วยอัตราเร็วลม 105 ไมล์ต่อชั่วโมง จากนั้นได้เคลื่อนที่ไปยังเฮติและบาฮามาสมีผู้เสียชีวิต 54 คนในเฮติ 11 คนในสาธารณรัฐโดมินิกันและอีกสองคนในบาฮามาส[10]
- วันที่ 26-27 ตุลาคม พายุเฮอริเคนแซนดีสลับความรุนแรงระหว่างพายุเฮอริเคนระดับ 1 และพายุโซนร้อนจากนั้นกลับสู่พายุเฮอริเคนระดับ 1 อีกครั้ง
- วันที่ 28 ตุลาคม ยังคงเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 1 พายุเฮอริเคนแซนดีเคลื่อนขนานกับรัฐจอร์เจีย เซาท์แคโรไลนาและนอร์ทแคโรไลนา
- วันที่ 29 ตุลาคม พายุเฮอริเคนแซนดีเข้าประชิดชายฝั่งทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ในระดับพายุเฮอริเคนระดับ 2 จากนั้นก็อ่อนตัวลงเป็นพายุไซโคลนเขตร้อน ในเวลา 12:30 น. พายุเฮอริเคนแซนดีนำลมและฝนที่ตกลงมาที่วอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อเวลา 20:00 น. พายุเฮอริเคนแซนดีมาขึ้นฝั่งใกล้กับแอตแลนติกซิตีและที่รัฐนิวเจอร์ซีย์ด้วยแรงลมที่ 90 ไมล์ต่อชั่วโมง เมื่อรวมกับพระจันทร์เต็มดวงและน้ำขึ้นน้ำลง ทำให้เกิดคลื่นสูง 14 ฟุตที่ท่าเรือนิวยอร์ก ทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณบางส่วนของระบบรถไฟใต้ดินของนิวยอร์กและอุโมงค์สำคัญ พายุได้ทำลายสายไฟฟ้า ต้นไม้ ต้นตอน้ำทั่วบริเวณเมืองแมนฮัตตัน ทำให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางใน มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ นิวยอร์ก คอนเนทิคัต โรดไอแลนด์และแมสซาชูเซตส์ รวมถึงการเกิดลมและฝนตกหนักตลอดทั้งคืน
- วันที่ 30 ตุลาคม พายุเฮอริเคนแซนดีเคลื่อนที่ออกจากนิวยอร์กมุ่งหน้าสู่เพนซิลเวเนีย
- วันที่ 31 ตุลาคม พายุแซนดีสลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ที่ทางตะวันตกของรัฐเพนซิลเวเนียและค่อยๆ เคลื่อนที่ไปประเทศแคนาดา โดยทำให้เกิดหิมะตกอย่างหนักในเทือกเขาแอปพาเลเชียน
- วันที่ 2 พฤศจิกายน หย่อมความกดอากาศต่ำแซนดีรวมกับพื้นที่ความกดอากาศต่ำทางเหนือแคนาดาตะวันออก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "WebCite query result" (PDF). www.webcitation.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-02-27. สืบค้นเมื่อ 2020-12-05.
{{cite web}}
: Cite ใช้ชื่อทั่วไป (help) - ↑ "Modeling Sandy: A High-Resolution Approach to Storm Surge" (PDF). Risk Management Solutions, Inc. October 2013
- ↑ "Hurricane Sandy Grows To Largest Atlantic Tropical Storm Ever" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2012-10-28. สืบค้นเมื่อ 2020-12-05.
- ↑ Diakakis, Michalis; Deligiannakis, Georgios; Katsetsiadou, Katerina; Lekkas, Efthymios (2015-01-01). "Hurricane Sandy mortality in the Caribbean and continental North America". Disaster Prevention and Management. 24 (1): 132–148. doi:10.1108/DPM-05-2014-0082. ISSN 0965-3562.
- ↑ "Eli Manning deals with Superstorm Sandy flooding". เนชันแนลฟุตบอลลีก. October 31, 2012.
- ↑ "Superstorm Sandy causes at least 9 U.S. deaths as it slams East Coast" เก็บถาวร 2013-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ซีเอ็นเอ็น
- ↑ Costliest U.S. tropical cyclones tables updated (PDF) (Report). ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ. January 26, 2018.
- ↑ "Sandy caused $100M in Canadian insurance claims". แคนาเดียน บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น. November 28, 2012.
- ↑ "Hurricane Sandy - October 24-31, 2012". www.wpc.ncep.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2020-12-05.
- ↑ "2012 Hurricane Sandy: Facts, FAQs, and how to help". World Vision (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-09-18. สืบค้นเมื่อ 2020-12-05.