พันจ่า
พันจ่า (อังกฤษ: chief petty officer: CPO) คือนายทหารชั้นประทวนที่อาวุโสที่สุดในกองทัพเรือและหน่วยยามฝั่งหลายแห่ง มียศเหนือกว่าจ่าทหารเรือ (petty officer)
แบ่งตามประเทศ
[แก้]แคนาดา
[แก้]"พันจ่า" หมายถึงสองยศในกองทัพเรือแคนาดา คือ พันจ่าโท (chief petty officer 2nd class: CPO2 ในภาษาอังกฤษ หรือ premier maître de deuxième classe: pm2 ในภาษาฝรั่งเศส) เทียบเท่ากับดาบโท (master warrant officer) ในกองทัพบกและกองทัพอากาศ และพันจ่าเอก (chief petty officer 1st class: CPO1 ในภาษาอังกฤษ หรือ premier maître de première classe: pm1 ในภาษาฝรั่งเศส) เทียบเท่ากับดาบเอกในกองทัพบกและกองทัพอากาศ ในการกล่าวถึงพันจ่า อาจจะใช้คำว่า "หัวหน้า" (chief) ไม่เรียกขานด้วยคำว่า "ท่าน" (sir)
ไทย
[แก้]"พันจ่า" หมายถึงยศสามยศในกองทัพเรือไทย คือ พันจ่าตรี (chief petty officer 3rd class: CPO3) เทียบเท่ากับจ่าสิบตรีในกองทัพบกไทย และพันจ่าอากาศตรีในกองทัพอากาศไทย พันจ่าโท (chief petty officer 2nd class: CPO2) เทียบเท่ากับจ่าสิบโทในกองทัพบกไทย และพันจ่าอากาศโทในกองทัพอากาศไทย และพันจ่าเอก (chief petty officer 1st class: CPO1) เทียบเท่ากับจ่าสิบเอกในกองทัพบกไทย และพันจ่าอากาศเอกในกองทัพอากาศไทย[1][2]
ปากีสถาน
[แก้]พันจ่ากองเรือ (พันจ่าโท) คือยศสัญญาบัตรและยศกิจจานุเบกษา (gazetted rank) ในกองทัพเรือปากีสถาน เหนือกว่าพันจ่า (พันจ่าตรี) (chief petty officer) และต่ำกว่าพันจ่าชำนัญ (พันจ่าเอก) (master chief petty officer) เทียบเท่ากับนายดาบของกองทัพอากาศและหน่วยย่อยของกองทัพบกปากีสถาน
ฟิลิปปินส์
[แก้]ในกองทัพเรือฟิลิปปินส์ ยศพันจ่าเทียบเท่ากับจ่าสิบเอก (master sergeant) ในเหล่านาวิกโยธินฟิลิปปินส์และกองทัพอากาศฟิลิปปินส์[3]
สหรัฐ
[แก้]พันจ่าตรี (chief petty officer) เป็นทหารอาสาสมัครลำดับที่เจ็ดในกองทัพเรือสหรัฐและยามฝั่งสหรัฐ มียศอยู่เหนือจากจ่าเอก (petty officer first class) และต่ำกว่าพันจ่าโท (senior chief petty officer) พันจ่าตรีถือว่าเป็นนายทหารชั้นประทวนอาวุโส สำหรับกองทัพเรือสหรัฐ ระดับของพันจ่าตรีถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2436[4] รัฐสภาสหรัฐได้อนุญาตให้หน่วยยามฝั่งสหรัฐใช้ระบบการเลื่อนยศของพันจ่าตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2463[5]
แตกต่างจากจ่าเอกและยศที่ต่ำกว่า การเลื่อนตำแหน่งขึ้นสู่พันจ่าตรีในกองทัพเรือสหรัฐไม่เพียงแต่นับเวลาในการประจำการในกองทัพ คะแนนการสอบ และการประเมินเฉพาะด้านเท่านั้น แต่ยังใช้ข้อกำหนดเพิ่มเติมจากพิชญพิจารณ์อีกด้วย พันจ่าตรีสามารถเลื่อนตำแหน่งได้หลังจากการพิจารณาคัดเลือกโดยคณะกรรมการคัดเลือกพันจ่าโท หากมีมติคัดเลือกผู้นั้น[6]
สหราชอาณาจักร
[แก้]ในราชนาวี ยศพันจ่ามียศสูงกว่าจ่าทหารเรือ (petty officer) และต่ำกว่านายดาบโท (warrant officer class 2) ซึ่งเทียบเท่ากับจ่ารักษาธงหน่วย (colour sergeant) ในราชนาวิกโยธิน จ่ารักษาธงหน่วยและจ่าเสนาธิการ (staff sergeant) ในกองทัพบก และพันจ่าอากาศ (flight sergeant) ในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
ออสเตรเลีย
[แก้]"พันจ่า" คือยศทหารที่สูงที่สุดเป็นอันดับสองของยศชั้นประทวนในกองทัพเรือออสเตรเลีย
อินเดีย
[แก้]พันจ่าตรี (chief petty officer) ในกองทัพเรืออินเดียคือยศนายทหารสัญญาบัตรปฏิบัติการ ยศนี้เทียบเท่ากับนาอิบ ซูเบดาร์ (Naib subedar) (จ่าสิบตรี) ในกองทัพบกอินเดีย และนายดาบตรี (junior warrant officer) ในกองทัพอากาศอินเดีย สองยศที่สูงที่สุดในยศพลสมัครคือยศพันจ่าโท (master chief petty officer second class: MCPO II) เทียบเท่ากับซูเบดาร์ (subedar) / นายดาบโท (warrant officer) และยศพันจ่าเอก (master chief petty officer first class: MCPO I) เทียบเท่ากับซูเบดาร์เมเจอร์ (subedar major) / นายดาบเอก (master warrant officer)
เครื่องหมาย
[แก้]-
พันจ่าเอก กองทัพเรือไทย
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ นามานุกรมไทย - อังกฤษ กองบัญชาการกองทัพไทย พ.ศ. 2561 (PDF). สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย. 2561. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-08. สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
- ↑ "ยศทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ". กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ John A. Oudine, บ.ก. (July 1963). "The Philippine Navy" (PDF). All Hands. Washington, D.C.: United States Navy. pp. 14–17. สืบค้นเมื่อ 25 May 2019.
"Manual of Armed Forces Law: Volume 1 Commander's Handbook on Military Law" (PDF). New Zealand Defense Force. 13 January 2010. สืบค้นเมื่อ 25 May 2019.
แม่แบบ:Cite CiteSeerX - ↑ Campa, Joe R. Jr. (2007-03-30). "MCPON Reflects on 114 Years of Deckplate Leadership". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-10. สืบค้นเมื่อ 2008-05-10.
...commemorating the establishment of the rate of Chief Petty Officer (CPO) in 1893.
- ↑ The Coast Guardsman's Manual, ninth ed.,George E. Krietemeyer, Naval Institute Press, 2000, ISBN 1-55750-468-7
- ↑ The Chief Petty Officer's Guide / John Hagan and Jack Leahy. - Naval Institute Press, 2004. ISBN 1-59114-459-0
- ↑ Antigua & Barbuda Defence Force. "Paratus" (PDF). Regional Publications Ltd. pp. 12–13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2 March 2020.
- ↑ "Badges of rank" (PDF). defence.gov.au. Department of Defence (Australia). สืบค้นเมื่อ 31 May 2021.
- ↑ "ENLISTED RATES". rbdf.gov.bs. Royal Bahamas Defence Force. สืบค้นเมื่อ 14 January 2021.
- ↑ "BADGES OF RANK". Official Jamaica Defence Force Website. 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2020. สืบค้นเมื่อ 16 November 2019.
- ↑ "Badges of Rank". nzdf.mil.nz. New Zealand Defence Force. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2020. สืบค้นเมื่อ 11 June 2021.
- ↑ 18.0 18.1 "U.S. Military Rank Insignia". defense.gov. Department of Defense. สืบค้นเมื่อ 13 January 2022.