พระเจ้าชัยสิงหวรรมันที่ 3
ชัยสิงหวรรมันที่ 3 | |
---|---|
พระมหากษัตริย์จามปา | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 1288–1307 |
ก่อนหน้า | อินทรวรรมันที่ 5 |
ถัดไป | ชัยสิงหวรรมันที่ 4 |
สวรรคต | ค.ศ. 1307 อาณาจักรจามปา |
คู่อภิเษก | ภาสกรเทวี ตาปาซีแห่งชวา ฮเหวี่ยน เจิน |
พระราชบุตร | ชัยสิงหวรรมันที่ 4 |
ราชวงศ์ | จามปาที่ 11 |
พระราชบิดา | อินทรวรรมันที่ 5 |
พระราชมารดา | โคเรนทรักษมี |
ศาสนา | ฮินดู |
พระเจ้าชัยสิงหวรรมันที่ 3 (อักษรโรมัน: Jaya Siṃhavarman III) เอกสารเวียดนามออกพระนามว่า เจ๊ เมิน (เวียดนาม: Chế Mân, 制旻) หรือ โบ๋ ดิ๊ก (Bổ Đích, 補的) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรจามปา พระองค์มีบทบาทสำคัญในการปราบปรามการแผ่อำนาจลงใต้ของมองโกล
พระราชประวัติ
[แก้]พระเจ้าชัยสิงหวรรมันที่ 3 มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายหริชิต หรือ ซรี ฮารีจิต โป เดวาดา ซโวร์ (อักษรโรมัน: Sri Harijit Po Devada Svor) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าอินทรวรรมันที่ 5 กับพระนางโคเรนทรักษมี[1]: 211
ในรัชกาลของพระราชชนก มองโกลแผ่อำนาจลงมาตอนใต้ กระทั่ง ค.ศ. 1282 กุบไลข่านส่งทูตเชิญบรรณาการไปรัฐจามปา แต่ทูตไม่ปฏิบัติตามธรรมเนียมจามจึงถูกกษัตริย์จามประหารชีวิต กุบไลข่านจึงไปตีจามปาจนสำเร็จในเดียวกันนั้น พระเจ้าอินทรวรรมันที่ 5 และเจ้าชายหริชิต พร้อมทั้งกองทัพที่ยังเหลืออยู่หลบหนีไปยังเขตภูเขา และใช้ยุทธวิธีซุ่มโจมตีแบบกองโจร ทำให้ทัพมองโกลต้องทุกข์ทนกับอากาศร้อน โรคภัย และขาดแคลนเสบียง ที่สุดจึงละทิ้งที่มั่น หลังการตายของซากาโถว ผู้นำระดับสูงของมองโกล การรุกรานจามปาและอันนัมของมองโกลจึงยุติลง[2]: 82–87
หลังเสวยราชสมบัติ พระองค์มีพระมเหสีเอกคือ พระนางภาสกรเทวี และพระนางตาปาซี ซึ่งเป็นเจ้าหญิงแห่งชวา แต่จากการที่พระองค์มีสัมพันธไมตรีกับจักรวรรดิด่ายเหวียต จึงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงฮเหวี่ยน เจิน พระราชธิดาของจักรพรรดิเจิ๊น เญิน ตง โดยมอบดินแดนจังหวัดโอและเล๊ เป็นข้อแลกเปลี่ยนกับด่ายเหวียด[2]: 86–87, 205 แต่หลังพระเจ้าชัยสิงหวรรมันที่ 3 สวรรคตเมื่อ ค.ศ. 1307 เจ้าหญิงฮเหวี่ยน เจินปฏิเสธที่จะเข้าพิธีสตีตามธรรมเนียมจาม ถือเป็นเรื่องอัปยศสำหรับชาวจาม ด้วยเหตุนี้พระเจ้าชัยสิงหวรรมันที่ 4 เป็นพระราชโอรสผู้เสวยราชย์ต่อมา จึงยกทัพไปตีดินแดนจังหวัดโอและเล๊คืนจากด่ายเหวียด แต่พระองค์พ่ายแพ้และถูกจับกุมไว้ จนกระทั่งสวรรคตในฐานะคนโทษในด่ายเหวียด[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- ↑ 2.0 2.1 Maspero, G., 2002, The Champa Kingdom, Bangkok: White Lotus Co., Ltd., ISBN 9747534991
- ↑ "A History of Vietnam: From Hong Bang to Tu Duc". Google Books. สืบค้นเมื่อ 1 May 2018.
ก่อนหน้า | พระเจ้าชัยสิงหวรรมันที่ 3 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าอินทรวรรมันที่ 5 | พระมหากษัตริย์จามปา (ค.ศ. 1288–1307) |
พระเจ้าชัยสิงหวรรมันที่ 4 |