พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล)
พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) | |
---|---|
ชื่ออื่น | พระอาจารย์เขียน,หลวงปู่เขียน,เจ้าคุณเขียน ป.ธ.9 |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 ตุลาคม พ.ศ. 2456 (90 ปี) |
มรณภาพ | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 |
นิกาย | ธรรมยุตินิกาย |
การศึกษา | น.ธ.เอก,ป.ธ.9 |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดรังสีปาลิวัน กาฬสินธุ์ |
บรรพชา | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 |
อุปสมบท | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 |
พรรษา | 69 |
ตำแหน่ง | อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา อดีตเจ้าอาวาสวัดรังสีปาลิวัน จังหวัดกาฬสินธุ์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ธรรมยุต |
พระอริยเวที (หลวงปู่เขียน ฐิตสีโล),ป.ธ.9 (29 ตุลาคม พ.ศ. 2456 - 21 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2547) เป็นพระภิกษุสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ มีราชทินนามจารึกตามสัญญาบัตรว่า พระอริยเวที อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา,อดีตเจ้าอาวาสวัดรังสีปาลิวัน จังหวัดกาฬสินธุ์ และอดีตเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ธรรมยุต
เป็นพระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นที่น่าเคารพสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า รวมทั้ง เป็นเพื่อนสหธรรมิกกับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก,ป.ธ.9 และพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน),ป.ธ.3 ตั้งแต่ครั้งสมัยที่ท่านทั้งสามยังมีอายุพรรษาไม่มากนัก
ประวัติ
[แก้]พระอริยเวที (หลวงปู่เขียน ฐิตสีโล] ท่านมีนามเดิมว่า เขียน ภูสาหัส ท่านเกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2456 ณ บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายสังข์ และนางค้อม นามสกุลภูสาหัส เป็นพระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นที่น่าเคารพสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า [1] เมื่อมีอายุได้ 15 ปี ท่านได้ออกบรรพชาเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ณ วัดสุทธจินดา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และอุปสมบทเมื่อมีอายุได้ 21 ปี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระญาณดิลก (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์[2] หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านก็ออกศึกษาวิชาความรู้เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่าน จนท่านสามารถสอบไล่ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ในสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นการสำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย
ตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์
[แก้]- พ.ศ. 2485 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสังฆสภา
- พ.ศ. 2489 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2490 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา
- พ.ศ. 2494 ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธรรมยุต)
ลำดับสมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2485 รับพระราชทานทรงตั้งเปรียญธรรม 9 ประโยค มีสมณศักดิ์ทางวิชาการเปรียญธรรม ที่ พระมหาเขียน ฐิตฺสีโล
- พ.ศ. 2490 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ในราชทินนามที่ พระอริยเวที[3]
งานด้านการศึกษาสงฆ์
[แก้]- พ.ศ. 2478-พ.ศ. 2481 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดสุทธจินดา และวัดศาลาทอง อ.เมือง จ.นครราชสีมา
- พ.ศ. 2482 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ และสำนักเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ
ในปี พ.ศ. 2487 หลวงปู่เขียน ได้เข้ากราบฟังธรรม ปฏิบัติธรรม ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต หลังจากที่สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยคใหม่ ๆ โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ได้นำไปฝาก ทั้งนี้ เพื่อประสงค์ให้หลวงปู่ท่านได้เป็นศาสนทายาทที่มีความหนักแน่นมั่นคง ทั้งด้านปริยัติธรรมและด้านปฏิบัติ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พระภิกษุสามเณรในภายภาคหน้า หลังจากที่ท่านได้ฟังธรรมและปฏิบัติได้ดีแล้ว ท่านจึงออกธุดงค์ กัมมัฏฐานไปตามป่าเขาลำเนาไพรในจังหวัดต่างๆ จนออกไปถึงประเทศลาว และแวะเวียนมาเข้ากราบฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่นเป็นระยะ ๆ
หลวงปู่เขียน ทั้งอุทิศตน ทั้งบำเพ็ญปฏิบัติทางด้านประโยชน์ให่แก่ทางด้านพระพุทธศาสนาไม่น้อย ทั้งด้านการศึกษา ทางด้านการปกครอง ท่านปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ต่อมาหลวงปู่เขียนได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ของวัดสุทธจินดา เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2490 ท่านได้บริหารวัด ช่วยสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้กับวัด ทั้งตั้งเป้าหมายสูง มีระเบียบกับสามเณรและภิกษุสงฆ์อย่างเคร่งครัด รวมทั้งมีการคดเลือกหมู่คณะให้ไปรับการอบรมเป็นนักเรียนครู และ นักเรียนการปกครอง ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เพื่อให้กลับมาเป็นบุคลากรบริหารวัดช่วยเจ้าอาวาส อนุสรณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ท่านได้ริเริ่มก่อตั้งมูลนิธิ “สุทธจินดาราชสีมามูลนิธิ" [4] ต่อมาท่านก็เดินธุดงค์ออกไปยังถ้ำจนเป็นที่พอแก่กาลแล้ว จึงกลับมาสู่มาตุภูมิและสร้างวัดรังสีปาลิวันในปัจจุบัน เพื่อนำพระภิกษุสามเณร ประชาชนศึกษาธรรมและประพฤติธรรมจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต และได้ช่วยเหลืองานทางด้านพระพุทธศาสนา จนตราบกระทั่งมรณภาพเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 [5]
ศิษยานุศิษย์คนสำคัญ
[แก้]- พระเทพมงคลวัชราจารย์ (เหลือง ฉนฺทาคโม) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์(ธรรมยุต) อดีตเจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง (ธรรมยุต) ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ลูกศิษย์คนสำคัญในการจาริกธุดงควัตรแสวงหาโมกข์ธรรม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ลานธรรมจักร
- ↑ หลวงปู่เขียน ฐิตสีโล[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๖๔, ตอนที่ ๒๗ ง, ๑๗ มิถุนายน ๒๔๙๐, หน้า ๑๕๓๒
- ↑ อัตโนประวัติหลวงปู่เขียน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "วัตถุมงคลพร้อมชีวประวัติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-28. สืบค้นเมื่อ 2011-10-13.