ข้ามไปเนื้อหา

พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทฺธโชติ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเทพมงคลรังษี

(ดี พุทฺธโชติ)
ส่วนบุคคล
เกิด29 มกราคม พ.ศ. 2417 (93 ปี 141 วัน ปี)
มรณภาพ19 มิถุนายน พ.ศ. 2510
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี
บรรพชาพ.ศ. 2434
อุปสมบทพ.ศ. 2437
พรรษา73
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม

หลวงปู่ดี พุทธโชติ (29 มกราคม พ.ศ. 2417 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2510) วัดเทวสังฆาราม ศิษย์ผู้สืบทอดวิชาจากหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว และหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ ท่านโดดเด่นทางด้านเมตตามหานิยมดังมีคำขวัญของชาวเมืองกาญจน์ว่า ถ้าเจ้าชู้ต้องวัดเหนือ ถ้าเป็นอ้ายเสือต้องวัดใต้ วัดเหนือก็หมายถึงหลวงปู่ดี วัดเหนือนั่นเอง

ประวัติ

[แก้]

หลวงปู่ดี ท่านเกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2417 (นับแบบใหม่) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านทุ่งสมอ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรของคุณพ่อเทศ และคุณแม่จันทร์ เอกฉันท์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 9 คน ท่านเป็นลูกคนที่ 7 บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2434 ณ วัดทุ่งสมอ โดยมีท่านอาจารย์รอดซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ของท่าน เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชเป็นสามเณรอยู่เป็นเวลาอยู่ 6 เดือนก็ลาสิกขาบท ต่อมาเมื่อมีอายุครบเกณฑ์จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. 2437 ณ วัดทุ่งสมอ โดยมีพระครูวิสุทธิรังษี (ช้าง) วัดบ้านทวน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์รอด วัดทุ่งสมอ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

สมณศักดิ์

[แก้]
  • พ.ศ. 2458 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูอดุลยสมณกิจ
  • 8 มิถุนายน พ.ศ. 2490 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระวิสุทธิรังษี ชินศาสนโสภี สังฆปาโมกข์[1]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระมงคลรังษีวิสุทธิ์ พุทธิธรรมคุณาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[2]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2507 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมงคลรังษี กาญจนบุรีธรรมธัช รัตตัญญูสุนทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]

มรณภาพ

[แก้]

ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2510 รวมสิริอายุได้ 93 ปี 73 พรรษา มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2511 ณ วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี

วัตถุมงคล

[แก้]

หลังจากนั้นท่านได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลที่โด่งดังมีดังนี้

  1. พระบูชา ภปร. กฐินต้น หน้าตัก 9 นิ้ว วัดเทวสังฆาราม ปี 2506
  2. พระบูชา ภปร. กฐินต้น หน้าตัก 5 นิ้ว วัดเทวสังฆาราม ปี 2506 ทองเหลืองรมดำ
  3. รูปหล่อขนาดบูชาหลวงปู่ดี รุ่นแรก ปี 2510 หน้าตักนิ้ว
  4. เหรียญพระพุทธชินราช เนื้อเงินและเนื้อทองแดง
  5. พระกริ่งอุปคุตพุทธโชติ มีเนื้อทองแดงและทองเหลือง
  6. เหรียญหลวงปู่ดี รุ่นแรก ปี 2507 เนื้ออัลปาก้า ฯลฯ

อ้างอิง

[แก้]
  1. หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ทั้งหมด 180 พระองค์
  2. หลวงพ่อดี พุทธโชติ เก็บถาวร 2014-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. ประวัติหลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม เก็บถาวร 2010-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  1. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (27 ง): 1531. 17 มิถุนายน 2490. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (107 ง): 2952. 17 ธันวาคม 2500. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (118 ง ฉบับพิเศษ): 1. 17 ธันวาคม 2507. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. เหรียญหลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม