พระสมเด็จนางพญา สก.
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
พระสมเด็จนางพญา สก.
[แก้]คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับคณะกรรมการจัดงานนิทรรศการการบินนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ได้สร้าง พระพุทธรัชมงคลประชานาถ สมเด็จนางพญา ส.ก. พระกริ่งจักรตรี 72 พรรษาประชาภักดี ประกอบพิธีพุทธาภิเษกมวลสาร และโลหะ ณ อุโบสถ วัดห้วยมงคล ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พระสมเด็จนางพญา สก. (สก. หมายถึง พระนามาภิไธยย่อของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ)วัดถ้ำสิงห์โตทอง หลวงปู่โต๊ะสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ (พระชนมายุ 60 พรรษา) สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
พระสมเด็จนางพญา สก. มี 2 ชนิด ได้แก่
- พระสมเด็จนางพญา สก.ผงพระพิมพ์
- พระสมเด็จนางพญา สก.โลหะ
พระสมเด็จนางพญา สก. ผงพระพิมพ์ มี 7 สี ได้แก่ สีเหลือง สีดำ สีแดง สีอิฐ สีเทา สีขาว สีเขียว ทำพิธีพุทธาภิเษก 7 เสาร์ 7 อังคาร 15 วัด รวมพุทธาภิเษก 16 ครั้ง พระสมเด็จนางพญา สก.โลหะ ทองคำ น้ำหนัก 1 บาท และน้ำหนัก 2 สลึง
พิธีมหาพุทธาภิเษก
[แก้]พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดถ้ำสิงห์โตทอง (หลวงปู่โต๊ะ) อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี พระสมเด็จนางพญา สก. เนื้อทองคำ น้ำหนักสองสลึง และพระพุทธสิริกิตติพิพัฒน์จำลองในวันที่ 28 สิงหาคมพ.ศ. 2535
วัตถุประสงค์
[แก้]สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้สักทอง วัดเทวราชกุญชร กรุงเทพฯ สร้างตึก สก. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พ.ศ. 2535
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระมหากรุณาเสด็จพระราชดำเนินในพิธีพุทธาภิเษก และพระสมเด็จพระนางพญา สก. ณ พระอุโบสถวัดถ้ำสิงโตทอง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
พระสมเด็จพระนางพญา สก.วัดถ้ำสิงห์โตทอง (หลวงปู่โต๊ะ)สร้างด้วยทองคำหนัก 1 บาท จำนวน 7,500 องค์ พระสมเด็จพระนางพญา สก. สร้างด้วยทองคำหนักสองสลึง จำนวน 17,500 องค์ สมเด็จพระนางพญา สก. ผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญ 20,000 บาท รับพระสมเด็จนางพญา สก. ทองคำ 1 องค์
พระสมเด็จนางพญา สก.
[แก้](สก. พระนามาภิไธยย่อ ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ) สร้างปี พ.ศ. 2519 พิมพ์เล็ก ขนาด 2.3 x 1.7 x 2.3 เซนติเมตร สภาการศึกษามหากุฏราชวิทยาลัยได้จัดสร้างพระสมเด็จนางพญา สก. โดยใช้กระเบื้องเก่าที่มุงหลังคาพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เนื่องจากเป็นของเก่า และสมเด็จพระสังฆราชเคยประทับอยู่วัดนี้ถึง 3 พระองค์ เป็นมวลสาร ผงศักดิ์สิทธิ์พระราชทาน และผงวิเศษ 199 ชนิด เช่น ผงดอกไม้พระราชทาน ผงธูปพระราชทาน ผงพระ และทองที่เข้าพิธี ปี13 วัดเทพศิรินทร์(ปลุกเสกโดยท่านเจ้าคุณนรฯ) ผงพระสมเด็จโต วัดระฆัง ผงพระสมเด็จบางขุนพรหม ผงพระสมเด็จสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม ผงพระหลวงปู่โต๊ะ ผงพระวัดสามปลื้ม
พิธีพุทธาภิเษก ตั้งแต่วันที่ 5-11 ก.ค.2519 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารถึง 7 วันเต็ม
มวลสาร
[แก้]- มวลสารของพระสมเด็จนางพญา สก. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
- มวลสารจิตรลดาพระราชทาน
- พระผงไพรีพินาศ ปี 16
- พระผงศาสดา ปี 16
- พระผงนิรันตราย ปี 16
- พระสมเด็จ วัดระฆัง วัดใหม่อมตรส และวัดเกษไชโย
- พระปิดตาหลวงปู่โต๊ะ
- ว่านมหามงคล 108 ผสมดินกากยายักษ์
- กระเบื้องหลังคาโบสถ์วัดพระแก้ว
- กระเบื้องหลังคาโบสถ์วัดบวร
- ผงทองคำเปลวจากที่ต่างๆ เป็นต้น