พหุกีฬาสถานชาติโอลิมปิก
ពហុកីឡដ្ឋានជាតិអូឡាំពិក | |
สนามกีฬาในช่วงการแข่งขันฟุตบอลซีเกมส์ 2023 | |
ที่ตั้ง | พนมเปญ ประเทศกัมพูชา |
---|---|
พิกัด | 11°33′30″N 104°54′43″E / 11.55833°N 104.91194°E |
ความจุ | 50,000 ที่นั่ง[1] |
พื้นผิว | หญ้า |
การก่อสร้าง | |
ลงเสาเข็ม | 1962 |
เปิดใช้สนาม | 1964 |
ปรับปรุง | 2023 |
สถาปนิก | วัณณ์ โมลีวัณณ์ |
การใช้งาน | |
ฟุตบอลทีมชาติกัมพูชา |
พหุกีฬาสถานชาติโอลิมปิก (เขมร: ពហុកីឡាដ្ឋានជាតិអូឡាំពិក; อังกฤษ: Phnom Penh Olympic Stadium) ตั้งอยู่ที่กรุงพนมเปญ, ประเทศกัมพูชา มีความจุ 50,000 ที่นั่ง[1] แม้ว่าจะมีชื่อนี้ สนามกีฬานี้ไม่เคยเป็นสถานที่แข่งขันในกีฬาโอลิมปิก
ประวัติ
[แก้]การก่อสร้างศูนย์กีฬาแห่งชาติเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1963 และแล้วเสร็จใน ค.ศ. 1964[2] วัณณ์ โมลีวัณณ์ นักออกแบบ ใช้มูลดินจำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสนามกีฬา โดยขุดดินเพื่อปรับพื้นที่ถึง 500,000 ลูกบาศก์เมตร[3]
พหุกีฬาสถานชาติโอลิมปิกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการจัดแข่งขันกีฬาแหลมทอง 1963 แต่ไม่ได้ใช้ในงานดังกล่าวเนื่องจากความขัดแย้งภายในประเทศ ส่วนในซีเกมส์ 2023 ได้ใช้สนามแห่งนี้ในการแข่งขันฟุตบอลชาย สำหรับพิธีเปิดการแข่งขันนั้นจัดขึ้นที่กีฬาสถานชาติมรดกเตโช
ในยุคเขมรแดง พหุกีฬาสถานชาติโอลิมปิก ถูกใช้เป็นลานสังหารเจ้าหน้าที่สาธารณรัฐเขมร ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชาลอน นอล จำนวนมากถึงหลายร้อยคน[4]
หลังสมัยเขมรแดงหลายทศวรรษ สิ่งอำนวยความสะดวกของสนามกีฬาถูกปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรม จนกระทั่งใน ค.ศ. 2000 สนามกีฬาแห่งนี้ได้รับการพัฒนาใหม่โดยบริษัท Yuanta Group ของไต้หวัน ซึ่งได้ปรับปรุงสนามกีฬาใหม่ และยังได้นำที่ดินในบริเวณนี้ไปพัฒนาเป็นคอนโดมิเนียมและสถานที่เชิงพาณิชย์อีกด้วย[5][6]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Molyvann's Olympic Stadium receiving $500,000 renovation". Phnom Penh Post. 2024-01-28. สืบค้นเมื่อ 2024-02-25.
- ↑ Khmer Architecture Tours, retrieved 2007-11-25
- ↑ Deconstructing Cambodia's modernist heritage, Asia Times Online; retrieved 2007-11-25
- ↑ "Rich Garella: Cambodia notebook". www.garella.com. สืบค้นเมื่อ 2024-08-06.
- ↑ Illegal disposals of state property เก็บถาวร 2007-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, CambodiaPolitic.org; retrieved 2007-11-25
- ↑ Building Phnom Penh: An Angkorian heritage, Robert Turnbull, International Herald Tribune; retrieved 2007-11-25