ข้ามไปเนื้อหา

พอลิกล็อต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พอลิกล็อต (อังกฤษ: polyglot) ในทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือสคริปต์ที่เขียนขึ้นในรูปแบบที่ถูกต้องของภาษาโปรแกรมหลายภาษาด้วยรหัสต้นฉบับอันเดียวกัน ซึ่งโปรแกรมจะทำงานหรือให้ผลลัพธ์เหมือนกันจากการแปลด้วยคอมไพเลอร์หรืออินเทอร์พรีเตอร์ของภาษานั้นอย่างอิสระ

โดยทั่วไปแล้วพอลิกล็อตเขียนขึ้นจากการผสานภาษาซี ซึ่งอนุญาตให้มีการจำกัดความ (define) วลีต่างๆ ได้ด้วยตัวประมวลผลก่อน (preprocessor) รวมกับภาษาสคริปต์อื่นๆ เช่น ภาษาลิสป์ ภาษาเพิร์ล หรือ sh

เทคนิคที่ใช้เป็นปกติที่สุดสองอย่างสำหรับการสร้างโปรแกรมพอลิกล็อตคือ การใช้ประโยชน์จากอักขระแทนหมายเหตุ (comment) ที่แตกต่างกัน และการจำกัดความวลีด้วยการทำงานในภาษาอื่น และเทคนิคที่ใช้ได้ดีอีกอย่างหนึ่งคือ การพลิกแพลงไวยากรณ์ของภาษา จากตัวอย่างต่อไปนี้เป็นพอลิกล็อตที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานบน ภาษาซีแบบแอนซี (ANSI C) ภาษาพีเอชพี และ bash

#define a /*
#<?php
echo "\010Hello, world!\n"// 2> /dev/null > /dev/null \ ;
// 2> /dev/null; x=a;
$x=5 // 2> /dev/null \ ;
if (($x))
// 2> /dev/null; then
return 0;
// 2> /dev/null; fi
#define e ?>
#define b */
#include <stdio.h>
#define main() int main()
#define printf printf(
#define true )
#define function
function main()
{
printf "Hello, world!\n"true/* 2> /dev/null | grep -v true*/;
return 0;
}
#define c /*
main
#*/

โปรแกรมดังกล่าวจะแสดงข้อความ Hello, world! พร้อมทั้งขึ้นบรรทัดใหม่บนจอภาพ สามารถอธิบายได้ดังนี้

  • "#" หมายถึงประพจน์ของตัวประมวลผลก่อนในภาษาซี แต่หมายถึงการระบุหมายเหตุใน bash และภาษาพีเอชพี
  • "//" คือหมายเหตุในภาษาพีเอชพี และหมายถึงสารบบราก (root directory) ใน bash
  • การเปลี่ยนทางของเชลล์ถูกใช้เพื่อขจัดผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการ
  • โค้ดระบุตำแหน่งภาษาพีเอชพี "<?php" กับ "?>" ยังคงใช้ได้ผล แม้จะอยู่ในบรรทัดที่ระบุหมายเหตุเอาไว้
  • ประพจน์ "function main()" สามารถใช้ได้ทั้งในภาษาพีเอชพีและ bash ในขณะที่ภาษาซีจะใช้ "#define" เป็นเครื่องมือแปลงประพจน์นั้นให้กลายเป็น "main()" ขณะแปลภาษา
  • อักขระกำหนดหมายเหตุสามารถผสานกันเพื่อให้ทำงานได้หลากหลาย
  • "if (($x))" เป็นประพจน์ที่ถูกต้องทั้งใน bash และภาษาพีเอชพี
  • "printf" เป็นคำสั่งในตัว (shell builtin) ของ bash ซึ่งเหมือนกับฟังก์ชันในภาษาซี เว้นแต่ไม่มีการกำหนดวงเล็บ (ตัวประมวลผลก่อนของภาษาซีจะเป็นผู้เติมวงเล็บให้)
  • สามบรรทัดสุดท้ายถูกใช้เฉพาะใน bash เพื่อเรียกฟังก์ชัน "main" ในภาษาพีเอชพีฟังก์ชันนี้ได้นิยามไว้แล้วแต่ไม่มีการใช้ ส่วนภาษาซีไม่จำเป็นต้องเรียกใช้

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]