ข้ามไปเนื้อหา

รักร่วมเพศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พวกรักร่วมเพศ)
สัญลักษณ์ของผู้รักร่วมเพศ: ชายรักชาย (ขวา) และหญิงรักหญิง (ซ้าย)

รักร่วมเพศ หรือ โฮโมเซ็กชวลลิตี (อังกฤษ: Homosexuality)[1] หรือ โฮโมเซ็กชวล (Homosexual) หมายถึงพฤติกรรมทางเพศหรือความสนใจของคนในเพศเดียวกันหรือรสนิยมทางเพศ ในเรื่องรสนิยมทางเพศหมายถึง "มีเพศสัมพันธ์หรือความรักในทางโรแมนติกพิเศษกับบุคคลในเพศเดียวกัน" และยังหมายถึง "ความรู้สึกส่วนตัวและการแสดงออกทางสังคมโดยยึดจากความชอบ พฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออก และการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคมเดียวกันของพวกเขา"[2][3] รักร่วมเพศ, รักร่วมสองเพศ (bisexual) และรักต่างเพศ ถือเป็นกลุ่มคนหลัก 3 ประเภทของรสนิยมทางเพศ สัดส่วนของประชากรที่เป็นกลุ่มคนรักร่วมเพศค่อนข้างยากที่จะประเมิน[4] แต่ส่วนใหญ่จากการที่ศึกษาในปัจจุบันอัตราอยู่ที่ 2–7%[5][6][7][8][9][10][11][12][13] แต่อย่างไรก็ตามจากการสำรวจในกลุ่มคนชาวนอร์เวย์ พบว่ามีกลุ่มคนรักร่วมเพศ 12%[14]

สาเหตุของการเกิดพฤติกรรมรักร่วมเพศยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ซึ่งจากการศึกษาพี่น้องฝาแฝดที่เป็นเกย์ทั้งคู่ โดย Dean Halmer นักพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล แห่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติ รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา พบว่าอาจจะเกิดจากพันธุกรรมที่โครโมโซม ตำแหน่ง Xq28[15] อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังถกเถียงเกี่ยวกับยีนตัวนี้อยู่เช่นกัน ซึ่งงานวิจัยใหม่นั้นพบว่าผลที่ออกมาขัดแย้งกับผลการศึกษาเดิม และไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน[16]

ปัจจุบันได้มีคำศัพท์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างพื้นที่ให้แก่เพศวิถีต่าง ๆ เช่น "ความหลากหลายทางเพศ"[17] หรือ "กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ"[18] เนื่องจากมีความหมายที่ครอบคลุมและตรงตัวกว่าคำว่า “รักร่วมเพศ” ที่อาจถูกตีความว่าบุคคลประเภทนี้ให้ความสำคัญต่อการมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม คำว่าความหลากหลายทางเพศนั้น อาจหมายความรวมถึงผู้ที่มีรสนิยมรักสองเพศด้วย

ภาพรวม

[แก้]
กฎหมายทั่วโลกเกี่ยวกับความสัมพันธ์และเสรีภาพในการแสดงออกร่วมเพศ
มีเพศสัมพันธ์ร่วมเพศไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีโทษ:
  ประหารชีวิต แต่ไม่บังคับใช้
  จำคุก
  จำคุก แต่ไม่บังคับใช้1
  ถูกทหารอาสาสมัครฆ่า
  ถูกกักขังแต่ไม่ดำเนินคดี
มีเพศสัมพันธ์ร่วมเพศชอบด้วยกฎหมาย การยอมรับการอยู่กินด้วยกัน:
  สมรสนอกดินแดน3
  เฉพาะคนต่างด้าว
  คำรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรที่เลือกได้
  ไม่ยอมรับ
  ยังมีข้อจำกัดในการแสดงออก
วงแหวนระบุพื้นที่ซึ่งผู้พิพากษาท้องถิ่นอนุญาตหรือปฏิเสธการสมรสหรือกำหนดโทษประหารชีวิตในเขตอำนาจศาลซึ่งไม่ใช่กฎหมายหรือพื้นที่ซึ่งใช้แบบกรณี ๆ ไป
1ไม่มีการจับกุมในสามปีหลังสุด หรือมีการผ่อนเวลากฎหมาย
2กฎหมายอาจยังไม่มีผลบังคับในบางเขตอำนาจ
3ไม่มีการสมรสในท้องถิ่น บางเขตอำนาจอาจจัดการครองคู่ (partnership) แบบอื่น

รักร่วมเพศ มีในสังคมมนุษย์มาตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์แรก ๆ รูปแบบบางอย่างเกี่ยวกับการดึงดูดทางเพศและความต้องการทางเพศระหว่างผู้ชายด้วยกันฝั่งแน่นมานาน เป็นการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของบรรทัดฐานสังคม และมีการกล่าวถึงมากที่เกี่ยวกับกรีกโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศ (อย่างเช่นการร่วมเพศทางทวารหนักในบางวัฒนธรรม หรือการทำออรัลเซ็กซ์กับผู้อื่น) ในบางวัฒนธรรมอย่างศาสนาเอบราฮัมมีกฎหมายออกมา และโบสถ์ได้ถือว่าการร่วมเพศทางทวารหนักเป็นการละเมิดต่อกฎสวรรค์ หรือเป็น "อาชญากรรมฝืนธรรมชาติ" ที่ผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษอย่างรุนแรง อย่างเช่น การประหารชีวิต โดยมากใช้ไฟเผา (เพื่อเป็นการกระทำชำระบาป) การร่วมเพศทางทวารหนักระหว่างผู้ชายด้วยกัน เกิดขึ้นก่อนยุคความเชื่อคริสเตียน โดยมากมักอ้างถึงในกรีกโบราณ ว่าเป็น "อธรรมชาติ" ย้อนไปได้ในยุคเพลโต[19]

ใน 2 ทศวรรษของศตวรรษที่ 19 มุมมองที่แตกต่างกันเริ่มครอบงำทางด้านแพทย์ศาสตร์และจิตวิทยา ถูกประเมินว่าเป็นพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงประเภทของคน ที่อธิบายและความสัมพันธ์กับอัตลักษณ์ทางเพศ Karl-Maria Kertbeny บัญญัติคำว่า โฮโมเซ็กชวล ในปี 1869 ในหนังสือโต้เถียงต่อกฎหมายปรัสเซียในการต่อต้านการร่วมเพศทางทวารหนัก[20][21] และต่อมาในหนังสือ Psychopathia Sexualis ที่เขียนโดย Richard von Krafft-Ebing ในปี 1986 ก็ได้ขยายความเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับแนวคิดนี้[21]

ในปี 1897 นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษที่ชื่อ เฮฟล็อก เอลลิส พิมพ์ มุมมองที่คล้ายกันในหนังสือของเขาที่ชื่อ Sexual Inversion[22] ถึงแม้ว่าหนังสือทางแพทย์เหล่านี้จะไม่ได้แพร่หลายสู่สาธารณะในวงกว้าง แต่พวกเขาก็รับทราบจากคณะกรรมการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมทางวิทยาศาสตร์ของ Magnus Hirschfeld ซึ่งเป็นโครงการตั้งแต่ปี 1897 ถึง 1933 เพื่อต่อต้านกฎหมายต่อต้านการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ในเยอรมนี เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวอย่างไม่เป็นทางการในบรรดาหมู่ปัญญาชนชาวอังกฤษและนักเขียน นำโดย เอดเวิร์ด คาร์เพนเทอร์ และจอห์น แอดดิงทัน ไซมอนด์ส

ในศตวรรษที่ 20 รักร่วมเพศเป็นเรื่องการศึกษาที่สำคัญและถกเถียงในสังคมตะวันตก โดยเฉพาะหลังจากการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของเกย์ที่เริ่มในปี 1969 และเมื่อผ่านอำนาจผู้มีอำนาจอย่างด้านพยาธิวิทยาหรือความป่วยทางจิตที่สามารถรักษาได้ รักร่วมเพศได้มีการตรวจสอบมากขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เข้าใจทางด้านชีววิทยา จิตวิทยา การเมือง พันธุศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และความหลากหลายด้านวัฒนธรรมของการปฏิบัติทางเพศและอัตลักษณ์ กฎหมายและสถานภาพทางด้านสังคมของคนที่ต่อสู้ในการกระทำของชาวรักร่วมเพศ หรือการบ่งชี้ในฐานะเกย์หรือเลสเบียนแปรเปลี่ยนไปไปทั้งโลก และในบางที่ก็ยังคงต่อต้านทั้งทางด้านการเมืองและศาสนา

เพศวิถี

[แก้]

วิถีทางเพศ

[แก้]

วิถีทางเพศ ของรักร่วมเพศ อาจหมายถึง "รูปแบบความคงอยู่ของ/หรือ อารมณ์ทางเพศ หรือความสนใจด้านความรัก ต่อคนที่เป็นเพศเดียวกัน" ยังคงหมายถึง ความรู้สึกส่วนตัวต่ออัตลักษณ์และการเข้าสังคม โดยยึดจากความสนใจ พฤติกรรมการแสดงออกของพวกเขา และการเป็นสมาชิกของสังคมในกลุ่มสังคมเดียวกันของพวกเขา[2][3] สัดส่วนของประชากรที่เป็นกลุ่มคนรักร่วมเพศค่อนข้างยากที่จะประเมิน[4]แต่ส่วนใหญ่จากการที่ศึกษาในปัจจุบันอัตราอยู่ที่ 2–7%[5][6][7][8][9][10][11][12][13] โดยแบ่งแยกจากไบเซ็กชวลและรักต่างเพศ

นักวิจัยได้ดูเรื่องสาเหตุความหลากหลายที่เป็นไปได้ของวิถีทางเพศขอพวกรักร่วมเพศ อย่างเช่น ด้านชีววิทยา ฮอร์โมน ความเครียด ลำดับการเกิด และผลกระทบด้านสภาพแวดล้อม[23] โดย The American Psychiatric Association อ้างว่า "บางคนเชื่อว่า วิถีทางเพศ เกิดขึ้นโดยกำเนิดและคงเป็นอย่างนั้น แต่อย่างไรก็ตาม วิถีทางเพศอาจพัฒนาเปลี่ยนไปในรอบชีวิตหนึ่ง"[24] ถึงกระนั้น American Psychological Association ก็กล่าวว่า "คนส่วนใหญ่มีประสบการณ์เพียงเล็กน้อย หรือไม่มีความรู้สึกเกี่ยวกับวิถีทางเพศของพวกเขา"[25]

อัตลักษณ์ทางเพศ

[แก้]

อัตลักษณ์ทางเพศของ คนรักร่วมเพศอาจหมายถึง อัตลักษณ์ที่ระบุว่าเป็นเกย์หรือเลสเบียน ถ้าให้แคบกว่านี้ เกย์หมายถึง ผู้ชายรักร่วมเพศ แต่มักจะใช้ความหมายของเกย์ในทางกว้างมากกว่า โดยเฉพาะในหัวข้อหรือการรายงานจากสื่อมวลชน ความหมายของรักร่วมเพศโดยส่วนมาก ส่วนเลสเบียนจะหมายถึงผู้หญิงรักร่วมเพศ

นักวิชาการอย่างเช่น เดวิด กรีน กล่าวว่า รักร่วมเพศในโครงสร้างสังคมตะวันตกสมัยใหม่ ไม่สามารถใช้ในความหมายเดียวกับความสัมพันธ์ชาย-ชาย ในสังคมที่ไม่ใช่ชาวตะวันตก หรือ และทั้งสังคมก่อนตะวันตกสมัยใหม่[26]

พฤติกรรมทางเพศ

[แก้]

พฤติกรรมทางเพศของคนรักร่วมเพศ หมายถึง ความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างคนสองคนที่เป็นเพศเดียวกัน การศึกษาพบว่า คู่เพศเดียวกันและคู่ต่างเพศแทบจะมีจำนวนเท่ากัน เมื่อวัดจากความพอใจในความสัมพันธ์และพันธะ[27] เลสเบียนและผู้ชายเกย์ ก่อความสัมพันธ์ยั่งยืนขึ้น อย่างเช่นจากการศึกษาชี้ว่า ระหว่าง 18% และ 28% ของคู่เกย์ และระหว่าง 8% และ 21% คู่เลสเบียนในสหรัฐอเมริกาอยู่ด้วยกัน 10 ปี หรือมากกว่านั้น[28]

ทัศนคติทางด้านสังคมเกี่ยวกับความสัมพันธ์เพศเดียวกัน แตกต่างกันไปทั้งสถานที่และเวลา มีตั้งแต่ความคาดหวังของผู้ชายที่จะต่อต้านความสัมพันธ์เพศเดียวกัน ถึงการรวมตัวอย่างไม่ตั้งใจ ผ่านการยอมรับของสังคม ถึงการเห็นที่การปฏิบัติในฐานะคนบาป ความอดกลั้นการบังคับใช้ทางกฎหมายและวิธีการตัดสินทางกฎหมาย และการห้ามปรามที่อาจมีโทษถึงตาย

หลายชาติส่วนใหญ่ไม่กีดกันการอยู่ร่วมกันของคน อำนาจศาลในบางแห่งให้ความสำคัญของสิทธิเท่าเทียมกัน การปกป้องและสิทธิของโครงสร้างครอบครัวเพศเดียวกัน รวมถึงการแต่งงานด้วยกัน ในบางชาติควบคุมออกจากคนรักต่างเพศ บางที่ห้ามกิจกรรมรักร่วมเพศและถือว่าผิดกฎหมาย ผู้ฝ่าฝืนมีโทษถึงตายในบางที่ที่เป็นมุสลิม อย่างเช่น อิหร่าน และบางส่วนของไนจีเรีย

ประวัติ

[แก้]

ทัศนคติทางสังคมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเพศเดียวกันแตกต่างกันไปในเวลาและสถานที่ต่าง ๆ ตั้งแต่การขัดขวางความสัมพันธ์เพศเดียวกัน ยอมรับบ้างบางครั้งบางคราว หรือเปิดใจยอมรับ จากการเห็นถึงการปฏิบัติในรูปแบบ การบังคับทางกฎหมายและวิธีการพิจารณาคดี ถึงการห้ามปรามทางกฎหมายภายใต้การประหารชีวิต

ในรายละเอียดรวมของประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ของสังคมก่อนยุคอุตสาหกรรม "ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งในรักร่วมเพศ มีรายงานว่า 41% ใน 42 วัฒนธรรม รับได้หรือหลีกเลี่ยง 21% และ 12% ไม่มีแนวคิด และจาก 70 ชาติพันธุ์ มี 59% รายงานว่าชาวรักร่วมเพศหายาก และ 41% รายงานว่ามีอยู่และไม่ผิดปกติ"[29]

มีบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์อย่าง โสกราตีส, ลอร์ด ไบรอน, เอดเวิร์ดที่ 2, แฮเดรียน[30] ที่มีคำเรียกอย่าง เกย์ หรือไบเซกชวล อธิบายถึง อย่าง มิเชล โฟคอลต์ อ้างถึงว่าเป็นความภัยอันตรายที่เกิดขึ้นในชาวต่างชาติในเวลาพวกเขา[31]

นักวิเคราะห์โต้เถียงว่าไม่มีใครในยุคโบราณหรือยุคกลาง ที่มีประสบการณ์รักร่วมเพศพิเศษ แบบถาวร จอห์น บอสเวลล์ อ้างการโต้เถียงนี้โดยอ้างจากบทเขียนโบราณของเพลโต[32] ที่อธิบายหลักฐานพฤติกรรมทางเพศแบบรักร่วมเพศ

อียิปต์

[แก้]

รักร่วมเพศในแอฟริกาท้องถิ่น มีหลายรูปแบบ นักมานุษยวิทยาที่ชื่อสตีเฟน เมอร์เรย์และวิลล์ รอสโค รายงานว่ามีผู้หญิงจำนวนหนึ่งในเลโซโธที่เกี่ยวพันกับการลงโทษ "ในเรื่อง มีความสัมพันธ์ทางเพศกัน ที่ชื่อ motsoalle"[33] อี. อี. อีแวนส์-พริตชาร์ตยังบันทึกว่า นักรบชายที่ชื่อ Azande (ทางตอนเหนือของคองโก) มีพฤติกรรมในการนำชายหนุ่มอายุระหว่าง 12 และ 20 ปี มาช่วยงานบ้านและมีความสัมพันธ์ทางเพศ การลงโทษถึงตายหายไปช่วงต้นศตวรรษที่ 20 หลังจากที่ชาวยุโรปได้มีอำนาจในหลายประเทศในแอฟริกา

ส่วนบันทึกแรกเกี่ยวกับคู่รักร่วมเพศคือคู่ Khnumhotep และ Niankhkhnum ที่มีชีวิตอยู่ในราว 2400 ก่อนคริสต์ศักราช ที่มีบนผนังถ้ำ ของทั้งสองคนจับไหล่จับแขนแล้วสัมผัสจมูกกัน[34]

อเมริกา

[แก้]
การทรมานโดยสุนัข คนชายรักชายโดยชาวตะวันตกต่อชนพื้นเมืองอเมริกา

ในบรรดาชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา ก่อนการตั้งอาณานิคมของชาวยุโรป รูปแบบของพฤติกรรมเพศเดียวกัน มีอยู่ในคนสองจิตวิญญาณ (Two-Spirit) โดยทั่วไปแล้วคนพวกนี้จะได้รับการยอมรับว่าเป็นคนสองวิญญาณในช่วงเริ่มต้นของชีวิต เลือกโดยพ่อแม่พวกเขาและ ถ้าเด็กรับบทบาทนี้ โตขึ้นในแบบที่เหมาะสม เรียนรู้ถึงประเพณีของเพศที่เลือก คนสองจิตวิญญาณโดยมากจะเป็นชาแมนและได้รับความเคารพนับถือในพลังอำนาจ

คนรักร่วมเพศและคนข้ามเพศเป็นสิ่งปกติทั่วไปในยุคก่อนล่าอาณานิคมในละตินอเมริกา อย่างเช่น แอซเท็ค มายัน เกชว ม็อชเช่ ซาโปเท็ค และทูปินามบา ในบราซิล[35][36]

นักล่าอาณานิคมชาวสเปนรู้สึกขยะแขยงกับการค้นพบกับพฤติกรรมการร่วมเพศทางทวารหนักในระหว่างชนพื้นเมือง และพยายามต่อต้านโดยบังคับพวก เบอร์ดาเช ภายใต้กฎหมายการลงโทษอย่างรุนแรง รวมถึงการประหารชีวิตในที่สาธารณะ การเผาและการทรมานโดยสุนัข[37]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิต สาขาแพทยศาสตร์ เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ให้ความหมาย homosexual ว่า -รักร่วมเพศ
  2. 2.0 2.1 "Sexual Orientation and Homosexuality", APAHelpCenter.org, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28, สืบค้นเมื่อ 2007-09-07
  3. 3.0 3.1 APA California Amicus Brief
  4. 4.0 4.1 LeVay, Simon (1996). Queer Science: The Use and Abuse of Research into Homosexuality. Cambridge: The MIT Press ISBN 0-262-12199-9
  5. 5.0 5.1 ACSF Investigators (1992). AIDS and sexual behaviour in France. Nature, 360, 407–409.
  6. 6.0 6.1 Billy, J. O. G., Tanfer, K., Grady, W. R., & Klepinger, D. H. (1993). The sexual behavior of men in the United States. Family Planning Perspectives, 25, 52–60.
  7. 7.0 7.1 Binson, D., Michaels, S., Stall, R., Coates, T. J., Gagnon, & Catania, J. A. (1995). Prevalence and social distribution of men who have sex with men: United States and its urban centers. Journal of Sex Research, 32, 245–254.
  8. 8.0 8.1 Bogaert, A. F. (2004). The prevalence of male homosexuality: The effect of fraternal birth order and variation in family size. Journal of Theoretical Biology, 230, 33–37.
  9. 9.0 9.1 Fay, R. E., Turner, C. F., Klassen, A. D., & Gagnon, J. H. (1989). Prevalence and patterns of same-gender sexual contact among men. Science, 243, 338–348.
  10. 10.0 10.1 Johnson, A. M., Wadsworth, J., Wellings, K., Bradshaw, S., & Field, J. (1992). Sexual lifestyles and HIV risk. Nature, 360, 410–412.
  11. 11.0 11.1 Laumann, E. O., Gagnon, J. H., Michael, R. T., & Michaels, S. (1994). The social organization of sexuality: Sexual practices in the United States. Chicago: University of Chicago Press.
  12. 12.0 12.1 Sell, R. L., Wells, J. A., & Wypij, D. (1995). The prevalence of homosexual behavior in the United States, the United Kingdom and France: Results of national population-based samples. Archives of Sexual Behavior, 24, 235–248.
  13. 13.0 13.1 Wellings, K., Field, J., Johnson, A., & Wadsworth, J. (1994). Sexual behavior in Britain: The national survey of sexual attitudes and lifestyles. London, UK: Penguin Books.
  14. http://www.aftenposten.no/english/local/article633160.ece
  15. เกย์-เลสเบียน ทางสายที่สามถ้าลูกเลือกเดิน
  16. Doubt cast on 'gay gene'
  17. งานประชุมวิชาการ “เพศภาวะและสิทธิในเอเชีย: การประชุมครั้งแรกว่าด้วยเควียร์ศึกษา” (Sexualities, Genders, and Rights in Asia: 1st International Conference of Asian Queer Studies) จัดโดย โครงการจัดตั้งสำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่ายเควียร์แห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ระหว่างวันที่ 7 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร
  18. ธเนศว์ กาญธีรานนท์, ถึงเวลาที่รัฐธรรมนูญไทย จะเพิ่มพื้นที่ให้แก่กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
  19. "... sow illegitimate and bastard seed in courtesans, or sterile seed in males in defiance of nature." Plato in THE LAWS (Book VIII p.841 edition of Stephanus) or p.340, edition of Penguin Books, 1972.
  20. Feray, Jean-Claude; Herzer, Manfred (1990). "Homosexual Studies and Politics in the 19th Century: Karl Maria Kertbeny". Journal of Homosexuality, Vol. 19, No. 1.
  21. 21.0 21.1 "Biography: Karl Maria Kertbeny", GayHistory.com, สืบค้นเมื่อ 2007-09-07 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. Ellis, Havelock; Symonds, John Addington (1975), Sexual Inversion, Arno Press, ISBN 0405073631 (reprint)
  23. "Sexual Orientation and Adolescents" (PDF), American Academy of Pediatrics Clinical Report, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-05-29, สืบค้นเมื่อ 2007-02-23, Sexual orientation probably is not determined by any one factor but by a combination of genetic, hormonal, and environmental influences {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. American Psychiatric Association (2000). "Gay, Lesbian and Bisexual Issues". Association of Gay and Lesbian Psychiatrics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-03. สืบค้นเมื่อ 2010-12-04. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  25. "Answers to Your Questions About Sexual Orientation and Homosexuality". American Psychological Association. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
  26. Cartographies of Desire: Male-male Sexuality in Japanese Discourse, 1600-1950; By Gregory M. Pflugfelder; Published by University of California Press, 1999, ISBN 0-520-20909-5, 9780520209091 399; Quotes from pages 5 and 6; In speaking of sexual desires and practices between males, I use the term male-male sexuality" rather than the more familiar "homosexuality" for deliberate reasons. To begin with, as I explain in Chapter I, inhabitants of the Japanese archipilago before the last century did not usually draw a conceptual link between male-male and female-female forms of erotic behaviour. Thus to adopt the term "homosexuality," which implies an inherent connection between the two, is to accept uncritically the effects of a discursive process whose very emergence demands historical accounting... To impose such categories as "homosexuality" and "bisexuality" upon a society or conceptul universe, whether non-European or pre-nineteenth century, in which they would not have been understood in the same sense that they are currently understood, if indeed at all, and in which behaviour often followed patterns quite different from those we associate with them in our own societies, is unwittingly to hide from view the experience of those very historical subjects whom we seek to comprehend. Even the word "sexuality" invites misinterpretation, so clarification is in order. By "sexuality," I do not mean fixed sexul orientation, as late twentieth century speakers of English tend to do, for instance, when they refer to a particular individual's "sexuality" -- meaning that person's place within the currently canonical trinity of "homosexuality," "heterosexulity," and "bisexuality." For much of the period examined in this study, the notion that each individual possesses a deeply rooted personal identity based on the biological sex of the preferred sexual object or objects (and specifically whether it is the same as or different from her or his own), and the tripartite taxonomy of sexual types that has resulted from this construction, held no currency in Japan, nor had they emerged even in the West.
  27. "Relationship Satisfaction and Commitment". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-07. สืบค้นเมื่อ 2010-12-04.
  28. APA - What is Nature
  29. Adolescence and puberty By John Bancroft, June Machover Reinisch, p.162
  30. Roman Homosexuality By Craig Arthur Williams, p.60
  31. Foucault, Michel (1986). The History of Sexuality. Pantheon Books. ISBN 0394417755.
  32. Boswell, John (1980), Christianity, Social Tolerance, and Homosexuality: Gay People in Western Europe from the Beginning of the Christian Era to the Fourteenth Century, University of Chicago Press, ISBN 978-0-226-06711-7
  33. Murray, Stephen (ed.) (1998). Boy Wives and Female Husbands: Studies of African Homosexualities. New York: St. Martin's Press. ISBN 0312238290. {{cite book}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  34. จอน อึ้งภากรณ์ / ไมเคิล ไรท, LGBT ความรักข้ามผ่านเพศสภาพ และเรื่องเพศศีกษา
  35. Pablo, Ben (2004), "Latin America: Colonial]", glbtq.com, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-11, สืบค้นเมื่อ 2007-08-01
  36. Murray, Stephen (2004). "Mexico". ใน Claude J. Summers (บ.ก.). glbtq: An Encyclopedia of Gay, Lesbian, Bisexual, Transgender, and Queer Culture. glbtq, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-02. สืบค้นเมื่อ 2007-08-01.
  37. Mártir de Anglería, Pedro. (1530). Décadas del Mundo Nuevo. Quoted by Coello de la Rosa, Alexandre. "Good Indians", "Bad Indians", "What Christians?": The Dark Side of the New World in Gonzalo Fernández de Oviedo y Valdés (1478-1557), Delaware Review of Latin American Studies, Vol. 3, No. 2, 2002.