พัชรินทร์ มั่นปาน
พัชรินทร์ มั่นปาน | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2502 อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี |
พัชรินทร์ มั่นปาน (เกิด 1 ธันวาคม พ.ศ. 2502) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปไตยใหม่[1]
ประวัติ
[แก้]พัชรินทร์ มั่นปาน เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายสมศักดิ์ กับนางทองดี มั่นปาน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านภาษาไทย และปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการศึกษา จากมหาวิทยาลัยบูรพา
ด้านชีวิตครอบครัว ได้หย่าขาดจากคู่สมรสแล้ว มีบุตร 2 คน[2]
การทำงาน
[แก้]พัชรินทร์ รับราชการครูตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 กระทั่งในปี พ.ศ. 2549 ได้ลาออกจากราชการในตำแหน่งสุดท้าย คือ ครูชำนาญการ (ค.ศ. 2) โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปไตยใหม่ ซึ่งเป็นพรรคขนาดเล็ก แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 พรรคฯ ได้รับเลือกตั้งอย่างเหนือความคาดหมาย[3] และได้สมาชิกจำนวน 1 คน ซึ่งนายสุรทิน หัวหน้าพรรค ถูกศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย[4] ส่งผลให้นางพัชรินทร์ ได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เธอได้ย้ายมาสังกัดพรรคมหาชน และลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
- พ.ศ. 2549 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (ครั้งที่ 4)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-14. สืบค้นเมื่อ 2012-05-10.
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางพัชรินทร์ มั่นปาน[ลิงก์เสีย]
- ↑ เจาะใจ "สุรทิน"พรรค"ปธม." เคาะประตูบ้านเรียกคะแนนแบบถึงลูกถึงคน หลังอาศัยวัด-ข้าวก้นบาตรช่วงหาเสียง จากมติชน
- ↑ ประชาธิปไตยใหม่ จี้กกต. รับรอง “พัชรินทร์ มั่นปาน”[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคมหาชน)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๘๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๔๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๒๘๔, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่March 2022
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2502
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอดำเนินสะดวก
- ครูชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคประชาธิปไตยใหม่
- พรรคมหาชน
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- นักการเมืองจากจังหวัดราชบุรี