พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี | |
---|---|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นโท | |
ประสูติ | 24 กันยายน พ.ศ. 2455 |
สิ้นพระชนม์ | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2520 (65 ปี) |
พระสวามี | หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์ |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์เดือนเด่น กิติยากร หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ |
ราชสกุล | บริพัตร (โดยประสูติ) สวัสดิวัตน์ (โดยเสกสมรส) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต |
พระมารดา | หม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์ |
ศาสนา | พุทธ |
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี (24 กันยายน พ.ศ. 2455 — 30 ธันวาคม พ.ศ. 2520) เป็นพระธิดาในจอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์
พระประวัติ
[แก้]พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี เรียกโดยลำลองว่า "ท่านพระองค์หญิงห้า" หรือ "ท่านพระองค์ห้า"[1] ประสูติเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2455 เป็นพระบุตรพระองค์ที่หกและเป็นพระธิดาพระองค์ที่ห้าในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์ พระองค์มีพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า มาแต่แรกประสูติ เนื่องจากในปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ยกพระบุตรของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สมเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ทั้งสาย[2]
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี เสกสมรสกับหม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี เป็นพระโสทรานุชาในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี มีโอรสธิดา 2 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์เดือนเด่น สวัสดิวัตน์ สมรสกับหม่อมราชวงศ์สฤษดิคุณ กิติยากร
- ศาสตราจารย์ ดร.หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ สมรสกับหม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์ (ราชสกุลเดิม วุฒิชัย)
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2520 สิริพระชันษา 65 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2493 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายใน)[3]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[4]
พงศาวลี
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ วิรัช จาตุรงคกุล. "ชีวิตในวังของสกุลจาตุรงคกุล". มูลนิธิสกุล ณ นคร และสายสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-03. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศ ยกพระวรวงษ์เธอ เป็นพระเจ้าวรวงษ์เธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (1ก): 99. 8 มกราคม พ.ศ. 2453.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตอนที่ 25 เล่ม 67 ราชกิจจานุเบกษา 2 พฤษภาคม 2493
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 43 หน้า 4301 วันที่ 6 มีนาคม 2469
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2455
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2520
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ
- พระองค์เจ้ายก
- ราชสกุลบริพัตร
- ราชสกุลสวัสดิวัตน์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ลี้ภัยชาวไทย