พรูอิตต์–ไอโก
พรูอิตต์–ไอโก | |
---|---|
เวนเดลล์ โอ. พรูอิตต์ โฮมส์ (Wendell O. Pruitt Homes) และ วิลเลียม ไอโก อะพาร์ตเมนตส์ คอมเพล็กซ์ (William Igoe Apartments complex) | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ที่ตั้ง | เซนต์ลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐ |
พิกัด | 38°38′32.24″N 90°12′33.95″W / 38.6422889°N 90.2094306°W |
สถานะ | ทุบทำลาย |
พื้นที่ | 57 เอเคอร์ (23 เฮกตาร์) |
จำนวนบล็อก | 33 |
จำนวนยูนิต | 2,870 |
ความหนาแน่น | 50 units per acre (120 per hectare) |
การก่อสร้าง | |
ก่อสร้างเมื่อ | 1951–1955 |
สถาปนิก | มิโนรุ ยามาซากิ |
สถาปัตยกรรม | อินเตอร์เนชันนัล, มอเดิร์น |
ทำลาย | 1972–1976 |
เวนเดลล์ โอ. พรูอิตต์ โฮมส์ (อังกฤษ: Wendell O. Pruitt Homes) และ วิลเลียม ไอโก อะพาร์ตเมนส์ (อังกฤษ: William Igoe Apartments) หรือที่นิยมเรียกรวมกันว่า พรูอิตต์–ไอโก (อังกฤษ: Pruitt–Igoe) เป็นอดีตโครงการที่อยู่อาศัยชนิดรัฐสนับสนุนบางส่วน เริ่มมีผู้ย้ายเข้าอยู่อาศัยครั้งแรกใน ค.ศ. 1954 ตั้งอยู่ในนครเซนต์ลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐ โครงการประกอบด้วยอาคารสูงสิบเอ็ดชั้นจำนวน 33 หลังที่ออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมมอเดิร์น โดยมิโนรุ ยามาซากิ ถือเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ ก่อนสร้างขึ้นด้วยเงินทุนสนับสนุนจากระดับประเทศบนจุดที่เคยเป็นสลัมในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการฟื้นฟูนคร แม้ว่าโครงการนี้จะไม่มีการแบ่งแยกสีผิว แต่ผู้อยู่อาศัยเกือบทั้งหมดเป็นชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ชื่อโครงการตั้งตามชาวเซนต์หลุยส์สองคนคือ เวนเดิล โอ. พรูอิตต์ นักนับเครื่องบินรบชางแอฟริกัน-อเมริกันในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง กับวิลเลียม แอล. ไอโก อดีตคองเกรสแมน[1] เริ่มแรกจะแบ่งจัดสรรเขตพรูอิตต์สำหรับคนดำ และเขตไอโกสำหรับคนขาว[2] กระนั้นการแบ่งแยกสีผิวในที่อยู่อาศัยถูกยกเลิกในเซนต์หลุยส์ใน ค.ศ. 1955 ก่อนการเปิดตัวโครงการ[3]
แม้ว่าในตอนแรก โครงการจะได้รับการยกย่องในฐานะการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน แต่ไม่นานหลังเปิดให้เข้าพักอาศัย ความเป็นอยู่ในโครงการเริ่มเลวร้ายลง และภายในกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 โครงการเต็มไปด้วยอาชญากรรมและมีปัญหาขาดการดูแล รวมถึงประสบปัญหาการทำลายทรัพย์สินและปัญหาอาชญากรรมเยาวชน หลังจากนั้นมามีการเสนอโครงการต่าง ๆ เพื่อปรับสภาพแต่ทั้งหมดล้วนไม่ประสบความสำเร็จ ใน ค.ศ. 1970 ผู้อยู่อาศัยย้ายออกจากโครงการ จนเหลือห้องว่างมากกว่าสองในสาม และท้ายที่สุดใน ค.ศ. 1972 จึงเริ่มต้นการทำลายอาคารในโครงการด้วยการระเบิดอาคารผ่านการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ผู้อยู่อาศัยทั้งหมดย้ายออกและโครงการถูกทำลายจนเสร็จสิ้นในสี่ปีต่อมา
พรูอิตต์–ไอโก กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของความล้มเหลวในความพยายามเปลี่ยนสังคมด้วยสถาปัตยกรรมมอเดิร์น นักวิจารณ์ ชาลส์ เจิงส์ อธิบายการทุบทำลายโครงการนี้ว่าเป็น "วันที่สถาปัตยกรรมมอเดิร์นตายลง"[4] ในการวิเคราะห์เหตุการณ์ในยุคหลัง ๆ เริ่มหันเหมาให้น้ำหนักกับปัญหาการลดลงของประชากรในนครเซนต์ลุยส์ และปัญหาการเงินขององค์การที่ดูแลที่อยู่อาศัยของท้องถิ่น อาร์คีเท็กชรอลรีวิว ระบุว่ามุมมองในสมัยใหม่ต่อโครงการนี้มองว่า "ต้องล้มเหลวเข้าในสักวันมาตั้งแต่แรก"[5] ข้อมูลจาก ค.ศ. 2024 พื้นที่ที่ในอดีตเป็นโครงการพรูอิตต์–ไอโก ยังคงถูกทิ้งร้างเป็นส่วนใหญ่
มีการกล่าวถึงและบทวจารณ์เกี่ยวกับพรูอิตต์–ไอโกอยู่มากมายในวรรณกรรมด้านสถาปัตยกรรม[6] สถาปนิก วิลเลียม แรมรอธ (William Ramroth) บรรยายว่าพรูอิตต์–ไอโก เป็น "ภัยพิบัติด้านที่อยู่อาศัยสาธารณะที่มีชื่อเสียงเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน" และเป็น "ตัวแบบ" (poster child) สำหรับโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสาธารณะ[1] กระนั้นก็ดี เสียงตอบรับในระยะแรกต่อโครงการนี้เป็นไปในทางบวก แม้ว่าโครงการจะไม่เคยได้รับรางวัลใด ๆ ก็ตาม[7] ใน ค.ศ. 1951 ก่อนที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จ บทความบน อาร์คีเท็กชรอลฟอรัม เขียนสรรเสริญแผนเดิมของยามาซากิ[8] และเชิดชูว่าเป็น "ชุมชนแนวตั้งสำหรับคนจน"[9] ผู้เขียนชีวประวัติของยามาซากิน พอล คิดเดอร์ (Paul Kidder) ชื่นชมโครงการนี้ว่าเป็น "ความพยายามอันทะเยอทะยานอย่างน่าอัศจรรย์ ก่อนที่จะกลายมาเป็นความน่าอับอาย"[10] ความล้มเหลวและการทุบทำลายโครงการนี้ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของยามาซากิในฐานะสถาปนิก และเขาเองยังยอมรับว่าตนเองเสียใจที่ได้ออกแบบอาคารเหล่านี้[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Ramroth 2007, p. 163.
- ↑ Rainwater 1970, p. 8.
- ↑ Meehan 1979, p. 85.
- ↑ Jencks 1984, p. 9.
- ↑ 5.0 5.1 Gyure 2019.
- ↑ Comerio 1981, p. 26.
- ↑ Bristol 1991, p. 168.
- ↑ Meehan 1979, p. 67.
- ↑ Ramroth 2007, p. 164.
- ↑ Kidder 2022, p. 4.
บรรณานุกรม
[แก้]หนังสือ
[แก้]- Hall, Peter Geoffrey (2004). Cities of Tomorrow: An Intellectual History of Urban Planning and Design in the Twentieth Century. Wiley, John & Sons, Incorporated. ISBN 978-0-631-23252-0.
- Jencks, Charles (1984). The Language of Post-Modern Architecture. Rizzoli. ISBN 978-0-8478-0571-6.
- Kidder, Paul (2022). Minoru Yamasaki and the Fragility of Architecture. Routledge. ISBN 978-0-367-62952-6.
- Larsen, Lawrence Harold; Kirkendall, Richard Stewart (2004). A History of Missouri: 1953 to 2003. University of Missouri Press. ISBN 978-0-8262-1546-8.
- Meehan, Eugene (1979). The Quality of Federal Policymaking: Programmed Failure in Public Housing. University of Missouri Press. ISBN 0-8262-0272-1.
- Mendelson, Robert E.; Quinn, Michael A. (1985). "Residential Patterns in a Midwestern City: The Saint Louis Experience". The Metropolitan Midwest. University of Illinois Press. ISBN 978-0-252-01114-6.
- Montgomery, Roger (1985). "Pruitt–Igoe: Policy Failure or Societal Symptom". The Metropolitan Midwest. University of Illinois Press. ISBN 978-0-252-01114-6.
- Newman, Oscar (1996). Creating Defensible Space. US Department of Housing and Urban Development Office of Policy Development and Research. ISBN 978-0-7881-4528-5.
- Rainwater, Lee (1970). Behind Ghetto Walls: Black Families in a Federal Slum. Aldine Publishing Company. ISBN 978-0-202-30907-1.
- Ramroth, William G. (2007). Planning for Disaster: How Natural and Man-made Disasters Shape the Built Environment. Kaplan Publishing. ISBN 978-1-4195-9373-4.
บทความ
[แก้]- Bristol, Katharine (May 1991). "The Pruitt–Igoe Myth". Journal of Architectural Education. 44 (3): 163–171. doi:10.1080/10464883.1991.11102687. ISSN 1531-314X. S2CID 219542179.
- Cendón, Sara Fernández (February 3, 2012). "Pruitt-Igoe 40 Years Later". American Institute of Architects. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2014. สืบค้นเมื่อ December 31, 2014.
- Comerio, Mary C. (Summer 1981). "Pruitt Igoe and Other Stories". Journal of Architectural Education. 34 (4): 26–31. doi:10.1080/10464883.1981.10758667.
- Gyure, Dale Allen (February 21, 2019). "Minoru Yamasaki (1912–1986)". The Architectural Review. สืบค้นเมื่อ March 27, 2022.
- Miller, Joan; Rainwater, Lee (October 1967). Frances A. Koestler (บ.ก.). "Pruitt-Igoe: Survival in a Concrete Ghetto". Social Work. 12 (4): 3–13. doi:10.1093/sw/12.4.3.
- Yamasaki, Minoru (1952). "High Buildings for public housing?". Journal of Housing. 9 (7).